ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

อาหารที่เหมาะสมกับวัยต่างๆ มีอะไรบ้าง

อาหาร เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อใช้เป็นพลังงานให้แก่ร่างกายในการทำกิจกรรมตลอดทั้งวัน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอก รวมถึงยังมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางร่างกาย ระบบประสาทและสมอง โดยทั่วไปแล้ว อาหารที่เหมาะสมกับวัยต่างๆ ควรเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุและน้ำ เนื่องจากสารอาหารเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ความสมบูรณ์แข็งแรงและการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งในแต่ละช่วงวัยอาจจำเป็นต้องเน้นสารอาหารบางชนิดเพื่อให้เหมาะสมกับพัฒนาการ การใช้พลังงาน และส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง [embed-health-tool-bmr] อาหารที่เหมาะสมกับวัยต่างๆ ในแต่ละวัยจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เหมาะสม เพื่อช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงสมวัย โดยอาหารที่เหมาะสมกับวัยต่างๆ อาจมีดังนี้ อาหารสำหรับทารกแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน ทารกเป็นช่วงวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งการกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้น ควรให้ทารกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรเป็นอาหารที่บดละเอียด เนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม และไม่ปรุงรส เช่น กล้วยบด แครอทบด เนื้อปรุงสุกบด แอปเปิ้ลบด ควบคู่กับการกินนมแม่เป็นหลัก เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ อาหารสำหรับทารกอายุ 6-12 เดือน ทารกที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป สามารถเริ่มกินอาหารแข็งได้ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและฝึกพัฒนาการในทักษะการกินอาหารแข็ง แต่ทารกยังคงต้องกินนมแม่หรือนมผงเป็นอาหารหลักต่อไปจนถึงอายุ 12 เดือน หรืออาจนานกว่านั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณแม่และทารก สำหรับอาหารแข็งของทารกควรอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและสังกะสี เช่น เนื้อสัตว์ปรุงสุก เต้าหู้ปรุงสุก พืชตระกูลถั่วหรือธัญพืชปรุงสุก ไข่ปรุงสุก […]


ข้อมูลโภชนาการ

เกลือแร่มีประโยชน์อย่างไร และข้อควรระวังในการดื่ม

เกลือแร่เป็นเครื่องดื่มเสริมแร่ธาตุที่นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายนิยมดื่ม หลายคนจึงอาจสงสัยว่า เกลือแร่มีประโยชน์อย่างไร โดยทั่วไปเกลือแร่ประกอบด้วยแร่ธาตุหลายชนิด เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม น้ำตาล ที่สามารถช่วยเติมเต็มความชุ่มชื้นและมีสารอาหารที่ร่างกายสามารถดูดซึมเพื่อใช้เป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว จึงอาจมีประโยชน์ต่อผู้ที่สูญเสียเหงื่อมาก ร่างกายขาดน้ำ มีอาการอาเจียนหรือท้องเสีย [embed-health-tool-bmr] เกลือแร่มีประโยชน์อย่างไร เกลือแร่ คือ แร่ธาตุเสริมที่ช่วยทดแทนแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายที่สูญเสียไปและช่วยทดแทนการขาดน้ำในร่างกายเนื่องจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา อยู่ในสภาพอากาศร้อนจัด อาเจียนหรือท้องเสีย ที่ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและแร่ธาตุในปริมาณมาก โดยเกลือแร่อาจมีทั้งรูปแบบยาเม็ด ผงสำหรับชงผสมน้ำหรือเป็นเครื่องดื่มบรรจุขวด สำหรับผู้ที่ร่างกายขาดน้ำและขาดสมดุลแร่ธาตุในปริมาณมาก อาจทำให้มีอาการตั้งแต่รุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก เช่น อ่อนแรง อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ปากซีด ปากแห้ง ผิวแห้ง คลื่นไส้ เป็นตะคริว ปัสสาวะน้อยผิดปกติ ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม หัวใจเต้นผิดปกติ หมดสติ การดื่มเกลือแร่จึงมีประโยชน์ต่อผู้ที่ร่างกายขาดน้ำและขาดความสมดุลแร่ธาตุในร่างกาย รวมทั้งยังช่วยควบคุมความดันโลหิต ช่วยควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อและยังช่วยรักษาความเป็นกรดในเลือดด้วย โดยในเกลือแร่จะมีส่วนประกอบของแร่ธาตุหลายชนิดที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกาย เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม คลอไรด์ (Chloride) ฟอสเฟต (Phosphate) ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง ซีลีเนียม (Selenium) […]


ข้อมูลโภชนาการ

อาหารเสริมโปรตีน กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

อาหารเสริมโปรตีน เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยโปรตีน กรดอะมิโน น้ำตาล สารปรุงแต่งรสชาติ วิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งอาหารเสริมโปรตีนส่วนใหญ่ผลิตมาจากโปรตีนจากนมและโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา กัญชง โดยนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำมักกินอาหารเสริมโปรตีน เพื่อช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของร่างกาย [embed-health-tool-bmi] ประเภทของ อาหารเสริมโปรตีน อาหารเสริมโปรตีนมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีส่วนประกอบและประโยชน์ที่แตกต่างกัน โดยอาหารเสริมโปรตีนที่อาจพบบ่อย มีดังนี้ เวย์โปรตีน เป็นผงโปรตีนนมชงละลายน้ำที่นิยมในหมู่นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ประกอบด้วยกรดอะมิโนทั้งหมดที่ร่างกายต้องการ เช่น วาลีน (Valine) ลิวซีน (Leucine) ไอโซลิวซีน (Isoleucine) และร่างกายสามารถดูดซึมเวย์โปรตีนได้อย่างรวดเร็ว เคซีน (Casein) เป็นโปรตีนจากนมที่อุดมไปด้วยกลูตามีน (Glutamine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยเร่งการสร้างและการฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่กินมังสวิรัติและผู้ที่แพ้นม นอกจากนี้ ร่างกายอาจย่อยโปรตีนเคซีนได้ช้ากว่าโปรตีนชนิดอื่น เพราะเป็นโปรตีนจากนมที่มีสัดส่วนของไขมันสูงกว่า จึงอาจแนะนำให้รับประทานในเวลากลางคืน เพื่อให้โปรตีนเคซีนสามารถดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งคืน โปรตีนถั่วเหลือง เป็นโปรตีนทางเลือกที่ทำจากถั่วเหลือง ซึ่งมีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการ เช่น ทรีโอนีน (Threonine) ทริปโตเฟน (Tryptophan) โดยโปรตีนถั่วเหลืองเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่กินโปรตีนจากนม โปรตีนถั่วต่าง ๆ เป็นโปรตีนพืชที่ทำจากถั่ว อุดมไปด้วยกรดอะมิโนอาร์จินีน (Arginine) ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างกล้ามเนื้อ จึงเป็นโปรตีนทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่กินโปรตีนจากนม […]


ข้อมูลโภชนาการ

กินกระเทียมสด มีประโยชน์และข้อควรระวังอย่างไร

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาปรุงอาหาร มีแหล่งกำเนิดอยู่ภูมิภาคเอเชียกลางและเอเชียใต้ มีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม วิตามินซี ส่วนสารสำคัญที่พบได้ในกระเทียมคือ สารแอลลิซิน (Allicin) ซึ่งอาจมีคุณสมบัติต้านมะเร็งและช่วยลดความดันเลือด ทั้งนี้ งานวิจัยในปัจจุบันพบว่า สารแอลลิซินจะลดลงเมื่อนำกระเทียมไปคั่ว ต้ม หรือนำไปดอง ดังนั้น การ กินกระเทียมสด อาจเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ แต่หากรับประทานมากเกินไป อาจทำให้ปวดท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก และลมหายใจมีกลิ่นเหม็น [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียมสด กระเทียมสด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 149 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ น้ำ 63.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 33.1 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม โพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม แคลเซียม 181 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม วิตามินซี 31.2 […]


ข้อมูลโภชนาการ

อาหารเสริม แคลเซียม มีประโยชน์อย่างไรต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

อาหารเสริม แคลเซียม เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือผู้ที่ร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น รับประทานอาหารมังสวิรัติ แพ้แลคโตสในนม เป็นโรคลำไส้หรือโรคทางเดินอาหาร การที่ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพออาจส่งผลดีต่อความแข็งแรงของกระดูก และกระบวนการทำงานของร่างกาย เช่น หัวใจ เส้นประสาท กระบวนการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาจช่วยป้องกันโรคบางชนิดได้ เช่น กล้ามเนื้อเป็นตะคริว โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อน ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง [embed-health-tool-bmr] อาหารเสริม แคลเซียม มีประโยชน์อย่างไรต่อสุขภาพ อาหารเสริม แคลเซียมอาจมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่มีปัจจัยบางประการที่ทำให้ร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเหมาะสม เช่น รับประทานอาหารมังสวิรัติ แพ้แลคโตสในนม เป็นโรคลำไส้หรือโรคทางเดินอาหาร ซึ่งการได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพออาจช่วยส่งเสริมสุขภาพร่างกาย ดังนี้ แคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการสร้างกระดูก ดังนั้น การได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอาจช่วยเสริมมวลกระดูกและความแข็งแรงของกระดูก ซึ่งอาจช่วยป้องกันการแตกหักของกระดูกได้ แคลเซียมอาจช่วยส่งเสริมกระบวนการทำงานของหัวใจ เส้นประสาท และกระบวนการแข็งตัวของเลือด แคลเซียมอาจช่วยป้องกันการกล้ามเนื้อเป็นตะคริว โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อน และป้องกันภาวะพีเอ็มเอส (Premenstrual Syndrome หรือ PMS) ซึ่งเป็นภาวะความผิดปกติของร่างกายและจิตใจในช่วงก่อนมีประจำเดือน แคลเซียมที่เพียงพออาจช่วยป้องกันโรคอีกหลายชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง สำหรับปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวันจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุและเพศ  […]


ข้อมูลโภชนาการ

ขนุน ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ขนุน เป็นพืชเขตร้อน ผลทรงรียาวและค่อนข้างใหญ่ มีหนามสั้นเล็ก ๆ อยู่บนเปลือกโดยรอบ เมื่อโตเต็มที่จะกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร ภายในผลจะมีเนื้อสีเหลืองสดหุ้มเมล็ดอยู่ รสหวานอร่อย และมีกลิ่นหอม ปลูกกันมากในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ โดยนิยมนำเนื้อมารับประทานทั้งแบบสดและนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ขนุนเชื่อม แกงขนุน ขนุนมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยในปัจจุบันสนับสนุนว่า การบริโภคขนุนอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และป้องกันท้องผูกได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ขนุน ขนุน 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 95 กิโลแคลอรี่ รวมถึงสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 23.2 กรัม โปรตีน 1.72 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โพแทสเซียม […]


ข้อมูลโภชนาการ

อันตราย จากการได้รับวิตามินบี 12 มาก เกินไป มีอะไรบ้าง

วิตามินบี 12 หรือโคบาลามิน (Cobalamin) เป็นวิตามินชนิดละลายในน้ำ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท ช่วยผลิตเม็ดเลือดแดงและเซลล์ในร่างกาย พบได้ในอาหารอย่างเนื้อสัตว์ นม โยเกิร์ต ตับ ไข่แดง ปลา หอย เป็นต้น ทั้งยังสามารถบริโภควิตามินบี 12 ในรูปแบบอาหารเสริมได้ด้วย ทั้งนี้ ควรรับประทานวิตามินบี 12 ในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากอาจมี อันตราย จากการได้รับวิตามินบี 12 มาก เกินไป เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ท้องเสีย อ่อนเพลีย ตัวบวมกว่าปกติ อาหารที่มีวิตามินบี 12 อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 มีดังนี้ ไข่แดง โยเกิร์ต นม ปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ หอย […]


ข้อมูลโภชนาการ

นมผึ้ง ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

นมผึ้ง (Royal Jelly) เป็นของเหลวสีขาวมีความเหนียวหนืดที่ผึ้งงานผลิตออกมาเพื่อเป็นอาหารแก่ผึ้งนางพญาและตัวอ่อน นิยมนำมาแปรรูปและจำหน่ายในรูปแบบอาหารเสริมต่าง ๆ ทั้งนี้ นมผึ้งมีคุณค่าทางอาหารสูง มีสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โปรตีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 โดยมีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยระบุว่า การบริโภคนมผึ้งอาจช่วยลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด และบรรเทาอาการต่าง ๆ ในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ นมผึ้ง นมผึ้ง 1 ช้อนชา ให้พลังงานประมาณ 20 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยน้ำตาลประมาณ 5 กรัม รวมถึงสารอาหารอื่น ๆ ในอัตราส่วนต่อไปนี้ น้ำ 60-70 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 12-15 เปอร์เซ็นต์ น้ำตาล 10-16 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 3-6 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ น้ำผึ้งยังอุดมไปด้วย วิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 5 […]


ข้อมูลโภชนาการ

พริกไทยดำ ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

พริกไทยดำ เป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่นิยมใช้ประกอบอาหารและใช้เป็นยาสมุนไพรกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต บรรเทาอาการปวดท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ มาช้านาน พริกไทยดำมีกลิ่นฉุนและมีรสเผ็ดร้อน ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีแดง และเมื่อแห้งทั้งเปลือกจะกลายเป็นเม็ดสีดำ อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 โพแทสเซียม แคลเซียม จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านโรคมะเร็ง และช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือด คุณค่าทางโภชนาการของ พริกไทยดำ ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า พริกไทยดำสด ประมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น คาร์โบไฮเดรต 64 กรัม (แบ่งเป็นไฟเบอร์หรือใยอาหาร 25.3 กรัม ส่วนที่เหลือเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่น เช่น น้ำตาล แป้ง) โปรตีน 10.4 กรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

6 ผลไม้แก้ท้องผูก ไม่ต้องพึ่งยาระบาย!

ผลไม้แก้ท้องผูก คือผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง เช่น กีวี แก้วมังกร กล้วย มะละกอ เนื่องจากไฟเบอร์มีคุณสมบัติที่อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบย่อยอาหาร ช่วยเพิ่มกากใย และบรรเทาอาการท้องผูก นอกจากนี้ ยังมีแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ ที่อาจช่วยปรับความสมดุลของแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหดตัวของลำไส้ ทำให้การขับถ่ายดีขึ้น และป้องกันอาการท้องผูกได้ [embed-health-tool-bmi] 6 ผลไม้แก้ท้องผูก มีอะไรบ้าง ตัวอย่างผลไม้แก้ท้องผูก มีดังนี้ กีวี กีวี 100 กรัม อาจให้พลังงาน 64 แคลอรี่ ไฟเบอร์ 3 กรัม รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น วิตามินเค วิตามินซี วิตามินอี ทองแดง โพแทสเซียม แมกนีเซียม โฟเลต ที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารและอาจช่วยแก้ท้องผูกได้ จากการศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร European Journal of Nutrition ปี พ.ศ. 2561 ที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ของกีวีต่อสุขภาพ พบว่า กีวีเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์เนื่องจากมีโพลีฟีนอลที่เป็นสารพฤกษเคมีที่พบได้ในพืช  (Actinidin) ซึ่งเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหารและการหดและคลายตัวของลำไส้ และอาจช่วยลดอาการปวดท้องโดยเฉพาะผู้ที่มีอาการท้องผูกและโรคลำไส้แปรปรวน  นอกจากนี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน