โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง  [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกกนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน ((Zingerone) ในขิงเป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก สรรพคุณ เม็ดแมงลักเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลโภชนาการ

กินกระเทียมสด มีประโยชน์และข้อควรระวังอย่างไร

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาปรุงอาหาร มีแหล่งกำเนิดอยู่ภูมิภาคเอเชียกลางและเอเชียใต้ มีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม วิตามินซี ส่วนสารสำคัญที่พบได้ในกระเทียมคือ สารแอลลิซิน (Allicin) ซึ่งอาจมีคุณสมบัติต้านมะเร็งและช่วยลดความดันเลือด ทั้งนี้ งานวิจัยในปัจจุบันพบว่า สารแอลลิซินจะลดลงเมื่อนำกระเทียมไปคั่ว ต้ม หรือนำไปดอง ดังนั้น การ กินกระเทียมสด อาจเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ แต่หากรับประทานมากเกินไป อาจทำให้ปวดท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก และลมหายใจมีกลิ่นเหม็น [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียมสด กระเทียมสด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 149 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ น้ำ 63.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 33.1 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม โพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม แคลเซียม 181 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม วิตามินซี 31.2 […]


ข้อมูลโภชนาการ

อาหารเสริม แคลเซียม มีประโยชน์อย่างไรต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

อาหารเสริม แคลเซียม เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือผู้ที่ร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น รับประทานอาหารมังสวิรัติ แพ้แลคโตสในนม เป็นโรคลำไส้หรือโรคทางเดินอาหาร การที่ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพออาจส่งผลดีต่อความแข็งแรงของกระดูก และกระบวนการทำงานของร่างกาย เช่น หัวใจ เส้นประสาท กระบวนการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาจช่วยป้องกันโรคบางชนิดได้ เช่น กล้ามเนื้อเป็นตะคริว โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อน ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง [embed-health-tool-bmr] อาหารเสริม แคลเซียม มีประโยชน์อย่างไรต่อสุขภาพ อาหารเสริม แคลเซียมอาจมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่มีปัจจัยบางประการที่ทำให้ร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเหมาะสม เช่น รับประทานอาหารมังสวิรัติ แพ้แลคโตสในนม เป็นโรคลำไส้หรือโรคทางเดินอาหาร ซึ่งการได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพออาจช่วยส่งเสริมสุขภาพร่างกาย ดังนี้ แคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการสร้างกระดูก ดังนั้น การได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอาจช่วยเสริมมวลกระดูกและความแข็งแรงของกระดูก ซึ่งอาจช่วยป้องกันการแตกหักของกระดูกได้ แคลเซียมอาจช่วยส่งเสริมกระบวนการทำงานของหัวใจ เส้นประสาท และกระบวนการแข็งตัวของเลือด แคลเซียมอาจช่วยป้องกันการกล้ามเนื้อเป็นตะคริว โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อน และป้องกันภาวะพีเอ็มเอส (Premenstrual Syndrome หรือ PMS) ซึ่งเป็นภาวะความผิดปกติของร่างกายและจิตใจในช่วงก่อนมีประจำเดือน แคลเซียมที่เพียงพออาจช่วยป้องกันโรคอีกหลายชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง สำหรับปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวันจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุและเพศ  […]


โภชนาการพิเศษ

8 วิธี กินยังไงให้อ้วน เพื่อคนผอมที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก

หลายคนอาจมีปัญหาน้ำหนักน้อยหรือผอมจนเกินไป แม้ว่าจะพยายามกินอาหารมากขึ้นแต่ก็ไม่อ้วนขึ้นเลย จนอาจทำให้เสียความมั่นใจในรูปร่างของตัวเอง รวมถึงอาจทำให้เกิดคำถามว่า ควรจะ กินยังไงให้อ้วน และมีสุขภาพดีไปพร้อมกัน โดยการกินให้อ้วนอาจเป็นการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม รวมถึงอาจต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้มีรูปร่างที่สมส่วน สร้างกล้ามเนื้อ และมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว [embed-health-tool-bmi] 8 วิธี กินยังไงให้อ้วน วิธี กินยังไงให้อ้วน เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักโดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม และวิธีดูแลตัวเองเพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนัก มีดังนี้ เพิ่มปริมาณแคลอรี่ในแต่ละวัน พลังงานที่ควรได้รับจากการกินอาหารของผู้หญิงและผู้ชายจะอยู่ที่ประมาณ 1,600-2,500 กิโลแคลอรี่/วัน แต่สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยและต้องการเพิ่มน้ำหนัก ควรเพิ่มปริมาณแคลอรี่ที่ควรได้รับต่อวัน โดยอาจตั้งเป้าหมายเพื่อเพิ่มพลังงานจากการรับประทานอาหารให้ได้ประมาณ 300-500 กิโลแคลอรี่/วัน เพื่อให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ แต่หากต้องการเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็วควรเพิ่มพลังงานให้ได้ประมาณ 700-1,000 กิโลแคลอรี่/วัน เพิ่มการกินโปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงาน ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งการกินโปรตีนเพิ่มขึ้นอาจมีส่วนช่วยในการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อในร่างกายและทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ควรเลือกรับประทานโปรตีนที่ดี เช่น เนื้อปลา อาหารทะเล พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช เมล็ดพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง นม ผลิตภัณฑ์จากนม นอกจากนี้ การออกกำลังกายประเภทแรงต้าน เช่น สควอช (Squat) แพลงก์ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ขนุน ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ขนุน เป็นพืชเขตร้อน ผลทรงรียาวและค่อนข้างใหญ่ มีหนามสั้นเล็ก ๆ อยู่บนเปลือกโดยรอบ เมื่อโตเต็มที่จะกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร ภายในผลจะมีเนื้อสีเหลืองสดหุ้มเมล็ดอยู่ รสหวานอร่อย และมีกลิ่นหอม ปลูกกันมากในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ โดยนิยมนำเนื้อมารับประทานทั้งแบบสดและนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ขนุนเชื่อม แกงขนุน ขนุนมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยในปัจจุบันสนับสนุนว่า การบริโภคขนุนอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และป้องกันท้องผูกได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ขนุน ขนุน 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 95 กิโลแคลอรี่ รวมถึงสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 23.2 กรัม โปรตีน 1.72 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โพแทสเซียม […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารลดสิว ประกอบด้วยอาหารกลุ่มใดบ้าง

สิว เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนเนื่องจากน้ำมันส่วนเกินและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ทำให้ผิวเกิดตุ่มนูน บวม แดง ขึ้นตามใบหน้า แผ่นหลัง หน้าอก การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันและลดสิวนั้นมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการหมั่นทำความสะอาดผิว การล้างหน้าอย่างถูกวิธี การหลีกเลี่ยงแสงแดด รวมทั้งการรับประทาน อาหารลดสิว ซึ่งได้แก่ อาหารที่อุดมไปด้วยโอเมกา 3 หรืออาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสี ที่อาจช่วยลดการอักเสบในร่างกาย [embed-health-tool-bmi] สิว เกิดจากอะไร สิว เกิดจากการที่ต่อมน้ำมันใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันออกมากเกินไป จนน้ำมันอุดตันในรูขุมขน รวมกับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และทำให้เกิดการอักเสบจนเกิดเป็นสิว ซึ่งมักขึ้นตามใบหน้า หน้าอก แผ่นหลัง นอกจากนี้ การบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดสิวได้ เนื่องจากการบริโภคคาร์โบไฮเดรตจะทำให้ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือดได้มากกว่าอาหารกลุ่มอื่น ๆ โดยระดับอินซูลินในเลือดที่สูงขึ้นจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) และฮอร์โมนอินซูลิน-ไลค์ โกรท แฟคเตอร์ 1 (Insulin-like Growth Factor 1) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันมากกว่าเดิม และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นสิว นอกจากนี้ สิวยังเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ อย่างเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia Coli) หรือคูติแบคทีเรียม แอคเน่ (Cutibacterium Acnes) อาหารลดสิว มีอะไรบ้าง การบริโภคอาหารต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันสิว […]


โรคอ้วน

โรคอ้วนลงพุง สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคอ้วนลงพุง คือ โรคที่ร่างกายมีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องและรอบเอวมากเกินเกณฑ์ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย หากไม่ทำการรักษาอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 การติดเชื้อ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรคอ้วนลงพุง คืออะไร โรคอ้วนลงพุง คือ โรคที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันบริเวณหน้าท้องในปริมาณมาก ส่งผลให้มีรอบเอวและค่าดัชนีมวลกายสูงเกินเกณฑ์ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานชนิดที่ 2  ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง  อาการ อาการของโรคอ้วนลงพุง อาการของโรคอ้วนลงพุง มีดังนี้ มีการสะสมของไขมันบริเวณหน้าท้องทำให้มีหุ่นคล้ายลูกแพร์หรือแอปเปิ้ล ค่าดัชนีมวลกาย 25 ขึ้นไป รอบเอวเกิน 35 นิ้ว ขึ้นไปในผู้หญิง และ 40 นิ้ว ขึ้นไปในผู้ชาย เหนื่อยล้าง่าย โดยเฉพาะเมื่อเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย รู้สึกปวดเข่าและ ข้อต่อ เพราะรองรับน้ำหนักตัวมาก ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง รู้สึกกระหายน้ำบ่อย และปัสสาวะบ่อยซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอ้วนลงพุงที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอ้วนลงพุงที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ สาเหตุ สาเหตุของโรคอ้วนลงพุง สาเหตุของโรคอ้วนลงพุงเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีการสะสมของแคลอรี่ส่วนเกินและเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องและรอบเอว นอกจากนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

6 เมนูลดความอ้วน และวิธีควบคุมน้ำหนัก

เมนูลดความอ้วน คือ เมนูที่มีไขมันต่ำ มีโปรตีนสูง และอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่อาจช่วยให้ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือมีไขมันสะสมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สามารถลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ อย่างไรก็ตาม ควรดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการอดอาหาร และควรปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนการลดน้ำหนักที่เหมาะสมต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์ของเมนูลดความอ้วน การรับประทานเมนูลดความอ้วน โดยเน้นการรับประทานอาหารจำพวกผักและ ผลไม้ รวมถึงอาหารที่มีไขมันต่ำ และมีโปรตีนสูง ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ไฟเบอร์ แมงกานีส ทองแดง โพแทสเซียม นอกเหนือจากช่วยลดความอ้วน ยังอาจมีส่วนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและสมองและอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ ความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคข้อเข่าเสื่อม โรคถุงน้ำดีอักเสบ โรคไขมันพอกตับ โรคไต  โรคมะเร็ง ภาวะครรภ์เป็นพิษ   จากการศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Research in Medical Sciences เมื่อปี พ.ศ 2557 ที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการควบคุมน้ำหนักที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหาร  โดยศึกษาบทความที่เกี่ยวข้อง 26 บทความ […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

Malnutrition คือ อะไร มีสาเหตุและการรักษาอย่างไร

Malnutrition (ภาวะทุพโภชนาการ) คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เหมาะสมโดยอาจได้รับมากหรือน้อยเกินไปซึ่งอาจส่งผลให้มีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป อีกทั้งยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน หากสังเกตพบอาการผิดปกติ เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างกะทันหัน เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ผิวซีด ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว  [embed-health-tool-bmi] Malnutrition คืออะไร  Malnutrition หรือ ภาวะทุพโภชนาการ คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างไม่เหมาะสม โดยอาจได้รับไม่เพียงพอ หรือมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ภาวะโภชนาการต่ำ (Undernutrition) คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี โพแทสเซียม แคลเซียม โปรตีน ที่อาจส่งผลให้มีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ และร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ภาวะโภชนาการเกิน (Overnutrition) คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับประทานสารอาหารเกินกว่าที่ร่างกายต้องการซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการสะสมไขมันตาม ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และเสี่ยงต่อโรคอ้วน สาเหตุของ Malnutrition คืออะไร สาเหตุของภาวะทุพโภชนาการ มีดังนี้ ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร เช่น โรคโครห์น […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

IF 16/8 เพื่อลดน้ำหนัก ควรทำอย่างไร

การลดน้ำหนักแบบ IF 16/8 เป็นการลดน้ำหนักแบบจำกัดเวลารับประทานอาหารรูปแบบหนึ่ง ที่อาจช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนและการติดเชื้อที่นำไปสู่อาการเจ็บป่วย อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนการรับประทานอาหารแต่ละมื้อให้เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน และกำลังรับประทานยารักษาเบาหวานหรือฉีดอินซูลิน เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการรักษาโรคเบาหวานและช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำจนเกินไป [embed-health-tool-bmi] IF 16/8 คืออะไร IF 16/8 คือ การลดน้ำหนักด้วยวิธีควบคุมการรับประทานอาหารตามช่วงเวลาที่กำหนด โดยควรอดอาหารเป็นเวลา 16 ชั่วโมง และรับประทานอาหารในช่วง 8 ชั่วโมง แนวคิดของการลดน้ำหนักแบบ IF 16/8 คือการทำให้ร่างกายลดการผลิตอินซูลิน ที่มีหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลในเลือดเป็นพลังงาน เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ และไม่ได้รับพลังงานจากน้ำตาลในเลือดอย่างเต็มที่ ก็อาจดึงไขมันส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนำไปใช้เป็นพลังงานแทน  ผู้ที่ลดน้ำหนักแบบ IF 16/8 สามารถเลือกช่วงเวลาการรับประทานอาหารและอดอาหารได้ตามความเหมาะสม โดยในระหว่างช่วงเวลาอดอาหาร สามารถดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีแคลอรี่ได้ เช่น น้ำเปล่า กาแฟดำ ชา ยกตัวอย่าง  การรับประทานอาหารในช่วง 12.00-20.00 น. สำหรับผู้ที่ทำงานตามเวลาทั่วไป การรับประทานอาหารในช่วง 09.00 -17.00 น. สำหรับผู้ที่ไม่อยากรับประทานในเวลาดึกเกินไป การรับประทานอาหารในช่วง 11.00-19.00 น. สำหรับผู้ที่ไม่อยากหิวในช่วงค่ำ อาหารที่ควรรับประทานเมื่อลดน้ำหนักแบบ IF 16/8 อาหารที่ควรรับประทานเมื่อลดน้ำหนักแบบ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดน้ำหนักแบบ IF ดีต่อสุขภาพหรือไม่ มีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

ลดน้ำหนักแบบ IF (Intermittent Fasting) เป็นวิธีควบคุมน้ำหนักด้วยการกำหนดช่วงเวลารับประทานอาหาร ที่อาจช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในร่างกาย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ ภูมิคุ้มกัน ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหรือเจ็บป่วยบ่อย การลดน้ำหนักแบบ IF มีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น Fast 5 Fast Diet 5:2 การอดอาหารแบบ 16/8 โดยสามารถเลือกได้ตามช่วงเวลาที่ถนัดหรือขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อรับแผนการรับประทานอาหารและการลดน้ำหนักที่เหมาะสมกับสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] ลดน้ำหนักแบบ IF คืออะไร  ลดน้ำหนักแบบ IF คือ การจำกัดช่วงเวลารับประทานอาหารโดยมีแนวคิดที่ทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินลดลงจากการอดอาหาร และส่งผลให้ร่างกายลดการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลที่เป็นแหล่งพลังงานหลักซึ่งหากไม่มีพลังงานจากน้ำตาล ก็จะทำให้ร่างกายเกิดกระบวนการเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดึงมาใช้เป็นพลังงานแทน ทำให้อาจมีมวลไขมันในร่างกายลดลงและมีน้ำหนักลดตามไปด้วย  การลดน้ำหนักแบบ IF แบ่งออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ การอดอาหารแบบ 16/8 คือ การอดอาหารเป็นเวลา 16 ชั่วโมง และรับประทานอาหารในช่วง 8 ชั่วโมง โดยสามารถเลือกช่วงเวลาใดก็ได้ บางคนอาจเลือกจะอดอาหารเช้าและอาจเริ่มรับประทานอาหารตั้งแต่ 12.00-20.00 น. สำหรับผู้ที่หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึกอาจเลือกรับประทานอาหารช่วงเวลาอื่น ๆ ได้ เช่น 9 โมงเช้า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน