โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล มีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน (Zingerone) ในขิง เป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ดังนั้นจึงมีความสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมได้ อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

อาหารตามวัย เลือกรับประทานอย่างไรให้เหมาะกับอายุ

ความต้องการทางโภชนาการของคนเราจะเปลี่ยนไปตามอายุที่มากขึ้น การเลือกรับประทาน อาหารตามวัย อาจช่วยให้คนในแต่ละวัยได้รับสารอาหารที่จำเป็นตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ โดยทั่วไป การรับประทานอาหารให้หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การดูแลสุขภาพจิตให้ดี จะช่วยให้ร่างกายของคนเรามีแข็งแรง ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม [embed-health-tool-bmi] อาหารตามวัย : ทารกแรกเกิด - 6 เดือน นมแม่เป็นสารอาหารเดียวที่ทารกแรกเกิดถึง 6 เดือนแรกควรได้รับ เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงาน มีคุณค่าทางโภชนาการและภูมิคุ้มกันที่จำเป็นเพียงพอสำหรับทารก และหากเป็นไปได้ควรให้ทารกได้รับน้ำนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากไม่สะดวกให้นมด้วยตัวเองตลอดเวลา คุณแม่อาจปั๊มนมเก็บไว้และใส่ขวดนมให้ทารกดูดในภายหลัง ทั้งนี้ ควรให้ทารกวัยนี้รับประทานเพียงนมแม่หรือนมผงสำหรับทารกเท่านั้น ไม่ควรให้รับประทานอาหารอื่น รวมไปถึงเครื่องดื่ม เช่น น้ำส้ม และไม่จำเป็นต้องให้ทารกดื่มน้ำเปล่าหลังดูดนม เพราะอาจทำให้ทารกดูดนมน้อยลงและขาดสารอาหารได้ อาหารตามวัย : ทารก 6 เดือน - 12 เดือน ทารกวัย 6 เดือนขึ้นไปสามารถรับประทานอาหารแข็ง (Solid food) เพื่อเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ควบคู่ไปกับการให้นมแม่อย่างต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 12 เดือนขึ้นไป หรือนานเท่าที่คุณแม่และทารกต้องการ ในช่วงแรกอาจเริ่มจากการให้ทารกรับประทานอาหารแข็งประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ/วัน และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารเมื่อทารกโตขึ้น โดยวิธีเลือกอาหารแข็งที่เหมาะสำหรับทารกในวัยนี้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

โภชนาการ คืออะไร อาหารที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ มีอะไรบ้าง

โภชนาการ (Nutrition) คือ กระบวนการดูแลสุขภาพด้วยการคัดเลือกประเภทและปริมาณอาหารให้สอดคล้องกับความต้องการของร่างกายเพื่อรักษาสุขภาพที่ดี สารอาหารตามหลักโภชนาการแบ่งได้ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการอาจช่วยให้สามารถเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น [embed-health-tool-bmi] โภชนาการ คืออะไร องค์การอนามัยโลก (WHO) นิยามว่า “โภชนาการ เป็นส่วนสำคัญของการมีสุขภาพและพัฒนาการที่ดี การมีโภชนาการที่ดีจะช่วยส่งเสริมสุขภาพและระบบภูมิคุ้มกันของทารก เด็ก และมารดา ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งยังช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาว” นอกจากนี้สำหรับผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสามารถช่วยจัดการกับภาวะสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ การเลือกอาหารตามหลัก โภชนาการ การปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทานในแต่ละวันให้เป็นไปตามหลัก โภชนาการ ที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น อาจทำได้ดังนี้ ธัญพืช (Grains) ธัญพืชเต็มเมล็ดเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและใยอาหารสูง ทั้งยังมีไขมันต่ำ ช่วยให้อิ่มได้นานและทำให้ไม่รับประทานมากเกินความจำเป็น การเลือกซื้อธัญพืชควรดูจากฉลากผลิตภัณฑ์ว่ามีส่วนผสมของธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole) หรือไม่ และควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีใยอาหารอย่างน้อย 3 กรัม/ 1 หน่วยบริโภค ตัวอย่างอาหารประเภทธัญพืช พาสต้าโฮลวีต ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวบาร์เลย์ ควินัว […]


ข้อมูลโภชนาการ

สารอาหาร5หมู่ มีอะไรบ้าง รับประทานยังไงให้ดีต่อสุขภาพ

สารอาหารตามหลักโภชนาการ ที่จำเป็นต่อการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ แบ่งออกเป็น 5 หมู่หลัก ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และไขมัน การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ สารอาหาร5หมู่ จะช่วยให้สามารถวางแผนการรับประทานอาหารเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย [embed-health-tool-bmi] สารอาหาร5หมู่ มีอะไรบ้าง สารอาหาร5หมู่ ซึ่งเป็นสารอาหารหลักที่คนเราควรรับประทานทุกวัน อาจมีดังนี้ 1. โปรตีน โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกาย มีกรดอะมิโนที่ช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ และสร้างแอนติบอดีเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคและการเจ็บป่วย อีกทั้งยังให้พลังงานแก่ร่างกายด้วย โปรตีนพบได้ในเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อปลา ไข่ไก่ ไข่เป็ด ในพืช เช่น ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโพด ผักโขม ต้นอ่อนทานตะวัน ลูกบัว เมล็ดฟักทอง ในพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วพู รวมถึงในนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น นม เนย ชีส โยเกิร์ตไขมันต่ำ การรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากแหล่งที่สะอาดและได้มาตรฐาน ตรวจสอบว่าสีและเนื้อสัมผัสของเนื้อสัตว์ผิดปกติ หรือมีกลิ่นเหม็นหรือไม่ ควรรับประทานเนื้อสัตว์ติดมันและติดหนังแต่น้อย และหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารคนเป็นโรคไต และวิธีดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเมื่อเป็นโรคไต

โรคไต คือ ภาวะที่ไตทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อาหารคนเป็นโรคไต ควรเป็นอาหารที่มีโซเดียมต่ำ และมีโปรตีนน้อย นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตยังควรจำกัดการบริโภคของเหลว โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เพื่อไม่ให้มีสารอาหารส่วนเกินสะสมอยู่ในร่างกายและทำให้ไตทำงานหนักเกินไปจนเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับระยะของโรคไตที่เป็นอยู่ เพื่อช่วยชะลอการเสื่อมของไตและควบคุมไม่ให้อาการแย่ลง [embed-health-tool-bmi] โรคไตเกิดจากอะไร โรคไต (Kidney disease) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อไตเสียหายและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สาเหตุของโรคไตที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ พฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยเฉพาะอาหารรสเค็มจัด ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต โดยทั่วไป หน้าที่หลักของไต คือ การกรองเลือดและการกำจัดของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ เมื่อเป็นโรคไตนานหลายปีจนพัฒนาเป็นโรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) อาจทำให้มีของเหลว อิเล็กโทรไลต์ และของเสียสะสมในร่างกายในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ คนที่มีสุขภาพดีควรเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงให้หลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมไปถึงโรคไตได้ อาหารคนเป็นโรคไต ผู้ป่วยโรคไตจำเป็นต้องจำกัดการบริโภคอาหารบางประเภทเพื่อไม่ให้ไตทำงานหนักเกินไป และโรคไตมักจะเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังหลายอย่างจึงควรรับประทานอาหารที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต รวมถึงช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย เพราะอาจช่วยยืดอายุการทำงานของไตได้นานขึ้น การวางแผนรับประทานอาหารตั้งแต่เป็นโรคไตในระยะแรก ๆ จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้ โดยอาหารของคนเป็นโรคไตในแต่ะละระยะจะแตกต่างกัน จึงควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

น้ำมันปลา ไม่ควรกินคู่กับ อะไร และข้อควรระวังในการบริโภคน้ำมันปลา

การบริโภคน้ำมันปลาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ผู้บริโภคควรทราบว่า น้ำมันปลา ไม่ควรกินคู่กับ อะไร เพราะอาหาร อาหารเสริม หรือยาบางชนิดอาจส่งผลให้ร่างกายดูดซึมน้ำมันปลาไปใช้ประโยชน์ได้น้อยลง และทำให้เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพ ทั้งนี้ ผู้ที่แพ้อาหารทะเลหรือปลาไม่ควรกินน้ำมันปลาโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้ [embed-health-tool-bmi] น้ำมันปลา คืออะไร น้ำมันปลา (Fish Oil) คือ น้ำมันที่สกัดมาจากเนื้อเยื่อ หนัง หัว หางของปลาที่มีน้ำมัน (Oliy fish) เช่น ปลาเทราต์ ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาแฮร์ริ่ง ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ซึ่งเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3  ได้แก่ กรดโดโคซะเฮกซะอีโนอิก (Docosahexaenoic acid) หรือที่มักเรียกว่า ดีเอชเอ (DHA) และกรดอิโคซะเพนตะอีโนอิก (Eicosapentaenoic acid) หรืออีพีเอ (EPA) ที่ช่วยในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น โดยกรดไขมันเหล่านี้เป็นสารอาหารที่ยังพบได้ในอาหารตามธรรมชาติอื่น ๆ เช่น หอยแมลงภู่ หอยนางรม […]


โภชนาการพิเศษ

อาหาร คน เป็น โรค หัวใจ ควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยง

การทราบข้อมูลเกี่ยวกับ อาหาร คน เป็น โรค หัวใจ ที่ควรรับประทานและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาจช่วยให้คนในครอบครัวและผู้ป่วยวางแผนการดูแลสุขภาพของคนเป็นโรคหัวใจได้อย่างเหมาะสม โดยทั่วไป คนเป็นโรคหัวใจสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเน้นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และควรหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทที่ส่งผลเลียต่อสุขภาพ เช่น อาหารน้ำตาลสูง อาหารไขมันอิ่มตัวสูง อาหารโซเดียมสูง [embed-health-tool-bmi] อาหาร คน เป็น โรค หัวใจ มีอะไรบ้าง ตัวอย่าง อาหาร คน เป็น โรค หัวใจ อาจมีดังนี้ โปรตีน โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ และอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ทั้งยังช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน คนเป็นโรคหัวใจควรเลือกรับประทานโปรตีนจากแหล่งที่หลากหลาย และควรเลือกโปรตีนที่ไม่มีไขมันหรือไม่ติดหนัง เพื่อหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวที่อาจไปสะสมในร่างกาย ตัวอย่างอาหารจำพวกโปรตีนสำหรับคนเป็นโรคหัวใจ อาหารทะเล เช่น ปลา หอย กุ้ง เนื้อสัตว์ปีกไม่ติดมันและหนัง เช่น เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อแดงไม่ติดมัน เช่น สันคอหมู เนื้อสันนอก พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลันเตา ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ไข่ไก่ ไข่เป็ด เต้าหู้ ธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole […]


ข้อมูลโภชนาการ

ขาดวิตามินบี เกิดจากสาเหตุใด และอาการเป็นอย่างไร

วิตามินบี เป็นวิตามินที่ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ และมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ เช่น สลายคาร์โบไฮเดรตและลำเลียงสารอาหารไปทั่วร่างกาย การ ขาดวิตามินบี (Vitamin B Deficiencies) จึงอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ โดยทั่วไปสามารถพบวิตามินบีได้ในอาหารที่หลากหลาย จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อให้ได้รับวิตามินบีเพียงพอ ทั้งนี้ ปริมาณวิตามินบีแต่ละชนิดที่ร่างกายควรได้รับจะมากหรือน้อยแตกต่างไปตามอายุ ภาวะสุขภาพ เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] ขาดวิตามินบี สาเหตุ เกิดจากอะไร การขาดวิตามินบี เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับวิตามินบีไม่เพียงพอต่อการใช้ในการทำงานของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย ภาวะนี้อาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีวิตามินบีน้อยกว่าที่ควร หรือเกิดจากภาวะสุขภาพบางประการ เช่น การดูดซึมอาหารของลำไส้ผิดปกติ วิตามินบีเป็นวิตามินชนิดละลายในน้ำ มีด้วยกัน 8 ชนิด ได้แก่ วิตามินบี 1, 2, 3, 5, 6, 7, 9 และ 12 เมื่อร่างกายนำไปใช้งานแล้ว ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ร่างกายไม่สามารถสะสมไว้ใช้ในภายหลังได้ จึงจำเป็นต้องรับวิตามินบีเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะขาดวิตามินบี ปริมาณวิตามินบีที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน โดยทั่วไป อาจมีดังนี้ ควรได้รับวิตามินบี 1 หรือไทอามีน (Thiamine) […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

3 เมนู ก๋วยเตี๋ยว เพื่อสุขภาพ และเคล็ดลับเพื่อสุขภาพ

ก๋วยเตี๋ยว เป็นหนึ่งในเมนูอาหารยอดนิยมที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน โดยเฉพาะสำหรับคนรัก “เส้น” เนื่องจากเป็นเมนูที่ทำง่าย รสชาติอร่อย อีกทั้งยังมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกสรรตามความชอบ ทั้งก๋วยเตี๋ยวน้ำใส ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ อย่างไรก็ตาม ควรเลือกรับประทานก๋วยเตี๋ยวที่ดีสุขภาพ ไม่ปรุงรสจัดจนเกินไป สะอาด และปราศจากเชื้อโรค เพื่อสุขภาพที่ดีห่างไกลโรค [embed-health-tool-bmi] เมนู ก๋วยเตี๋ยว ที่ดีต่อสุขภาพ 1.     เส้นหมี่น้ำใส เส้นหมี่น้ำใสเป็นหนึ่งในเมนูก๋วยเตี๋ยวที่คนรักสุขภาพหลายคนนิยม เส้นหมี่ 100 กรัม จะให้พลังงาน 108 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 1.8 กรัม และมีส่วนประกอบของแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น แมกนีเซียม ทองแดง ซีลีเนียม สำหรับน้ำซุปใสนิยมเป็นน้ำซุปไก่หรือกระดูกหมู หรือหากต้องการให้เป็นมังสวิรัติอาจเลือกใช้เป็นน้ำซุปผักแทน นอกจากเส้นและน้ำซุป จากนั้นจึงควรเติมผักและเนื้อสัตว์เพื่อเพิ่มสารอาหาร แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปจำพวกลูกชิ้น โดยอาจเปลี่ยนไปใช้เป็นเนื้อไก่ฉีก ไข่ต้ม เต้าหู้ หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ ตามชอบแทน 2.     วุ้นเส้นต้มยำ วุ้นเส้นเป็นอาหารที่มีแคลอรี่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเส้นก๋วยเตี๋ยวชนิดอื่น วุ้นเส้นแช่น้ำ 100 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 80 กิโลแคลอรี่ อีกทั้งยังไม่มีกลูเตน ผู้ที่มีภาวะแพ้กลูเตนหรือแพ้ข้าวสาลีจึงสามารถรับประทานวุ้นเส้นได้ นอกจากนี้ […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สุดยอด อาหารตามสั่ง ที่กินแล้วช่วยให้สุขภาพดี

อาหารตามสั่ง เป็นอาหารจานเดียวปรุงสดใหม่ ที่มีเมนูให้เลือกมากมายตามความชอบของแต่ละคน ซึ่งการเลือกกินเมนูอาหารตามสั่งที่ดีนอกจากจะช่วยให้พลังงานแล้ว ยังอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย เมนู อาหารตามสั่ง ที่กินแล้วช่วยให้สุขภาพดี เมนูอาหารตามสั่งที่แนะนำต่อไปนี้ อาจช่วยให้อิ่มท้องและช่วยร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ซึ่งอาจช่วยให้สุขภาพดีและควบคุมหนักได้อีกด้วย สุกกี้น้ำ สุกกี้น้ำเป็นทางเลือกอาหารตามสั่งเพื่อสุขภาพที่มีแคลอรี่ต่ำ ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผักและวุ้นเส้น ไม่มีส่วนประกอบของน้ำมัน โดยผู้บริโภคสามารถเลือกใส่เนื้อหมู ไก่ หรืออาหารทะเลได้ตามความชอบ ทั้งยังมีส่วนประกอบของผักหลายชนิด เช่น ผักกาดขาว เห็ด ข้าวโพดอ่อน ผักบุ้ง และวุ้นเส้นที่เป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้พลังงานแก่ร่างกาย อย่างไรก็ตาม สุกกี้น้ำมักจะเสิร์ฟคู่กับน้ำจิ้มสุกกี้ซึ่งอาจมีส่วนผสมของโซเดียมและน้ำตาล จึงควรใส่เพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ ในการปรุงสุกกี้น้ำร้านอาหารอาจใส่ผงปรุงรสช่วยเพิ่มรสชาติด้วย ตอนสั่งอาหารจึงควรบอกให้ลดปริมาณผงปรุงลดหรือไม่ใส่ เพื่อลดการรับโซเดียมเข้าสู่ร่างกาย ยำวุ้นเส้น ยำวุ้นเส้นก็เป็นอีกหนึ่งเมนูอาหารตามสั่งที่มีแคลอรี่ต่ำ ไม่มีส่วนประกอบของน้ำมัน โดยประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผักและวุ้นเส้น ซึ่งเป็นสารอาหารจำพวกโปรตีน (เช่น หมูสับ ไก่ อาหารทะเล) คาร์โบไฮเดรต (เช่น วุ้นเส้น เส้นแก้ว เส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) วิตามินและแร่ธาตุ (เช่น หอมหัวใหญ่ ผักกาดขาว เห็ด ผักกระเฉด แครอท) ที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และส่งเสริมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายด้วย อย่างไรก็ตาม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน