โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง  [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกกนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน ((Zingerone) ในขิงเป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก สรรพคุณ เม็ดแมงลักเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

โรคอ้วน

Visceral fat คืออะไร และควรป้องกันอย่างไร

Visceral fat  คือ ภาวะไขมันในช่องท้อง ที่เกิดจากไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องทำให้มีพุง รูปร่างเปลี่ยนไป มีรอบเอวและน้ำหนักเกินเกณฑ์ อาจส่งผลให้เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ โรคข้อเข่าเสื่อม ไขมันพอกตับ ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างการเคลื่อนไหวลำบาก ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการลดไขมันรวมถึงการป้องกันภาวะไขมันในช่องท้อง หรือขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อรับแผนการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] Visceral fat คืออะไร Visceral fat คือ ศัพท์ที่ใช้เรียกบุคคลที่เป็นภาวะไขมันในช่องท้อง เป็นภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในช่องท้องชั้นลึกและล้อมรอบอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ลำไส้ กระเพาะอาหาร และอาจเกาะติดอยู่ตามผนังหน้าท้อง หรือหลอดเลือด ซึ่งอันตรายกว่าไขมันสะสมใต้ผิวหนัง โดยมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ไขมันมากเกินไป เช่น ของทอด อาหารแปรรูป ขนมหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ขนมปังขาว ข้าวขาว เนื้อสัตว์ติดมัน รวมถึงขาดการออกกำลังกาย ที่อาจสังเกตได้จากพุงยื่นคล้ายแอปเปิ้ลหรือลูกแพร์ รอบเอวเกิน น้ำหนักเพิ่มขึ้น Visceral fat ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร Visceral fat อาจส่งผลกระต่อสุขภาพ ดังนี้ ข้อเข่าเสื่อม น้ำหนักที่มากเกินไปจากการสะสมของไขมันอาจทำให้ข้อต่อบริเวณเข่าต้องรองรับน้ำหนักตัว ที่เพิ่มความเสี่ยงให้ข้อต่ออักเสบและข้อเข่าเสื่อม […]


โภชนาการพิเศษ

โรคความดันต่ำ ควรกินอะไร และควรดูแลตนเองอย่างไร

หากเป็น โรคความดันต่ำ ควรกินอะไร? ควรกินอาหารที่ช่วยให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ เช่น อาหารรสเค็ม อาหารที่มีวิตามินบี 12 รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ทั้งนี้ โรคความดันต่ำเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความเครียด การใช้ยาบางชนิด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการเสียเลือดในปริมาณมาก [embed-health-tool-heart-rate] โรคความดันต่ำ คืออะไร โรคความดันต่ำ หมายถึง ภาวะสุขภาพของร่างกายที่มีระดับความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น วิงเวียน สายตาพร่ามัว หมดแรง หัวใจเต้นแรง โดยปกติแล้ว โรคความดันต่ำนั้นพบได้จากหลาย ๆ สาเหตุ ดังนี้ การตั้งครรภ์ ความเครียด การติดเชื้อในระดับรุนแรง การแพ้อย่างรุนแรง การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า โรคพาร์กินสัน การสูญเสียเลือดปริมาณมาก ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ ต่อมไทรอยด์ หรือการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสพติด การเผชิญกับอุณหภูมิที่เย็นหรือร้อนมาก ภาวะขาดน้ำเนื่องจากการอาเจียน ท้องร่วง หรือเป็นไข้ การเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกนั่งหรือลุกยืนเร็วเกินไป มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การออกกำลังกายหักโหม โรคความดันต่ำ ควรกินอะไร เพื่อช่วยให้ความดันโลหิตสูงขึ้น […]


ข้อมูลโภชนาการ

เมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง มีอะไรบ้าง

เหล็ก เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในแต่ละวัน ร่างกายควรได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจากการขาดธาตุเหล็กในระยะยาว เช่น ภาวะโลหิตจาง อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ สำหรับ เมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง นั้น เช่น ไก่ผัดขิง ถั่วลันเตาผัดตับ ต้มเลือดหมูตำลึง [embed-health-tool-bmr] ธาตุเหล็ก มีความสำคัญอย่างไร เหล็ก เป็นธาตุอาหารชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อการสร้างฮีโมโกลบิน และไมโอโกลบิน (Myoglobin) โดยฮีโมโกลบินเป็นโปรตีนของเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปหล่อเลี้ยงส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ในขณะที่ไมโอโกลบิน เป็นโปรตีนที่พบในเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อกระดูกและหัวใจ มีหน้าที่หลักคือลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเซลล์ของกล้ามเนื้อดังกล่าว นอกจากนี้ เหล็กยังจำเป็นต่อการสังเคราะห์ฮอร์โมนบางชนิดด้วย 1 วัน ควรบริโภคธาตุเหล็กเท่าไร ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 13 ปี ทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะต้องการธาตุเหล็กในปริมาณเท่า ๆ กัน ดังนี้ 0-6 เดือน 27 มิลลิกรัม/วัน 7-12 เดือน 11 มิลลิกรัม/วัน 1-3 ปี 7 มิลลิกรัม/วัน 4-8 ปี 10 มิลลิกรัม/วัน […]


โภชนาการการกีฬา

หลังออกกําลังกาย ควรกินอะไร บ้าง เพราะอะไร

หลังออกกําลังกาย ควรกินอะไร บ้าง? อาหารที่ควรกินหลังออกกำลังกาย ได้แก่ อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และน้ำ เพราะเมื่อออกกำลังกาย ร่างกายจะสูญเสียคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลัก รวมถึงโปรตีนในกล้ามเนื้อและน้ำจากการเสียเหงื่อ จึงควรบริโภคเพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป [embed-health-tool-bmi] ทำไมต้องกินอาหาร หลังออกกำลังกาย หลังออกกำลังกาย ร่างกายจะสูญเสียไกลโคเจน (Glycogen) หรือคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายสะสมไว้เป็นพลังงานระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงโปรตีนในกล้ามเนื้อ โดยการกินอาหารหลังออกกำลังกาย จะช่วยเพิ่มไกลโคเจนทดแทนส่วนที่สูญเสียไป เสริมสร้างการฟื้นฟูตัวเองของร่างกาย เพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ และลดการย่อยสลายโปรตีนในกล้ามเนื้อ หลังออกกําลังกาย ควรกินอะไร บ้าง หลังออกกำลังกาย ควรกินอาหารที่ให้คุณค่าสารอาหารดังต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรต ไกลโคเจน เป็นน้ำตาลกลูโคสรูปแบบหนึ่ง และยังเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย ซึ่งส่วนมากจะถูกสะสมในตับและกล้ามเนื้อ เมื่อออกกำลังกาย ไกลโคเจนจะค่อย ๆ ลดลง และถ้าลดลงไปมาก จะส่งผลให้ผู้ออกกำลังกายรู้สึกเหนื่อย หมดแรง และออกกำลังกายได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ผู้ออกกำลังกายสามารถกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว มันฝรั่ง เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ผลไม้ เพื่อเพิ่มระดับไกลโคเจนในร่างกาย ทดแทนส่วนที่เสียไปได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับช่วงที่เหมาะสมสำหรับรับประทานอาหาร ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the International Society of Sports Nutrition […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ความดันต่ำ กินเบียร์ ได้หรือไม่ และส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า ความดันต่ำ กินเบียร์ ได้หรือไม่ หากกินแล้วจะส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ โดยทั่วไปเบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่มักส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น แต่ไม่สามารถรักษาความดันต่ำได้ ยิ่งไปกว่านั้นหากไม่สามารถควบคุมปริมาณการดื่มได้อาจมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปเป็นโรคความดันสูงได้ในอนาคต รวมทั้งอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ความดันต่ำลงได้ [embed-health-tool-bmr] ความดันโลหิต คืออะไร ความดันโลหิต คือ ค่าความดันภายในหลอดเลือดแดงที่อาจเพิ่มสูงขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัวเพื่อบังคับให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดแดง และแรงดันเลือดจะลดลงเมื่อหัวใจคลายตัว โดยความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้ ความดันโลหิตสูง หรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท หากร่างกายมีความดันโลหิตสูงอาจเป็นอันตรายมาก เพราะความดันเลือดอาจทำให้เยื่อบุหลอดเลือดแดงเสียหาย เกิดเป็นแผล และอาจทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย ความดันโลหิตต่ำ หรือต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน โดยความดันโลหิตต่ำอาจมีสาเหตุมาจากโรคเรื้อรัง หรือร่างกายสูญเสียเลือดในปริมาณมาก ซึ่งอาจทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ ผิวซีด ตัวเย็น อ่อนล้า อ่อนเพลีย หิวมาก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อความดันโลหิตอย่างไร การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลต่อความดันโลหิตได้ ดังนี้ อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่มีบทบาทในการควบคุมความดันโลหิต อาจส่งผลต่อการทำงานของศูนย์ควบคุมระดับความดันเลือดของร่างกาย  (Baroreceptor) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับที่ควบคุมระดับความดันโลหิต ที่อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่เป็นฮอร์โมนความเครียดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจเพิ่มปริมาณแคลเซียมในกล้ามเนื้อหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตันและส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจทำปฏิกิริยากับฮอร์โมนในร่างกายที่ส่งผลให้หลอดเลือดแดงหดตัว ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูง อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น […]


ข้อมูลโภชนาการ

ขาดวิตามินบี ต้องกินอะไร และข้อควรระวังในการบริโภค

ภาวะขาดวิตามินบีอาจเกิดขึ้นได้น้อยมาก เนื่องจากวิตามินบีสามารถพบได้ในอาหารทั่วไป แต่บางคนอาจมีข้อสงสัยว่าหากมีภาวะ ขาดวิตามินบี ต้องกินอะไร โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายจะได้รับวิตามินบีจากการรับประทานอาหารตามธรรมชาติหลากหลายชนิด เช่น ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ธัญพืช ถั่ว เมล็ดพืช ผลไม้ อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินทุกชนิดอย่างครบถ้วนและเพียงพอ [embed-health-tool-bmi] วิตามินบี มีความสำคัญอย่างไร วิตามินบีมีทั้งหมด 8 ชนิด โดยแต่ละชนิดมีความสำคัญต่อร่างกายที่แตกต่างกัน ดังนี้ วิตามินบี 1 หรือไทอะมีน (Thiamine) ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท รวมทั้งยังช่วยเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคลให้เป็นพลังงาน วิตามินบี 2 หรือไรโบฟลาวิน (Riboflavin) ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกาย ช่วยย่อยสลายไขมัน มีบทบาทในกระบวนการผลิตพลังงาน และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับระบบประสาท ผิวหนัง ดวงตา ตับ และกล้ามเนื้อ วิตามินบี 3 หรือไนอะซิน (Niacin) ช่วยในการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตและไขมันให้เป็นพลังงาน รวมทั้งช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบประสาท วิตามินบี 5 หรือกรดแพนโทเทนิก (Pantothenic Acid) มีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดและฮอร์โมน ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

อาหารคลีนลดน้ำหนัก ได้อย่างไร และวิธีกินอาหารคลีน

อาหารคลีนลดน้ำหนัก ได้อย่างไร อาจเป็นคำถามที่หลายีคนสงสัย โดยทั่วไปแล้ว อาหารเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวโดยตรง ดังนั้น การกินอาหารคลีนที่มาจากธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่ง หรือปรุงแต่งน้อยที่สุด จึงอาจช่วยลดการบริโภคโซเดียม ไขมัน และน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ซึ่งอาจช่วยให้สามารถควบคุมและลดน้ำหนักได้ในระยะยาว นอกจากนี้ ยังอาจช่วยลดการบริโภคสารเคมี สารปรอท หรือสารกันบูดในอาหารที่อาจตกค้างและเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ [embed-health-tool-bmr] อาหารคลีนลดน้ำหนัก ได้อย่างไร อาหารคลีน เป็นอาหารจากธรรมชาติที่ไม่ผ่านการแปรรูป ไม่ผ่านการปรุงแต่ง หรือปรุงแต่งน้อยที่สุด เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุที่มาจากธรรมชาติอย่างเต็มที่ การกินอาหารคลีนจึงอาจช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการบริโภคโซเดียม และน้ำตาล ที่อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจช่วยให้หลีกเลี่ยงการบริโภคสารปรุงแต่ง  สารเคมี หรือสารกันบูด ที่อาจเป็นสารพิษตกค้างในร่างกายจนก่อให้เกิดอันตรายได้ อาหารคลีนจึงเป็นอาหารลดน้ำหนักที่อาจช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น การทำงานของระบบย่อยอาหาร การดูดซึมสารอาหาร การขับถ่าย ให้ทำงานได้เป็นปกติ นอกจากนี้ ยังช่วยลดการรับไขมัน น้ำตาล และโซเดียมส่วนเกินจากอาหารแปรรูปและเครื่องปรุงรส ซึ่งอาจสะสมในร่างกายทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจนอาจมีแนวโน้มพัฒนาไปเป็นโรคอ้วนและโรคเมตาบอลิซึมอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง อาหารคลีนลดน้ำหนัก กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์ วิธีกินอาหารคลีนลดน้ำหนัก และให้ประโยชน์กับร่างกายอย่างเหมาะสม อาจทำได้ดังนี้ กินอาหารคลีนที่มาจากธรรมชาติมากที่สุด ไม่ผ่านการปรุงแต่งหรือปรุงแต่งน้อยที่สุด เช่น […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

อาหารเพื่อสุขภาพมีอะไรบ้าง ควรกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์

ปัจจุบันหลายคนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้น จึงอาจสงสัยว่า อาหารเพื่อสุขภาพมีอะไรบ้าง เนื่องจากอาหารถือเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยส่งเสริมให้สุขภาพดี โดยทั่วไปอาหารเกือบทุกชนิดที่มาจากธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่ง หรือปรุงแต่งน้อยที่สุด เช่น เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ไขมันดี ธัญพืช ถั่ว เมล็ดพืช ผักและผลไม้ มักเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกาย [embed-health-tool-bmr] อาหารเพื่อสุขภาพ คืออะไร อาหารเพื่อสุขภาพ คือ อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันดี วิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ให้พลังงาน ควบคุมน้ำหนัก และส่งเสริมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ อาหารเพื่อสุขภาพยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อและความเจ็บป่วยได้อีกด้วย อาหารเพื่อสุขภาพมีอะไรบ้าง โดยทั่วไปอาหารทุกชนิดที่มาจากธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่ง หรือปรุงแต่งน้อยที่สุดมักเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ดังนี้ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา อาหารทะเล โปรตีนจากพืช (เช่น ถั่ว เมล็ดพืช) เป็นสารอาหารประเภทโปรตีนที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ และให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยควรรับประทานประมาณ ¼ ของจาน คาร์โบไฮเดรต เช่น ธัญพืช ถั่ว ข้าวโอ๊ต […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารอ่อนๆ ดีต่อสุขภาพอย่างไร มีอะไรบ้างที่ควรรับประทาน

อาหารอ่อนๆ มักเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอาหารอ่อนๆ เป็นอาหารเนื้อนุ่ม เคี้ยวและกลืนง่าย ใยอาหารต่ำ ซึ่งทำให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายขึ้น เพื่อนำมาใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ใช้เป็นพลังงานในการฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วย และยังดีต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารและลำไส้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารอ่อนๆ ดีต่อสุขภาพอย่างไร อาหารอ่อนๆ คือ อาหารที่มีใยอาหารต่ำ เนื้อสัมผัสนุ่ม เคี้ยวง่าย กลืนง่าย กรดต่ำ และผ่านการปรุงสุกจนย่อยง่าย ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ โดยส่วนใหญ่อาหารอ่อนๆ มักเหมาะกับผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยพักฟื้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง ที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและใช้เป็นพลังงานในการฟื้นฟูร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้ อาหารอ่อนๆ ยังดีต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารและลำไส้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาลำไส้และระบบย่อยอาหาร ดังนี้ ปัญหาเกี่ยวกับการบดเคี้ยวและการกลืนอาหาร การติดเชื้อที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร แพ้อาหาร เช่น แพ้นมวัว แพ้แลคโตส ไวต่อน้ำตาลกลูโคส คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืด ท้องผูก และท้องเสีย การตั้งครรภ์และให้นมบุตร ปัญหาลำไส้และกระเพาะอาหาร เช่น กระเพาะเป็นแผล โรคลำไส้อักเสบ โรคกรดไหลย้อน อาการลำไส้แปรปรวน โรคกระเพาะอาหาร โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis) การผ่าตัดร่างกาย ผ่าตัดบริเวณศีรษะ คอ ฟัน […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดหน้าท้องล่าง ป้องกันโรคอ้วนลงพุง ทำได้อย่างไร

หน้าท้องล่าง อาจเกิดจากไขมันสะสมในบริเวณหน้าท้องเนื่องจากระบบการเผาผลาญทำงานผิดปกติ ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมันมากเกินไป การไม่ออกกำลังกาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้วิธีการ ลดหน้าท้องล่าง รวมถึงการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังเหล่านั้น [embed-health-tool-bmi] หน้าท้องล่างป่อง เกิดจากอะไร หน้าท้องล่างป่อง อาจเกิดจากกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติ ที่ทำให้ร่างกายมีไขมันส่วนเกินสะสมบริเวณหน้าท้องล่างและรอบเอว โดยสังเกตได้จากพุงล่างป่องคล้ายลูกแพร์หรือแอปเปิ้ล หรือมีค่าดัชนีมวลกายเกิน 25 และรอบเอวเกิน 35-40 นิ้ว นอกจากนี้ หน้าท้องล่างยังอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ดังนี้ การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ไขมันและน้ำตาลสูงมากเกินไป เช่น ขนมหวาน ข้าวขาว พาสต้า ขนมปังขาว ของทอด อาหารแปรรูป น้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เบียร์ ไวน์ โซจู เพราะอาจส่งผลให้ไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องมากจนเกิดหน้าท้องล่าง ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายอาจช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลายไขมันมาใช้เป็นพลังงาน เมื่อไม่ได้ออกกำลังกาย ไขมันจึงสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายรวมถึงหน้าท้องล่าง ความเครียด อาจทำให้บางคนรู้สึกอยากอาหารและรับประทานอาหารมากจนเกินไปเพื่อช่วยคลายเครียด จึงส่งผลให้ไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องล่าง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดส่วนเกินให้กลายเป็นไกลโคเจน (Glycogen) ที่เป็นไขมันชนิดหนึ่งไปเก็บสะสมทั่วทั้งร่างกายรวมถึงบริเวณหน้าท้องล่าง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน