โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง  [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกกนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน ((Zingerone) ในขิงเป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก สรรพคุณ เม็ดแมงลักเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลโภชนาการ

มะเขือเปราะ ประโยชน์และความเสี่ยงในการบริโภค

มะเขือเปราะ เป็นผักที่คนไทยนิยมรับประทาน มีหลายสายพันธุ์และหลายสี ซึ่งต่างก็อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยปรับปรุง สุขภาพผิว ส่งเสริมระบบย่อยอาหาร ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างสุขภาพผิว ระบบย่อยอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเปราะ คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเปราะปริมาณ 100 กรัม ประกอบด้วย พลังงาน 39 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม นอกจากนี้ มะเขือเปราะยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์อื่น ๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส ประโยชน์ของมะเขือเปราะต่อสุขภาพ มะเขือเปราะมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนสรรพคุณของมะเขือเปราะต่อการป้องกันและรักษาโรค ดังนี้ ปรับปรุงสุขภาพผิว มะเขือเปราะอุดมไปด้วยวิตามินซีที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจสามารถช่วยปกป้องผิวจากสภาวะแวดล้อม เช่น แสงแดด ฝุ่น ควัน ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมให้ผิวแข็งแรงและสุขภาพดี งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients ปี พ.ศ. […]


ข้อมูลโภชนาการ

ลูกไหน ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ลูกไหน หรือ ลูกพลัม เมื่อนำไปตากแห้งจะรู้จักกันในชื่อ ลูกพรุน เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่ดีต่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม วิตามินซี วิตามินเอ สารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจ สุขภาพกระดูก ลดน้ำตาลในเลือด และบรรเทาอาการท้องผูกได้ คุณค่าทางโภชนาการของลูกไหน คุณค่าทางโภชนาการของลูกไหนปริมาณ 100 กรัม ประกอบด้วย พลังงาน 76 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 18 กรัม น้ำตาล 16 กรัม ไฟเบอร์ 2 กรัม โปรตีน 1 กรัม ไขมันน้อยกว่า 1 กรัม นอกจากนี้ ลูกไหนยังอุดมไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายหลายชนิด เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินเค โฟเลต ประโยชน์ของลูกไหนต่อสุขภาพ ลูกไหน มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนสรรพคุณของลูกไหนต่อการป้องกันและรักษาโรค ดังนี้ ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก การรับประทานลูกไหนที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างสารประกอบฟีนอลิก (Phenolic) […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ไตรกลีเซอไรด์ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในเลือด ส่วนใหญ่อยู่ในอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ไขมัน เช่น คุกกี้ พาย ของทอด รวมถึงเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ชา น้ำเชื่อม กาแฟที่ใส่น้ำตาล ซึ่งหากร่างกายได้รับมากเกินไปและขาดพฤติกรรมการดูแลตัวเอง เช่น ไม่ออกกำลังกาย เครียด ไม่นอนหลับพักผ่อน ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิต คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ที่อาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วน เพื่อรักษาสุขภาพที่ดีควรลดการรับประทานอาหารที่มีไตรกลีเซอไรด์สูง และเข้ารับการตรวจไตรกลีเซอไรด์อย่างสม่ำเสมอ และรักษาระดับไตรกลีเซอไรด์ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร ไตรกลีเซอไรด์ คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระแสเลือด ส่วนใหญ่มาจากอาหารในชีวิตประวัน โดยผ่านกระบวนการการย่อยอาหารของกระเพาะอาหาร ผ่านเข้าสู่ลำไส้ที่ผลิตเกลือน้ำดี ช่วยดูดซึมไขมันและถูกสังเคราะห์นำออกผ่านทางตับเป็นไตรกลีเซอไรด์ ส่งไปเก็บไว้ในเซลล์ไขมันตามส่วนต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการ เช่น สะโพก แขน ขา หน้าท้อง เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน ไตรกลีเซอไรด์จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อร่างกายเกิดการเผาผลาญเท่านั้น ซึ่งถ้าหากไม่มีการเผาผลาญก็อาจก่อให้เกิดการสะสมไตรกลีเซอไรด์จำนวนมาก จนสังเกตได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น น้ำหนักเพิ่ม อ้วนขึ้น ไขมันพอกบริเวณส่วนต่าง ๆ ไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล แตกต่างกันอย่างไร ไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล คือ ไขมันต่างชนิดกันที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ออกกำลังกาย แต่น้ำหนักไม่ลด เป็นเพราะอะไรกันแน่

ออกกำลังกาย แต่น้ำหนักไม่ลดมักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป กินอาหารที่มีโปรตีนน้อย กินอาหารขยะ  ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายได้รับแคลอรี่ ไขมัน และน้ำตาลมากกว่าปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายเผาผลาญออกไป จึงควรควบคุมปริมาณและประเภทของอาหาร ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม อาจจะช่วยให้ลดน้ำหนักได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่อาจทำให้น้ำหนักไม่ลดแม้จะออกกำลังกาย ออกกำลังกาย แต่น้ำหนักไม่ลดอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ การออกกำลังกายน้อยเกินไป การออกกำลังกายผิดวิธี ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่ปัจจัยส่วนใหญ่ที่ทำให้น้ำหนักไม่ลดมักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกินอาหาร ดังนี้ กินโปรตีนไม่เพียงพอ โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่อาจช่วยในการสดน้ำหนัก เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันไม่ติดหนัง ปลา พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช อาจช่วยลดความอยากอาหาร ลดมวลไขมัน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งส่งผลดีต่อการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ช่วยทำให้น้ำหนักลดลงได้ งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Journal ปี พ.ศ. 2557 ทำการวิจัยเกี่ยวกับผลต่อความอยากอาหารเมื่อรับประทานอาหารอาหารเช้าที่มีโปรตีนสูงเทียบกับอาหารเช้าที่มีโปรตีนตามปกติในเด็กหญิงวัยรุ่นตอนปลายที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งทำการทดลองแบบสุ่มในเด็กผู้หญิง 20 คน โดยให้รับประทานอาหารเช้าที่มีพลังงาน 350 กิโลแคลอรี่่ และมีโปรตีน 13 กรัม หรือ 35 กรัม หรืองดอาหารเช้า ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 […]


ข้อมูลโภชนาการ

เงาะ ประโยชน์และความเสี่ยงในการบริโภค

เงาะ เป็นผลไม้เมืองร้อนที่ให้พลังงาน อุดมไปด้วยใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินซี โพแทสเซียม สารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจช่วยป้องกันโรคเรื้อรังอย่างโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน รวมถึงมีใยอาหารที่ช่วยรักษาอาการท้องผูก ปรับปรุงการทำงานของลำไส้และระบบย่อยอาหาร เงาะจึงเป็นผลไม้ที่แนะนำให้รับประทานเพื่อสุขภาพที่ดี คุณค่าทางโภชนาการของเงาะ ปริมาณต่อหนึ่งหน่วยบริโภค เงาะขนาดกลาง 1 ผลประมาณ 20 กรัม ประกอบไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการดังนี้ พลังงาน 7 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 2 กรัม โปรตีน ไขมัน ไฟเบอร์ น้ำตาล น้อยกว่า 1 กรัม นอกจากนี้ เงาะยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี โพแทสเซียม แคลเซียม โฟเลต โคลีน อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food Research ปี พ.ศ. 2560  ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเปลือกเงาะ โดยนำเปลือกเงาะผงมาสกัดด้วยวิธีหมักดองในสารสกัดเมทานอล พบว่า สารสกัดในเปลือกเงาะโดยเฉพาะพันธุ์บินไจ (Binjai) ประกอบด้วยฟีนอล (Phenol) และฟลาโวนอยด์ […]


โรคอ้วน

วิธีลดน้ำหนัก ป้องกันโรคอ้วน ทำอย่างไรได้บ้าง

โรคอ้วน คือ ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากพันธุกรรมและปัจจัยต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกายมีไขมันมากเกินไป และมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สูงกว่า 30 นอกจากนี้ หากปล่อยให้ไขมันสะสมเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ข้อเข่า อาการหยุดหายใจขณะหลับ มะเร็งบางชนิด รวมทั้งอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้อาการของโควิด-19 รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคอ้วนควรศึกษา วิธีลดน้ำหนัก และเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] ปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วน ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคอ้วน มีดังนี้ ครอบครัว ยีนของพ่อแม่ที่เป็นโรคอ้วน อาจสืบทอดสู่บุตรหลาน ส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันและเป็นโรคอ้วนเหมือนพ่อแม่ อายุ โรคอ้วนเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายอาจไม่คล่องตัว ขาดการออกกำลังกาย นำไปสู่มวลกล้ามเนื้อที่ลดลง เมื่อมวลกล้ามเนื้อลดลงอาจทำให้การเผาผลาญหรือระบบเมตาบอลิซึมลดลง ทำให้ควบคุมน้ำหนักส่วนเกินได้ยากขึ้น อาหาร การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่สูง เช่น อาหารจานด่วน อาหารขยะ ของทอด น้ำอัดลม เบียร์ ไวน์ อาจส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันและคอเลสเตอรอล ซึ่งเสี่ยงต่อการเพิ่มของน้ำหนัก ขาดการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญแคลอรี่ที่สะสมในร่างกาย หากในแต่ละวันไม่มีการเคลื่อนไหว หรือมีพฤติกรรมที่ชอบอยู่นิ่งมากเกินไป เช่น นอนดูหนัง […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดไขมันหน้าท้อง ทำได้อย่างไรบ้าง

ไขมันหน้าท้อง หรือไขมันรอบเอว อาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การมีไขมันสะสมที่หน้าท้องปริมาณมากอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งลำไส้ ซึ่ง การ ลดไขมันหน้าท้อง อาจทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ  [embed-health-tool-bmi] ไขมันหน้าท้อง คืออะไร  ไขมันหน้าท้อง คือ ไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง หรือบางครั้งอาจเรียกว่า พุง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่เว้นแม้แต้ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย การมีไขมันหน้าท้องมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย นำมาซึ่งโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ  การวัดไขมันหน้าท้องอาจวัดได้จากขนาดรอบเอว สำหรับผู้ชายไม่ควรเกิน 36 นิ้ว หรือ 90 เซนติเมตร และสำหรับผู้หญิงไม่ควรเกิน 32 นิ้ว หรือ 80 เซนติเมตร หากมีรอบเอวที่มากกว่านั้น อาจเสี่ยงมีภาวะอ้วนลงพุงได้  ไขมันหน้าท้อง เกิดจากอะไร  สาเหตุของการมีไขมันที่หน้าท้องอาจมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้  พันธุกรรม หากคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน อาจมีแนวโน้มที่จะมีไขมันหน้าท้องหรืออ้วนลงพุงได้มากกว่าปกติ  […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะเขือเทศ ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

มะเขือเทศ เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับมะเขือ มีสี ขนาด และลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานมากที่สุดคือมะเขือเทศสีดา และมะเขือเทศเชอร์รี่ มะเขือเทศอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะวิตามินซีและไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยปกป้องเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็งได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ มะเขือเทศ 100 กรัม อาจมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้ พลังงาน 18 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 3.89 กรัม ไฟเบอร์ 1.2 กรัม โปรตีน 0.88 กรัม โพแทสเซียม 237 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม. นอกจากนี้ มะเขือเทศยังอุดมไปด้วยสารไลโคปีน ซึ่งเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยปกป้องเซลล์ไม่ให้เสื่อมสภาพเนื่องจากสารอนุมูลอิสระ และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคมะเร็งได้ ประโยชน์ของมะเขือเทศ ดีต่อสุขภาพผิว มะเขือเทศอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการบำรุงสุขภาพผิวให้ดียิ่งขึ้น จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อปี พ.ศ. 2560 เรื่องบทบาทวิตามินซีต่อสุขภาพผิว พบว่า วิตามินซีมีส่วนสำคัญในการสร้างคอลลาเจน โปรตีนชนิดหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแรงของสุขภาพผิว ช่วยให้ผิวคงความยืดหยุ่น และอาจช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร  นอกจากนี้ มะเขือเทศยังมีสารไลโคปีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจสามารถช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีในแสงแดด จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร […]


ข้อมูลโภชนาการ

แตงโม ประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

แตงโม เป็นพืชตระกูลแตง เช่นเดียวกับแคนตาลูป เมล่อน แตงกวา เป็นต้น พันธุ์ที่อาจรู้จักกันดี เช่น พันธุ์จินตหรา แตงโมส่วนใหญ่มีรสหวาน เปลือกมีสีเขียวเป็นริ้ว เนื้ออาจมีสีแดงหรือสีเหลืองแล้วแต่สายพันธุ์ ผลไม้ชนิดนี้จัดเป็นผลไม้ฉ่ำน้ำจึงนิยมรับประทานเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นหรือดับร้อน นอกจากนี้ แตงโมยังมีสารอาหารหลากหลายและยังอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งและเบาหวาน ช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ ช่วยบำรุงหัวใจ อย่างไรก็ตาม ควรบริโภคแตงโมในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น ทำให้เสี่ยงน้ำตาลในเลือดสูง คุณค่าทางโภชนาการของแตงโม ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2562 ระบุว่า แตงโมสุก 100 กรัม มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 91.4 มิลลิลิตร ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี่ และมีสารอาหารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรต 7.55 กรัม น้ำตาล 6.2 กรัม (แบ่งเป็นน้ำตาลฟรุกโตส 3.36 […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ไขมันดีมีอะไรบ้าง

ไขมัน ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวหรือไม่ดีต่อร่างกายเสมอไป เพราะร่างกายก็ต้องการไขมันดี หรือที่เรียกว่า คอเลสเตอรอลชนิดดี หรือไขมันชนิดเอชดีแอล (HDL) ในการลำเลียงกรดไขมันและคอเลสเตอรอลไปที่ตับ เพื่อทำลายและขับออกทางน้ำดี การทราบว่า ไขมันดีมีอะไรบ้าง อาจช่วยให้เลือกรับประทานอาหารได้เหมาะสมจนส่งผลให้ร่างกายได้รับไขมันดีเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น ป้องกันไขมันชนิดเลวสะสมในหลอดเลือดแดงจนทำให้เส้นเลือดอุดตัน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  ไขมันดี คืออะไร  ไขมันดี หรือคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือไขมันชนิดเอชดีแอล (High Density Lipoprotein หรือ HDL) เป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากช่วยในการการกำจัดไขมันเลว หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือที่เรียกว่าไขมันแอลดีแอล (Low Density Lipoprotein หรือ LDL) ทั้งยังช่วยลำเลียงคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์จากหลอดเลือดแดงและเนื้อเยื่อไปยังตับ เพื่อทำลายและขับออกทางน้ำดี ป้องกันคอเลสเตอรอลหรือไขมันสะสมก่อให้เกิดโรค  โดยทั่วไป ระดับไขมันดีในผู้ชายอายุ 20 ปีขึ้นไปควรมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไปควรมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือหากมากกว่า 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตรนั้นยิ่งเป็นผลดีต่อร่างกาย ทั้งนี้ หากมีไขมันดีในร่างกายต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเส้นเลือดในอวัยวะต่าง ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน