โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

อาหารว่างมื้อดึกสำหรับคนลดความอ้วน ที่กินเท่าไหร่ น้ำหนักก็ไม่เพิ่ม

เชื่อว่าหลาย ๆ คน ต้องมีความรู้สึกนี้กันบ้างที่อาการหิวในช่วงเวลากลางคืนของเรามักกำเริบ แต่ขณะเดียวกันหากเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีตอนขณะหิวโหย ก็อาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นจนในที่สุดก็เสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอแนะนำ อาหารว่างมื้อดึกสำหรับคนลดความอ้วน มาฝากทุกคนให้ได้ลองเลือกไปรับประทานมาฝากกัน เพื่อกำจัดความหิวที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องกลัวหุ่นจะพัง กินอาหารมื้อดึกทำให้น้ำหนักเพิ่ม จริงหรือ นักวิจัยจาก Northwestern University  พบว่าการรับประทานอาหารในช่วงเวลากลางคืนสามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าได้ โดยสิ่งที่กระตุ้นความหิวโหยนี้ อาจมาจากความเครียด รู้สึกเบื่อหน่าย ที่สำคัญหากคุณยิ่งรับประทานอาหารก่อนถึงเวลาเข้านอนมากเกินไป ก็จะทำให้คุณรู้สึกถึงอาหารไม่ย่อย จนรบกวนการนอนหลับได้อีกด้วย นอกจากนี้อาหารส่วนใหญ่ที่ผู้คนเลือกรับประทานในช่วงเวลากลางคืน มักเป็นอาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เช่น คุ้กกี้ ลูกอม มันฝรั่งทอด ป็อปคอร์น ไอศกรีม พร้อมทั้งทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมด้วย จึงยิ่งส่งผลให้คุณเพลิดเพลิน และรับแคลอรีปริมาณมากเข้าไปโดยไม่รู้ตัว อาหารว่างมื้อดึกสำหรับคนลดความอ้วน มีอะไรบ้าง หากคุณกำลังอยู่นช่วงกำลังลดความอ้วน แต่ก็อดทนกับความหิวตอนกลางคืนไม่ไหว อาหารว่างต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยทำให้คุณอิ่มท้อง โดยปราศจากไขมันสะสม และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้ น้ำผลไม้ เพื่อจะให้ได้รับประโยชน์สูงสุดแก่สุขภาพ คุณควรเลือกน้ำผลไม้แท้ที่มีความเข้มข้นที่ประกอบด้วยน้ำตาลให้น้อยที่สุด โดยอ่านข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ หรือทำการคั้นจากผลไม้ด้วยตนเอง ก็ย่อมด้ เพื่อความมั่นใจกังวล ธัญพืช หรือถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วชิกพี อัลมอนด์ […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ควรชั่งน้ำหนักตอนไหน และวิธีควบคุมน้ำหนัก

ผู้ที่ต้องการลดและควบคุมน้ำหนักหลายคนอาจสงสัยว่า ควรชั่งน้ำหนักตอนไหน เพื่อให้ได้ค่าตัวเลขที่แม่นยำที่สุด โดยทั่วไปแล้ว ควรชั่งน้ำหนักในตอนเช้าซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ท้องว่างและร่างกายยังไม่ได้รับอาหาร จึงอาจแสดงค่าของน้ำหนักตัวที่แม่นยำ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรหมกมุ่นกับการชั่งน้ำหนักมากเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายได้ [embed-health-tool-bmi] ควรชั่งน้ำหนักตอนไหน สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการชั่งน้ำหนัก คือ ตอนเช้า เนื่องจากเป็นช่วงที่ท้องว่างและร่างกายยังไม่ได้รับอาหาร น้ำหนักจึงอาจมีความคงที่มากที่สุด นอกจากนี้ หากชั่งน้ำหนักในช่วงเวลาอื่น ๆ น้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไป และเพื่อให้สามารถอ่านค่าความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักในแต่ละวันได้อย่างแม่นยำ คำแนะนำต่อไปอาจช่วยได้ ควรชั่งน้ำหนักในช่วงเช้าและควรเป็นเวลาเดิมในทุก ๆ วัน หรือหากชั่งน้ำหนักเป็นรายสัปดาห์ควรชั่งในวันและเวลาเดิมด้วย ควรเข้าห้องน้ำก่อนชั่งน้ำหนัก ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้น้อยที่สุดหรือสวมใส่เสื้อผ้าชุดเดิม เพื่อให้น้ำหนักไม่คลาดเคลื่อนมากนัก ควรวางเครื่องชั่งน้ำหนักในพื้นผิวที่แข็งและเรียบ ยื่นเท้าเปล่านิ่ง ๆ บนตาชั่ง โดยทิ้งน้ำหนักไปที่เท้าทั้ง 2 ข้างให้เท่ากัน ควรชั่งน้ำหนักบ่อยแค่ไหน การชั่งน้ำหนักน้ำหนักบ่อยครั้งอาจมีข้อดีในการช่วยให้สามารถติดตามความเป็นไปของน้ำหนัก จึงอาจช่วยให้สามารถควบคุมน้ำหนักให้คงที่ได้ในระยะยาว และอาจช่วยให้การลดน้ำหนักประสบความสำเร็จมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การหมกมุ่นกับการชั่งน้ำหนักมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายได้เช่นกัน โดยอาจทำให้บางคนมีความรู้สึกไม่พอใจเมื่อน้ำหนักไม่เป็นไปตามที่ต้องการ จนเกิดความวิตกกังวลจนนำไปสู่การสร้างนิสัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การข้ามมื้ออาหาร การอดอาหาร การรับประทานอาหารน้อยเกินไป การออกกำลังกายมากเกินไป ดังนั้น จึงอาจจำเป็นต้องจัดระเบียบในการชั่งน้ำหนักให้เหมาะสม ดังนี้ การชั่งน้ำหนักทุกวัน อาจช่วยให้สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักได้ตลอดทั้งวัน และอาจช่วยให้สามารถจัดระเบียบการดูแลตัวเองเพื่อควบคุมน้ำหนักได้ นอกจากนี้ อาจทำให้รู้สึกมีแรงผลักดันมากขึ้นในการจัดการและควบคุมน้ำหนักเป็นประจำทุกวัน การชั่งน้ำหนักรายสัปดาห์ อาจช่วยไม่ให้เกิดความหมกมุ่นกับน้ำหนักตัวมากเกินไป และช่วยในการควบคุมน้ำหนัก รวมทั้งไขมันในร่างกายให้เป็นไปอย่างสมดุล […]


โภชนาการพิเศษ

วิตามิน เจริญอาหาร มีประโยชน์อย่างไร และวิธีกระตุ้นความอยากอาหาร

วิตามิน เจริญอาหาร เป็นวิตามินรูปแบบหนึ่งที่มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ช่วยให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น โดยวิตามินเจริญอาหารมักใช้กับผู้ที่มีภาวะเบื่ออาหาร รับประทานอาหารน้อยหรือปฏิเสธการรับประทานอาหาร ซึ่งอาจช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว [embed-health-tool-bmi] ภาวะเบื่ออาหาร เกิดจากอะไร ภาวะเบื่ออาหารอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะสุขภาพ โรคเรื้อรัง ช่วงอายุ ความแก่ชรา ภาวะซึมเศร้า การตั้งครรภ์ไตรมาสแรก อาการคลื่นไส้อาเจียน การใช้ยาบางชนิด ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ภาวะสมองเสื่อม ซึ่งสาเหตุเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตที่เชื่อมโยงกับความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหาร ที่อาจส่งผลให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีภาวะเบื่ออาหารเกิดขึ้น ซึ่งหากปล่อยไว้อาจส่งผลเสียต่อน้ำหนักตัว มวลกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกาย รวมทั้งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ วิตามิน เจริญอาหาร มีประโยชน์อย่างไร วิตามินเจริญอาหาร เป็นวิตามินที่อาจมาในรูปแบบยาที่ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ช่วยให้สามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ที่มีภาวะเบื่ออาหารและปฏิเสธการรับประทานอาหาร จนส่งผลให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และอาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว วิตามินเจริญอาหาร มีอะไรบ้าง ก่อนรับประทานวิตามินเจริญอาหาร ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการเบื่ออาหารก่อนเสมอ เพื่อจะได้รักษาตั้งแต่ต้นเหตุควบคู่ไปกับการรับประทานวิตามินเจริญอาหาร ดังนี้ สังกะสี มีบทบาทสำคัญในการเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การสังเคราะห์โปรตีนและดีเอ็นเอ การรักษาบาดแผล การส่งสัญญาณและการแบ่งเซลล์ ซึ่งการขาดสังกะสีอาจทำให้มีอาการเบื่ออาหาร ระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่ดี การรับรสชาติเปลี่ยนไป แผลหายช้า และผมร่วง ดังนั้น จึงควรรับประทานอาหารเสริมสังกะสีเพื่อช่วยกระตุ้นความอยากอาหารให้เป็นปกติ วิตามินบี 1 หรือไทอามีน (Thiamine) มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการ ซึ่งความรู้สึกเบื่ออาหารอาจเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี 1 นอกจากนี้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ลูกหม่อน ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ลูกหม่อน หรือบางครั้งเรียกแบบทับศัพท์ว่า มัลเบอร์รี่ (Mulberry) เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผลเล็ก ๆ เป็นพวง มีสีแดงหรือม่วงแดง แต่เมื่อแก่จัดจะเป็นสีม่วงดำหรือดำ ให้รสชาติหวานอมเปรี้ยว นิยมรับประทานสดและนำมาแปรรูปเป็นขนม แยม และน้ำผลไม้ โดยลูกหม่อนมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น โพแทสเซียม วิตามินเอ วิตามินซี เบตาแคโรทีน (Beta Carotene) ที่อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล บำรุงสมอง และป้องกันโรคมะเร็งได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ลูกหม่อน ลูกหม่อน 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 43 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 9.8 กรัม โปรตีน 1.44 กรัม ไขมัน 0.39 กรัม โพแทสเซียม 194 มิลลิกรัม แคลเซียม 39 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 38 มิลลิกรัม […]


โภชนาการพิเศษ

กรวยไตอักเสบ ห้ามกินอะไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

กรวยไตอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หนาวสั่น เจ็บขณะถ่ายปัสสาวะ นอกจากจะรักษาด้วยการกินยาปฏิชีวนะและปรับพฤติกรรมตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัดแล้ว การเลือกอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ผู้ป่วยควรทราบว่า กรวยไตอักเสบ ห้ามกินอะไร เพื่อไม่ให้อาการแย่ลง โดยทั่วไป ผู้ป่วยกรวยไตอักเสบห้ามกินอาหารที่มีสารอาหารบางชนิดในปริมาณมาก เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม เพราะร่างกายไม่สามารถขับสารอาหารเหล่านั้นออกไปได้ตามปกติ จึงอาจส่งผลให้อาการแย่ลงได้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุกรวยไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกรวยไต มักเกิดจากแบคทีเรียเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli.) หรือที่เรียกว่าเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E. coli) โดยเชื้อจะเดินทางเข้าสู่กรวยไตและทำให้เกิดการติดเชื้อได้ 2 ลักษณะ คือ การติดเชื้อที่ลุกลามจากระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างขึ้นมาถึงกรวยไต และการติดเชื้อทางกระแสเลือด แต่ส่วนใหญ่แล้วกรวยไตอักเสบมักเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมากกว่า ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย เช่น กลั้นปัสสาวะบ่อย ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ดูแลรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศได้ไม่ดี ในขณะที่การติดเชื้อทางกระแสเลือดพบได้น้อยกว่า และมักเกิดกับผู้ที่มีท่อไตอุดตันจากการผ่าตัดหรือผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและอ่อนแอ ภาวะสุขภาพที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกรวยไตอักเสบ อาจมีดังนี้ เป็นนิ่วในไต สอดสายสวนปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต เป็นโรคปัสสาวะไหลย้อนกลับ (Vesicoureteral reflux หรือ VUR) กำลังตั้งครรภ์ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดพุงล่าง ป้องกันโรคอ้วนลงพุง ทำได้อย่างไรบ้าง

สำหรับผู้ที่มีพุงล่าง หรือพุงหมาน้อย อาจเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหาร ทำให้มีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง สามารถพบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ที่อาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น พุงล่างป่อง และรู้สึกไม่มั่นใจ โดยเฉพาะเมื่อต้องใส่เสื้อผ้ารัดรูป ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการ ลดพุงล่าง ซึ่งอาจทำได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย หรือปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีในการช่วยลดพุงล่างอย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-bmr] พุงล่าง  เกิดจากอะไร พุงล่าง อาจเกิดจากกระบวนการเผาผลาญอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้ร่างกายสะสมแคลอรี่ส่วนเกินจากอาหาร เก็บไว้ในรูปแบบไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องและรอบเอว โดยอาจสังเกตได้ลักษณะรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป ดูคล้ายกับลูกแพร์หรือแอปเปิ้ล มีค่าดชนีมวลกาย 25 ขึ้นไป รอบเอว 35-40 ขึ้นไป รู้สึกเหนื่อยล้าง่ายเมื่อเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย นอกจากนี้ หากไม่รีบลดพุงล่าง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดพุงล่าง ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และไขมันสูงในปริมาณมาก เช่น พาสต้า ข้าวขาว ขนมปังขาว ของทอด อาหารแปรรูป ขนมหวาน เค้ก คุกกี้ โดนัท รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เบียร์ ไวน์ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

เทคนิคการ ลดน้ําหนัก 1 เดือน ทำได้อย่างไร

ปัญหาน้ำหนักเกินเกณฑ์อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรมของคนในครอบครัว ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ดีที่เน้นแต่การรับประทานอาหารไขมัน น้ำตาลและแป้งสูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ อย่างไรก็ตาม การลดน้ำหนักอย่างไม่ถูกต้องก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน ดังนั้น หากต้องการ ลดน้ำหนัก 1 เดือน จึงควรศึกษาเทคนิคการลดน้ำหนักอย่างเหมาะสมหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-bmi] อันตรายต่อสุขภาพจากน้ำหนักเกินเกณฑ์ น้ำหนักเกินเกณฑ์ สังเกตได้จากการมีค่าดัชนีมวลกาย 25-30 ขึ้นไป ไขมันรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว มีพุง มีเหนียง และตัวใหญ่ ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่โรคอ้วน อีกทั้งยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ส่งผลกระทบกับสุขภาพได้ ดังนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากหลอดเลือดตีบหรืออุดตันเนื่องจากไขมันสะสมซึ่งขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด อาการหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง โดยอาจสังเกตได้จากอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น เจ็บหน้าอก มีปัญหาด้านความจำและไม่มีสมาธิ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการสะสมของไขมันและคอเลสเตอรอลอาจทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินในการจัดการกับน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคข้อเข่าเสื่อม น้ำหนักที่มากเกินไปอาจทำให้ข้อต่อบริเวณเข่าต้องรองรับน้ำหนักตัวมาก จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อม ข้อต่ออักเสบ โดยอาจสังเกตได้จากอาการปวดบริเวณข้อต่อ โดยเฉพาะขณะเคลื่อนไหวและข้อต่อบวม ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การมีน้ำหนักตัวมากและไขมันสะสมอาจส่งผลกระทบต่อการหายใจ ทำให้ทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ และส่งผลให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยสังเกตได้จากอาการนอนกรนอย่างหนัก หายใจลำบากและหายใจไม่เต็มปอด อาการโควิด-19 ระดับรุนแรง โรคอ้วนอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และส่งผลให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสน้อยลง […]


โภชนาการพิเศษ

ความดันสูงห้ามกินอะไร และควรกินอะไรเพื่อควบคุมความดันโลหิต

ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหาร หากทราบว่า ความดันสูงห้ามกินอะไร อาจช่วยให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยทั่วไป คนความดันสูงควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารแปรรูป น้ำตาล ไขมันทรานส์ เครื่องปรุงรส และควรเลือกกินอาหารที่เหมาะสม เน้นอาหารจากธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลาที่มีไขมันดี ผักและผลไม้สด ธัญพืชไม่ขัดสี นมไขมันต่ำ เพราะมีสารอาหารหลากหลาย จึงอาจช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตได้ [embed-health-tool-bmi] ความดันสูงเกิดจากอะไร ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) หรือที่นิยมเรียกว่า ความดันสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีความดันโลหิต 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่แน่ชัด แต่พันธุกรรม พฤติกรรมการกินอาหารรสหวาน มัน เค็ม เปรี้ยวจัด ภาวะสุขภาพ เช่น น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ โรคอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ เมื่อแรงดันของเลือดในหลอดเลือดที่กระทบกับผนังหลอดเลือดสูงเกินไป จะส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา หรือไม่ปรับระดับความดันโลหิตให้ลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจทำให้หลอดเลือดและอวัยวะต่าง ๆ เสียหาย และหากมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง […]


โภชนาการพิเศษ

ผลไม้ ผู้ป่วยเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยง มีอะไรบ้าง

ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานผลไม้เป็นประจำเพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ก็ควรเลือกผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ซึ่งจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่พุ่งสูงเร็วเกินไป ส่วน ผลไม้ ผู้ป่วยเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง เช่น แตงโม สับปะรด เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดพุ่งสูงเร็วเกินไป จนทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยากขึ้น การรับประทานผลไม้ให้ถูกชนิดอาจช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ [embed-health-tool-bmi] ค่าดัชนีน้ำตาลในอาหาร คืออะไร ค่าดัชนีน้ำตาล หรือ Glycaemic index (GI) คือดัชนีที่ใช้วัดระดับคาร์โบไฮเดรตในอาหาร มีค่าตั้งแต่ 0-100 แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต่ำ (ไม่เกิน 55) ระดับปานกลาง (56-69) และระดับสูง (70 ขึ้นไป) ซึ่งจะแสดงถึงความเร็วในการเปลี่ยนอาหารที่รับประทานไปเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดว่าใช้เวลาช้าหรือเร็วเท่าไหร่ โดยทั่วไป อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดได้เร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในขณะที่อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดได้ช้าและคงที่กว่า ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อย ๆ เพิ่มขึ้นแบบไม่แปรปรวน อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงอีกประการหนึ่งคือ ปริมาณการรับประทาน เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำในปริมาณมากก็สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานได้ไม่ต่างกับการรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงในปริมาณเล็กน้อย ดังนั้นจึงไม่ควรละเลยการจัดสัดส่วนของปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตไม่เกิน 15 กรัม ต่อการรับประทาน 1 ครั้ง หรือ 1 ส่วน […]


โภชนาการพิเศษ

แม่หลังคลอดกินอะไรได้บ้าง และควรดูแลตัวเองอย่างไร

คนท้องใกล้คลอดอาจสงสัยว่า แม่หลังคลอดกินอะไรได้บ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน โดยทั่วไปแล้ว แม่หลังคลอดสามารถกินอาหารทุกอย่างได้ตามปกติ แต่ควรเน้นอาหารที่มีสารอาหารหลากหลายและครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ และดื่มน้ำให้เพียงพอ และอาจต้องระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น ปลาที่มีสารปรอทสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตัวเองและทารกแรกเกิดที่กินนมแม่ได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] แม่หลังคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดควรกินอาหารที่หลากหลายและให้สารอาหารครบถ้วน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายหลังคลอด ช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ และช่วยให้ผลิตน้ำนมได้เพียงพอต่อความต้องการของทารกแรกเกิด โดยอาหารที่เหมาะสำหรับแม่หลังคลอด อาจมีดังนี้ โปรตีน เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอจากการคลอด และช่วยให้แผลคลอดหายไวขึ้น พบมากในพืชตระกูลถั่ว อาหารทะเล เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่ว เมล็ดพืช ไข่ นม ปลา เต้าหู้ เป็นต้น แคลเซียม การกินอาหารที่มีแคลเซียมอาจช่วยรักษาระดับแคลเซียมในร่างกาย และเพิ่มระดับแคลเซียมในกระดูกของแม่หลังคลอดที่ถูกสลายไปใช้บำรุงทารกในครรภ์ในระหว่างตั้งครรภ์ อีกทั้งแคลเซียมยังช่วยเสริมสร้างการพัฒนากระดูกของทารกแรกเกิด และช่วยให้ระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจของทารกทำงานได้ดีอีกด้วย แคลเซียมพบได้มากในนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น นมวัว โยเกิร์ตไขมันต่ำ ผักใบเขียวเข้ม เช่น บรอกโคลี กระหล่ำปลี ปวยเล้ง ธาตุเหล็ก เนื่องจากการคลอดลูกทำให้ร่างกายคุณแม่เสียเสียเลือดมากกว่าปกติ ร่างกายจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นเพื่อผลิตฮีโมโกลบินที่ทำหน้าที่เก็บและลำเลียงออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง อาหารที่เป็นแหล่งธาตุเหล็ก เช่น เนื้อแดง […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

กินเหล้า มีประโยชน์ไหม และส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

เหล้า เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการกลั่นธัญพืชหรือผลไม้ที่หมักแล้ว โดยจัดเป็นเครื่องดื่มที่คนไทยนิยมบริโภคมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเหล้าขาว บรั่นดี วอดก้า วิสกี้ ทั้งนี้ ควรงดเว้น การ กินเหล้า เพราะเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ เช่น โรคตับ โรคซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่ระบุว่าหากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะอาจช่วยบำรุงสุขภาพได้ นิยามของเหล้า เหล้า (Liquor หรือ Spirit) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทหนึ่ง เกิดจากการกลั่นธัญพืช ผลไม้ ผัก หรือน้ำตาล ที่ผ่านการหมักมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อพูดถึงการ กินเหล้า จึงหมายถึงการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นเหล้าขาว เหล้าหวาน บรั่นดี วอดก้า วิสกี้ จิน รัม สาเก โชจู ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรืออาการบาดเจ็บต่าง ๆ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าเป็นประจำ หรือหากต้องการดื่ม ผู้ชายไม่ควรดื่มเกิน 2 แก้วต่อวัน ส่วนผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้ว/วัน ประโยชน์ของการ กินเหล้า การกินเหล้ามักส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าส่งผลดี อย่างไรก็ตาม การกินเหล้าในปริมาณที่พอเหมาะอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ดังนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด การ กินเหล้า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน