พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ สามารถทำได้โดยการเลือกสิ่งที่ดีต่อร่างกายของคุณ ตลอดไปจนถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย และทำให้คุณภาพชีวิตของเราดียิ่งขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ และผลกระทบที่อาจตามมา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการ ทำแผล ที่ควรรู้

หลายคนอาจคุ้นเคยกับขั้นตอนการ ทำแผล ตั้งแต่การหยุดเลือด ทำความสะอาดบริเวณแผลและโดยรอบ และปิดด้วยผ้าพันแผลเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการทำแผลอยู่มากมาย และนี่คือตัวอย่าง 5 ความเชื่อผิด ๆ นั้น 5 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการ ทำแผล ความเชื่อที่ 1: ควรทำให้แผลแห้งตลอด ความเชื่อนี้เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย ๆ แม้ว่าการทำให้แผลแห้งอยู่เสมออาจจะเป็นเรื่องที่ฟังดูแล้วดูสมเหตุสมผล เพราะแผลมักจะแห้งเมื่อเกิดสะเก็ดแผล แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การรักษาความชุ่มชื้นของแผลจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น บาดแผลที่มีความชุ่มชื้นอย่างพอเหมาะมักจะมีโอกาสอักเสบน้อยกว่าและหายได้ไวกว่าแผลที่แห้ง วิธีหนึ่งที่จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แผลคือการทาปิโตเลียมเจล² เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นและยังช่วยเป็นเกราะป้องกันการเกิด แผลติดเชื้อ ซึ่งอาจช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นน้อยลง นอกจากนี้ คุณก็อาจทาไฮโดรเจล ซึ่งมีส่วนประกอบของวัสดุสังเคราะห์ที่ช่วยคงความชุ่มชื้นให้กับบาดแผลโดยไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อของบาดแผล9 ไฮโดรเจลจะช่วยคงความชุ่มชื้นของแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น สังเกตว่าถ้าหากมีสะเก็ดแผลเกิดขึ้น แสดงว่าแผลใกล้จะหายดีแล้ว ไม่ควรแกะสะเก็ดแผล ดร.คาร์ลา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผิว อย่างไรก็ตาม หากดูเหมือนบาดแผลไม่หายดี หรือมีสัญญาณของ แผลติดเชื้อ ควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอในทันที ความเชื่อที่ 2: ควรใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือแอลกอฮอล์เพื่อ ทำแผล อีกหนึ่งความเชื่อผิด ๆ ที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับการทำแผลคือการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือแอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดแผล ในความเป็นจริงแล้ว การใช้สารเคมีเหล่านี้เพื่อฆ่าเชื้อเกินความจำเป็นอาจส่งผลให้แผลหายช้าลงได้ แม้ว่าแอลกอฮอล์³ และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์4 จะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งผลกระทบต่อกระบวนการฟื้นฟูของแผล และทำให้แผลหายช้าลงได้ ทางเลือกที่ดีกว่าคือการทำความสะอาดแผลโดยใช้น้ำสะอาดและไอโอดีน5 ทั้งสองอย่างนี้มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดสิ่งสกปรกและฆ่าเชื้อโรค ความเชื่อที่ 3: การทายาสีฟันบนแผลไหม้จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น แม้ว่าหลายคนอาจจะคิดว่าการทายาสีฟันลงบนแผลไหม้ แผลลวก เป็นเรื่องที่ปกติและควรทำ เพราะยาสีฟันมีฤทธิ์ทำให้ผิวเย็นลง […]

หมวดหมู่ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

การปฐมพยาบาล

สารเคมีเข้าตา อุบัติเหตุอันตราย ที่ต้องรีบปฐมพยาบาลทันที

“ดวงตา” เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในร่างกาย หากดวงตาบาดเจ็บ เสียหาย หรือถึงขั้นพิการ ก็อาจทำให้เราใช้ชีวิตยากลำบากขึ้นได้ อุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตาอย่างหนึ่งที่คุณควรระวังก็คือ สารเคมีเข้าตา เพราะในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลาย เช่น น้ำยาทำความสะอาด สเปรย์กำจัดแมลง สารเคมีเข้าตาถือเป็นอุบัติเหตุอันตราย ที่ควรได้รับการปฐมพยาบาล และรักษาอย่างทันท่วงที เพราะหากปล่อยไว้อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อดวงตาและอวัยวะใกล้เคียงได้ แล้ววิธีปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตาจะมีอะไรบ้าง เราไปหาคำตอบจากบทความนี้กันได้เลย อันตรายที่เกิดขึ้น เมื่อ สารเคมีเข้าตา โดยปกติแล้ว เวลามีสิ่งแปลกปลอมมาสัมผัสบริเวณดวงตา ร่างกายของเราจะตอบสนองด้วยการทำให้เปลือกตาปิดลงอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าตาหรือทำร้ายดวงตาของเราได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว สารเคมีบางส่วนก็มักจะแทรกซึมและสัมผัสกับผิวหน้าสุดของดวงตา จนทำให้ตาของเราระคายเคือง เกิดแผลไหม้จากสารเคมี (Chemical Burn) หรือเกิดปัญหาร้ายแรงกว่านั้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสารเคมี ระดับความเข้มข้นของสารเคมี และระยะเวลาที่สารเคมีสัมผัสกับดวงตา เป็นต้น สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อดวงตาของเราได้ เช่น กรด ผลิตภัณฑ์ที่มีกรดเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ แบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด สารฟอกผ้าขาว ซึ่งกรดในผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถทำให้เกิดแผลไหม้จากสารเคมี หรือปัญหาสุขภาพตาที่รุนแรงกว่านั้นได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นมักจะเกิดในบริเวณที่สัมผัสกับกรดโดยตรง อย่างผิวชั้นนอกเท่านั้น ไม่ลงลึกไปถึงเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไป ด่าง ผลิตภัณฑ์ที่มีด่างเป็นส่วนประกอบ เช่น ปุ๋ย น้ำยาล้างจาน ประกายไฟจากดอกไม้ไฟ หากเข้าตาสามารถทำให้ดวงตาเสียหายรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งสารเคมีจำพวกกรดยังสามารถแทรกซึมและทำลายเนื้อเยื่อดวงตาและบริเวณโดยรอบที่อยู่ในชั้นลึกลงไปได้ด้วย ปัญหาสุขภาพตาที่เกิดจากสารเคมีจำพวกด่างเข้าตา เช่น กระจกตาเป็นแผล ตาติดเชื้อ […]


การปฐมพยาบาล

ก้างติดคอ อาการ และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ก้างติดคอ เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป อาจเกิดจากการรับอาหารประเภทปลา หรือมีส่วนประกอบของปลาเร็วเกินไป หรืออาจเพราะมีก้างปลาหลงอยู่ในอาหาร เมื่อไม่ได้สังเกตและรับประทานเข้าไป จึงอาจทำให้ก้างติดคอได้ ภาวะนี้แม้จะพบได้ทั่วไป แต่หากปล่อยไว้ อาจส่งผลต่อการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงกว่า เช่น คออักเสบ คอติดเชื้อ ก้างติดคอ มีอาการอย่างไร หากมีอาการดังต่อไปนี้หลังจากรับประทานอาหารประเภทปลา หรืออาหารที่มีก้างหรือกระดูกเล็ก ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าก้างติดคอ รู้สึกเสียวแปล๊บ เหมือนมีอะไรทิ่มหรือติดอยู่ในลำคอ มีอาการเจ็บหรือปวดในลำคออย่างรุนแรง กดที่ลำคอแล้วรู้สึกเจ็บ มีอาการไอ ระคายเคืองคอ กลืนอาหารลำบาก หรือรู้สึกเจ็บปวดเวลากลืนอาหาร ถ่มน้ำลายแล้วมีเลือดปนออกมา วิธีปฐมพยาบาลเมื่อก้างติดคอ วิธีการดังต่อไปนี้ อาจช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อก้างติดคอได้ การดื่มน้ำ การดื่มน้ำอึกใหญ่ อาจช่วยให้ก้างปลาที่ติดคออยู่หลุดออกไปได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว วิธีนี้อาจใช้ได้ผลเมื่อก้างอยู่ไม่ลึกมาก เช่น บริเวณลำคอ บริเวณทอนซิล การไอ ก้างปลามักจะไปติดอยู่ที่บริเวณลำคอ หรือบริเวณต่อมทอนซิล การไอหรือกระแอมอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่เพียงพอจะทำให้ก้างที่ติดอยู่หลุดออกมาได้ น้ำส้มสายชู หากการกระแอมหรือการไอไม่ได้ผล อาจดื่มน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำสะอาด 1 แก้ว หรือจะดื่มน้ำส้มสายชูเพียว ๆ 1 ช้อนโต๊ะก็ได้เช่นกัน น้ำส้มสายชูมีสภาพเป็นกรดจึงอาจช่วยกัดกร่อนให้ก้างนิ่มลง จนสามารถกลืนลงไปได้ง่ายขึ้น มาร์ชเมลโลว์ การรับประทานขนมหวานลักษณะนิ่มเหนียวอย่างมาร์ชเมลโลว์ อาจช่วยยึดเกาะและดันให้ก้างหลุดเข้าไปยังกระเพาะอาหารได้ กล้วย หากรู้สึกว่าก้างติดคอ อาจลองกัดกล้วยคำใหญ่ ๆ แล้วอมไว้ในปากประมาณ 1 นาที เพื่อให้กล้วยซับเอาน้ำลายในปาก จากนั้นกลืนกล้วยลงไป กล้วยที่ซับน้ำลายนี้อาจช่วยยึดเกาะและดันให้ก้างหลุดเข้าไปยังกระเพาะอาหารได้ ขนมปังและน้ำ แช่ขนมปังไว้ในน้ำสะอาดประมาณ 1 นาที เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับขนมปัง จากนั้นกัดขนมปังคำใหญ่ […]


การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาลจมูกหัก ดั้งแตก ควรจัดการอย่างไร

จมูก ถือเป็นกระดูกส่วนที่หักบ่อยที่สุดส่วนหนึ่ง เนื่องจาก จมูกหัก มักเป็นผลมาจากการบาดเจ็บที่ใบหน้า ซึ่งจะมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวด ความผิดปกติที่มองเห็นได้ อย่างเช่น จมูกมีเลือดไหล ในกรณีที่รุนแรงอาจจะทำให้เกิดการหายใจลำบาก มีรอยช้ำรอบดวงตาหรือตาดำ ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงมีเรื่อง การปฐมพยาบาลจมูกหัก มาฝากกันในบทความนี้ การปฐมพยาบาลจมูกหัก ควรทำอย่างไร เมื่อจมูกหักหลายคนอาจจะเกิดอาการตกใจ จนไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นดี ก่อนจะ ปฐมพยาบาลจมูกหัก คุณควรตั้งสติ อย่าตื่นตระหนกจนเกินไป จากนั้นลองทำตามขั้นตอนเหล่านี้ หายใจทางปาก หากเป็นไปได้พยายามอย่าเคลื่อนไหว เพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณคอและกระดูกสันหลังได้ หากคอไม่ได้เกิดการบาดเจ็บใด ๆ ให้โน้มตัวไปข้างหน้า และค่อย ๆ บีบรูจมูกเข้าหากัน วิธีนี้เป็นการช่วยห้ามเลือด และป้องกันไม่ให้เลือดไหลเข้าไปที่คอและถูกกลืนเข้าไป ประคบเย็น เพื่อช่วยควบคุมอาการปวดและบวม ทานยาอะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) เพื่อควบคุมความเจ็บปวด โดยแพทย์อาจจะมีการสั่งจ่ายยาที่แรงกว่านี้ ดังนั้น จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณได้ทานยาแก้ปวดก่อนที่จะมาโรงพยาบาล จมูกหัก แบบไหนถึงจะเป็นภาวะฉุกเฉิน นอกจาการ ปฐมพยาบาลจมูกหัก ที่คุณทำได้เบื้องต้นแล้ว เมื่อคุณรู้สึกว่าตัวเองจมูกหัก หรือเกิดความสงสัยเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น การไปหาคุณหมอเพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยโดยแพทย์ถือเป็นเรื่องที่ควรทำ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง สำหรับจมูกหักที่ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ได้แก่ ไม่สามารถควบคุมเลือดที่ไหลออกมาได้ หายใจลำบาก สงสัยว่าได้รับการบาดเจ็บสาหัสบริเวณอื่น ๆ โดยเฉพาะการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง หรือคอ มีของเหลวใสไหลออกมาทางจมูกในปริมาณที่มากผิดปกติ มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ปรากฏให้เห็น เนื้อเยื่อจมูกเปลี่ยนเป็นสีดำ การวินิจฉัยเมื่อจมูกหัก อาจจเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจหากจะกล่าวว่า การเอ็กซเรย์นั้นไม่ได้มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาจมูกหัก […]


การปฐมพยาบาล

แผลฉีกขาดที่ผิวหนัง ควรดูแลรักษาอย่างไร

เมื่ออายุมากขึ้น ผิวหนังของคนเราก็จะแห้ง ขาดความชุ่มชื้น ทั้งยังบอบบางกว่าปกติด้วย หากคุณไม่ระมัดระวังสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ก็อาจทำให้เกิด แผลฉีกขาดที่ผิวหนัง ได้ ซึ่งเมื่อเกิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนังแล้วจะมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง ลองมาติดตามกันในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ แผลฉีกขาดที่ผิวหนัง เป็นอย่างไร แผลฉีกขาดที่ผิวหนัง (Skin Tears) ถือเป็นเรื่องปกติมากเมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น เนื่องจากผิวหนังจะแห้งและบอบบางมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากผิวที่มีสุขภาพดี ผิวสุขภาพดีนั้นเมื่อออกแรงกดเพียงนิดเดียวมันก็สามารถยืดและขยายตัวออกจากกันได้ทันที สำหรับบางคนแล้ว การมีผิวที่สุขภาพดีก็อาจทำให้ผ้าปิดแผลแบบกาวติดกับผิวได้ยาก เมื่อดึงออกจากผิวหนังก็ยังไม่ทำให้เกิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนังอีกด้วย แผลฉีกขาดที่ผิวหนังเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระตุ้นที่เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังมีความบอบบางมากซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเมื่อมีอายุที่มากขึ้น เนื่องจากหลอดเลือดที่กระจายตัวตามผิวหนัง ทำให้ผิวหนังมีความกระด้าง หรือหนังแข็ง (Sclerotic) มากขึ้น การส่งผ่านความชื้นและสารอาหารไปยังเนื้อเยื่อผิวหนังก็ลดน้อยลง ประเภทของ แผลฉีกขาดที่ผิวหนัง แผลฉีกขาดที่ผิวหนังมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่ โดยแผลฉีกขาดที่ผิวหนังแต่ละประเภท มีดังนี้ แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภทที่ 1 แผ่นหนัง (Skin Flap) มีความสมบูรณ์เพียงพอสำหรับการปิดแผลทั้งหมด แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภทนี้อาจหายได้หากมีการแทนที่ของแผ่นหนังในส่วนที่ขาดหายไป โดยที่คุณจำเป็นจะต้องพันแผลเอาไว้ด้วยผ้าปิดแผล สำหรับแผลฉีกขาดที่ผิวหนังภายใต้ประเภทแผลฉีกขาดประเภทที่ 1 ที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้เป็นสิ่งที่คุณจะต้องจัดการ แม้ว่าแผ่นหนังที่เอามาแทนที่นั้นจะสามารถพัฒนาได้หรือไม่ก็ตาม แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภท 1a หมายถึงแผ่นหนังเป็นสีชมพูและมีสุขภาพดี แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภท 1b แผ่นหนังจะซีดเป็นสีฟ้าหรือม่วง ซึ่งหมายความว่าอาจไม่สามารถรักษาได้ แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภทที่ 2 แผ่นหนังเสียหายและปิดไม่สนิท ในกรณีนี้แผลฉีกขาดที่ผิวหนังจะไม่สามารถรักษาได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากแผ่นหนังจะปิดไม่ถึงขอบของแผล เช่นเดียวกับด้านบน แผลฉีกขาดที่ผิวหนังประเภท […]


การปฐมพยาบาล

รู้ทัน ปัญหา แก๊สรั่ว อันตรายร้ายแรงภายในบ้าน

แก๊สรั่ว เป็นปัญหาอันตราย ภายในครัวเรือน ที่อาจนำไปสู่การสูญเสียอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต แต่เราก็สามารถรับมือกับปัญหาแก๊สรั่วได้ หากเรารู้จักวิธีการจัดการที่ถูกต้อง วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำ วิธีการรับมือกับปัญหา แก๊สรั่ว ว่าควรจัดการอย่างไร ถึงจะปลอดภัยกับเราทุกคน จะรู้ได้อย่างไรว่าในบ้านมี แก๊สรั่ว แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีอย่าง เตาไฟฟ้า ให้ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว แต่เตาแก๊สหุงต้ม ก็ยังคงได้รับความนิยมใช้กันในครัวเรือนทั่วไปอยู่ดี ซึ่งหากเราดูแลรักษาไม่ดี อาจทำให้เกิดปัญหาแก๊สรั่ว ซึ่งเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงได้ เราสามารถสังเกตสัญญาณของแก๊สรั่วได้ ดังนี้ มีกลิ่นเหม็น คล้ายกลิ่นไข่เน่า หรือกลิ่นกำมะถัน ได้ยินเสียงฟู่ เบา ๆ แถวเตาแก๊ส ในบริเวณรอบ ๆ เตาแก๊สอาจจะมีคราบหรือฝุ่นขาว ๆ อยู่ มีฟองอากาศเกิดขึ้นในแหล่งน้ำนิ่งภายในบ้าน หากมีต้นไม้ในบ้าน ต้นไม้จะเหี่ยวเฉาลง หรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ หากคุณสังเกตพบสัญญาณเหล่านี้ อย่าจุดไฟหรือเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเด็ดขาด มิเช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดการระเบิดได้ แก๊สรั่วกับปัญหาสุขภาพ ปัญหาแก๊สรั่วนั้นไม่เพียงแต่อาจจะทำให้เกิดการไฟไหม้หรือระเบิด เมื่อเจอประกายไฟเพียงเท่านั้น ยังอาจทำให้คุณหรือคนในครอบครัวมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ เนื่องจากแก๊สหุงต้มนั้นจะไปแทนที่ออกซิเจนในอากาศ ทำให้เราได้รับออกซิเจนน้อยลงเมื่อหายใจ และเกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น หายใจไม่ออก วิงเวียนศีรษะ มึนหัว ง่วงนอน เซื่องซึม ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก มีอาการคล้ายกับเป็นไข้หวัด เลือดกำเดาไหล ความอยากอาหารลดลง หูอื้อ หากแก๊สรั่วนั้นมีปริมาณมาก หรืออยู่ในพื้นที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเท สุดท้ายก็อาจจะทำให้คุณ คนในครอบครัว และสัตว์เลี้ยง หมดสติ […]


การปฐมพยาบาล

ระวัง! หน้ามืด บ่อย ๆ อาจเสี่ยงตายโดยไม่รู้ตัว

หลายคนที่มีอาการ หน้ามืด หรือมีอาการวิงเวียนศีรษะบ่อย ๆ อย่านิ่งนอนใจนะคะ ถ้าหากปล่อยไว้เนิ่นนานจนเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอาการหน้ามืดให้มากขึ้นกันค่ะ จะมีสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ อาการ หน้ามืด (Faint) เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการ หน้ามืด (Faint)  เป็นอาการสูญเสียสติอย่างฉับพลันชั่วคราว โดยมีสาเหตุมาจากการที่สมองขาดออกซิเจน  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหงื่อออก คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ผิวเย็นชื้น เป็นต้น ประเภทของอาการหน้ามืด (เป็นลม) ประเภทของอาการหน้ามืด (เป็นลม) นั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ที่พบได้บ่อย ดังนี้ เป็นลมธรรมดา (Vasovagal syncope)  เป็นอาการหน้ามืดที่บ่อยซึ่งเกิดจากเส้นประสาทวากัส โดยอาจเกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ ความเครียด การเห็นเลือดหรือยืนเป็นเวลานาน ๆ อาการเป็นลมที่เกิดจากการกระตุ้นคาโรติค ไซนัส (Carotid Sinus Syncope) เป็นผลมาจากหลอดเลือดในลำคอยตีบตัน มักเกิดจากการหันศีรษะไปทางใดทางหนึ่ง โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากการสวมปลอกคอที่แน่นเกินไป เป็นลมหมดสติต่อเนื่อง (Situational syncope) อาการนี้มักเกิดขึ้นขณะไอ ปัสสาวะ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร สาเหตุของอาการหน้ามืด อาการหน้ามืดเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ […]


การดูแลสุขอนามัย

อาบน้ำ แบบลวก ๆ อย่างเร่งรีบ รู้ไหมว่าอาจทำความสะอาดร่างกายได้ไม่ทั่วถึง

ขณะ อาบน้ำ มีใครเคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่า อวัยวะส่วนไหนในร่างกายของเราบ้างที่เรามักจะ ทำความสะอาดไม่ทั่วถึง หรือขัดถูเอาแต่พอลวก ๆ ถ้ายังนึกไม่ออกล่ะก็ วันนี้ Hello คุณหมอ รวบรวม อวัยวะที่เรามักทำความสะอาดไม่เพียงพอ มาฝากค่ะ แต่จะมีอวัยวะส่วนไหนบ้างนั้น มาติดตามที่บทความนี้กันเลยค่ะ อวัยวะที่เรามักละเลย เวลา อาบน้ำ มีอะไรบ้าง 1. หนังศีรษะ เราสระผมกันเป็นประจำ บางคนสระผมทุกวัน บางคนสองวันสระครั้งหนึ่ง หรือบางคนอาจจะสามวันสระทีหนึ่ง แต่รู้หรือไม่ว่า แม้เราจะสระผมกันเป็นประจำ แต่หนังศีรษะเป็นจุดหนึ่งที่เรามักจะละเลย และ ทำความสะอาดไม่ทั่วถึง เพราะโดยมากเราจะชโลมแชมพูและครีมนวดผมลงบนเส้นผม นวดแต่เส้นผม ขยี้แต่เส้นผม ไม่ค่อยได้นวดหนังศีรษะเวลาสระผมสักเท่าไหร่ หรืออาจจะนวดได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งหนังศีรษะที่ทำความสะอาดไม่ดีจะทำให้เซลล์ผิวหนังตาย ก่อให้เกิดอาการคัน หนังศีรษะลอกเป็นขุย หรือเป็นรังแค ดังนั้นเวลาอาบน้ำหรือสระผมอย่าลืมนวดที่หนังศีรษะด้วย เพื่อกระตุ้นให้หนังศีรษะผลิตน้ำมันออกมารักษาความชุ่มชื้นของหนังศีรษะ และป้องกันไม่ให้เซลล์ผิวหนังตาย 2. แผ่นหลัง เวลาอาบน้ำ ร่างกายของเราจะเปียหมดทุกส่วน ไม่เว้นแม้แต่แผ่นหลัง แต่การที่แผ่นหลังเปียกน้ำแล้ว ไม่ได้หมายความว่าหลังของเราจะสะอาดแต่อย่างใด แผ่นหลังจำเป็นที่จะต้องได้รับการขัดและถูไม่ต่างจากอวัยวะส่วนอื่น ๆ แต่ก็อาจจะติดปัญหาที่หลายคนอาจจะมีช่วงแขนสั้น จะเอื้อมมือไปทำความสะอาดหลังก็ทำได้ไม่ถนัดหรือทำแล้วแต่ไม่สามารถที่จะทำความสะอาดได้ทั่วถึง หรือพอเอื้อมไม่ถึงก็อาจจะละเลยในการทำความสะอาดไป หากเราทำความสะอาดแผ่นหลังไม่ทั่วถึง อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่แผ่นหลัง เกิดการสะสมคราบเหงื่อไคล บางครั้งก็อาจก่อให้เกิดสิวด้วย แต่เราสามารถแก้ได้ด้วยการใช้ใยบวบขัดหลัง หรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับขัดทำความสะอาดหลังโดยเฉพาะ 3. […]


การปฐมพยาบาล

รู้ไว้ใช้ช่วยชีวิตได้ การปฐมพยาบาลผู้ได้รับสารพิษเบื้องต้น

รอบตัวของเรานั้น มีสิ่งที่เรียกว่าสารพิษอยู่เต็มไม่หมด ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาขัดห้องน้ำที่วางอยู่มุมห้อง ผงซักฟอกที่หลังบ้าน หรือแม้แต่ฝุ่นควันรถยนตร์ตามท้องถนน ซึ่งสารพิษเหล่านี้ก็อาจจะทำอันตรายต่อเราได้ หากเราได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการสูดดมหรือการรับประทาน วันนี้ Hello คุณหมอ แลยจะมานำเสนอเกี่ยวกับ การปฐมพยาบาลผู้ได้รับสารพิษเบื้องต้น เพื่อการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับสารพิษ อย่างถูกต้องและเหมาะสมกันค่ะ อย่างไรจึงจะเรียกว่าสารพิษ คำว่า สารพิษ หมายถึงสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา สารเคมีเหล่านี้อาจจะมีทั้งในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือแม้กระทั่งก๊าซต่างๆ เมื่อเรารับประทาน สูดดม สัมผัส หรือฉีดสารเคมีเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย ก็อาจจะเป็นอันตรายต่ออวัยวะ หรือรบกวนการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้ ตัวอย่างของสารพิษที่เราอาจพบเจอได้ในชีวิตประจำวันคือ การใช้ยาเกินขนาด สารทำความสะอาดต่างๆ เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ หรือน้ำยาล้างจาน ยาฆ่าแมลง ควันรถยนต์ สารตะกั่ว และสารปรอท ที่มักจะพบได้ในสีทาบ้าน ระดับความรุนแรงจากสารพิษเหล่านี้ จะขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ และวิธีการที่เราได้รับสารพิษ และหากไม่ทำการปฐมพยาบาลและการรักษาที่เหมาะสม ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายอย่างถาวรเลยก็ได้ ลักษณะอาการที่บ่งบอกถึง ผู้ได้รับสารพิษ สัญญาณและอาการที่บ่งบอกถึงผู้ที่ได้รับสารพิษ อาจมีดังต่อไปนี้ มีอาการแสบร้อน หรือรอยแดงในบริเวณปากและริมฝีปาก ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายสารเคมี น้ำมัน หรือสีทาบ้าน อาเจียน หายใจไม่ออก ชัก หมดสติ ง่วงซึม สับสน งุนงง หากคุณสงสัยว่ามีคนกำลังได้รับพิษจากสารเคมี ลองมองไปรอบๆ เพื่อมองหาเบาะแส เช่น ขวดยาเปล่า ขวดน้ำยา หรือบรรจุภัณฑ์ของสารเคมีที่น่าจะเป็นต้นเหตุของสารพิษ และทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลในทันที วิธี การปฐมพยาบาลผู้ได้รับสารพิษเบื้องต้น การปฐมพยาบาลสำหรับผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก ก่อนเริ่มทำการปฐมพยาบาล ผู้ช่วยเหลือจะต้องทำการประเมินผู้ที่ได้รับสารพิษ […]


การปฐมพยาบาล

วิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วยลมชัก ที่คุณควรเรียนรู้ไว้ เพื่อการรับมือเบื้องต้นที่ถูกต้อง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่คนเราทุกคนควรเรียนรู้เอาไว้ เช่น วิธีปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย วิธีปฐมพยาบาลเมื่อน้ำร้อนลวก และอีกหนึ่งวิธีปฐมพยาบาลที่เราอยากให้คุณเรียนรู้เอาไว้ก็คือ วิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วยลมชัก นั่นเอง จริงอยู่ที่ในชีวิตจริงเราอาจไม่ได้เจอผู้ป่วยลมชักบ่อยนัก แต่เราอยากบอกว่า หากผู้ป่วยลมชักเกิดอาการชัก อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือทำให้เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ เช่น หกล้ม จมน้ำ อุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งบางครั้งอาจร้ายแรงถึงชีวิต แต่หากคุณรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาดังกล่าวได้มากเลยทีเดียว โรคลมชักคืออะไร โรคลมชัก (Epilepsy) คือ โรคเรื้อรังที่เกิดจากคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ จนส่งผลให้เกิดอาการชัก (Seizure) บ่อยครั้ง หากคุณมีอาการชักตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป หรือมีแนวโน้มจะเกิดอาการชักซ้ำ จะถือว่าคุณเป็นโรคลมชัก อาการชักนั้นมีหลากหลายรูปแบบและความรุนแรง ขึ้นอยู่ที่ว่าจะเกิดจากคลื่นไฟฟ้าในสมองส่วนใดผิดปกติ โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการชักประมาณ 30 วินาทีถึง 2 นาที แต่หากผู้ป่วยรายใดมีอาการชักเกิน 5 นาที จะถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน วิธีสังเกตอาการชัก อาการของผู้ป่วยอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของอาการชักที่เป็น แต่คุณก็สามารถสังเกตสัญญาณและอาการของผู้ป่วยลมชักที่กำลังเกิดอาการชักได้คร่าว ๆ ดังต่อไปนี้ สับสนไปชั่วขณะ มีอาการเหม่อลอยกะทันหัน เช่น จู่ ๆ ก็หยุดพูด เดิน ๆ […]


การดูแลสุขอนามัย

13 ของใช้ใกล้ตัวที่แฝงไปด้วยแบคทีเรีย อันตรายต่อสุขภาพที่ควรระวัง

เชื้อโรค แบคทีเรีย อยู่รอบๆ ตัวเรา ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน เราต้องพบเจอกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้อยู่ตลอดเวลา แต่…รู้หรือไม่ว่า แม้แต่ของใกล้ตัวที่เราใช้งานเป็นประจำ สิ่งของเล็กๆ ที่เราไม่ได้ให้ความสำคัญมาก ก็สามารถเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรคและแบคทีเรียจำนวนมากได้นะ แต่ของสิ่งนั้นจะมีอะไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ รวบรวมเอา 13 ของใช้ใกล้ตัวที่แฝงไปด้วยแบคทีเรีย มาฝากค่ะ 13 ของใช้ใกล้ตัวที่แฝงไปด้วยแบคทีเรีย มีอะไรบ้าง 1.ฟองน้ำล้างจาน แม้หน้าที่หลัก ฟองน้ำล้างจานจะถูกผลิตมาเพื่อทำความสะอาดในห้องครัว โดยเฉพาะจาน ชาม ช้อน ส้อม แก้ว หรืออุปกรณ์ในครัว แต่เพราะการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ให้สะอาดนั่นแหละ ที่ทำให้ฟองน้ำสะสมเอาเชื้อโรคและแบคทีเรียเอาไว้ โดยแบคทีเรียกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ที่พบในฟองน้ำสำหรับทำความสะอาดในครัวเป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม (coliform) ที่สามารถทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ปวดท้อง ท้องร่วง ท้องเสีย  2.แปรงสีฟัน แปรงสีฟันก็มีคุณสมบัติหลักแบบเดียวกับฟองน้ำที่ใช้ทำความสะอาดในครัว นั่นก็คือมีหน้าที่รักษาความสะอาด ซึ่งในการทำความสะอาดฟันหรือแปรงฟันแต่ละครั้ง แปรงสีฟันก็ได้สะสมเอาแบคทีเรียจากช่องปากมาสะสมไว้ที่ขนแปรงด้วยเช่นกัน โดยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์เป็นยีสต์และเชื้อรา อีก 27 เปอร์เซ็นต์เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม (coliform) และอีก 14 เปอร์เซ็นต์เป็นแบคทีเรียในกลุ่มสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม