เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

ไม่ว่าคุณจะตั้งเป้าหมายเพื่อลดน้ำหนัก เพิ่มน้ำหนัก หรือรักษาค่าดัชนีมวลกาย (ฺBMI) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ก็ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ความมุ่งมั่นทั้งสิ้น รับคำแนะนำเกี่ยวกับ เคล็ดลับโภชนาการที่ดี เพื่อช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้อย่างปลอดภัยและมั่นคงยิ่งขึ้น ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

ข้าว 10 ปี กินได้อยู่ไหม? อันตรายรึเปล่า?

ข้าว เป็นหนึ่งในอาหารหลักของคนไทย ซึ่งมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง ข้าวเสาไห้ และอื่น ๆ หลายบ้านมักจะมีข้าวสารเก็บติดบ้านไว้เสมอ แต่ข้าวสารนั้นเก็บไว้ได้กี่ปี ข้าว 10 ปี ยังกินได้อยู่หรือไม่ หาคำตอบได้ในบทความนี้ [embed-health-tool-bmi] ข้าวสาร เก็บได้กี่ปี  ข้าวสารสามารถเก็บไว้ได้นานกี่ปีถึงจะยังนำมารับประทานได้โดยไม่เกิดอันตราย จากข้อมูลของเว็บไซต์ Think Rice เว็บไซต์เกี่ยวกับข้าวแหล่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ข้าวเต็มเมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสีอย่าง ‘ข้าวกล้อง’ สามารถเก็บไว้ได้นานสูงสุดประมาณ 6 เดือน ส่วนข้าวที่ผ่านการขัดสีแล้วอย่าง ‘ข้าวขาว’ อาจสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่มีวันหมดอายุ หากเก็บรักษาไว้อย่างถูกต้อง โดยเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และเก็บไว้ในที่แห้ง ปราศจากความชื้น  อย่างไรก็ตาม การเก็บรักษาข้าวอย่างไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้คุณภาพของเมล็ดข้าวลดลง หรือเกิดความผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็นหืน สีเปลี่ยนไป หรือมีเชื้อราขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้หากรับประทาน ข้าว 10 ปี กินได้ไหม จากข้างต้น ข้าวขาวที่เก็บไว้อย่างถูกต้องยังคงสามารถนำมาหุงรับประทานได้ เพียงแค่กลิ่นอาจจะไม่หอมเท่าและรสสัมผัสอาจจะแตกต่างจากข้าวใหม่  อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังหากข้าวมีความผิดปกติ หรือมีการปนเปื้อนของสารพิษ โดยเฉพาะ อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษจากเชื้อราที่พบได้ในอาหารต่าง ๆ เช่น ถั่วลิสง […]

สำรวจ เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

หลักการกินอาหารแบบ ล้างพิษน้ำตาล ลดความหวาน เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

การติดหวาน และรับประทานน้ำตาลมากเกินกว่าในปริมาณที่เหมาะสม เป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ที่ส่งผลให้คนเราเกิดอาการป่วย มีสุขภาพที่ไม่ดี และมีอายุยืนยาวลดลง ดังนั้น การลดปริมาณการกินน้ำตาล จึงอาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับ หลักการกินอาหารแบบ ล้างพิษน้ำตาล ว่าเป็นอย่างไร และมีข้อดีอะไรบ้าง หลักการของการ ล้างพิษน้ำตาล เป็นอย่างไร หลักสำคัญของการกินอาหารแบบ ล้างพิษน้ำตาล (Sugar Detox) หมายถึงวิธีการทำอย่างไรก็ได้ ให้เรามีความต้องการที่จะกินของหวานลดลง ลดอาการติดหวาน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการลดการกินน้ำตาล หาทางเลือกอื่นแทนการกินน้ำตาล หรือแม้กระทั่งการหักดิบงดกินน้ำตาลไปเลย เพื่อทำให้ร่างกายของเราเกิดความเคยชิน และสามารถลดปริมาณการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงลงได้ ในปัจจุบัน คนจำนวนมากได้รับประทานน้ำตาลในปริมาณมากกว่าที่แพทย์แนะนำ จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institute for Health; NIH) ได้รายงานว่า คนส่วนใหญ่จะได้รับแคลอรี่จากน้ำตาลที่เติมลงในอาหารและเครื่องดื่มมากถึง 15% ของปริมาณที่แนะนำ โดยยังไม่ได้รวมถึงน้ำตาลที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติ เช่น น้ำตาลในผลไม้ หรือน้ำตาลในนม และในอาหารชนิดอื่น ๆ ส่งผลให้คนส่วนใหญ่จึงมักจะรับประทานน้ำตาลมากกว่าปริมาณที่เหมาะสม การรับประทานน้ำตาลมากเกินไปนั้นสามารถส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ มีงานวิจัยที่พบว่า การกินน้ำตาลมากเกินไป อาจมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน โรคเบาหวาน […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับน้ำตาล ที่อาจทำให้หลายคนแปลกใจ

น้ำตาลนั้นเป็นหนึ่งในวัตถุดิบประกอบอาหาร ที่อยู่คู่กับเรามาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ของปัญหาสุขภาพเรื้อรังต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือแม้กระทั่งโรคหัวใจ แต่รู้กันรึเปล่าคะว่า ยังมี ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับน้ำตาล อยู่อีกมากมาย ที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ ความเชื่อผิด ๆ เหล่านั้นมีอะไรบ้าง หาคำตอบได้ในบทความของ Hello คุณหมอ นี้เลยค่ะ ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับน้ำตาล ที่ควรรู้ ความเชื่อที่ 1 น้ำตาลทุกชนิดเป็นสิ่งไม่ดี เราอาจจะเคยได้ยินกันมานานแล้วว่า น้ำตาลนั้นเป็นตัวการสำคัญที่ทำร้ายสุขภาพ และควรจะหลีกเลี่ยงน้ำตาลทุกชนิด แต่จริง ๆ แล้ว สิ่งที่แพทย์และผู้เชี่ยวชาญแนะนำนั้น ไม่ใช่การ “งดน้ำตาล” แต่เป็นการ “ลดน้ำตาล” ต่างหาก โดยเฉพาะพวกน้ำตาลที่เราเติมลงไปในอาหาร เช่น น้ำตาลทรายในเครื่องดื่ม หรือน้ำผึ้งในขนมต่าง ๆ การจะหลีกเลี่ยงน้ำตาลทุกชนิดนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เนื่องจากน้ำตาลสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ ในอาหารต่าง ๆ ทั้งผลไม้ นม หรือแม้แต่อาหารจำพวกแป้ง ก็ล้วนแต่มีน้ำตาลแฝงอยู่ทั้งสิ้น เพียงแต่น้ำตาลที่พบได้ตามธรรมชาติเหล่านี้ มาพร้อมกับสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลตามธรรมชาติเหล่านี้ […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

คาร์โบไฮเดรต หรือ คาร์บ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

คาร์โบไฮเดรต หรือที่เรียกว่า คาร์บ เป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานที่ร่างกายต้องการ เมื่อเรารับประทานคาร์โบไฮเดรตเข้าไป ร่างกายจะทำการใช้เป็นพลังงานได้ทันที บ้างครั้งก็จะเปลี่ยนไปจัดเก็บในรูปแบบอื่นที่เรียกว่า ไกลโคเจน (Glycogen) หากมีการบริโภคคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป คาร์โบไฮเดรตส่วนเกินก็จะเปลี่ยนไปเป็นไขมัน แล้วสะสมอยู่ตามร่างกายได้เช่นกัน วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่ารู้เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรตมาฝาก เลือกอย่างไรจึงจะดีต่อสุขภาพ คาร์โบไฮเดรตหรือคาร์บคืออะไร คาร์โบไฮเดรตหรือ คาร์บ เป็นแหล่งอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบได้ในแป้งและน้ำตาล ประกอบไปด้วยอะตอมของ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน คาร์โบไฮเดรตมีหลายประเภท ประกอบด้วยโมโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharides) ไดแซ็กคาไรด์ (Disaccharides) และโพลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) ประเภทของ คาร์โบไฮเดรต โมโนแซ็กคาไรด์ โมโนแซ็คคาไรด์คือหน่วยน้ำตาลที่เล็กที่สุด เช่น กลูโคส (Glucose) กาแลคโตส (Galactose) หรือฟรุกโตส (Fructose) กลูโคสถือเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับเซลล์ น้ำตาลในเลือด ซึ่งก็คือ น้ำตาลกลูโคสในเลือด ซึ่งอาหารที่มักจะพบน้ำตาลเหล่านี้ ได้แก่ กาแลคโตสมีอยู่ในนมและผลิตภัณฑ์จากนมมากที่สุด ฟรักโตสพบในผักและผลไม้ ไดแซคคาไรด์ ไดแซ็กคาไรด์ เป็นโมเลกุลโมโนแซ็กคาไรด์สองโมเลกุลที่ยึดติดกัน เช่น แลคโตส (Lactose) มอลโตส (Maltose) และซูโครส (Sucrose) การเชื่อมต่อโมเลกุลกลูโคสหนึ่งโมเลกุลกับโมเลกุลกาแลคโตสจะทำให้เกิดแลคโตส ซึ่งส่วนใหญ่พบได้ในนม การเชื่อมต่อโมเลกุลกลูโคสหนึ่งโมเลกุลกับโมเลกุลของฟรุกโตสจะทำให้เกิดโมเลกุลของซูโครส ซึ่งซูโครสมักจะได้มาจากการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อแสงแดดดูดซับคลอโรฟิลล์ทำปฏิกิริยากับสารประกอบอื่น […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

ชอบกินเค็มเป็นชีวิตจิตใจแต่ไม่ดีต่อสุขภาพ จะมี วิธีลดกินเค็ม ยังไงได้บ้าง

คุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบ กินเค็ม หรือเปล่า การกินอาหารที่มีรสเค็มจัด หรืออาหารที่ปรุงด้วยเกลือในปริมาณสูง สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมาย ทั้งโรคไต ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด แต่จะทำยังไงดีล่ะ ถ้าหากคุณเป็นคนที่ชอบกินอาหารรสเค็มจัด ดังนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มี วิธีลดกินเค็ม มาฝากค่ะ อันตรายจากการกินเค็ม การกินอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือในปริมาณมาก หรือการกินอาหารรสเค็มถึงเค็มจัดจนกลายเป็นติด กินเค็ม พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช่นนี้ จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้ ความเสี่ยงในระยะสั้น อาการบวมน้ำ เวลาที่กินอาหารรสเค็ม หรือกินเกลือเข้าไปมาก ๆ ปริมาณของเกลือในไตจะมากขึ้น และไตต้องการปริมาณน้ำในระดับที่สมดุลกับปริมาณของเกลือ เพื่อทดแทนให้กับเกลือส่วนที่เกินเข้ามา ดังนั้นยิ่งกินเกลือเข้าไปมากเท่าไหร่ ร่างกายก็ต้องการน้ำมากขึ้นเท่านั้น ทำให้เราต้องดื่มน้ำในปริมาณที่เยอะ จนส่งผลให้เกิดอาการบวมน้ำ หรือบวมที่บริเวณเท้าและมือ หรือมีน้ำหนักขึ้น ความดันโลหิตสูง การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัดมาก ๆ จะมีผลทำให้เลือดไหลเวียนผ่านหลอดเลือดและหลอดเลือดแดงมากขึ้นหรืออาจจะมากผิดปกติ ซึ่งจะมีผลให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราว อย่างไรก็ตาม อาการเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่ชอบ กินเค็ม ความเสี่ยงในระยะยาว โรคความดันโลหิตสูง การกินเค็มมากในระยะสั้นจะส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงแบบชั่วคราว แต่ถ้าหากติดการ กินเค็ม มาก กินเค็มทุกวันจนเกินพิกัดที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันบ่อย ๆ ในระยะยาวก็เสี่ยงที่จะเกิดเป็นภาวะความดันโลหิตสูงได้ เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร จากผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้ที่รับประทานเกลือมากกว่า 3 กรัมต่อวัน มีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือ 1 กรัมต่อวัน และผู้ที่กินเกลือในปริมาณที่สูง มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าผู้ที่กินเกลือน้อยถึงสองเท่า อย่างไรก็ตาม […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

ผลไม้ฉ่ำน้ำ กินแล้วช่วยป้องกันอันตรายจากภาวะขาดน้ำ

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เป็นอาการทางสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้หากร่างกายมีระดับน้ำภายในที่ไม่เพียงพอ การดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือมากกว่านั้น จึงเป็นหนทางที่จะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ แต่นอกเหนือจากการดื่มน้ำแล้ว รู้หรือไม่ว่า การกินผัก หรือ ผลไม้ฉ่ำน้ำ ก็อาจมีส่วนช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmi] ภาวะขาดน้ำ เกิดจากอะไร ภาวะขาดน้ำ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ หรือก็คือการที่เราดื่มน้ำไม่เพียงพอในแต่ละวันนั่นเอง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ร่างกายมีน้ำไม่เพียงพอก็อาจจะมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความเร่งรีบ ความยุ่งในการทำงาน การออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมอย่างหนักที่ทำให้เสียเหงื่อหรือสูญเสียน้ำในร่างกาย  ภาวะขาดน้ำอาจมีสาเหตุมาจากอาการทางสุขภาพต่าง ๆ เช่น ไม่สบาย ท้องเสีย หรือมีการปัสสาวะบ่อยจนเกินไป ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถส่งผลให้ระดับน้ำในร่างกายมีน้อยหรือไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน อาจทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง อ่อนเพลีย ปัสสาวะเป็นสีเข้ม วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น แต่ถ้าหากมีอาการขาดน้ำเนื่องจากการท้องเสีย อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในกรณีฉุกเฉินเช่นนั้น ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที สำหรับการป้องกันร่างกายไม่ให้เข้าสู่ภาวะขาดน้ำอาจทำได้ด้วยการดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวัน หรือดื่มน้ำทันทีที่รู้สึกกระหาย นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่เป็นมีความฉ่ำน้ำ หรืออาหารฉ่ำน้ำ ก็อาจมีส่วนช่วยเพิ่มระดับน้ำในร่างกายให้มีความสมดุลและเพียงพอ เนื่องจากอาหารจำพวกผักและผลไม้บางชนิดอาจมีองค์ประกอบที่เป็นน้ำสูง ซึ่งอาจช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำ  ผลไม้ฉ่ำน้ำ มีอะไรบ้าง ผลไม้ฉ่ำน้ำ นอกจากจะกินแล้วสดชื่น และให้คุณค่าทางโภชนาการสูง […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

อาหารที่อุดมไปด้วย แคลเซียม จากพืช ที่ชาววีแกนกินได้แน่นอน

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมที่เรารู้จักกันโดยส่วนใหญ่คือ นมวัว ซึ่งเป็นแหล่งแคลเซียมเดียวที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่จริงๆ แล้วยังมีแหล่ง แคลเซียม จากพืช อีกมากมายที่หลาย ๆ คุณอาจไม่เคยรู้ สำหรับใครที่เป็นมือใหม่หัดเป็นชาววีแกน แนะนำให้อ่านบทความนี้เลยค่ะ เพราะว่า Hello คุณหมอ ได้รวบรวมแหล่ง แคลเซียมจากพืช ที่ชาววีแกนสามารถรับประทานได้มาฝากกันค่ะ แคลเซียมสำคัญกับร่างกายอย่างไร แคลเซียม (Calcium) เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญสำหรับกระดูก เป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง ส่วนใหญ่แล้วพบได้ในนม ผักใบเขียว เมล็ดงา เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ส้มโอ และน้ำส้ม และยังมีในอาหารชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย แคลเซียมถือเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญสำหรับร่างกายมาก เพราะนอกจากช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรงแล้ว แคลเซียมยังมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ การแข็งตัวของเลือด และยังช่วยปรับความสมดุลของความดันโลหิต ช่วยป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้อีกด้วย หากร่างกายมีปริมาณแคลเซียมที่ต่ำ อาจทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกได้ แคลเซียม จากพืช ทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ ดังที่กล่าวไปแล้วว่า แคลเซียมเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ตามข้อมูลของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ในสหรัฐอเมริกาได้ให้ข้อมูลว่า สำหรับผู้ใหญ่อายุระหว่าง 19-50 ปี ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งแคลเซียมในปริมาณนี้มีอยู่ในนม 8 […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

ชาโรสแมรี่ เครื่องดื่มจากสมุนไพร ที่อาจช่วยบำรุงสุขภาพภายใน

แน่นอนว่าเครื่องดื่มสมุนไพรจากธรรมชาติอย่าง ชาโรสแมรี่ อาจมีข้อดีต่อสุขภาพของเราเป็นอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ไม่แพ้กัน หากคุณมีการดื่มอย่างไม่ระมัดระวัง ดังนั้นบทความของ Hello คุณหมอ วันนี้จึงขอพาทุกคนมารู้จักกับ โรสแมรี่ ให้ละเอียด ก่อนการตัดสินใจบริโภคชาโรสแมรี่โดยไม่ทราบข้อมูลเบื้องต้นจนก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ รู้จักกับ โรสแมรี่ ก่อนนำมาทำชากันเถอะ โรสแมรี่ (Rosemary) เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลมินต์ (Lamiaceae) เช่นเดียวกับโหระพา ลาเวนเดอร์ ซึ่งแต่เดิมโรสแมรี่มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกาใต้ และแถบเมดิเตอร์เรเนียน ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่มักนิยมนำโรสแมรี่ประกอบอาหารอย่างมากโดยเฉพาะอาหารคาว เพื่อเป็นการเพิ่มความหอม และดับกลิ่นไม่พึงประสงค์จากเนื้อสัตว์ได้ อีกทั้งยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นสมุนไพรอบแห้ง เพื่อนำมาสกัดเป็นเครื่องดื่มบำรุงร่างกายได้ไม่แพ้กันอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นพืชอีกชนิดที่ค่อนข้างใช้ได้ในทุก ๆ กิจวัตรประจำวันของเราเลยทีเดียว ประโยชน์ของ ชาโรสแมรี่ ที่อาจดีต่อสุขภาพ โรสแมรี่ อุดมไปด้วยสารอาหารมากมายไม่ว่าจะเป็นวิตามินบี 6 แคลเซียม และธาตุเหล็กอื่น ๆ ที่อาจเข้าไปช่วยปรับปรุงสุขภาพร่างกายภายในของเราได้ ดังต่อไปนี้ ต้านอนุมูลอิสระที่นำไปสู่การอักเสบ เนื่องจากในใบของ โรสแมรี่ เต็มไปด้วยกรดคาร์โนซิก (Carnosic acid) และกรดโรสมารินิก (Rosmarinic acid) ที่เป็นสารประกอบของ พอลีฟีนอลิก (Polyphenolic) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ และช่วยปกป้องความเสียหายจากอนุมูลอิสระได้ ในการศึกษาหนึ่งที่ได้ทำการตรวจสอบผลของกรดโรสมารินิก และกรดคาร์โนซิก พบว่ากรดทั้งสองชนิดอาจมีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็ง รวมไปถึงช่วยในการชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้หลายประเภท เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

ปูอัด เพิ่มความเสี่ยงสุขภาพหรือไม่ และมีประโยชน์ต่อร่างกายหรือเปล่า

ปูอัด เป็นอาหารเมนูโปรดของใครหลายคน ที่จะกินคู่กับเมนูซูชิ ปลาดิบ สลัด รวมถึงนำไปชุบแป้งทอดก็กรอบอร่อย แต่อย่างไรก็ตามปูอัด หรือเนื้อปูเทียม (Imitation crab) ถือเป็นอาหารแปรรูปที่อาจมีน้ำตาลและโซเดียมสูง ดังนั้นวันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักปูอัดให้มากขึ้น และแนะนำว่าควรบริโภคในปริมาณเหมาะสม ไม่กินมากจนเกินไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmr] ปูอัด ทำมาจากอะไร ปูอัด หรือเนื้อปูเทียม (Imitation crab) จะไม่ได้มีสารอาหารเทียบเท่ากับเนื้อปูจริงๆ เพราะในปูอัดไม่มีเนื้อปู และส่วนผสมหลักของปูอัดคือเนื้อปลาบด ที่เรียกว่า ซูริมิ (Surimi) ซูริมิมักจะทำมาจากปลาพอลล็อก ที่มีสารเติมแต่ง และการเติมกลิ่นและรสชาติ เช่น แป้ง น้ำตาล ไข่ขาว และเครื่องชูรสกลิ่นปู ปูอัดจึงประกอบด้วยปลาบางส่วน คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาล ทำให้ปูอัดนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่ากับเนื้อปูสด ปูอัด 85 กรัม จะให้พลังงาน 81 แคลอรี่ และมีคุณค่าทางโภชนาการของปูอัดมีดังนี้ ไขมัน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 12.7 กรัม โปรตีน 6.5 กรัม คอเลสเตอรอล 17 […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

รู้หรือไม่ เมล็ดแอปเปิ้ล อันตราย อาจเสี่ยงตายเพราะพิษไซยาไนด์

เวลาที่เรากินผลไม้ที่มีเมล็ดเล็กๆ หรือกินน้ำผลไม้ปั่นต่างๆ หลายคนก็อาจเลือกที่จะกินเมล็ดผลไม้ลงไปพร้อมกับผลไม้เลย เพราะคิดว่าไม่เป็นอันตรายอะไร อีกทั้งยังสะดวกมากกว่ามานั่งแกะเมล็ดออกทีละเมล็ด แม้ว่าโดยปกติแล้วการทำแบบนี้ก็อาจจะไม่เป็นอะไรจริง แต่กับผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิ้ล อาจทำให้คุณเป็นอันตรายจากสารพิษได้ ใน เมล็ดแอปเปิ้ล นั้นมีพิษอยู่จริงหรือไม่ มาหาคำตอบร่วมกันกับ Hello คุณหมอ ได้เลยค่ะ เมล็ดแอปเปิ้ล มีพิษจริงเหรอ ในแอปเปิ้ล 1 ผลนั้น จะมีช่องเมล็ดอยู่ประมาณ 5 ช่อง และในแต่ละช่องจะมีเมล็ดแอปเปิ้ลอยู่ประมาณช่องละ 1-2 เมล็ด แตกต่างกันออกไป ในเมล็ดแอปเปิ้ลนั้น จะมีสารประกอบที่เรียกว่า สารอะมิกดาลิน (Amygdalin) สารประกอบที่พบได้ในพืช สารนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการป้องกันตัวของพืช หากเมล็ดแอปเปิ้ลยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ก็จะไม่มีอันตรายอะไร แต่หากเมล็ดนั้นโดนเคี้ยวหรือแตกหัก สารอะมิกดาลินนั้นก็จะย่อยสลาย กลายเป็น แก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) สารพิษร้ายแรง ที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ สารอะมิกดาลินนั้นจะพบได้มากในผลไม้ที่อยู่ในวงศ์กุหลาบ (Rosaceae) เช่น แอปเปิ้ล พีช อัลมอนด์ และเชอร์รี่ เป็นต้น อาการของผู้โดนพิษ ไซยาไนด์ การรับประทานอาหารที่มีสารประกอบ ไซยาไนด์ เช่น เมล็ดแอปเปิ้ล อัลมอนด์ หรือเมล็ดแอพริคอต […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

สารปรอทในอาหาร พิษต่อสุขภาพ อันตรายที่คุณควรระวัง

สารปรอท เป็นสารพิษชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะในอาหาร ซึ่งสารปรอทในอาหารนี้ หากสะสมเข้าสู่ร่างกายในระดับที่สูงมากจนเกิดพิกัด จะมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพตั้งแต่ความรุนแรงในระดับต่ำไปจนถึงความรุนแรงในระดับสูง Hello คุณหมอ มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับ สารปรอทในอาหาร มาฝากค่ะ สารปรอท คืออะไร ปรอท หรือ สารปรอท (Mercury) คือโลหะที่เป็นพิษ จัดเป็นสารพิษตามธรรมชาติที่สามารถพบได้ทั้งในอากาศ แหล่งน้ำ และในดิน รวมถึงยังพบได้จากโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และอาหารต่างๆ ซึ่งร่างกายของเรามักจะได้รับสารปรอทสะสมจากการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารจำพวกปลา กุ้ง หอย หรืออาหารทะเล มากไปกว่านั้นยังรวมถึงเนื้อสัตว์ที่กินปลาเป็นอาหารด้วย อาหารชนิดใดบ้างที่มีสารปรอท มีอาหารอยู่หลายชนิดทีเดียวที่อาจพบการปนเปื้อนของ สารปรอท โดยเฉพาะอาหารจำพวกปลา หรืออาหารทะเล อย่างไรก็ตาม อาหารที่อาจมีการปนเปื้อนสารปรอทนั้นอาจสามารถจำแนกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ ปนเปื้อน สารปรอท ในระดับต่ำ ปลาแอนโชวี่ ปลาดุก หอยกาบ ปู เครย์ฟิช หรือล็อบสเตอร์น้ำจืด ปลาลิ้นหมา ปลาแฮร์ริ่ง ปลาแมคเคอเรล หอยนางรม หอยเชลล์ กุ้ง ปลาหมึก แซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลานิล ปลาเทราต์ ปลาโซล (Soles Fish) ปลาไวท์ฟิช (Whitefish) ปลาเพิร์ช (Perch) ปลาพอลล็อค (Pollock) ปลากระบอก (Mullet) ปลาแฮ็ดด็อค (Haddock) ปลาเฮก (Hake) ปลาแอตแลนติกครอกเกอร์ (Croaker (Atlantic)) ปนเปื้อน สารปรอท ในระดับปานกลาง ล็อบสเตอร์ ปลาทูน่า (โดยเฉพาะทูน่าที่บรรจุมาในกระป๋องขนาดบาง) ปลาอีโต้มอญ หรือปลามาฮิ มาฮิ (Mahi-Mahi) ปลามังค์ฟิช […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน