โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล มีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน (Zingerone) ในขิง เป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ดังนั้นจึงมีความสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมได้ อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

‘HMB’ สารช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของ กล้ามเนื้อ

รู้หรือไม่ว่าร่างกายของคนเราจะค่อย ๆ สูญเสีย กล้ามเนื้อ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น หลังจากมีอายุ 40 ปีขึ้นไป มวลกล้ามเนื้อจะลดลงประมาณ 8% ในทุก ๆ 10 ปี[1] โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ส่วนใหญ่มักเผชิญกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวและการดำเนินชีวิตประจำวัน การออกกำลังกายและเสริมโภชนาการด้วยโปรตีนที่มีคุณภาพดีหลายชนิดถือเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งการรับประทานอาหารที่มี ‘HMB’ เป็นส่วนประกอบตามธรรมชาติ ซึ่งต้องรับประทานในปริมาณมาก เพื่อให้ได้ HMB เพียงพอวันละ 1.5 กรัม ตามที่ร่างกายต้องการ เพื่อช่วยชะลอการสลายและช่วยเสริมสร้างให้มวลกล้ามเนื้อแข็งแรง สาเหตุ และอัตราการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ แม้ว่าโดยปกติแล้ว มวลกล้ามเนื้อจะมีการสร้างและสลายตัวตลอดเวลาตามธรรมชาติ แต่เมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีอัตราการสูญเสียกล้ามเนื้อลดลงประมาณ 8% ในทุก ๆ 10 ปี และเพิ่มเป็น 15% ในทุกๆ 10 ปี เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ปัญหาที่ผู้สูงวัยถึง 1 ใน 3 ต้องเผชิญ […]


โรคอ้วน

ค่า BMI คืออะไร สำคัญต่อสุขภาพอย่างไร

ค่า BMI หรือ ค่าดัชนีมวลกาย เป็นเครื่องมือชี้วัดว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ใด โดยการคำนวณความสมดุลระหว่างน้ำหนักและส่วนสูงค่าดัชนีมวลกายอาจสามารถช่วยระบุความเสี่ยงในการเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน ค่า BMI คืออะไร ค่า BMI คือ ตัวชี้วัดว่าร่างกายมีความสมดุลของน้ำหนักตัวต่อส่วนสูงหรือไม่ โดยการคำนวณจากส่วนสูงและน้ำหนัก ทำให้ทราบว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์อยู่หรือไม่ ซึ่งอาจช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคขาดสารอาหาร อ่อนเพลียง่าย โรคอ้วน อย่างไรก็ตามการหาค่า BMI อาจไม่สามารถประเมินความสมดุลของร่างกายได้ในบางบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่เป็นนักกีฬาที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก เพราะอาจแสดงผลลัพธ์ว่าเป็นโรคอ้วนทั้งที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยง และผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อต่ำ เพราะอาจแสดงผลลัพธ์ว่าผอมหรือขาดสารอาหาร ค่า BMI สำคัญต่อสุขภาพอย่างไร ค่า BMI อาจช่วยให้ทราบว่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมากเกินกว่าเกณฑ์ เพื่อจะได้ทำการควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก หรือเพิ่มน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ตามความเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงน้ำหนักไม่สมดุลที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ดังนี้ ความเสี่ยงจากน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร่างกายขาดสารอาหาร โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบ โรคโลหิตจาง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ประจำเดือนมาผิดปกติ และอาจเกิดภาวะมีบุตรยาก ความเสี่ยงจากน้ำหนักเกินเกณฑ์ ระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคตับ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ […]


ข้อมูลโภชนาการ

กล้วยน้ำว้า ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

กล้วยน้ำว้า คือ กล้วยสายพันธุ์หนึ่ง ที่มีลักษณะสั้นและอ้วน หากเป็นกล้วยน้ำว้าดิบจะมีเปลือกสีเขียว แต่ถ้าหากกล้วยสุกจะเปลี่ยนเป็นเปลือกสีเหลือง นิยมรับประทานแบบสด หรือนำมาประกอบอาหารต่าง ๆ เช่น ไอศกรีม สลัด นอกจากนี้ กล้วยน้ำว้ายังมีสารอาหารและวิตามินมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี แมกนีเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ปรับปรุงการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และอาจช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าโภชนาการของกล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าขนาดกลาง 1 ลูก ให้พลังงานประมาณ 105 กิโลแคลอรี่ และสารอาหารอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรต 27 กรัม ประกอบด้วย น้ำตาล 14.4 กรัม ไฟเบอร์ 3.1 กรัม โพแทสเซียม 422 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 31.9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม วิตามินซี 10.3 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 30.7 […]


โรคอ้วน

น้ำหนัก กับสุขภาพ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

น้ำหนัก อาจมีความสำคัญในการช่วยประเมินสุขภาพเบื้องต้น เนื่องจากการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพและโรคร้ายแรงบางชนิด เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสะสมของไขมันในร่างกายที่เพิ่มมากขึ้น โดยอาจมีปัจจัยมาจากการรับประทานอาหารไขมันสูง พันธุกรรม การไม่ออกกำลังกายหรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การจัดการกับน้ำหนักตัวเป็นเพียงการประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น ไม่สามารถยืนยันแนวโน้มของปัญหาสุขภาพหรือการเกิดโรคได้ [embed-health-tool-bmi] น้ำหนัก สำคัญอย่างไรต่อสุขภาพ น้ำหนัก มีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม ซึ่งการรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมตามเกณฑ์หรือค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.90 อาจช่วยป้องกันและควบคุมโรคต่าง ๆ ได้ หากบุคคลมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คอเลสเตอรอลสูง โรคถุงน้ำดี ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้ การรักษาน้ำหนักตัวยังอาจส่งผลดีต่อสภาพจิตใจ ความสุขทางอารมณ์ ช่วยปรับปรุงรูปร่าง และให้ความรู้สึกมั่นใจ และคล่องตัวมากขึ้นในการใช้ชีวิต น้ำหนัก ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากอะไร น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดจากมวลกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมันและน้ำในร่างกาย ซึ่งปัจจัยของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีมวลไขมันสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เค้ก คุกกี้ อาหารแปรรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันส่วนเกินไว้ในร่างกายมากขึ้น การไม่ออกกำลังกาย เนื่องจากการออกกำลังกายอาจช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันได้ […]


โรคอ้วน

BMR เครื่องมือคำนวณการเผาผลาญพลังงาน

BMR หรือ อัตราการเผาผลาญพลังงาน เป็นเครื่องมือคำนวณปริมาณการเผาผลาญและการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม อาจเหมาะกับผู้ที่ต้องการลด เพิ่มและควบคุมน้ำหนักเพื่อรูปร่างและสุขภาพที่ดี โดยอาจทำควบคู่กับการออกกำลังกายและควบคุมการรับประทานอาหารในแต่ละวัน เพื่อช่วยเพิ่มเผาผลาญพลังงานในร่างกายให้รวดเร็วขึ้น BMR คืออะไร BMR (Basal Metabolic Rate) คือ อัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกายในขณะพัก หรืออัตราการใช้พลังงานขั้นต่ำในชีวิตประจำวัน เพื่อรักษาการทำงานขั้นพื้นฐานของร่างกายให้เป็นปกติตลอด 24 ชั่วโมง เช่น การหายใจ การไหลเวียนของเลือด การย่อยและการดูดซึมอาหาร การทำงานของเซลล์ ความสำคัญของ BMR BMR อาจมีความสำคัญต่อผู้ที่ต้องการลด เพิ่มหรือควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมตามเกณฑ์หรือตามความต้องการ เนื่องจากการคำนวณอัตราการเผาผลาญพลังงานอาจช่วยให้ทราบว่าร่างกายต้องการแคลอรี่เท่าไหร่ และควรบริโภคแคลอรี่ประมาณเท่าไหร่เพื่อให้เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อช่วยลด เพิ่มหรือควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ปริมาณความต้องการแคลอรี่ในแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยบางประการ เช่น น้ำหนัก ความสูง อายุ เพศ และระดับความเข้มข้นในการทำกิจกรรมของแต่ละคน สำหรับปริมาณแคลอรี่ที่ควรได้รับต่อวันสำหรับผู้ใหญ่เพศชายและเพศหญิง อาจมีดังนี้ ผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ควรได้รับพลังงานประมาณ 1,600 แคลอรี่/วัน ผู้ชายวัยผู้ใหญ่ควรได้รับพลังงานประมาณ  2,000 แคลอรี่/วัน ผู้ที่ต้องใช้พลังงานมากในแต่ละวัน เช่น ออกกำลังกาย เกษตรกร งานใช้แรงงาน ควรได้รับพลังงานประมาณ  2,400 แคลอรี่/วัน วิธีคำนวณ BMR อัตราการเผาผลาญพลังงานอาจคำนวณได้ ดังนี้ ผู้ชาย […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

กรดไขมันอิ่มตัว คืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

กรดไขมันอิ่มตัว เป็นไขมันประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเป็นของแข็งเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง พบได้ในอาหารตามธรรมชาติทั่วไปจากสัตว์และพืชบางชนิด รวมทั้งในอาหารแปรรูปหลายชนิด เช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์ หนังสัตว์ นม ไข่ เนย ชีส ครีมเทียม น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง คอเลสเตอรอลสูง ดังนั้น การเลือกชนิดของอาหารและควบคุมปริมาณการรับประทานจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกรดไขมันอิ่มตัวได้ กรดไขมันอิ่มตัว คืออะไร กรดไขมันอิ่มตัว คือ ประเภทของไขมันหลักที่มักจะเป็นของแข็งเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง ประกอบด้วยคาร์บอน (Carbon) ไฮโดรเจน (Hydrogen) และโมเลกุลออกซิเจน (Oxygen) พบมากในแหล่งอาหารจากสัตว์และอาหารแปรรูปหลายชนิด เช่น ไขมันจากเนื้อหมู เนื้อวัว หนังไก่ ผลิตภัณฑ์จากนม ชีส เนย ครีมเทียม และอาจพบได้ในอาหารจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ เนย โกโก้ ชนิดของกรดไขมันอิ่มตัว ชนิดของกรดไขมันอิ่มตัวที่พบบ่อยและพบมากที่สุดในอาหาร อาจมีดังนี้ กรดสเตียริก (Stearic Acid) เป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายขี้ผึ้ง มีกลิ่นเล็กน้อยและลอยน้ำได้ โดยอาจพบได้ในอาหารทั่วไปทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะเนย โกโก้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของเบียร์ และข้อควรระวังในการบริโภค

เบียร์ เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นที่นิยมทั่วโลก ส่วนประกอบพื้นฐานในการผลิตเบียร์ ได้แก่ ข้าว ส่วนใหญ่เป็นบาร์เลย์ ยีสต์ น้ำ และดอกฮอปซึ่งเป็นพืชไม้เลื้อยชนิดหนึ่งในพืชดอกวงศ์กัญชา นิยมหมักประมาณ 4-8 สัปดาห์ก่อนนำมากรองและบรรจุใส่ภาชนะ เบียร์มักมีสีเหลืองอำพัน รสชาติขม ปริมาณแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 5-7% การดื่มเบียร์ในปริมาณที่เหมาะสม อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ เบียร์ เบียร์ 100 มิลลิลิตร ให้พลังงานประมาณ 43 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 3.55 กรัม โปรตีน 0.42 กรัม โพแทสเซียม 27 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม โคลีน (Choline) 10.1 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ฟลูออไรด์ 44.2 ไมโครกรัม ประโยชน์ต่อสุขภาพของ เบียร์ มีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของเบียร์ ดังนี้ 1. อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แอลกอฮอล์ในเบียร์มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการตอบสนองของเซลล์ต่ออินซูลิน […]


ข้อมูลโภชนาการ

ปลาทะเล ประโยชน์และข้อควรระวังในการรับประทาน

ปลาทะเล อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย พัฒนาการทางสมองทั้งการเรียนรู้ ความทรงจำและการมองเห็น โดยเฉพาะในเด็ก นอกจากนี้ ยังอาจช่วยต้านการอักเสบ บำรุงสุขภาพผิวและสุขภาพหัวใจ ดังนั้น การรับประทานปลาทะเลที่มีไขมันสูงในปริมาณที่พอเหมาะ จึงอาจส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ประโยชน์ในการรับประทานปลาทะเล ปลาทะเลมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของปลาทะเลในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ปลาทะเลและอาหารทะเลอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างกรดไอโคซาเพนตาอีโนอิกหรือกรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenoic Acid หรือ EPA) และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิกหรือดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid หรือ DHA) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบได้มากในปลาทะเลและอาหารทะเลหลายชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า กุ้ง กุ้งก้ามกราม หอยแมลงภู่ ปลาหมึก หอยเป๋าฮื้อ ที่อาจมีประโยชน์ในการช่วยต้านการอักเสบ บำรุงสุขภาพผิว บำรุงสุขภาพหัวใจ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการทำงานของสมอง การเรียนรู้และความจำ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน International Journal of Molecular Sciences เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ศึกษาเกี่ยวกับกรดไขมันสำหรับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด พบว่า […]


โรคอ้วน

วิธีลด เหนียง กระชับใบหน้าให้เรียว ทำได้อย่างไร

วิธีลด เหนียง เป็นวิธีที่อาจช่วยลดไขมันสะสมใต้ชั้นผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณใต้คาง ลดปัญหาผิวหนังใต้คางหย่อนคล้อยเนื่องจากการสะสมของไขมันที่มากเกินไป รวมถึงลดเหนียงที่เกิดขึ้นตามวัย ซึ่งวิธีลดเหนียงอาจทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และวิธีทางการแพทย์ เหนียง เกิดจากอะไร เหนียง คือ ลักษณะผิวหนังหย่อนคล้อยบริเวณใต้คาง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่อาจเกิดจากไขมันใต้ผิวหนังที่สะสมในปริมาณมากบริเวณใบหน้าและใต้คาง พบบ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน นอกจากนี้ เหนียงยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีลักษณะใบหน้าสั้นหรือมีเหนียงตั้งแต่กำเนิด อาจส่งต่อทางพันธุกรรมได้ อายุ การสะสมของไขมันบริเวณผิวหนังใต้คางร่วมกับความยืดหยุ่นของผิวหนังที่ลดลงตามอายุ อาจทำให้ผิวหนังใต้คางหย่อนคล้อยและเกิดเป็นเหนียงได้ ลักษณะทางกายภาพและการเผาผลาญไขมัน แต่ละคนมีการเผาผลาญไขมันและการสะสมของไขมันในร่างกายที่แตกต่างกัน ในบางคนอาจมีรูปร่างผอมและไขมันสะสมมากที่บริเวณใบหน้าและใต้คาง ส่งผลให้คนผอมอาจมีเหนียงได้เช่นกัน พฤติกรรมท่าทางที่ทำซ้ำ ๆ เช่น การก้มหน้าเล่นมือถือเป็นเวลานาน อาจทำให้ผิวหนังบริเวณใต้คางถูกกดทับซ้ำ ๆ จนเกิดความอ่อนตัว และเมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้ผิวหนังใต้คางหย่อนคล้อย สูญเสียความยืดหยุ่นจนกลายเป็นเหนียง การรับประทานอาหาร เหนียงอาจมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีไขมันในปริมาณมาก เช่น เนื้อสัตว์ติดมันและหนัง อาหารแปรรูป ของทอด จึงอาจทำให้เกิดการสะสมไขมันใต้คางมากขึ้น วิธีลด เหนียง วิธีลด เหนียง อาจมีเป้าหมายเพื่อลดการสะสมของไขมันใต้คาง ซึ่งสามารถช่วยลดเหนียงได้ในระยะยาว โดยวิธีลดเหนียงอาจทำได้ ดังนี้ การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอาจเพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ซึ่งช่วยลดการสะสมของไขมันทั่วทั้งร่างกาย รวมทั้งช่วยลดไขมันบริเวณใต้คาง โดยควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ […]


โภชนาการพิเศษ

สมุนไพร แก้เบาหวาน สรรพคุณ มีอะไรบ้าง

สมุนไพร แก้เบาหวาน สรรพคุณ หมายถึง สมุนไพรที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเนื่องจากความบกพร่องของตับอ่อนในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินสำหรับควบคุมระดับน้ำตาลของร่างกาย ทั้งนี้ สมุนไพร แก้เบาหวาน มีสรรพคุณที่สำคัญ ได้แก่ การช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดระดับไขมันในเลือด และช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต โดยสมุนไพรที่อาจมีสรรพคุณดังกล่าว ได้แก่ ขิง ว่านหางจระเข้ อบเชย ใบกะเพรา [embed-health-tool-bmr] เบาหวานคืออะไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง ส่งผลให้น้ำตาลสะสมในกระแสเลือดมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่มีสุขภาพดีจะอยู่ระหว่าง 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากตรวจพบว่าระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจหมายความว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ผนังหลอดเลือดมักเกิดความเสียหาย และเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเบาหวานขึ้นตา ปลายประสาทอักเสบ สมุนไพร แก้เบาหวาน สรรพคุณ ในประเทศไทย มีสมุนไพรหลายชนิดที่มีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ว่าอาจช่วยต้านหรือบรรเทาโรคเบาหวานได้ โดยสมุนไพร แก้เบาหวาน ได้แก่ ขิง ขิงมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน