banner

เช็กความเสี่ยงสุขภาพ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคโควิด-19

ความรู้พื้นฐาน

โรคความดันโลหิตสูง

ค่าความดันเลือดปกติ ของแต่ละช่วงวัย ควรอยู่ในเกณฑ์ใด

การวัดค่าความดันเลือด หรือความดันโลหิต คุณสามารถวัดด้วยตนเองง่าย ๆ เพียงแค่มีเครื่องวัดความดันแบบพกพา โดยสามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าผลลัพธ์ของตัวเลขจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมี ค่าความดันเลือดปกติ วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากกันค่ะ ค่าความดันเลือดปกติ ของช่วงวัยผู้ใหญ่ ปกติค่าความดันโลหิตมีหน่วยตามหลักสากลเป็น มิลลิเมตรปรอท เช่น 120/80 มม. โดยตัวเลขแรกเป็นค่าความดันเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือกทางหลอดเลือด (Sustolic) และตัวเลขด้านหลังหมายถึงความดันเมื่อหัวใจหยุดนิ่ง (Diastolic) หากคุณวัดค่าความดันด้วยตัวเองแล้ว สามารถนำตัวเลขบนหน้ามอนิเตอร์มาเทียบกับเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ได้ เพื่อให้ทราบถึงความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตปกติ : ซิสโตลิก (Sustolic) ต่ำกว่า 120 มม. และ ไดแอสโตลิก (Diastolic) ต่ำกว่า 80 มม. ความดันโลหิตสูง : ซิสโตลิก 120-129  มม. และไดแอสโตลิก ต่ำกว่า 80 มม. ความดันโลหิตสูระยะที่ 1 : ซิสโตลิก 130-139  มม. และไดแอสโตลิก  80-89 มม. ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 […]

อาหารกับความดัน

โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]

โภชนาการพิเศษ

ความดันสูงห้ามกินอะไร และควรกินอะไรเพื่อควบคุมความดันโลหิต

ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหาร หากทราบว่า ความดันสูงห้ามกินอะไร อาจช่วยให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยทั่วไป คนความดันสูงควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารแปรรูป น้ำตาล ไขมันทรานส์ เครื่องปรุงรส และควรเลือกกินอาหารที่เหมาะสม เน้นอาหารจากธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลาที่มีไขมันดี ผักและผลไม้สด ธัญพืชไม่ขัดสี นมไขมันต่ำ เพราะมีสารอาหารหลากหลาย จึงอาจช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตได้ [embed-health-tool-bmi] ความดันสูงเกิดจากอะไร ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) หรือที่นิยมเรียกว่า ความดันสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีความดันโลหิต 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่แน่ชัด แต่พันธุกรรม พฤติกรรมการกินอาหารรสหวาน มัน เค็ม เปรี้ยวจัด ภาวะสุขภาพ เช่น น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ โรคอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ เมื่อแรงดันของเลือดในหลอดเลือดที่กระทบกับผนังหลอดเลือดสูงเกินไป จะส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา หรือไม่ปรับระดับความดันโลหิตให้ลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจทำให้หลอดเลือดและอวัยวะต่าง ๆ เสียหาย และหากมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง […]

โรคความดันโลหิตสูง

คาเฟอีน ส่งผลต่อโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไรบ้าง

กาแฟ เป็นเครื่องดื่มสุดโปรดของใครหลายคน และความจริงแล้วคนทั่วโลกบริโภคกาแฟเกือบจะ 8.6 พันล้านกิโลกรัมต่อปี อย่างไรก็ตามมีการตั้งคำถามว่า การบริโภคกาแฟเป็นประจำดีต่อสุขภาพหรือไม่ และกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มี คาเฟอีน ส่งผลต่อความดันโลหิต และโรคหัวใจหรือเปล่า [embed-health-tool-bmi] คาเฟอีนส่งผลต่อความดันโลหิต อย่างไรบ้าง อาจเพิ่มความดันโลหิตชั่วคราว งานวิจัยชี้ว่า กาแฟอาจเพิ่มความดันโลหิตในเวลาสั้น ๆ หลังจากดื่มกาแฟ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า กาแฟอาจเพิ่มความดันโลหิต เป็นเวลามากกว่า 3 ชั่วโมงหลังจากดื่มกาแฟ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณดื่มกาแฟเป็นประจำ ผลกระทบจากกาแฟก็อาจลดลง คาเฟอีนส่งผลต่อความดันโลหิต ในระยะยาว สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง งานวิจัยได้แนะนำว่า การบริโภคกาแฟทุกวัน ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อความดันโลหิต หรือความเสี่ยงโดยรวมของโรคหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญ และความจริงกาแฟอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี มีงานวิจัยที่ชี้ว่า การดื่มกาแฟ 3-5 แก้วต่อวัน เชื่อมโยงกับความเสี่ยงของโรคหัวใจที่ลดลง 15% รวมถึงลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วย สำหรับความเชื่อมโยงระหว่าง การดื่มกาแฟและความดันโลหิตสูง ในระยะยาว ปัจจุบันยังมีงานวิจัยที่จำกัด โดยบางข้อมูลชี้ว่าการดื่มกาแฟเป็นประจำ ไม่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงที่เพิ่มขึ้น หรือการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ นอกจากนี้กาแฟยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้นด้วย ดังนั้นสำหรับผู้ที่ความดันโลหิตสูง การดื่มกาแฟในปริมาณที่พอดี ในแต่ละวัน จึงอาจไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพิ่มเติมไปกว่านั้น การกินอาหารที่มีประโยชน์ และการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี ยังมีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อความดันโลหิตสูง มากกว่าการดื่มกาแฟ สาเหตุที่ทำให้ คาเฟอีนส่งผลต่อความดันโลหิต คาเฟอีน […]

โรคความดันโลหิตสูง

กินลดความดันโลหิต ลองอาหาร 7 อย่างที่หาได้ง่ายพวกนี้เลย!

หากคุณต้องการลดความดันโลหิต การปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารนับว่าเป็นสิ่งจำเป็น ในส่วนของการ กินลดความดันโลหิต นอกจากการลดปริมาณการรับประทานเกลือแล้ว คุณสามารถเพิ่มอาหารดังต่อไปนี้ เพื่อสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดที่ดีขึ้น 7 อาหารเพื่อสุขภาพ กินลดความดันโลหิต 1. ถั่วขาว ถั่วขาว ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ถั่วขาวอุดมไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม จึงเหมาะกับอาหารทุกๆ มื้อของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณทานอาหารเจ คุณสามารถใส่ถั่วขาวในซุป หรือเป็นเครื่องเคียง หรือใส่ในเมนูอาหารจานหลักของคุณก็ได้ 2. โยเกิร์ต โยเกิร์ต อุดมด้วยแร่ธาตุหลายชนิด คุณอาจทานโยเกิร์ตเป็นอาหารเช้า หรือผสมกับสลัดหรือซอส ควรทานโยเกิร์ตธรรมชาติ เลือกแบบที่ไม่มีไขมัน หรือไขมันต่ำ และไม่เติมน้ำตาล หากคุณกังวลว่า โยเกิร์ตที่คุณซื้อจะมีน้ำตาลหรือไม่ คุณก็สามารถทำโยเกิร์ตกินเองที่บ้านได้ 3. กีวี่ กีวี่ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินและแร่ธาตุสูง สามารถหาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปได้ตลอดทั้งปี ผลไม้ชนิดนี้เก็บรักษาได้ง่าย เพียงแค่ใส่ไว้ในตู้เย็น หรือวางไว้ด้านนอกก็ได้ ข้อมูลชี้ว่ากีวี่มีวิตามินซีสูงกว่าส้มเสียอีก กีวี่สามารถรับประทานเป็นผลไม้ หรือใส่ในสลัดก็ได้ 4. ลูกพีช ผู้ที่มีความดันเลือดสูงสามารถกินอาหารที่ใส่ลูกพีช เพื่อช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ต้องไม่ใช่ลูกพีชแช่อิ่ม ซึ่งจะมีน้ำตาลสูง วิธีง่ายๆ และได้รสชาติในการรับประทานลูกพีชก็คือ ลองเอาลูกพีชไปแช่แข็ง แล้วนำมาใส่เครื่องปั่น คุณก็จะได้เครื่องดื่มลูกพีช ที่อุดมด้วยสารอาหารต่างๆ โดยใช้เวลาไม่นาน 5. ผักคะน้า ผักคะน้า […]

โรคความดันโลหิตสูง

น้ำบีทรูทลดความดันโลหิต ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ได้จริงหรือ?

บีทรูทเป็นผักชนิดหนึ่งที่กลุ่มคนรักสุขภาพย่อมรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะในสารอาหาร และวิตามินที่อยู่ในบีทรูทค่อนข้างให้คุณประโยชน์แก่สุขภาพเรามากมาย เช่น ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงตับ รวมไปถึง ลดความดันโลหิต วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำงานวิจัยเกี่ยวกับ น้ำบีทรูทช่วยลดความดันโลหิต ได้จริง มาฝากทุกคนให้ได้ทราบกัน เรียกได้ว่าเป็นอีกวิธีการ ลดความดันโลหิต ในรูปแบบง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำดื่มได้ทุกวันเป็นประจำ [embed-health-tool-heart-rate] สารอาหารในน้ำบีทรูท มีอะไรบ้าง น้ำบีทรูทเป็นน้ำผักที่ไม่มีการปะปนของไขมัน และอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ น้ำตาล นอกจานี้น้ำบีทรูทยังมีวิตามินสำคัญ ดังต่อไปนี้ ที่ช่วยลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเข้าไปสร้างความเสียหายแก่เซลล์ในร่างกาย โฟเลต วิตามินบี 6 แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีส ฟอสฟอรัส ทองแดง สังกะสี งานวิจัย น้ำบีทรูทช่วยลดความดันโลหิตได้จริง ! เนื่องจากบีทรูทมีสารไนเทรต (NO3) ทำให้ร่างกายนำไปแปรเปลี่ยนเป็น ไนตริกออกไซด์ ที่จะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว คลายตัว ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น จากการทดลองของ  Prof. Amrita Ahluwalia และทีมผู้ช่วยในแผนกหลอดเลือด ที่ Queen […]

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ความดันต่ำ กินเบียร์ ได้หรือไม่ และส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า ความดันต่ำ กินเบียร์ ได้หรือไม่ หากกินแล้วจะส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ โดยทั่วไปเบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่มักส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น แต่ไม่สามารถรักษาความดันต่ำได้ ยิ่งไปกว่านั้นหากไม่สามารถควบคุมปริมาณการดื่มได้อาจมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปเป็นโรคความดันสูงได้ในอนาคต รวมทั้งอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ความดันต่ำลงได้ [embed-health-tool-bmr] ความดันโลหิต คืออะไร ความดันโลหิต คือ ค่าความดันภายในหลอดเลือดแดงที่อาจเพิ่มสูงขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัวเพื่อบังคับให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดแดง และแรงดันเลือดจะลดลงเมื่อหัวใจคลายตัว โดยความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้ ความดันโลหิตสูง หรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท หากร่างกายมีความดันโลหิตสูงอาจเป็นอันตรายมาก เพราะความดันเลือดอาจทำให้เยื่อบุหลอดเลือดแดงเสียหาย เกิดเป็นแผล และอาจทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย ความดันโลหิตต่ำ หรือต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน โดยความดันโลหิตต่ำอาจมีสาเหตุมาจากโรคเรื้อรัง หรือร่างกายสูญเสียเลือดในปริมาณมาก ซึ่งอาจทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ ผิวซีด ตัวเย็น อ่อนล้า อ่อนเพลีย หิวมาก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อความดันโลหิตอย่างไร การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลต่อความดันโลหิตได้ ดังนี้ อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่มีบทบาทในการควบคุมความดันโลหิต อาจส่งผลต่อการทำงานของศูนย์ควบคุมระดับความดันเลือดของร่างกาย  (Baroreceptor) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับที่ควบคุมระดับความดันโลหิต ที่อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่เป็นฮอร์โมนความเครียดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจเพิ่มปริมาณแคลเซียมในกล้ามเนื้อหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตันและส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจทำปฏิกิริยากับฮอร์โมนในร่างกายที่ส่งผลให้หลอดเลือดแดงหดตัว ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูง อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น […]

โรคความดันโลหิตสูง

เกลือ หรือ น้ำตาล อะไรแย่กว่ากัน สำหรับโรคความดันโลหิตสูง

ทั้งเกลือและน้ำตาล ต่างได้ชื่อว่าสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ แต่ เกลือ หรือ น้ำตาล กันแน่ล่ะ ที่เป็น “ผู้ร้าย” ที่แท้จริง และควรพึงระวัง ปัจจุบันเชื่อว่า น้ำตาลอาจมีผลเสียมากกว่าเกลือ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Open Heart น้ำตาลเป็นภัยเงียบต่อความดันโลหิต แต่ขณะเดียวกันเกลือก็ยังคงส่งผลเสียต่อสุขภาพไม่แพ้การรับประทานน้ำตาลน้ำตาล วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำข้อเท็จจริงดังกล่าวระหว่างเกลือ และน้ำตาล ว่าสารปรุงแต่งใดที่คุณควรหลีกเลี่ยงมาฝากกันค่ะ การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เราทุกคนทราบว่า การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเผาผลาญของร่างกาย มีหลักฐานมากพอที่จะระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไป และความผิดปกติเกี่ยวกับการเผาผลาญของร่างกายหลายประการ เช่น ภาวะดื้ออินซูลิน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง รวมถึงไขมันในเลือดสูง การบริโภคน้ำตาลทำให้ระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เกิดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติก (sympathetic nervous system) เมื่อร่างกายมีการตอบสนองภาวะดังกล่าว จะเข้าไปกระตุ้นการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต ทำให้หน่วยรับความรู้สึกที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต ก็มีประสิทธิภาพมีลดลงเรื่อย ๆ จนเสี่ยงเกิดหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความดันภายในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เกลือ หรือ น้ำตาล ที่ส่งผลต่อโรคความดันโลหิตสูง การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง แม้เป็นเวลาเพียงสองสัปดาห์ อาจส่งผลที่เห็นได้ชัดเจนต่อความดันโลหิตของคุณ มีการศึกษาว่า อาหารที่มีน้ำตาลสูง จะเพิ่มความดันโลหิตได้มากกว่าอาหารที่มีโซเดียมสูง (7mmHg/5mmHg […]

โภชนาการพิเศษ

เป็นความดันต่ำ ต้อง กิน อะไร ความดันถึงจะกลับมาปกติ

ภาวะความดันโลหิตต่ำ แม้ว่าจะอาจจะดูไม่รุนแรงเท่ากับโรคความดันโลหิตสูง แต่ภาวะความดันต่ำนี้ก็อาจสร้างความทรมานให้กับใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะอาการปวดหัวทุกครั้ง เวลาจะลุกนั่ง หรือตื่นนอน วันนี้ Hello คุณหมอ เลยจะมาแนะนำว่า เป็นความดันต่ำ ต้อง กิน อะไร และควรเลี่ยงอาหารอะไร มาดูกันเถอะค่ะว่าเราควรกินอะไรกันดี [embed-health-tool-bmi] เป็นความดันต่ำ ต้อง กิน อะไร ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตต่ำ สามารถเพิ่มระดับความดันโลหิตได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ การเปลี่ยนมานั่งไขว้ขา หรือการรับประทานอาหารบางอย่าง ก็สามารถช่วยเพิ่มระดับของความดันโลหิต ให้กลับมาเป็นปกติได้เช่นกัน อาหารเหล่านี้ได้แก่ ดื่มน้ำ การดื่มน้ำเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะช่วยเพิ่มระดับของความดันโลหิตได้ เพราะเมื่อร่างกายของเราขาดน้ำ จะทำให้ปริมาณของเลือดในร่างกายลดลง ทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง จนอาจส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน ปวดศีรษะ ดังนั้น หากคุณเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอนในตอนเช้า อาจลองใช้วิธีการดื่มน้ำสักแก้ว เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น และช่วยให้ระดับความดันโลหิตกลับมาเป็นปกติได้อีกด้วย อาหารที่มีรสเค็ม เป็นที่รู้กันดีว่า ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หรือใส่เกลือมาก เพราะเกลือสามารถเพิ่มระดับความดันโลหิตได้ แต่กับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ อาหารเค็ม ๆ นั้นเป็นทางเลือกในการเพิ่มความดันโลหิตอย่างรวดเร็ว และหาได้ง่ายที่สุด ลองเปิดซองมันฝรั่งทอด หรืออาหารกระป๋องมากินดูสิ แต่พยายามอย่ากินเยอะ เพราะอาจจะกลายเป็นอันตรายต่อสุขภาพแทน อาหารที่มีวิตามินบี […]

เคล็ดลับคุมความดัน

โรคความดันโลหิตสูง

5 วิธีง่าย ๆ ช่วย ลดความดันโลหิตสูง โดยไม่ต้องพึ่งยา

เราสามารถ ลดความดันโลหิตสูง ได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม นอกจากนี้ ยังมีอีกหลากหลายวิธีที่สามารถลดความดันโลหิตได้ โดยไม่ต้องพึ่งยา แต่จะมีวิธีอะไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอ [embed-health-tool-heart-rate] เราสามารถ ลดความดันโลหิตสูง ได้อย่างไร? โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ หากปล่อยไว้ในระยะยาวโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ดังนั้นเราจึงควรทำการลดความดันโลหิตสูง หรือควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในอัตราคงที่ แต่ในการลดความดันโลหิตมักมีด้วยกันหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของแต่ละบุคคล ในเบื้องต้น หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค แต่หากมีอาการรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาร่วมด้วย เพื่อควบคุมความดันโลหิต 5 วิธีลดความดันโลหิตสูงด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยา เราสามารถลดความดันโลหิตสูงด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยา ด้วยมีวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ ควบคุมน้ำหนัก เราต้องควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และคอยสังเกตรอบเอว หากรอบเอวกว้างมากจนเกินไป (รอบเอวผู้ชายมากกว่า 40 นิ้ว และรอบเอวผู้หญิงมากกว่า 35 นิ้ว) อาจเสี่ยงต่อการเกิด โรคความดันโลหิตสูง ได้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน จะสามารถลดความดันโลหิตได้ประมาณ 5-8 มิลลิเมตรปรอท  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยผัก […]

กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

เล่นโยคะ ลดความดันโลหิต ได้จริงหรือไม่ มาหาคำตอบกัน

โยคะ เป็นกีฬาที่มีส่วนช่วยในการบำบัดร่างกายและจิตใจ โดยการเล่นโยคะนั้นจะมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งช่วยลดการอักเสบ มีส่วนช่วยเรื่องอาการปวดหลัง และยังช่วยการควบคุมลมหายใจ สร้างสมาธิอีกด้วย แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปไขข้อสงสัยว่า เล่นโยคะ ลดความดันโลหิต ได้หรือไม่ ผลของโยคะต่อความดันโลหิต ไอเยนคาร์โยคะ (Iyengar Yoga) กับความดันโลหิต ไอเยนคาร์โยคะ (Iyengar Yoga) เป็นรูปแบบการเล่นโยคะที่เน้นในการจัดท่าทางในการเล่นโยคะ กระจายน้ำหนักผ่านแขน ขา และส่วนต่างๆ ของร่างกายให้มีความสมดุล ซึ่งจากการศึกษาในปี 2011 ที่ทำการศึกษา จากผู้ที่ไม่เคยโยคะมาก่อน โดยให้เล่นโยคะเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมการทดลองเหล่านี้ส่งผลให้ความดันโลหิตดีขึ้น แต่ขนาดการทดลองนี้มีผู้เข้าร่วมการศึกษาเพียง 57 คนเท่านั้น จึงยังไม่สามารถวัดได้อย่างชัดเจนว่า โยคะมีส่วนช่วยให้ความดันโลหิตนั้นดีขึ้นได้มากน้อยเพียงใด จึงจำเป็นที่จะต้องมีการทดลองเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในปี 2016 พบว่าการเล่นโยคะมีส่วนช่วยทำให้ความดันโลหิตลดลง ซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ถึงร้อยละ 7 และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้ถึงร้อยละ 10 โยคะกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป การเล่นโยคะ ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิต 3 อย่างคือ ช่วยให้ออกกำลังกายบ่อยขึ้น ช่วยให้มีน้ำหนักที่เหมาะสม ช่วยลดความเครียด ซึ่ง 3 อย่างนั้นมีส่วนช่วยให้เราไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เล่นโยคะ […]

โรคความดันโลหิตสูง

ควบคุมความดันโลหิต จากแร่ธาตุธรรมชาติ ป้องกันความดันโลหิตสูง

อาหารที่เรารับประทานนั้นมักมีส่วนที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างปฏิเสธไม่ได้ และสำหรับผู้ที่มีโรคเรื้อรังบางอย่าง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นการได้รับแร่ธาตุบางอย่างก็อาจจะช่วย ควบคุมความดันโลหิต ได้ดีขึ้น ที่วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมแร่ธาติที่จำเป็นทั้ง 3 ชนิด มาฝากทุกคนให้ได้ลองนำไปหารับประทานเพื่อช่วยปรับปรุงระดับความดันโลหิตไปพร้อม ๆ กันค่ะ [embed-health-tool-bmi] แร่ธาตุสำคัญ ที่อาจช่วย ควบคุมความดันโลหิต โพแทสเซียม โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ เส้นประสาท และกล้ามเนื้อ โดยมีส่วนช่วยให้ร่างกายควบคุมความดันโลหิต จังหวะการเต้นของหัวใจ และปริมาณน้ำในเซลล์ รวมถึงช่วยในการย่อยอาหารด้วย การมีปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายในระดับปกติ สามารถทำให้ความดันโลหิตลดลง และช่วยป้องกันการเกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อ เนื่องจากโพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ รวมถึงการผ่อนคลายผนังหลอดเลือด มากไปกว่านั้นโพแทสเซียมยังสำคัญต่อการนำสัญญาณไฟฟ้า ในระบบประสาทและหัวใจ ซึ่งช่วยป้องกันอาการหัวใจเต้นผิดปกติ สำหรับอาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม เช่น ลูกพรุน มันเทศ กล้วยหอม เมล็ดทานตะวัน อินทผลัม เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถหารับประทานได้ง่ายตามท้องตลาด หรือห้างสรรสินค้าทั่วไป อย่างไรก็ตามการกินอาหารเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ได้รับโพแทสเซียมไม่เพียงพอ เพราะยังมียาบางชนิดอย่างยาขับปัสสาวะ เช่น ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrochlorothiazide) อย่างเอซิดริกซ์ (Esidrix) ไฮโดรไดยูริล (Hydrodiuril) ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ร่างกายขับโพแทสเซียมออกทางปัสสาวะ ซึ่งเป็นการลดระดับโพแทสเซียมในร่างกายได้ ดังนั้นถ้าคุณเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว โรคความดันโลหิตสูง หรืออาการบวมน้ำ […]

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

ความดันโลหิตสูง คือ ผลข้างเคียงของโรคเบาหวาน เนื่องจาก โรคเบาหวานสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือด และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูง โดยการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์อาจทำได้ด้วยการเลือกรับผระทานอาหาร ออกกำลังกาย นอกจากนี้ ศาสตร์แพทย์แผนจีนอย่าง นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ [embed-health-tool-heart-rate] นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ลดความดันโลหิตได้จริงหรือ นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง เป็นวิธีการรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนจีน โดยการใช้นิ้วมือกดตามจุดสำคัญต่าง ๆ บนร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจช่วยป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวานได้ จากการวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Evidence-based Complementary and Alternative Medicine เมื่อ พ.ศ. 2559 พบว่า หลังจากการนวดกดจุดตำแหน่ง ไท่จง (Taichong Acupoint) จะช่วยให้ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure หรือ SBP) ลดลงทันที 15-30 นาที  3 ตำแหน่งนวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ตำแหน่งสำคัญในการนวดกดจุดที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอาจมีดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่ 1 จุดไท่จง Taichong (LV3) หรือ จุดตับ ตำแหน่งนี้อยู่ระหว่างจุดกำเนิดของนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้าง คือ ตำแหน่งระหว่างหัวแม่เท้าและนิ้วเท้า […]

โรคความดันโลหิตสูง

รู้หรือไม่!? วิตามินดี ตัวช่วยชั้นยอดจัดการ ความดันโลหิตสูง

รู้หรือไม่คะว่า วิตามินดี (Vitamin D) มีส่วนสำคัญในการควบคุมความดันโลหิต ซึ่งมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อหัวใจและหลอดเลือด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แต่หากร่างกายได้รับวิตามินดีมากจนเกินไปอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาดูกันค่ะว่า วิตามินดีกับโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง เรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] วิตามินดีกับโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร วิตามินดีกับโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก หากร่างกายขาดวิตามินดี อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ เพราะวิตามินดีมีสารเรนิน (Renin) ที่ไต ซึ่งมีคุณสมบัติในการควบคุมความดันโลหิตภายในร่างกาย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าวิตามินดีจะมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากเพียงใด แต่หากรับประทานมากจนเกินอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อรับคำแนะนำการรับประทานวิตามินดีในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย  4 แหล่งอาหารจากวิตามินดี ช่วยลดความดันโลหิตสูง ปกติร่างกายสามารถรับวิตามินดีได้จากแสงแดดธรรมชาติในยามเช้า รวมถึงสารอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี โดยมีแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี มีดังต่อไปนี้ ปลาแซลมอน อุดมด้วยวิตามินดีและคุณค่าทางสารอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย นอกจากนี้ยังอุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3) ที่ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรง นม อุดมด้วยแคลเซียมและวิตามินนานาชนิด โดยส่วนใหญ่นมที่มีปริมาณวิตามินดีสูงจะเป็นนมเสริมจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์  (นมปริมาณ 8 ออนซ์ มีวิตามินดีระหว่าง 115 ถึง 124 IU) ข้าวโอ๊ต อุดมด้วยไฟเบอร์และคุณค่าทางสารอาหาร […]

กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

วิ่งตอนเช้า กับหลากหลายข้อดีที่คุ้มค่าสำหรับการตื่นเช้า

การวิ่ง..เป็นหนึ่งในรูปแบบการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก ไม่เพียงแต่จะเป็นวิธีการละลายไขมันในร่างกายได้ดีแล้ว ยังช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง และทำให้คุณสุขภาพดีอยู่เสมอ ถึงแม้คุณจะได้รับประโยชน์จากการวิ่งออกกำลังกายได้ทุกที่ทุกเวลา แต่การ วิ่งตอนเช้า ก็อาจจะมีประโยชน์เพิ่มเติมขึ้นมาเล็กน้อย โดยเฉพาะในเรื่องของจิตใจ และนี่คือข้อดีของการวิ่งตอนเช้าที่ Hello คุณหมอคัดสรรมาฝากกัน วิ่งตอนเช้า ช่วยลดความดันเลือด การวิ่งในตอนเช้า เป็นวิธีในการสร้างเรื่องดีๆ ต่อความดันเลือดของคุณได้ การศึกษาวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ โดย ดร.สก็อต คอลเลียร์ ได้แสดงให้เห็นถึง การลดลงของความดันเลือดอย่างมีนัยสำคัญ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายในตอนเช้า เทียบกับกลุ่มที่ออกกำลังกายในตอนเย็น ผลกระทบนี้เชื่อกันว่า เป็นผลที่เกิดขึ้นในระยะยาว ตราบเท่าที่คนๆนั้น ยังคงออกกำลังกายอย่างเป็นกิจวัตรต่อเนื่องไปเรื่อยๆ วิ่งตอนเช้าสร้างความสดชื่นไปตลอดวัน การวิ่งเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องพูดถึงเรื่องอื่น ก็ถือเป็นวิธีดีๆ ในการเริ่มต้นวันใหม่ของเราแล้ว แต่ถ้าคุณค่อนข้างมีความเครียดสูง จากการทำงานและชีวิตส่วนตัว การวิ่งก็ยิ่งให้ประโยชน์กับคุณเป็นอย่างมาก ด้วยการทำให้จิตใจคุณได้ผ่อนคลาย ทำให้รู้สึกมีพลังในแง่บวก และบรรเทาความเครียดได้เป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าคุณหันมาวิ่งในตอนเช้า คุณก็จะได้ประโยชน์ดีๆ เหล่านี้ เพื่อเริ่มต้นวันใหม่ของคุณไปเต็มๆ แทนที่จะแบกความเครียดไปเริ่มต้นวันใหม่ มีผลวิจัยที่รายงานว่า การวิ่งในตอนเช้านั้น ทำให้คนเรามองโลกในแง่ดีมากขึ้น และมีสมาธิที่จะมุ่งมั่นกับเป้าหมายได้มากกว่า นี่ยังไม่ต้องพูดถึงว่า อากาศเย็นสบายในยามเช้า ทำให้เรารู้สึกสดชื่นไปได้ตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะถ้าเราวิ่งในสวนสาธารณะ ที่ปราศจากฝุ่นควันและไอเสียจากรถยนต์ ร่างกายก็จะได้รับออกซิเจน ซึ่งเป็นที่ต้องการในระหว่างการวิ่งได้อย่างเต็มที่ การหายใจเอาอากาศที่สดชื่นเข้าไปอย่างเต็มปอด เป็นสิ่งดีๆ ที่ร่างกายจะต้องขอบคุณเรา และถ้าแถวบ้านคุณไม่มีสวนสาธารณะ การออกวิ่งบนถนนในยามเช้าตรู่ […]

โรคความดันโลหิตสูง

อาหารเสริมลดความดันโลหิต ที่ใช้ได้ผล ดีต่อสุขภาพ

ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะของร่างกายที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน และเป็นภาวะที่ไม่มีอาการในช่วงเริ่มต้น ตรวจไม่พบ แต่หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมาย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรหมั่นตรวจวัดความดันเป็นประจำ และควรรักษาระดับความดันให้ปกติ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวม อาหารเสริมลดความดันโลหิต มาให้อ่านกันค่ะ อาหารเสริมลดความดันโลหิต มีอะไรบ้าง อาหารเสริมสำหรับผู้มีปัญหาความดันโลหิตสูง มีดังต่อไปนี้ กรดโฟลิก  ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะรับประทานกรดโฟลิกเพื่อเป็นอาหารเสริมขณะที่ตั้งครรภ์ เพื่อช่วยสำหรับพัฒนาการของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ชี้ว่ากรดโฟลิคมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ได้ ทั้งชายและหญิงสามารถรับประทานกรดโฟลิคเพื่อลดความดันโลหิตได้ แต่ลดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น วิตามินดี เมื่อร่างกายมีวิตามินดีในระดับต่ำ เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง แต่จากการศึกษาพบว่าอาหารเสริมวิตามินดีมีผลต่อความดันโลหิตน้อยมาก แต่การได้รับวิตามินดีที่เพียงพอต่อร่างกายนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แมกนีเซียม ร่างกายใช้แมกนีเซียมในการควบคุมการทำงานของเซลล์ให้มีความแข็งแรง นอกจากนี้แมกนีเซียมยังช่วยในการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ จากการศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การใช้แมกนีเซียมในการช่วยลดความดันโลหิตนั้นมีความขัดแย้งกัน บ้างที่ก็บอกว่าสามรถลดได้ แต่บางที่ก็ยังไม่มีดเหตุผลมากพอ แต่จากการวิเคราะห์จากการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่าอาหารเสริมแมกนีเซียมอาจมีผลเล็กน้อยต่อความดันโลหิต โพแทสเซียม  โพแทสเซียมมีส่วนช่วยในการขัดขวางผลกระทบของโซเดียมต่อความดันโลหิต สถาบันหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association) ชี้ให้เห็นว่าโพแทสเซียมสามารถช่วยลดแรงกดบนผนังหลอดเลือดได้ จากการศึกษาได้มีการสนับสนุนว่าอาหารเสริมโพแทสเซียมสามารถใช้ในการรักษาเพื่อลดความดันโลหิตได้ ไฟเบอร์ การได้รับสารอาหารไฟเบอร์ในปริมาณที่มากขึ้นมีส่วนช่วยในการป้องความดันโลหิตสูง หรือช่วยลดความดันโลหิตได้ จากการวิเคราะห์พบว่า การรับประทานอาหารเสริมไฟเบอร์ 11 กรัมต่อวันมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตได้ หรือจะเพิ่มไฟเบอร์ให้กับร่างกายด้วยการรับประทานอาหาร เช่น การบริโภคผักใบเขียว ผลไม้สด ก็ช่วยให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์ได้มากขึ้น โคเอนไซม์คิวเทน  โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10; CoQ10) เป็นสารธรรมชาติที่เกิดขึ้นในร่างกายและมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางเคมีของเซลล์ ในการผลิตพลังงานให้กับเซล์ นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าอาหารเสริมตัวนี้สามารถลดความดันโลหิตโดยทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและป้องกันไม่ให้ไขมันสะสมในหลอดเลือดแดง แต่อย่างไรก็ตามมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นว่า […]

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ
ดูทั้งหมด

ความดันโลหิตกับภาวะต่าง ๆ

สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน