สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

ฝีคัณฑสูตร คือ อะไร อาการและวิธีการรักษามีอะไรบ้าง

ฝี เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับเชื้อบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย ลักษณะของฝีเป็นได้ทั้งไตแข็ง หรือเกิดการอักเสบบวมแดงบริเวณผิวหนัง ฝีเกิดได้ทั่วทั้งร่างกาย หากเกิดการอักเสบรุนแรงจะทำให้รู้สึกเจ็บปวดบริเวณรอบของฝี อีกทั้งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ฝีคัณฑสูตร คือ ฝีที่เกิดจากการติดเชื้อและมีการอักเสบ โดยเกิดขึ้นใกล้กับทวารหนัก  [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุของ ฝีคัณฑสูตร คือ อะไร ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) เกิดจากการติดเชื้อเรื้อรัง จากแก้มก้นที่เชื่อมต่อกับทวารหนัก โดยสาเหตุหลักส่วนใหญ่เกิดจากการเป็นฝีหนอง การติดเชื้อของต่อมที่มีหน้าที่ผลิตมูก เมื่อต่อมผลิตเมือกของทวารหนักอุดตัน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น สาเหตุสำคัญ คือ การติดเชื้อแบคทีเรียในอุจจาระ รวมถึงของเสียหมักหมมภายในร่างกาย เมื่อติดเชื้อแล้วจะเกิดการอักเสบ กลายเป็นฝีหนอง และเพิ่มปริมาณมากขึ้น จึงค่อย ๆ เซาะไปตามชั้นกล้ามเนื้อของทวารหนัก ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และชั้นผิวหนังที่อยู่บริเวณรอบทวารหนัก จนออกมาให้เห็นด้านนอกทางผิวหนังที่บริเวณแก้มก้นและรอบรูทวารหนัก และพบมากในผู้ป่วยที่เคยเป็นฝีที่ทวารหนักมาก่อน สาเหตุของฝีคัณฑสูตร ยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อโรคบางชนิด ติดเชื้อวัณโรค หรือพบในผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือโรคมะเร็งบางชนิด ลักษณะของฝีคัณฑสูตร ฝีคัณฑสูตรแบ่งได้เป็น 2 ชนิด Simple Fistula ลักษณะฝีคัณฑสูตรจะอยู่ตื้น ไม่ซับซ้อน จึงรักษาได้ง่าย Complex Fistula ลักษณะฝีคัณฑสูตรที่ซับซ้อน เช่น […]

สำรวจ สุขภาพผิว

สุขภาพผิว

อาการลมพิษ สาเหตุ และวิธีการรักษา

อาการลมพิษ เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดจากร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้และปล่อยสารฮิสตามีนที่ทำให้ผิวหนังบวมและมีอาการคันที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย เช่น หน้าท้อง หน้าอก ต้นแขน ขาส่วนบน ก้น หลัง บางคนอาจมีอาการในระดับรุนแรงที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ดังนั้น หากสังเกตว่ามีอาการดังกล่าว ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-bmr] อาการลมพิษ มีสาเหตุมาจากอะไร อาการลมพิษ มีสาเหตุมาจากร่างกายเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น อาหาร ฝุ่นละออง แสงแดด ละอองเกสร ขนสัตว์ นอกจากนี้ อาการของลมพิษยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภทที่พบได้บ่อยและมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้ ลมพิษเฉียบพลัน อาจมีสาเหตุมาจากการแพ้พิษจากแมลงกัดต่อย ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) รวมถึงการแพ้อาหาร เช่น ถั่ว มะเขือเทศ ไข่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ นม อาหารทะเล ช็อกโกแลต สารกันบูดหรือสารเคมีเจือปนในอาหาร ที่ส่งผลให้มีผื่นขึ้น และมีอาการคันไม่เกิน 6 สัปดาห์ ลมพิษเรื้อรัง อาจมีสาเหตุไม่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกิดจากสิ่งกระตุ้นรอบตัว เช่น […]


สุขภาพผิว

หน้าเหี่ยว ดูแก่ก่อนวัยเกิดจากอะไรและมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร

หน้าเหี่ยว ผิวหย่อนคล้อย เป็นปัญหาสุขภาพผิวที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุมากขึ้น ตากแดดมากเกินไป การสูบบุหรี่ ส่งผลให้ผิวดูแก่ก่อนวัย ผิวขาดความชุ่มชื้นและมีริ้วรอย หากอยากฟื้นฟูผิวให้กระชับขึ้นและมีสุขภาพดี ควรศึกษาวิธีดูแลผิวหน้าอย่างถูกวิธีหรือขอคำปรึกษาจากคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-heart-rate] หน้าเหี่ยว เกิดจากอะไร หน้าเหี่ยว อาจเกิดจากการตากแดดมากเกินไป เพราะแสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลตที่ทำลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในชั้นผิวหนัง เช่น คอลลาเจน อีลาสติน (Elastin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น และช่วยยึดเซลล์ผิวให้เรียงตัวกัน จึงส่งผลให้ผิวหนังสูญเสียความแข็งแรง ขาดความยืดหยุ่น นำไปสู่หน้าเหี่ยว หรือ แขน ขา เหี่ยว และอาจส่งผลให้ผิวหย่อนคล้อย มีริ้วรอยที่ทำให้ดูแก่ก่อนวัย นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ผิวเหี่ยวและผิวหย่อนคล้อย ดังนี้ อายุที่มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ผิวอาจเสื่อมสภาพและทำให้การผลิตคอลลาเจน การผลิตน้ำมันบนใบหน้าลดลง ส่งผลให้ผิวหน้าเหี่ยวและผิวหน้าแห้งกร้านได้ การแสดงออกทางสีหน้ามากเกินไป เช่น เครียด ยิ้ม หัวเราะ เพราะเป็นการใช้กล้ามเนื้อบนผิวหน้ามากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อผิวหน้าเสื่อมสภาพและสูญเสียความยืดหยุ่นของผิว จนเกิดร่องลึกใต้ผิวหนังนำไปสู่รอยเหี่ยวย่น การขาดการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เพราะอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

โรคกลาก เชื้อรา บนหนังศีรษะ เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไร

โรคกลาก เชื้อรา บนหนังศีรษะ หรือที่เรียกว่า ชันตุ เป็นการติดเชื้อราบนหนังศีรษะที่ทำให้เกิดผื่นวงแหวนบนหนังศีรษะและมีอาการคัน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้ผมร่วงและศีรษะล้านเป็นหย่อมได้ ดังนั้น จึงรับการรักษาอย่างรวดเร็วและควรขอคำแนะนำจากคุณหมอถึงวิธีป้องกันโรคกลากบนหนังศีรษะ ที่อาจช่วยไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมให้กลับมาแข็งแรง [embed-health-tool-heart-rate] โรคกลาก เชื้อรา บนหนังศีรษะ เกิดจากอะไร โรคกลาก เชื้อรา บนหนังศีรษะ เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophyte) ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ รวมถึงหนังศีรษะ โดยอาจมีสาเหตุมาจากเชื้อราเจริญเติบโตมากเกินไป การได้รับเชื้อรามาจากบุคคลที่เป็นโรคกลากบนหนังศีรษะ การใช้สิ่งของที่สัมผัสกับหนังศีรษะร่วมกัน เช่น หวี หมอน ผ้าห่ม ยางมัดผม กิ๊ฟติดผมและผ้าขนหนูเช็ดผม  อย่างไรก็ตาม การสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว หมู วัว และม้า โดยไม่ล้างมือหลังสัมผัส เมื่อนำมาจับเส้นผมหรือหนังศีรษะก็อาจส่งผลให้ติดเชื้อราจากสัตว์ได้เช่นกัน  อาการของโรคกลาก เชื้อรา บนหนังศีรษะ  อาการของโรคกลากจากการติดเชื้อราบนหนังศีรษะ อาจเริ่มปรากฏขึ้นเมื่อติดเชื้อราประมาณ 4-10 วัน ที่สังเกตได้ดังนี้ ผื่นแดงบนหนังศีรษะ มีอาการคันหนังศีรษะ ผื่นแดงพัฒนาเป็นวงแหวน ผมร่วงบริเวณที่เป็นกลาก รอยกลากและเป็นสะเก็ดที่มีขอบนูน ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว  เพื่อป้องกันผมร่วมถาวร หากมีอาการคันในระดับรุนแรงและผมร่วงเยอะมากจนศีรษะล้าน วิธีรักษาโรคกลาก เชื้อรา บนหนังศีรษะ วิธีรักษาโรคกลากที่เกิดจากการติดเชื้อราบนหนังศีรษะ มีดังนี้ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ขี้กลากขึ้นหัว สาเหตุ วิธีรักษาและการป้องกัน

ขี้กลากขึ้นหัว คือ การติดเชื้อราบนหนังศีรษะ ที่พบได้บ่อยที่สุดในช่วงวัยเด็ก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งยังสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสผิวหนังศีรษะได้โดยตรงส่งผลให้มีอาการคัน ศีรษะเป็นสะเก็ด ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพหนังศีรษะควรเข้ารับการรักษาขี้กลากขึ้นหัวและควรศึกษาหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอถึงวิธีป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ [embed-health-tool-heart-rate] ขี้กลากขึ้นหัว คืออะไร ขี้กลากขึ้นหัว หรือที่เรียกว่า “ชันนะตุ” คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อราสามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัส ซึ่งอาจติดเชื้อได้ตั้งแต่รากผม เส้นผม และหนังศีรษะส่งผลให้เกิดอาการคัน หนังศีรษะลอกลักษณะคล้ายรังแค ผมร่วงเป็นหย่อมและศีรษะล้านบริเวณที่เป็นขี้กลาก สาเหตุที่ทำให้ขี้กลากขึ้นหัว  สาเหตุที่ทำให้ขี้กลากขึ้นหัวเกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophyte) ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ เมื่อมีการเจริญเติบโตมากเกินไปบนผิวหนังชั้นนอกของหนังศีรษะและเส้นผม จึงทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้น อีกทั้งยังอาจได้รับเชื้อรามาจากบุคคลที่เป็นขี้กลากขึ้นหัวผ่านการสัมผัสกับหนังศีรษะโดยตรงหรือการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าขนหนูเช็ดผม หวี หมอน ผ้าห่ม ยางมัดผม กิ๊ฟติดผมนอกจากนี้การสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว หมู วัว ม้า ที่มีเชื้อราบนผิวหนัง โดยไม่ทำความสะอาดหลังสัมผัส เมื่อนำมาจับศีรษะก็อาจส่งผลให้ติดเชื้อจากสัตว์และเป็นขี้กลากได้เช่นกัน  อาการของขี้กลากขึ้นหัว อาการของขี้กลากขึ้นหัว มีดังนี้ ผื่นแดงบนหนังศีรษะ หรือเป็นตุ่มคล้ายสิวที่อาจเริ่มปรากฏขึ้นเมื่อติดเชื้อราประมาณ 4-10 วัน ผื่นแดงพัฒนาเป็นรอยกลากและเป็นสะเก็ดเป็นวงแหวนขอบนูนบริเวณหนังศีรษะ ส้นผมเปราะบางและผมร่วงเป็นหย่อม เส้นผมขาดง่าย อาจรู้สึกคันและเจ็บปวดหนังศีรษะ หากสังเกตว่าผมร่วงเยอะมากจนเห็นหนังศีรษะ และมีอาการคันรุนแรง ร่วมกับมีผื่นแดงคันเป็นวงขุย ๆ หรือมีตุ่มหนอง […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

หนังหัวลอก เกิดจากอะไร และวิธีการดูแลรักษา

หนังหัวลอก เป็นภาวะทางผิวหนังที่เกิดจากปัญหาหนังหัวแห้งและขาดความชุ่มชื้น จนส่งผลให้หนังหัวลอกเป็นขุย คัน ระคายเคือง และอาจมีอาการอักเสบร่วมด้วย ซึ่งปัญหาหนังหัวแห้งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคผิวหนัง รังแค สภาพอากาศแห้ง อายุที่มากขึ้น ดังนั้น การดูแลหนังศีรษะอย่างเหมาะสมจึงอาจช่วยป้องกันและบรรเทาอาการหนังหัวลอกและแห้งได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] หนังหัวลอก เกิดจากอะไร หนังหัวลอก เกิดจากการผลัดเซลล์ผิวบนหนังศีรษะที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหนังศีรษะแห้ง สูญเสียน้ำและความชื้นมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้มีอาการระคายเคือง คันและลอกได้ โดยปัญหาหนังหัวลอกอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ รังแค เป็นสาเหตุของหนังหัวลอกที่พบบ่อย โดยรังแคอาจเกิดขึ้นเพราะปัญหาผิวหนังอักเสบจากโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) โรคผื่นระคายสัมผัส การติดเชื้อรา การไม่สระผม ผิวแห้ง ฮอร์โมน ความเครียด ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น โดยรังแคเป็นสาเหตุที่ไม่ร้ายแรงสามารถหายได้หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม สภาพอากาศเย็นและแห้ง อาจทำให้หนังศีรษะขาดความชุ่มชื้นและแห้งลอกได้ ผิวหนังอักเสบจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น แชมพู เจลแต่งผม สเปรย์ฉีดผม รวมทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ขจัดเอาน้ำมันบนหนังศีรษะออกมากเกินไป การล้างแชมพูไม่หมด การสระผมบ่อยเกินไป อาจทำให้หนังหัวลอก แห้ง และระคายเคืองได้ อายุที่มากขึ้น เชื่อมโยงกับสภาพผิวหนังที่อ่อนแอลงทั่วร่างกาย ทำให้ผิวหนังแห้งกร้าน ระคายเคืองง่ายและหลุดลอกง่าย โรคผิวหนัง เช่น […]


สุขภาพผิว

หน้าที่ของผิวหนัง คืออะไร และควรดูแลผิวหนังอย่างไร

ผิวหนังส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยโปรตีน น้ำ ไขมัน และแร่ธาตุ ซึ่ง หน้าที่ของผิวหนัง มีความสำคัญในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค อุณหภูมิและสารอันตราย รวมทั้ง ยังทำหน้าที่ในการรับความรู้สึก ช่วยสังเคราะห์วิตามินดี ควบคุมอุณหภูมิและความชุ่มชื้น ดังนั้น การดูแลผิวหนังให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอจึงอาจส่งผลดีต่อสุขภาพผิวหนังและสุขภาพร่างกายในระยะยาวได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] หน้าที่ของผิวหนัง คืออะไร ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยมีหน้าที่สำคัญในการปกป้องร่างกายจากสิ่งรบกวนภายนอก และหน้าที่ที่สำคัญอื่น ๆ ดังนี้ เป็นเกราะป้องกันผิวจากอุณหภูมิภายนอก เชื้อโรค สารเคมีอันตราย และปกป้องอวัยวะภายในจากการบาดเจ็บ ช่วยควบคุมการสูญเสียน้ำ และให้ความชุ่มชื้นกับผิว ช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายให้สมดุล ป้องกันอันตรายจากรังสียูวี เป็นอวัยวะรับความรู้สึก ทั้งการตรวจจับอุณหภูมิ แรงกด การสัมผัส การบาดเจ็บ และแรงสั่นสะเทือน ช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดีให้กับร่างกาย โครงสร้างของผิวหนังมีอะไรบ้าง ผิวหนังประกอบด้วย 3 ชั้นหลัก คือ ชั้นหนังกำพร้า ชั้นหนังแท้ และชั้นใต้ผิวหนัง ดังนี้ ชั้นหนังกำพร้า เป็นชั้นที่อยู่ด้านอกสุดของร่างกาย มีลักษณะยืดหยุ่นและสามารถสร้างขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง ประกอบไปด้วย เคราติโนไซท์ (Keratinocytes) เป็นเซลล์หลักของหนังกำพร้าที่เกิดจากการแบ่งเซลล์ใหม่ โดยเซลล์จะเคลื่อนที่ไปยังพื้นผิวด้านบนสุดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เซลล์ชนิดนี้เคลื่อนตัว เซลล์ด้านบนสุดของผิวหนังจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพและผลัดตัวออก คอร์นีโอไซต์ (Corneocytes) เป็นเซลล์เคราติโนไซท์ชั้นนอกสุดที่ตายหรือขี้ไคล (Stratum […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

โรคผิวหนัง คัน แห้ง และการดูแลตัวเอง

โรคผิวหนัง คัน แห้ง หมายถึง โรคผิวหนังต่าง ๆ ที่่พบได้ในชีวิตประจำวัน อย่างผื่นผิวหนังอักเสบ หนังเกล็ดปลา หรือผื่นแพ้ต่อมไขมัน โดยจะมีอาการผิวแห้งและคัน ร่วมกับอาการอื่น ๆ ทั้งนี้ เมื่อเป็นโรคดังกล่าว ควรดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม เพื่อบรรเทาอาการและลดโอกาสที่โรคจะกำเริบ [embed-health-tool-bmi] โรคผิวหนัง คันและแห้ง มีอะไรบ้าง ผิวหนัง คัน แห้ง เป็นอาการที่พบได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการขาดน้ำ การสูบบุหรี่ รวมถึงเมื่อป่วยเป็นโรคบางอย่าง นอกจากนี้ ผิวหนัง คัน แห้ง ยังเป็นอาการร่วมเมื่อป่วยด้วยโรคผิวหนังดังต่อไปนี้ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นโรคผิวหนังอักเสบ ที่พบได้ทั่วไปในเด็ก และบางครั้งยังพบได้ในผู้ใหญ่ด้วย เมื่อเป็นโรคนี้ ผิวหนังจะแห้ง คัน ลอก เป็นผื่น และอาจมีตุ่มน้ำใสร่วมด้วย ทั้งนี้ ผื่นผิวหนังอักเสบเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งส่งผลให้ผิวหนังอ่อนแอ ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและสารเคมีต่าง ๆ รวมถึงไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ สะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด เมื่อเป็นแล้ว เซลล์ผิวหนังจะเติบโตเร็วกว่าปกติ ทำให้ผิวหนังบางส่วนเป็นปื้นหนา มีขุยสีขาวหรือสีเงิน ซึ่งแห้ง […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

หนังศีรษะแห้ง ลอก ดูแลตัวเองอย่างไร

หนังศีรษะแห้ง ลอก เกิดขึ้นได้เมื่อหนังศีรษะสูญเสียน้ำหรือน้ำมัน เนื่องจากปัญหาด้านสุขอนามัยรวมถึงโรคผิวหนังชนิดต่าง ๆ ทั้งนี้ เมื่อพบว่าหนังศีรษะแห้งและลอก ควรดูแลตัวเองด้วยการสระผมให้น้อยลง หมักหนังศรีษะด้วยน้ำมันมะกอก หรือใช้ยารักษาโรคในรูปแบบครีมหรือยา [embed-health-tool-bmi] หนังศีรษะแห้งและลอก เกิดจากอะไร หนังศีรษะแห้ง เกิดขึ้นเมื่อหนังศีรษะสูญเสียน้ำ หรือมีน้ำมันน้อยเกินไป ทำให้หนังศีรษะไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ เมื่อหนังศีรษะแห้งทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง และลอกเป็นขุยหรือหลุดออกเป็นแผ่น ๆ สำหรับสาเหตุของหนังศีรษะแห้งนั้นมีหลายประการ ดังนี้ สระผมบ่อยเกินไป การสระผมบ่อย ๆ ทำให้น้ำมันบนศีรษะถูกล้างออก ส่งผลให้หนังศีรษะและเส้นผมแห้ง แพ้ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม สารเคมีในแชมพู ครีมนวดผม หรือยาย้อมผม อาจทำให้แพ้ได้ โดยมักมีอาการหนังศีรษะแห้ง แดง คัน และลอก สภาพอากาศ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อากาศที่เย็นและแห้งอาจทำให้หนังศีรษะและผิวหนังบริเวณอื่นของร่างกายแห้งได้ โรคผิวหนัง อาการหนังศีรษะแห้ง ลอก อาจเป็นอาการของโรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคกลาก โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคเซ็บเดิร์ม ผื่นแอกทินิกเคอราโทซิส (Actinic Keratosis) ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังที่มีลักษณะหยาบเป็นขุย สามารถกลายพันธุ์เป็นเซลล์ก่อมะเร็งได้ เกิดจากผิวหนังสัมผัสแสงแดดเป็นประจำ และมักพบในผู้ชายที่ผมร่วง รวมถึงผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หนังศีรษะแห้ง ลอก […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

หน้ามันใช้อะไรดี และวิธีการดูแลผิวมัน

หลายคนที่มีปัญหาหน้ามันมากจนกระทบต่อการใช้ชีวิตและความมั่นใจ จึงอาจมีคำถามว่า หน้ามันใช้อะไรดี ที่จะช่วยลดความมันบนใบหน้า ปกป้องผิว และช่วยส่งเสริมสุขภาพผิวให้แข็งแรง ซึ่งการเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยในการผลัดเซลล์ผิว ลดความมันส่วนเกิน และให้ความชุ่มชื้นกับผิวอยู่เสมอ รวมทั้งการดูแลสุขภาพผิวประจำวันอาจเป็นวิธีที่จะช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ [embed-health-tool-bmr] หน้ามัน เกิดจากอะไร หน้ามัน เกิดขึ้นเมื่อต่อมน้ำมันใต้รูขุมขนผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป ส่งผลให้ผิวหน้ามีลักษณะมันวาว รูขุมขนกว้างและเป็นสิวง่าย เนื่องจากน้ำมันที่มากเกินไปสามารถผสมกับเซลล์ผิวเก่า เชื้อโรค และขนภายในรูขุมขนจนเกิดเป็นการอุดตันขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาหน้ามันยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก เช่น พันธุกรรม ความเครียด ฮอร์โมน แสงแดด สิ่งแวดล้อม การใช้ยาบางชนิด การใช้ชีวิตประจำวัน การดูแลผิว ผู้ที่มีหน้ามันควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบอะไรบ้าง สำหรับผู้ที่มีผิวหน้ามันอาจมีคำถามว่า หน้ามันใช้อะไรดี เพื่อช่วยลดความมัน ปกป้องผิว และส่งเสริมสุขภาพผิวให้แข็งแรง ซึ่งการเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีส่วนประกอบสำคัญต่อไปนี้อาจช่วยได้ กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ช่วยขจัดความมันส่วนเกินและสิ่งสกปรกบนผิวหนัง มีความอ่อนโยน ไม่ทำให้ผิวแห้ง นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบและลดการเกิดสิวอีกด้วย เรตินอยด์ (Retinoids) ช่วยขจัดความมันส่วนเกินบนผิวและชะลอการผลิตน้ำมันในรูขุมขน รวมทั้งช่วยให้ผิวกระจ่างใสและต่อต้านริ้วรอยแห่งวัย กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวหนังเก่า พร้อมเผยผิวใหม่ที่กระจ่างใสและสุขภาพดี ทั้งยังช่วยลดความมันส่วนเกินบนผิว อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้มากเกินไปเพราะการผลัดเซลล์ผิวบ่อย […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

มอยเจอร์ไรเซอร์ ทาตอนไหน จึงจะช่วยบำรุงผิว และควรเลือกอย่างไร

หลายคนอาจมีคำถามว่า มอยเจอร์ไรเซอร์ ทาตอนไหน ถึงจะให้ประสิทธิภาพในการบำรุงผิวที่ดี โดยทั่วไปควรทามอยเจอร์ไรเซอร์ทันทีหลังทำความสะอาดผิว หรืออาจเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วยการเช็ดโทนเนอร์หลังทำความสะอาดผิว จากนั้นทามอยเจอร์ไรเซอร์ตามทันที เพื่อให้มอยเจอร์ไรเซอร์สามารถซึมเข้าสู่ชั้นผิวที่ลึกมากขึ้นและให้ประสิทธิภาพการบำรุงที่ดียิ่งขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] มอยเจอร์ไรเซอร์ มีประโยชน์อย่างไร มอยเจอร์ไรเซอร์ เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นและช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นภายในผิว ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาผิวแห้งกร้าน ผิวลอก คัน และระคายเคืองได้ นอกจากนี้ ยังอาจมีประโยชน์ในการช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าและช่วยลดการผลิตน้ำมันส่วนเกินบนผิวหนังได้อีกด้วย มอยเจอร์ไรเซอร์ ทาตอนไหน จึงจะเหมาะสม ช่วงเวลาในการทามอยเจอร์ไรเซอร์อาจเป็นสิ่งสำคัญ จึงอาจทำให้บางคนมีคำถามว่า มอยเจอร์ไรเซอร์ทาตอนไหนถึงจะให้ผลดีที่สุด โดยทั่วไปควรทามอยเจอร์ไรเซอร์หลังจากการทำความสะอาดผิวทันที ทั้งตอนเช้าและตอนเย็น หรือช่วงเวลาอื่น ๆ หลังล้างหน้า เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ยังมีความชื้นอยู่บนผิว ทำให้มอยเจอร์ไรเซอร์สามารถเคลือบผิวและกักเก็บน้ำไว้บนผิวได้มากสุด มอยเจอร์ไรเซอร์จึงอาจซึมเข้าผิวได้ดีมากขึ้น นอกจากนี้ การเช็ดผิวด้วยโทนเนอร์ (Toner) หลังทำความสะอาดผิวก็อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของมอยเจอร์ไรเซอร์ได้เช่นกัน เนื่องจากโทนเนอร์อาจช่วยขจัดสิ่งสกปรกตกค้าง และช่วยลดความมันบนใบหน้าที่โฟมล้างหน้าอาจกำจัดไม่หมด โดยอาจปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ ล้างทำความสะอาดผิวด้วยโฟมล้างหน้าสูตรอ่อนโยนตามปกติ จากนั้นซับผิวให้แห้งพอหมาด เช็ดทำความสะอาดผิวด้วยโทนเนอร์กับสำลีอย่างเบามือ ทามอยเจอร์ไรเซอร์ตามทันทีให้ทั่วผิว จากนั้นใช้มือคลึงเบา ๆ ให้มอยเจอร์ไรเซอร์กระจายทั่วผิวหนัง เพื่อช่วยให้มอยเจอร์ไรเซอร์ซึมเข้าสู่ผิวได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีผิวหนังอักเสบ แสบ แดง เป็นผื่น หรือคัน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อทำการรักษา และเลือกใช้มอยเจอร์ไรเซอร์หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิวชนิดอื่นให้เหมาะสมกับสภาพผิวในขณะนั้น วิธีเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ให้เหมาะกับผิว สภาพผิวแต่ละคนไม่เหมือนกันจึงควรเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ให้เหมาะกับผิว ดังนี้ ทำความรู้จักกับสภาพผิวของตัวเอง เช่น ผิวแห้ง ควรเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันและมีคุณสมบัติให้ความชุ่มชื้น สำหรับคนผิวมันควรเลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนประกอบของน้ำ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม