ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

น้ำมันปลา ช่วยอะไร ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ปัจจุบันน้ำมันปลามีจำหน่ายในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากมาย หลายคนจึงอาจมีความสงสัยว่า น้ำมันปลา ช่วยอะไร น้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 จากอาหารที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ลดอาการตาแห้ง ดีต่อสุขภาพหัวใจ บำรุงสุขภาพครรภ์และสุขภาพของทารกในครรภ์ บำรุงกระดูก ลดไขมันในตับ บำรุงผิว ซึ่งการรับประทานน้ำมันปลาเป็นประจำในปริมาณที่เหมาะสมอาจส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม น้ำมันปลา คืออะไร น้ำมันปลา คือ ไขมันหรือน้ำมันที่สกัดจากเนื้อเยื่อปลา โดยมักสกัดจากปลาทะเลบางชนิด เช่น ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาแอนโชวี่ น้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ และสำคัญต่อกระบวนการทำงานของร่างกาย เช่น ช่วยส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ลดความหนืดของเลือดและทำให้เลือดไหลเวียนสะดวกขึ้น ในปัจจุบัน น้ำมันปลามีจำหน่ายในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่บรรจุในแคปซูล ซอฟเจล หรือยาเม็ด เพื่อให้ผู้บริโภคสะดวกต่อการรับประทาน น้ำมันปลา ช่วยอะไร น้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิกหรืออีพีเอ (Eicosapentaenoic Acid หรือ EPA) และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิกหรือดีเอชเอ (Docosahexaenoic […]


ข้อมูลโภชนาการ

เมล็ดธัญพืช มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย เป็นเมล็ดจากพืชที่นิยมบริโภคเป็นอาหารหลัก โดยเมล็ดธัญพืชจะมีเปลือกแข็งห่อหุ้มอยู่ภายนอก ต้องผ่านการขัดสีเพื่อเอาเปลือกภายนอกออกก่อนนำไปรับประทาน สามารถรับประทานคู่กับอาหารหรือนำไปแปรรูป เช่น ขนมปัง ซีเรียล แป้งสำเร็จรูป ซึ่งเมล็ดธัญพืชอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเมล็ดธัญพืชไม่ขัดสีที่ดีต่อระบบย่อยอาหาร อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และลดการอักเสบเรื้อรัง ประโยชน์ของเมล็ดธัญพืชที่มีต่อสุขภาพ เมล็ดธัญพืช มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของเมล็ดธัญพืชในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อุดมไปด้วยสารอาหารและใยอาหาร เมล็ดธัญพืชอุดมไปด้วยสารอาหารและใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย การรับประทานเมล็ดธัญพืชมากขึ้น โดยเฉพาะเมล็ดธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี จึงอาจช่วยเพิ่มวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารที่ส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างเหมาะสม โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน The Journal of Nutrition เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของโฮลเกรน พบว่า เมล็ดธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) จมูกข้าว และรำข้าว ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 […]


ข้อมูลโภชนาการ

Casein คือ อะไร ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

Casein (เคซีน) คือ โปรตีนที่ทำให้น้ำนมมีสีขาว พบได้มากในนมและอาหารหลายชนิด เช่น โยเกิร์ต ชีส ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ โดยโปรตีนเคซีนมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มกรดอะมิโนจำเป็นให้กับร่างกายเพื่อใช้สำหรับสร้างกล้ามเนื้อ ช่วยส่งเสริมสุขภาพกระดูก เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน และอาจช่วยลดไขมันในเลือด นอกจากนี้ โปรตีนเคซีนยังย่อยได้ช้ากว่าโปรตีนชนิดอื่น จึงทำให้รู้สึกอิ่มนานและช่วยลดความอยากอาหาร รวมถึงอาจช่วยลดน้ำหนักได้ [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์ของ Casein ต่อสุขภาพ Casein คือ โปรตีนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของเคซีนในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อ การรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีเคซีนอาจช่วยเพิ่มความสมดุลของโปรตีนในร่างกายได้ ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยพัฒนากล้ามเนื้อทั่วร่างกาย จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน American Journal of Physiology-Endocrinology and Metabolism เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ศึกษาเกี่ยวกับกรดอะมิโนที่ได้จากโปรตีนในอาหาร ทำการทดลองในชายหนุ่มที่มีสุขภาพดี 36 คน ให้ออกกำลังกายประเภทแรงต้านหนึ่งครั้งในตอนเย็น ร่วมกับการกินโปรตีนเคซีน 30 กรัม ซึ่งพบว่า การรับประทานโปรตีนเคซีนก่อนนอนสามารถช่วยเพิ่มสมดุลของโปรตีนในร่างกายทั้งหมดให้ดีขึ้นในขณะพักข้ามคืน และทำให้กรดอะมิโนทั้งหมดไปรวมอยู่ในมัดกล้ามเนื้อไมโอไฟบริลลาร์โปรตีน (Myofibrillar Protein) เพื่อใช้ในการสังเคราะห์กล้ามเนื้อในระหว่างนอนหลับ อาจช่วยลดความหิว เคซีนมีคุณสมบัติช่วยลดความอยากอาหาร เพิ่มความรู้สึกอิ่มและชะลอความรู้สึกหิว เนื่องจากโปรตีนเคซีนต้องใช้ระยะเวลานานในการย่อยดูดซึม จึงอาจส่งผลดีต่อผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Advances […]


ข้อมูลโภชนาการ

เทมเป้ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

เทมเป้ เป็นอาหารดั้งเดิมของอินโดนีเซีย ทำจากถั่วเหลืองที่ผ่านการหมักและย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์จนมีลักษณะเป็นก้อน เนื้อสัมผัสแห้งและหนึบ สามารถรับประทานได้ทันทีหรือจะนำไปประกอบอาหารด้วยวิธีผัด ย่าง ทอด หรือนึ่ง ก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ เทมเป้ยังอุดมไปด้วยโปรตีน พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) วิตามินและแร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ดีต่อสุขภาพลำไส้ ลดคอเลสเตอรอล ลดการอักเสบ ส่งเสริมสุขภาพกระดูก [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของเทมเป้ เทมเป้ ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 193 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น โปรตีน 19 กรัม ไขมัน 11 กรัม คาร์โบไฮเดรต 9 กรัม โพแทสเซียม 412 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 20% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน แคลเซียม 11% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน นอกจากนี้ เทมเป้ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เหล็ก โซเดียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส วิตามินซี วิตามินดี […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะเขือม่วง ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

มะเขือม่วง เป็นพืชตระกูลมะเขือชนิดหนึ่ง ผลมีลักษณะยาวรีขนาดประมาณ 12-30 เซนติเมตร เปลือกเป็นสีม่วง เนื้อข้างในเป็นสีขาว มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ โดยได้รับความนิยมในการนำไปประกอบอาหารหลายรูปแบบ ทั้งการต้ม ผัด อบ หรือนึ่ง มะเขือม่วงมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายชนิด เช่น สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟีนอล (Phenolic Compound) ที่มีคุณสมบัติควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ มะเขือม่วง มะเขือม่วงสด 100 กรัม ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ รวมถึงสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 5.88 กรัม โปรตีน 0.98 กรัม ไขมัน 0.18 กรัม โพแทสเซียม 229 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม โคลีน […]


ข้อมูลโภชนาการ

ข้าวฟ่าง ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ข้าวฟ่าง เป็นธัญพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ต้นและใบทำเป็นหญ้าแห้งหรือหญ้าหมักสำหรับเลี้ยงสัตว์ ส่วนเมล็ดนำมาหุงเป็นข้าว ทำขนมปัง ซีเรียล หรือใช้สำหรับหมักเบียร์ นิยมเพาะปลูกมากในประเทศอินเดีย และประเทศอื่น ๆ ในแถบเอเชียและแอฟริกา ข้าวฟ่างมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหาร เช่น โปรตีน ไฟเบอร์ วิตามินบี สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นระบุว่า การบริโภคข้าวฟ่างอาจช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และช่วยลดน้ำหนักได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ข้าวฟ่าง ข้าวฟ่าง 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 378 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 72.8 กรัม โปรตีน 11 กรัม ไขมัน 4.22 กรัม ฟอสฟอรัส 285 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 195 มิลลิกรัม แคลเซียม 147 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

ละหุ่ง ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ละหุ่ง (Castor) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กในวงศ์ยางพารา นิยมนำเมล็ดมาสกัดเป็นน้ำมัน มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและการอักเสบ ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว อาจช่วยรักษาโรคท้องผูก รักษาและบรรเทาอาการปวดข้อเข่า บรรเทาอาการแผลเรื้อรัง และบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ประโยชน์ต่อสุขภาพของ ละหุ่ง น้ำมันละหุ่ง ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ให้พลังงาน 120 กิโลแคลอรี และอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามินอี กรดไขมันโอเมก้า 6 (Omega-6 Fatty Acid) กรดไขมันโอเมก้า 9 (Omega-9 Fatty Acid) โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของละหุ่ง ดังนี้ อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูก น้ำมันละหุ่งมีกรดริซิโนเลอิก (Ricinoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย ทั้งยังมีฤทธิ์ร้อนที่ช่วยกระตุ้นกระบวนการย่อยอาหารและการทำงานของลำไส้เล็ก การรับประทานน้ำมันละหุ่งและการนวดหน้าท้องด้วยผ้าชุบน้ำมันละหุ่งอาจช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น และช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ นอกจากนี้ ละหุ่งยังถูกนำไปใช้ทำความสะอาดลำไส้ก่อนการวินิจฉัยโรคและการผ่าตัดลำไส้ และช่วยสวนล้างลำไส้ของผู้ป่วยให้สะอาดก่อนรับการผ่าตัดได้ด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Complementary Therapies in Clinical Practice เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ศึกษาเกี่ยวกับการทดสอบประสิทธิภาพของการแพคน้ำมันละหุ่ง (Castor oil pack) […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของเกลือ และข้อควรระวังในการบริโภค

เกลือเป็นสารให้รสเค็มที่นิยมนำมาประกอบอาหารและถนอมอาหาร ประโยชน์ของเกลือ ต่อสุขภาพ มีหลายประการ เช่น ช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์ อาจช่วยรักษาระดับของเหลวในร่างกาย มีส่วนช่วยป้องกันความดันโลหิตต่ำ และช่วยในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทั้งนี้ ควรบริโภคเกลือในปริมาณที่เหมาะสม หรือไม่เกิน 1 ช้อนชา/วัน เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาสุขภาพเนื่องจากร่างกายมีปริมาณโซเดียมมากเกินไป เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของเกลือ ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า เกลือเสริมไอโอดีนประมาณ 100 กรัม อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น เถ้า (Ash) 99 กรัม โซเดียม 38.7 กรัม แคลเซียม 50 มิลลิกรัม ไอโอดีน 5.08 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 2 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.032 มิลลิกรัม ปริมาณเกลือที่ควรบริโภคต่อวัน เกลือประกอบด้วยแร่ธาตุ 2 […]


ข้อมูลโภชนาการ

แมกนีเซียม อาหาร มีอะไรบ้าง และประโยชน์ที่ควรรู้

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยให้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น  หัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นประสาท ทำงานได้อย่างราบรื่น แต่เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตแมกนีเซียมเองได้ จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงเพื่อให้ได้รับแร่ธาตุชนิดนี้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แหล่ง แมกนีเซียม อาหาร อาจพบได้ในพืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช ธัญพืชเต็มเมล็ด ผักใบเขียว ปลาบางชนิด นม โยเกิร์ต ผลิตภัณฑ์จากนม ดาร์กช็อกโกแลต เป็นต้น ประโยชน์ของแมกนีเซียมต่อสุขภาพ แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ทั้งยังใช้เสริมสร้างโปรตีน กระดูก และดีเอ็นเอให้สมบูรณ์แข็งแรงด้วย หากร่างกายขาดแมกนีเซียมเป็นเวลานานอาจทำให้ระดับแคลเซียมและโพแทสเซียมน้อยลงตามไปด้วย เนื่องจากแมกนีเซียมมีหน้าที่ช่วยดูดซึมแร่ธาตุสองชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายและลำเลียงแคลเซียมและโพแทสเซียมเข้าและออกจากเซลล์ต่าง ๆ อีกทั้งการขาดแมกนีเซียมยังอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง เป็นต้น หากมีภาวะขาดแมกนีเซียมรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการชา ปวดกล้ามเนื้อ ชัก บุคลิกเปลี่ยนแปลง และหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ผู้ที่มีภาวะขาดแร่ธาตุแมกนีเซียม อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะต่อไปนี้ ระดับความดันโลหิตสูง อาการไมเกรน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคกระดูกพรุน ปริมาณแมกนีเซียมที่ร่างกายต้องการต่อวัน ปริมาณแมกนีเซียมที่ร่างกายต้องการต่อวันของคนในแต่ละช่วงวัย […]


ข้อมูลโภชนาการ

บร็อคโคลี่ ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

บร็อคโคลี่ เป็นผักในตระกูลกะหล่ำปลี นิยมบริโภคส่วนที่เป็นดอกโดยนำมาต้ม นึ่ง หรือผัด บร็อคโคลี่อุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี วิตามินเค และยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น อาจช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อควรระวังในการบริโภคบร็อคโคลี่สำหรับผู้ที่เป็นโรคบางชนิด เช่น ผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ บร็อคโคลี่ บร็อคโคลี่ 100 กรัม ให้พลังงานและสารอาหารสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ พลังงาน 34 กิโลแคลอรี โปรตีน 2.82 กรัม ไขมัน 0.37 กรัม โพแทสเซียม 316 มิลลิกรัม วิตามินซี 89.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม แคลเซียม 47 มิลลิกรัม โซเดียม 33 มิลลิกรัม แมกนีเซียม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน