โภชนาการพิเศษ

เนื่องจากร่างกายของทุกคนแตกต่างกัน ความต้องการของเราจึงแตกต่างกันด้วย คุณสามารถเสริมคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายได้ ด้วยข้อมูล โภชนาการพิเศษ ของเรา

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]

สำรวจ โภชนาการพิเศษ

โภชนาการพิเศษ

เมนูอาหารหลังผ่าตัดมดลูก มีอะไรบ้าง ที่ควรกินเพื่อฟื้นฟูร่างกาย

สำหรับผู้ที่เข้ารับการรักษาหรือผ่าตัดมดลูก เมนูอาหารหลังผ่าตัดมดลูก ควรเน้นเป็นอาหารที่หลากหลาย โดยเน้นผัก ผลไม้ และอาหารที่มาจากธรรมชาติ ผ่านกระบวนการปรุงแต่งและแปรรูปน้อยที่สุด เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการสมานแผลและฟื้นฟูร่างกาย นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารบางชนิด เช่น อาหารไขมันสูง คาเฟอีน อาหารรสเผ็ด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันปัญหาระบบย่อยอาหารและอาการไม่พึงประสงค์หลังผ่าตัด [embed-health-tool-ovulation] เมนูอาหารหลังผ่าตัดมดลูก เมนูอาหารหลังผ่าตัดมดลูก ที่ควรกินเพื่อปรับปรุงสุขภาพและช่วยในการสมานแผล อาจมีดังนี้ อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผักและผลไม้ต่าง ๆ พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช ธัญพืช เพื่อปรับปรุงสุขภาพลำไส้และป้องกันอาการท้องผูกที่อาจทำให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อแผลผ่าตัด ผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น บร็อคโคลี่ สตรอว์เบอร์รี่ มะระขี้นก พริกหยวก ส้ม สับปะรด ฝรั่ง ลิ้นจี่ มะละกอ ธัญพืชและโปรตีนที่อุดมไปด้วยสังกะสี เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ อาหารทะเล หอยนางรม หอย กุ้ง ปู ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีนกระป๋อง ผักปวยเล้ง ถั่ว เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตงโม เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อาหารที่มีโปรตีนเพียงพอตลอดทั้งวัน […]


โภชนาการพิเศษ

กินคลีน ดีไหม มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

กินคลีน หมายถึง การเลือกบริโภคอาหารที่มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด ผ่านการแปรรูปน้อย หรือมีสารปรุงแต่งในปริมาณน้อย เช่น ผักและผลไม้สด ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เลี้ยงแบบฟาร์มเปิด คาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี เช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีท ข้าวโพด เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากสารอาหารตามธรรมชาติมากที่สุด ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารแปรรูปต่าง ๆ เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง อาหารอบแห้งและทอดกรอบ เพราะอุดมไปด้วยน้ำตาล เกลือ ไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และสารสังเคราะห์ต่าง ๆ เช่น สารกันเสีย สีสังเคราะห์ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล [embed-health-tool-bmr] กินคลีน คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อสุขภาพ กินคลีน เป็นการบริโภคอาหารที่ใกล้เคียงความเป็นธรรมชาติมากที่สุด หรืออาหารที่ผ่านการแปรรูปหรือแต่งรสในระดับที่น้อยที่สุด โดยมีประโยชน์ต่อสุขภาพดังนี้ ร่างกายได้รับสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ อย่างเต็มที่และครบถ้วน ลดโอกาสเสี่ยงเกิดโรคต่าง ๆ ร่างกายได้รับโปรตีนคุณภาพสูงและไขมันชนิดดีเพื่อช่วยปรับปรุงสุขภาพสมองและหัวใจ เพิ่มระดับพลังงาน ช่วยควบคุมการจัดการน้ำหนัก และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง กินคลีน ควรบริโภคอาหารประเภทไหน ผู้ที่ต้องการกินคลีน ควรบริโภคอาหารตามลักษณะต่อไปนี้ ผักและผลไม้ หากต้องการกินคลีน ควรบริโภคผักและผลไม้สด ๆ หรือผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร วิตามิน […]


โภชนาการพิเศษ

ท้องเสียกินอะไรดี เพื่อให้หายท้องเสีย และไม่ควรกินอะไรบ้าง

ท้องเสียกินอะไรดี? เมื่อท้องเสีย ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ไม่รบกวนการทำงานของระบบย่อยอาหารมากนัก เช่น กล้วย ข้าวโอ๊ต ข้าว แอปเปิล ต้มจืด น้ำซุป โยเกิร์ต และควรดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีเกลือเป็นส่วนผสม เพื่อป้องกันการขาดน้ำ เนื่องจากการขับถ่ายบ่อยจะทำให้ร่างกายเสียน้ำในปริมาณมากกว่าปกติ นอกจากนี้ ผู้ที่ท้องเสียไม่ควรรับประทานอาหารที่ย่อยยากหรือไปกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนัก เพราะจะทำให้อาการท้องเสียแย่ลงหรือหายช้า เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ ผักสดบางชนิดอย่างถั่ว กะหล่ำปลี เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมทั้งเครื่องดื่มที่หวานจัดเพราะน้ำตาลอาจทำให้อาการท้องเสียแย่ลงได้ [embed-health-tool-bmr] ท้องเสีย มีอาการอย่างไร ท้องเสีย หรืออุจจาระร่วง หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำติดต่อกันหลายครั้ง เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อภายในร่างกาย ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การแพ้สารประกอบในอาหาร รวมถึง ปัญหาระบบทางเดินอาหารอย่างโรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน ขณะท้องเสีย ผู้ป่วยอาจมีอาการตัวร้อน ปวดเมื่อยร่างกายร่วมด้วย แต่อาการเหล่านี้มักจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 วันโดยไม่ต้องไปหาหมอ อย่างไรก็ตาม หากท้องเสียไม่หยุด ปวดท้องรุนแรง ถ่ายเป็นเลือด อาเจียน มีไข้สูงร่วมด้วย ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้อง ท้องเสียกินอะไรดี เมื่อท้องเสีย […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารสําหรับคนเป็นโรคไต มีอะไรบ้าง

อาหารสําหรับคนเป็นโรคไต หมายถึง อาหารที่มีโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสในระดับต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต หรืออาจรวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ เมื่อเป็นโรคไต ไตของผู้ป่วยจะเสื่อมสภาพและทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพจึงไม่สามารถกำจัดโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสส่วนเกินได้ตามปกติ จึงควรระมัดระวังในการรับประทานอาหารให้เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] โรคไต คืออะไร มีอาการอย่างไร โรคไตเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง มักเกิดจากการที่ไตได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเมื่อเป็นโรคเบาหวาน หรือเมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูง หรือติดเชื้อบริเวณไตบ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลให้ไตไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือดได้ตามปกติ จนทำให้ร่างกายสะสมของเหลวหรือสารอาหารส่วนเกินไว้ในปริมาณมาก และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ป่วยโรคไตมักมีอาการปัสสาวะบ่อยผิดปกติ หน้าและเท้าบวม ผิวแห้งและคัน ผิวซีด อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปากขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้ตามปกติ เจ็บหน้าอก หากสงสัยว่าตนเองอาจป่วยเป็นโรคไต ควรไปหาคุณหมอเพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียด อาหารสําหรับคนเป็นโรคไต ควรเป็นอย่างไร เมื่อเป็นโรคไต คุณหมอมักแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสารอาหารบางชนิด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ โซเดียม เป็นธาตุอาหารที่ช่วยควบคุมระดับของเหลวในร่างกาย ผู้ป่วยโรคไตควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน เพราะไตของผู้ป่วยไม่สามารถกรองและขับโซเดียมออกจากร่างกายได้ตามปกติ ทำให้ระดับของเหลวในร่างกายมีปริมาณสูงขึ้น และอาจนำไปสู่อาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น แข้งบวม ความดันโลหิตสูง หายใจไม่ออก โพแทสเซียม เมื่อเป็นโรคไต […]


โภชนาการพิเศษ

เป็นเมนส์ห้ามกินอะไร และอาหารที่เหมาะสำหรับคนเป็นเมนส์

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะเป็นเมนส์หรือมีประจำเดือนอาจทำให้เกิดอาการไม่สบายตัว เช่น ปวดท้องเมนส์ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย อารมณ์แปรปรวน ซึ่งนอกจากจะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแล้ว อาหารที่กินเข้าไปก็อาจส่งผลให้เกิดอาหารเหล่านี้ได้เช่นกัน หลายคนจึงอาจสงสัยว่า เป็นเมนส์ห้ามกินอะไร ถึงจะช่วยไม่ให้อาการขณะเป็นเมนส์แย่ลง โดยทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม อาหารรสเผ็ด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื้อสัตว์ติดมัน เป็นต้น ทั้งนี้ การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น ผักใบเขียว โยเกิร์ต อาจช่วยบรรเทาอาการระหว่างเป็นเมนส์ให้บางเบาลงได้ [embed-health-tool-ovulation] เป็นเมนส์ห้ามกินอะไร อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่เป็นเมนส์ อาจมีดังนี้ อาหารรสเค็ม ร่างกายต้องการโซเดียมในปริมาณไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/วันเท่านั้น แต่อาหารรสเค็ม เช่น หอยดอง ไส้กรอกอีสาน กะปิ ไข่เค็ม ผลไม้ดอง มีโซเดียมสูง อาจทำให้ร่างกายเก็บกักน้ำไว้ในปริมาณมาก ส่งผลให้ท้องอืดมากขึ้น ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไต โรคหัวใจได้ด้วย อาหารรสเผ็ด ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงมีเมนส์อาจทำให้เกิดอาการไม่สบายท้องหรือท้องอืดได้ การรับประทานอาหารรสเผ็ด เช่น ส้มตำปลาร้า ต้มยำ ต้มแซ่บ อาจทำให้มีแก๊สในกระเพาะอาหารและอาการท้องอืดหรือท้องเสียในช่วงเป็นเมนส์แย่ลงได้ ทั้งยังอาจส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบได้ด้วย เนื้อสัตว์ติดมัน ขณะเป็นเมนส์ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวเพื่อทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นเมนส์ในแต่ละรอบเดือน หากมีฮอร์โมนชนิดนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย ยิ่งหากกินเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น […]


โภชนาการพิเศษ

โกโก้ลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่ และคำแนะนำในการบริโภค

โกโก้ (Cocoa) เป็นผลผลิตจากต้นโกโก้ที่นิยมนำไปทำเป็นอาหารและเครื่องดื่มในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ดาร์กช็อกโกแลต เครื่องดื่มโกโก้ น้ำมันโกโก้ ครีมเนยโกโก้ มาอย่างช้านาน หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า โกโก้ลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่ การบริโภคโกโก้อาจช่วยลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักตัวได้ เนื่องจากโกโก้มีสารต้านอนมุลอิสระที่ช่วยควบคุมระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ และช่วยลดระดับคอเรลเตอรอล ทั้งยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกมากมาย เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 โฟเลต ทั้งนี้ ควรบริโภคโกโก้ในปริมาณและรูปแบบที่เหมาะสม คุณค่าทางโภชนาการของโกโก้ ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า ผงโกโก้ชนิดไม่หวานปริมาณประมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 228 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น คาร์โบไฮเดรต 57.9 กรัม โปรตีน 19.6 กรัม ไขมัน 13.7 กรัม โพแทสเซียม […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารลดน้ำตาลในเลือด มีอะไรบ้างและมีประโยชน์อย่างไร

อาหารลดน้ำตาลในเลือด หรือ อาหารควบคุมน้ำตาลในเลือด อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับหรือสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร รวมทั้งผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เนื่องจากเป็นผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น มือเท้าชา แผลเรื้อรัง ไตวาย ทั้งนี้ อาหารลดน้ำตาลในเลือดมักเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ มีปริมาณกากใยสูง และมีดัชนีน้ำตาลต่ำ [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์ของ อาหารลดน้ำตาลในเลือด แม้ว่าน้ำตาลในเลือดจะเป็นแหล่งพลังงานของร่างกายที่ได้จากการบริโภคอาหารประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตอย่างแป้งและน้ำตาล แต่ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานที่ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย รวมถึงในกรณีที่เซลล์ต่าง ๆ ตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีนักทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ง่าย จึงควรระมัดระวังการบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตอย่างแป้งและน้ำตาลร่วมกับออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย  มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลายประสาทอักเสบ โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือภาวะเบาหวานขึ้นตา นอกจากผู้ป่วยเบาหวานแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือกำลังมีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) สามารถเลือกรับประทานอาหารลดน้ำตาลในเลือดเช่นกัน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น อาหารลดน้ำตาลในเลือด มีอะไรบ้าง แอปเปิล แอปเปิลอุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ควบคุมระดับความดันโลหิต ช่วยให้เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น งานวิจัยหนึ่งเรื่องการบริโภคผลไม้และโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เผยแพร่ในวารสาร BMJ ปี พ.ศ. […]


โภชนาการพิเศษ

คนท้องกินเบียร์ได้ไหม อันตรายหรือไม่

หลายคนอาจมีคำถามว่า คนท้องกินเบียร์ได้ไหม คนท้องกินเหล้าได้ไหม และจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่ คำตอบคือ คนท้องรวมไปถึงผู้หญิงที่กำลังวางแผนมีบุตรไม่ควรกินเบียร์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากอาจส่งผลเสียระยะยาวต่อสุขภาพของทารกทั้งในขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด และอาจทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำเกินไป ดังนั้น จึงควรงดกินเบียร์รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปจนกว่าจะพ้นช่วงให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คนท้องกินเบียร์ได้ไหม คนท้องไม่ควรกินเบียร์ เนื่องจากแอลกอฮอล์จากเบียร์สามารถเข้าสู่กระแสเลือดของคุณแม่และถูกลำเลียงไปยังทารกในครรภ์ผ่านสายสะดือได้โดยตรง ตับของทารกในครรภ์ยังไม่สามารถกรองสารพิษในแอลกอฮอล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิษของแอลกอฮอล์ในเบียร์จึงอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วง 10-50 วันแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังเกิดกระบวนการสร้างกระดูก หัวใจ และสมองของทารก สารพิษในแอลกอฮอล์จากเบียร์ไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อทารกในช่วงที่อยู่ในครรภ์ แต่ยังกระทบต่อความแข็งแรงและความสามารถในการทนต่อภาวะเจ็บป่วยเมื่อเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต และอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่รุนแรงอย่างการสูญเสียทารกในครรภ์ได้ด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Obstetrics and Gynecology เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ศึกษาทบทวนเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรกและความเสี่ยงในการแท้งบุตร โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 5,353 คน พบว่า มีผู้หญิงประมาณ 49.7% ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในขณะตั้งครรภ์ระยะแรก และมีผู้หญิงประมาณ 12% ที่แท้งบุตรหลังดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันยังเพิ่มความเสี่ยงในการภาวะแท้งมากถึง 8% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้ดื่ม การกินเบียร์ส่งผลต่อคนท้องอย่างไร ผู้หญิงที่กินเบียร์ขณะตั้งครรภ์ อาจเสี่ยงเกิดภาวะต่อไปนี้ อาการคลื่นไส้ อาเจียน การรับแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายมากเกินไปอาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคือง และทำให้มีกรดปริมาณมากสะสมอยู่ในกระเพาะอาหาร […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารช่วยขับถ่าย มีอะไรบ้าง

อาหารช่วยขับถ่าย เช่น อาหารที่มีเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์สูงอย่างผัก ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว อาหารที่มีโพรไบโอติกส์อย่างโยเกิร์ต อาจช่วยให้ผู้ที่มีอาการท้องผูกสามารถขับถ่ายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาในการขับถ่ายควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้อาการท้องผูกแย่ลง เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารปรุงสำเร็จ อาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด พิซซ่า เพราะมีกากใยน้อย และนอกจากการเลือกรับประทานอาหารแล้ว ผู้ที่มีอาการท้องผูกควรดื่มน้ำมาก ๆ และหาเวลาออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารและลำไส้ใหญ่ และช่วยให้ขับถ่ายได้คล่องขึ้น อาหารช่วยขับถ่าย มีอะไรบ้าง การรับประทานอาหารต่อไปนี้ในปริมาณที่เหมาะสมอาจช่วยในการขับถ่ายได้ ไฟเบอร์ (Fiber) ไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหาร เป็นแหล่งอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ เร่งให้ลำไส้บีบรัดตัวได้เร็วขึ้น และช่วยลดระยะเวลาที่อาหารอยู่ในลำไส้ อีกทั้งไฟเบอร์ยังช่วยดูดซึมน้ำ ช่วยเพิ่มน้ำหนักและขนาดของอุจจาระ จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการท้องผูกได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้นจะช่วยการขับถ่ายได้ในกรณีที่อาการท้องผูกไม่รุนแรงเท่านั้น ร่วมกับต้องดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอเสมอ ตัวอย่างอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวโอ๊ต เกล็ดรำข้าว ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วขาว ถั่วดำ ถั่วลันเตา อัลมอนด์ ผัก เช่น แครอท บรอกโคลี ถั่วลันเตา กะหล่ำปลี […]


โภชนาการพิเศษ

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ กับ เบาหวาน มีประโยชน์อย่างไร

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ (Riceberry) เป็นข้าวพันธุ์ไทยชนิดหนึ่งที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ระหว่างข้าวจ้าวหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดข้าวเป็นสีม่วง เมื่อหุงสุกจะให้สัมผัสเหนียวหนึบ และสามารถบริโภคได้โดยไม่ต้องขัดสี ทั้งนี้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เหมาะกับคนเป็นเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้าตาลในเลือด เนื่องจากข้าวไรซ์เบอร์รี่อุดมไปด้วยสารต่าง ๆ ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ว่าจะเป็นแอนโธไซยานิน (Anthocyanins) กรามิสเตอรอล (Gramisterol) แกมมา โอริซานอล (Gamma Oryzanol) หรือเบตา แคโรทีน (Beta Carotene) [embed-health-tool-bmi] ไรซ์เบอร์รี่ คืออะไร ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เกิดจากการผสมข้าว 2 สายพันธุ์ คือ ข้าวหอมนิลและข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมล็ดเป็นสีม่วงเข้ม และให้รสสัมผัสนุ่มหนึบหลังหุงสุก ปัจจุบัน ข้าวชนิดนี้ปลูกมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีประโยชน์อย่างไรต่อผู้ป่วยเบาหวาน ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) หรือค่าความเร็วของน้ำตาลในเลือดที่จะเพิ่มขึ้นหลังบริโภคเข้าร่างกาย ที่ 62 ซึ่งจัดอยู่ในระดับปานกลาง และต่ำกว่าค่าดัชนีน้ำตาลของข้าวโดยทั่วไปที่อยู่ที่ 73 จึงถือว่าเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป นอกจากนี้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังมีสารต่าง ๆ ที่มีสรรพคุณร่วมในการบรรเทาหรือต้านเบาหวาน ด้วยการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป เช่น แอนโธไซยานิน กรามิสเตอรอล แกมมา […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน