โภชนาการพิเศษ

เนื่องจากร่างกายของทุกคนแตกต่างกัน ความต้องการของเราจึงแตกต่างกันด้วย คุณสามารถเสริมคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายได้ ด้วยข้อมูล โภชนาการพิเศษ ของเรา

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]

สำรวจ โภชนาการพิเศษ

โภชนาการพิเศษ

6 เมนูอาหารสำหรับคน ควบคุมน้ำตาลในเลือด และวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือด

เมนูอาหารสำหรับคน ควบคุมน้ำตาลในเลือด มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการลดหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ควรออกกำลังกายและปฏิบัติตามแผนการจัดการกับน้ำตาลในเลือดตามที่คุณหมอกำหนดร่วมด้วย เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ของดีของเมนูอาหารสำหรับคนควบคุมน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycaemia) ที่อาจทำให้เกิดอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย มองเห็นไม่ชัด ปวดหัว และอ่อนแรง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ป้องกันเส้นประสาทบริเวณแขน ขา และเท้าเสียหายจากภาวะน้ำตาลสูง ที่อาจส่งผลให้แขนขาชา รู้สึกเสียวซ่า และมีอาการบวม ป้องกันภาวะเบาหวานขึ้นตาที่อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น ต้อกระจก ตาพร่ามัว ต้อหิน ป้องกันภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic Ketoacidosis) ที่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ร่างกายสร้างคีโตน (Ketone) หรือสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดออกมาในปริมาณมาก ส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ลดความเสี่ยงเกิดอาการโคม่าจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ที่อาจส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เกิดอาการชัก หมดสติ และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ตัวอย่าง เมนูอาหารสำหรับคนควบคุมน้ำตาลในเลือด 1. ผัดบรอกโคลีกุ้ง วัตถุดิบ น้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ กุ้งปอกเปลือก บร็อคโคลี่หั่น 1-2 หัว งา 1 ช้อนชา […]


โภชนาการพิเศษ

อบเชย เบาหวาน ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

อบเชย เป็นเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย โดยจัดเป็นเครื่องเทศซึ่งนิยมบริโภคในฐานะสมุนไพรเพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น มีคุณสมบัติกระตุ้นเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายให้สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] เบาหวานคืออะไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกายหรือไม่ได้เลย หรืออาจเกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง ส่งผลให้น้ำตาลสะสมในกระแสเลือดมากขึ้นเรื่อย ๆ และหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานโดยไม่ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเบาหวานขึ้นตา ปลายประสาทอักเสบ อบเชย เบาหวาน มีประโยชน์อย่างไร อบเชย เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลากหลาย นิยมใช้บริโภคเพื่อเป็นยาและใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารมายาวนานกว่าพันปี อบเชยมีคุณสมบัติช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายสามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพระยะสั้นของการบริโภคอบเชยต่อความต้านทานกลูโคส เผยแพร่ในวารสาร Diabetes, Obesity and Metabolism ปี พ.ศ. 2550 นักวิจัยให้อาสาสมัครเพศชายที่มีอายุประมาณ 26 ปีและมีค่าดัชนีมวลกายประมาณ 24.5 จำนวน 7 ราย ทดสอบความต้านทานกลูโคส หรือประสิทธิภาพในการจัดการระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกาย จำนวน 3 ครั้ง โดยแต่ละครั้ง อาสาสมัครจะบริโภคสารละลายกลูโคสควบคู่กับไปของกินที่แตกต่างกัน ดังนี้ การทดสอบครั้งที่ 1 บริโภคสารละลายกลูโคสพร้อมกับยาหลอก […]


โภชนาการพิเศษ

ลําไส้อักเสบ ห้ามกินอะไร และวิธีดูแลตัวเองที่เหมาะสม

ลําไส้อักเสบ ห้ามกินอะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โรคลำไส้อักเสบเป็นโรคที่ทำให้เยื่อบุลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอักเสบ อาจทำให้ผู้ป่วยมีไข้ รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง รวมไปถึงท้องเสียอย่างรุนแรง จนอ่อนเพลียและสูญเสียน้ำได้ ผู้ป่วยจึงควรดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้อาการลำไส้อักเสบแย่ลง เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน เนื้อสัตว์ติดหนังและติดมัน อาหารเผ็ด [embed-health-tool-bmr] ลําไส้อักเสบ ห้ามกินอะไร ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการกินอาหารบางชนิดที่ส่งผลต่อสุขภาพลำไส้และระบบทางเดินอาหาร และอาจทำให้โรคลำไส้อักเสบมีอาการรุนแรงขึ้น ดังนี้ เนื้อสัตว์ไขมันสูง การกินเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อหมูติดมัน ข้าวมันไก่ติดหนัง หมูกรอบ ในขณะที่อาการลำไส้อักเสบกำเริบ อาจทำให้ลำไส้ใหญ่ไม่สามารถดูดซับไขมันจากเนื้อสัตว์ได้เต็มที่ นอกจากนี้ เนื้อแดงอาจมีซัลเฟต (Sulfate) ในปริมาณสูง ซัลเฟตอาจก่อให้เกิดแก๊สในร่างกายและทำให้เยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่เสียหาย จนอาการลำไส้อักเสบแย่ลงได้ อาหารรสชาติเผ็ด อาหารรสชาติเผ็ดมีสารแคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์เผ็ดร้อน ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณเนื้อเยื่อในช่องปากและทางเดินอาหาร เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารหรือเยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ระคายเคือง จนอาจส่งผลให้อาการลำไส้อักเสบแย่ลงได้ พืชตระกูลถั่ว พืชตระกูลถั่ว เช่น อัลมอนด์ ถั่วเหลือง ถั่วแระญี่ปุ่น มีเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำในปริมาณมาก หากกินมากไปอาจย่อยยาก ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้ใหญ่ และทำให้อาการลำไส้อักเสบแย่ลงได้ อย่างไรก็ตาม พืชตระกูลถั่วมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากมาย จึงไม่ควรหยุดกินถั่วเลย แต่อาจเลือกกินถั่วที่ปรุงสุกจนอ่อนนุ่มแล้ว อาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น […]


โภชนาการพิเศษ

เลือดจางกินอะไร เพื่อช่วยป้องกันและดูแลสุขภาพ

เลือดจางกินอะไร จึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพและสามารถช่วยป้องกันโรคเลือดจางได้ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก การกินอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ ตับ อาหารทะเล ถั่วและเมล็ดพืช อาจช่วยบำรุงเซลล์เม็ดเลือดให้แข็งแรง และยังช่วยป้องกันภาวะเลือดจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็กได้อีกด้วย เลือดจางกินอะไร ผู้ที่มีภาวะเลือดจางควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงเลือด โดยอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก อาจมีดังนี้ เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อแกะ เครื่องใน เช่น หัวใจ ไต ลิ้นวัว ตับ อาหารทะเลสดและอาหารทะเลกระป๋อง เช่น หอยนางรม หอยเชลล์ หอยแครง ปู กุ้ง ปลาทูน่า ปลาทู แซลมอน ปลาซาร์ดีน ผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ ผักกูด ถั่วฝักยาว ผักแว่น เห็ดฟาง พริกหวาน ใบแมงลัก ใบกะเพรา ผักปวยเล้ง อุดมไปด้วยธาตุเหล็กและโฟเลต อย่างไรก็ตาม […]


โภชนาการพิเศษ

เป็นลมพิษกินอะไรหาย และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

ลมพิษเป็นอาการทางผิวหนังที่ทำให้มีอาการคัน บวม ผื่นแดง ที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คนที่เป็นลมพิษบ่อย ๆ อาจสงสัยว่า เป็นลมพิษกินอะไรหาย โดยทั่วไป การรับประทานอาหารที่ปราศจากฮิสตามีน (Histamine) หรือมีฮิสตามีนต่ำ อาจช่วยบรรเทาอาการลมพิษที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในปัจจุบันระบุว่า ผลลัพธ์ในการบรรเทาอาการลมพิษด้วยวิธีการนี้ยังขัดแย้งกันอยู่ หากต้องการเลือกรับประทานอาหารประเภทนี้ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้ง และควรหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการลมพิษเกิดขึ้นเมื่อรับประทานอาหารชนิดใด เพื่อป้องกันอาการแพ้ที่อาจกลับมาเป็นซ้ำได้ เป็นลมพิษกินอะไรหาย ลมพิษ เป็นภาวะทางผิวหนังที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานเพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยการปล่อยสารฮิสตามีนที่ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้หรือลมพิษเกิดขึ้น เช่น อาการคัน บวม ผื่นแดง อาการลมพิษอาจถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ยา สภาพแวดล้อม การเสียดสีจากเสื้อผ้า แอลกอฮอล์ อาหารบางชนิด ความเครียด การมีประจำเดือน การหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นลมพิษจึงอาจช่วยบรรเทาอาการได้ อาหารที่คนเป็นลมพิษควรหลีกเลี่ยง ผู้ที่เป็นลมพิษอาจหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่สามารถกระตุ้นทำให้เกิดอาการลมพิษได้ เช่น ผัก เช่น ผักปวยเล้ง มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เนื้อสัตว์ แช่แข็งไว้เป็นเวลานาน เช่น ปลา หอย อาหารกระป๋องและอาหารรมควันต่าง ๆ ชีส โยเกิร์ต อาหารหมักดอง ชาสมุนไพร ไข่ อาหารจานด่วน  […]


โภชนาการพิเศษ

เมนู อาหารสำหรับ ไทรอยด์เป็นพิษ

เมนู อาหารสำหรับ ไทรอยด์เป็นพิษ ควรเป็นเมนูที่ช่วยลดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ช่วยลดการดูดซึมไอโอดีนที่อาจทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักขึ้น และช่วยบำรุงสุขภาพเพื่อเสริมธาตุอาหาร รวมทั้งมวลกระดูกที่ร่างกายอาจสูญเสียไปในขณะที่เป็นภาวะไทรอยด์เป็นพิษ นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจส่งผลทำให้อาการกำเริบและรุนแรงขึ้น [embed-health-tool-bmr] ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) คือ ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxine หรือ T4) มากเกินไป โดยฮอร์โมนไทรอกซินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออก หงุดหงิด นอนหลับยากและอ่อนเพลีย เป็นต้น หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น กระดูกเปราะ ปัญหาหัวใจ ปัญหาสายตา ผิวบวมแดง ปัญหาต่อมไทรอยด์ขั้นวิกฤต เมนู อาหารสำหรับ ไทรอยด์เป็นพิษ ผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษควรเลือกรับประทานเมนูอาหารที่ช่วยลดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์และช่วยลดการดูดซึมไอโอดีนที่ส่งผลทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักขึ้น ดังนั้น เมนูสำหรับผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษอาจมีดังนี้ เมนูอาหารไอโอดีนต่ำ เช่น ไข่ขาว เกลือไม่เสริมไอโอดีน ผักและผลไม้ สมุนไพร เครื่องเทศ น้ำมันพืช น้ำตาล น้ำผึ้ง ถั่ว น้ำมะนาว เนื้อวัว ไก่ เนื้อแกะ เพื่อช่วยลดกระบวนการผลิตฮอร์โมนออกมามากขึ้น เมนูอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ซีเรียล […]


โภชนาการพิเศษ

สมุนไพร แก้เบาหวาน สรรพคุณ มีอะไรบ้าง

สมุนไพร แก้เบาหวาน สรรพคุณ หมายถึง สมุนไพรที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเนื่องจากความบกพร่องของตับอ่อนในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินสำหรับควบคุมระดับน้ำตาลของร่างกาย ทั้งนี้ สมุนไพร แก้เบาหวาน มีสรรพคุณที่สำคัญ ได้แก่ การช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดระดับไขมันในเลือด และช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต โดยสมุนไพรที่อาจมีสรรพคุณดังกล่าว ได้แก่ ขิง ว่านหางจระเข้ อบเชย ใบกะเพรา [embed-health-tool-bmr] เบาหวานคืออะไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง ส่งผลให้น้ำตาลสะสมในกระแสเลือดมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่มีสุขภาพดีจะอยู่ระหว่าง 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากตรวจพบว่าระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจหมายความว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ผนังหลอดเลือดมักเกิดความเสียหาย และเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเบาหวานขึ้นตา ปลายประสาทอักเสบ สมุนไพร แก้เบาหวาน สรรพคุณ ในประเทศไทย มีสมุนไพรหลายชนิดที่มีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ว่าอาจช่วยต้านหรือบรรเทาโรคเบาหวานได้ โดยสมุนไพร แก้เบาหวาน ได้แก่ ขิง ขิงมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส […]


โภชนาการพิเศษ

โรคตับอักเสบ ห้ามกินอะไร และวิธีดูแลตัวเองที่เหมาะสม

เมื่อป่วยเป็น โรคตับอักเสบ ห้ามกินอะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย เนื่องจากโรคตับอักเสบเป็นโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับ เนื้อเยื่อตับถูกทำลาย และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่อาจเพิ่มการอักเสบของตับและทำให้ตับทำงานหนักขึ้น เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ อาหารที่มีน้ำตาลและเกลือสูง รวมทั้งอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก โรคตับอักเสบ ห้ามกินอะไร ผู้ป่วยโรคตับอักเสบอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการกินอาหารบางชนิดที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตับ และอาจทำให้โรคตับอักเสบมีอาการที่รุนแรงขึ้น ดังนี้ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ การกินอาหารที่มีไขมันสูงโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและอาจกลายเป็นโรคอ้วนได้ ซึ่งอาจทำให้ไขมันเข้าไปสะสมในเซลล์ตับมากขึ้นและทำให้ตับบวมจนกลายเป็นโรคไขมันพอกตับ เมื่อเวลาผ่านไปอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อตับแข็งตัวและเป็นแผลเป็น ซึ่งอาจทำให้ภาวะตับอักเสบรุนแรงขึ้น จนนำไปสู่โรคตับแข็งได้ ตัวอย่างอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมันและติดหนัง ครีมเทียม ขนมกรุบกรอบ อาหารทอด ขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ อาหารแปรรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง อาหารที่มีน้ำตาลสูง การกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพตับ เนื่องจากร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินไปเป็นไขมันซึ่งหากไปสะสมที่ตับมากเกินไปจะทำให้ตับอักเสบในที่สุด นอกจากนี้ การกินน้ำตาลในปริมาณมากยังอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบเรื้อรัง และอาจก่อให้เกิดโรคอีกหลายชนิด เช่น โรคเบาหวานชนิดที่  2 โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ น้ำอัดลม น้ำหวาน นมหวาน น้ำผลไม้เติมน้ำตาล น้ำตาลทรายขาว น้ำเชื่อม อาหารที่มีเกลือสูง การกินเกลือในปริมาณมากนอกจากจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพตับด้วย แม้จะยังไม่ทราบกลไกการเกิดภาวะตับอักเสบที่แน่ชัด […]


โภชนาการพิเศษ

อาหาร gluten free คืออะไร ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

gluten free คือ อาหารที่ปราศจากกลูเตนซึ่งเป็นโปรตีนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มักพบในข้าวสาลีหรือธัญพืช และสามารถสกัดกลูเตนออกมาชเพื่อใช้เป็นสารเติมแต่งสำหรับเพิ่มปริมาณโปรตีน เพิ่มเนื้อสัมผัสและรสชาติในอาหาร รวมถึงอาจใช้เพื่อคงรูปร่างของอาหารแปรรูป โดยบางคนอาจจำเป็นต้องกินอาหารที่ปราศจากกลูเตน เนื่องจากปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวของกับการแพ้หรือการย่อยกลูเตนที่ผิดปกติ เช่น โรคเซลิแอค (Celiac Disease) อย่างไรก็ตาม โรคนี้พบได้ในชาวยุโรปมากกว่าชาวเอเชีย [embed-health-tool-bmr] gluten free คือ อะไร กลูเตน คือ โปรตีนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบในข้าวสาลีและธัญพืชอื่น ๆ ซึ่งมนุษย์สามารถสกัดออกมาใช้เติมในอาหารหลายชนิดเพื่อเพิ่มปริมาณโปรตีน เนื้อสัมผัสและรสชาติในอาหาร รวมถึงยังอาจทำหน้าที่เป็นสารยึดเกาะเพื่อให้อาหารแปรรูปคงรูปร่างได้นานขึ้น ปัจจุบันมีอาหารหลายชนิดที่ปราศจากกลูเตน หรือเรียกว่า gluten free (กลูเตนฟรี) ซึ่งเป็นอาหารที่ไม่มีข้าวสาลีหรือธัญพืชเป็นส่วนประกอบ รวมถึงอาหารตามธรรมชาติที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งหรืออาหารแปรรูปที่ปราศจากการเสริมกลูเตน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ผักและผลไม้ ขนมปัง ซีเรียล เส้นพาสต้าที่ระบุว่าปราศจากกลูเตน บางคนอาจเข้าใจผิดว่า gluten free เป็นการกินอาหารที่ไม่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบ จึงอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่ใช้เป็นพลังงาน ซึ่งสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตนั้นมีหลายชนิดที่ไม่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบและผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงกลูเตนสามารถกินได้ เช่น ข้าวขาว หมี่ขาว เส้นขนมจีน วุ้นเส้น เส้นเล็ก เส้นใหญ่ ขนมปังจากแป้งข้าวเจ้า มันฝรั่ง มันเทศ เผือก […]


โภชนาการพิเศษ

ท้องเสียห้ามกินอะไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

ท้องเสียห้ามกินอะไร อาจเป็นคำถามที่มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอาการท้องเสียบ่อยครั้ง โดยปกติแล้ว อาการท้องเสียอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียและปรสิต การใช้ยาบางชนิด การแพ้แลคโตส แพ้น้ำตาลฟรุกโตส หรืออาจเกิดจากโรคทางเดินอาหาร เช่น โรคโครห์น (Crohn's Disease) โรคลำไส้แปรปรวน โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียได้ง่ายขึ้นเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารรสเผ็ด ผู้ที่มีอาการท้องเสียจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารหรือกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ ดังนั้น การสังเกตอาการของตนเองจึงอาจเป็นวิธีที่จะบอกได้ว่าตนเองมีอาการท้องเสียเกิดขึ้นเมื่อรับประทานอาหารชนิดใด [embed-health-tool-bmr] ท้องเสียห้ามกินอะไร อาหารที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้บ่อย อาจมีดังนี้ นม นมมีน้ำตาลแลคโตสที่อาจก่อให้เกิดอาการท้องเสียในผู้ที่มีปัญหาแพ้แลคโตส เนื่องจาก เอนไซม์ที่ผลิตในลำไส้เล็กมีปริมาณน้อยเกินไปจนไม่สามารถย่อยสลายน้ำตาลแลคโตสได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง แก๊สในกระเพาะอาหาร และท้องอืดหลังดื่มนมหรือรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มนมในขณะที่มีอาการท้องเสีย เพื่อป้องกันสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น อาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีไขมันสูงและเต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัว หรือไขมันทรานส์  เช่น มันฝรั่งทอด ขนมกรุบกรอบ อาหารแปรรูป เค้ก คุกกี้ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือทำให้อาการท้องเสียที่เป็นอยู่แย่ลง เนื่องจากปัญหาการย่อยและการดูดซึมอาจกระตุ้นให้เกิดอาการท้องเสียได้ น้ำตาล การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลบางชนิดมากเกินไปจนร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการท้องเสียได้ โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสที่สามารถกระตุ้นอาการท้องเสียได้เนื่องจากไปทำให้ลำไส้ขับน้ำออกมามากขึ้นร่วง ตัวอย่างอาหาร เช่น ลูกพีช ลูกแพร์ เชอร์รี่ แอปเปิ้ล […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน