โภชนาการพิเศษ

เนื่องจากร่างกายของทุกคนแตกต่างกัน ความต้องการของเราจึงแตกต่างกันด้วย คุณสามารถเสริมคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายได้ ด้วยข้อมูล โภชนาการพิเศษ ของเรา

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]

สำรวจ โภชนาการพิเศษ

โภชนาการพิเศษ

แน่นท้อง เกิดจากอะไร ควรรับประทานอาหารอย่างไร

แน่นท้อง เป็นอาการปวดท้องส่วนบน มีแก๊สในกระเพาะอาหาร เรอบ่อย บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แสบร้อนหน้าอกร่วมด้วย โดยอาการแน่นท้องอาจมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารบางชนิด แพ้อาหาร รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร ดังนั้น หากเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและไม่เป็นตัวกระตุ้น อาจช่วยบรรเทาอาการแน่นท้องได้ นอกจากนี้ อาจสังเกตตัวเองอยู่เสมอว่ามีอาการแพ้อาหารหรือมีอาการแน่นท้องเกิดขึ้นเมื่อรับประทานอะไร ซึ่งอาจช่วยป้องกันอาการแน่นท้องที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmr] แน่นท้อง เกิดจากอะไร แน่นท้อง คือ อาการที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดท้องส่วนบน มีแก๊สในกระเพาะอาหาร เรอบ่อย บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แสบร้อนหน้าอก อิ่มเร็วแม้จะรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย โดยอาการแน่นท้องอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร การรับประทานยาบางชนิด แพ้อาหาร การรับประทานอาหารบางชนิด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ซึ่งสาเหตุเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารโดยตรง ส่งผลทำให้ทางเดินอาหารอักเสบหรือทำงานมากเกินไปจนเกิดเป็นอาการแน่นท้องในที่สุด อาหารที่ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง อาหารที่ควรระวังในการรับประทานเพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการแน่นท้อง อาจมีดังนี้ นมและผลิตภัณฑ์จากนมที่มีน้ำตาลแลคโตส น้ำตาล เช่น น้ำตาลฟรุกโตส สารให้ความหวานเทียมอย่างซอร์บิทอล (Sorbitol) ผักและผลไม้ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ กะหล่ำดาว กะหล่ำปลี แครอท มะเขือยาว หัวหอม ลูกเกด ลูกพรุน แอปเปิ้ล แอปริคอท ลูกพีช ลูกแพร์ […]


โภชนาการพิเศษ

4 วิตามินผิว ที่ได้จากการรับประทานอาหาร

วิตามินผิว สามารถพบได้ในแหล่งอาหารตามธรรมชาติหลายชนิด เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไขมันจากสัตว์และพืช ซึ่งอาจมีความสำคัญต่อการบำรุงผิวให้แข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่น นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายของแสงแดดและต้านการอักเสบของผิวหนัง อาจช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและความหย่อนคล้อย ลดจุดด่างดำ ช่วยสมานแผลและช่วยให้สีผิวดูสม่ำเสมอยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmr] 4 วิตามินผิว ที่รับประทานแล้วดีต่อสุขภาพผิว การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินผิว อาจช่วยเสริมความแข็งแรงของผิวทำให้ผิวสุขภาพดีขึ้น โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนประสิทธิภาพของวิตามินผิวในอาหาร ดังนี้ วิตามินเอ การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ เช่น แครอท แตงโม ฟักทอง มันเทศ มะม่วง มะเขือเทศ มะละกอ สาหร่าย ยีสต์ เคย กุ้ง กั้ง ตับ นม ไข่แดง ชีส ปลาที่มีไขมันอย่างปลาแซลมอน ทูน่า ปลาแมคเคอเรล อาจมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของผิว โดยการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและต้านการทำลายคอลลาเจนในผิว ส่งผลทำให้ผิวเต่งตึงมากขึ้น ลดการเกิดริ้วรอย อาจช่วยลดการอักเสบและอาจช่วยให้แผลสมานตัวได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายของแสงแดดที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหาริ้วรอยและผิวหมองคล้ำ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Dermato-Endocrinology เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างโภชนาการกับความชราของผิว พบว่า การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอที่มีสารประกอบเป็นแคโรทีนอยด์ […]


โภชนาการพิเศษ

5 อาหารที่ช่วยดีท็อกลำไส้ มีอะไรบ้าง

ดีท็อกลำไส้ (Detox) เป็นวิธีการล้างสารพิษในร่างกายด้วยการรับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการสนับสนุนการทำงานในลำไส้ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดีในลำไส้ที่ช่วยในการย่อยอาหาร เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายขับสารพิษตกค้างออกมาผ่านการอุจจาระ ซึ่งอาจช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเสีย ท้องผูกและลดแก๊สในกระเพาะอาหาร รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับสารพิษสะสมในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น สิว โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อ กรดในกระเพาะอาหาร หงุดหงิดง่าย คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ความรู้สึกไม่สดชื่น [embed-health-tool-bmr] 5 อาหารที่ช่วยดีท็อกลำไส้ อาหารที่อาจช่วย ดีท็อกลำไส้ และส่งผลดีต่อสุขภาพ อาจมีดังนี้ ผักและผลไม้ ผักและผลไม้หลายชนิดอุดมไปด้วยใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งอาจช่วยล้างสารพิษในลำไส้ผ่านทางอุจจาระ และยังช่วยเพิ่มมวลอุจจาระ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้นและขับถ่ายได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของผลไม้และใยอาหารที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ พบว่า การบริโภคผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยใยอาหาร ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ดีในลำไส้ที่มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร ทั้งยังส่งผลดีต่อการเคลื่อนไหวลำไส้ จึงอาจมีส่วนช่วยในการปกป้องสุขภาพทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ช่วยป้องกันอาการท้องผูก อาการลำไส้แปรปรวน โรคลำไส้อักเสบ โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ ยังอาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ตัวอย่างผักและผลไม้ที่นิยมรับประทานเพื่อช่วยดีท็อกลำไส้ มีดังนี้ มะนาว […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารที่ย่อยง่าย มีอะไรบ้าง ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

อาหารที่ย่อยง่าย เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการปรับปรุงสุขภาพทางเดินอาหาร โดยเฉพาะผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคลำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอาหาร ท้องผูก ท้องเสีย โดยอาหารที่ย่อยง่ายอาจมีลักษณะอ่อนนุ่ม ไขมันต่ำ เส้นใยต่ำ ความเป็นกรดต่ำ เคี้ยวง่ายและกลืนง่าย ซึ่งอาจช่วยให้ลำไส้และระบบทางเดินอาหารทำงานน้อยลง ทั้งยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารเพื่อใช้เป็นพลังงานได้เร็วและดียิ่งขึ้น อาหารที่ย่อยง่าย คืออะไร อาหารย่อยง่าย คือ อาหารที่มีใยอาหารต่ำ ความเป็นกรดต่ำ อ่อนนุ่ม ผ่านการปรุงสุก บด หั่นหรือปั่น จนรับประทานได้ง่ายและอ่อนโยนต่อทางเดินอาหาร เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกายอาจช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานน้อยลงและช่วยลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง ร่างกายอาจดูดซึมสารอาหารได้ง่ายและเร็วขึ้น ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนและนำไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที อาหารที่ย่อยง่าย เหมาะกับใคร อาหารที่ย่อยง่ายเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการปรับปรุงการทำงานของระบบย่อยอาหาร ส่งเสริมสุขภาพลำไส้หรือต้องการรับพลังงานและสารอาหารโดยด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยพักฟื้น ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ปัญหาลำไส้และระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพบางประการอาจจำเป็นต้องเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายเพื่อสุขภาพที่ดี โดยปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อาจมีดังนี้ โรคที่เกี่ยวกับการอักเสบของลำไส้และกระเพาะอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร กระเพาะเป็นแผล โรคลำไส้อักเสบ โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ อาการลำไส้แปรปรวน โรคเหล่านี้อาจทำให้ลำไส้และกระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผล ซึ่งอาจส่งผลให้การดูดซึมสารอาหารไม่ดีเท่าที่ควร การรับประทานอาหารย่อยง่ายจึงช่วยส่งเสริมการทำงานของลำไส้และกระเพาะอาหารให้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยให้ดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราที่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร […]


โภชนาการพิเศษ

กินอะไรไม่อ้วน เคล็ดลับการกินเพื่อสุขภาพ

กินอะไรไม่อ้วน เป็นคำถามที่ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักอาจสงสัย เพราะในปัจจุบันมีอาหารมากมายให้เลือกกิน อย่างไรก็ตาม ควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันดี ผักและผลไม้ รวมถึงควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อช่วยให้กระบวนการทำงานของร่างกายเป็นปกติ ทั้งนี้ อาจจำเป็นต้องเลือกชนิดของอาหารที่ให้ประโยชน์กับร่างกายอย่างสูงสุดและควบคุมสัดส่วนการกินอาหารให้เหมาะสม [embed-health-tool-bmr] กินอะไรไม่อ้วน เพื่อหุ่นสวยและสุขภาพที่ดี สำหรับอาหารที่กินแล้วไม่อ้วนและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาจมีดังนี้ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน สำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนัก การเปลี่ยนมาเลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือก เนื่องจาก มีน้ำตาลน้อย อุดมไปด้วยแป้งต้านทาน (Resistant Starches) ซึ่งเป็นแป้งที่ทนต่อการย่อยและการดูดซึม ทั้งยังอุดมไปด้วยใยอาหารที่มีส่วนช่วยในการชะลอการดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าสู่กระแสเลือด โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของเส้นใยอาหารและส่วนประกอบที่มีต่อระบบเผาผลาญ พบว่า ใยอาหารและธัญพืชไม่ขัดสีอุดมไปด้วยสารประกอบหลายชนิด เช่น แป้งต้านทาน วิตามิน แร่ธาตุ สารพฤษเคมี สารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีคุณสมบัติทนต่อการย่อยสลายและอาจช่วยชะลอการดูดซึมสารอาหารอย่างน้ำตาลและไขมันในลำไส้เล็ก ซึ่งอาจช่วยป้องกันความผิดปกติของระบบเผาผลาญที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ โฮลเกรน ขนมปังโฮลวีท ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารโรคหัวใจ อะไรที่ควรรับประทาน และอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง

การรับประทานอาหาร มีความสำคัญอย่างมากกับสุขภาพหัวใจ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อระดับความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ หรือหากเป็นโรคหัวใจอยู่ ก็อาจส่งผลให้อาการที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับอาหารโรคหัวใจ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารที่ควรรับประทานและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อช่วยรักษาสุขภาพหัวใจ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย [embed-health-tool-bmr] อาหารโรคหัวใจที่ควรรับประทาน อาหารโรคหัวใจที่ควรรับประทาน มีดังนี้ ผักและผลไม้ ผักและผลไม้เป็นแหล่งรวมวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร อีกทั้งยังมีแคลอรี่ต่ำ จึงอาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ จากการศึกษาในวารสาร Annals of Internal Medicine ปี พ.ศ. 2544 ที่ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผักและผลไม้ในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยติดตามผลสุขภาพในผู้หญิง 84,251 คน อายุระหว่าง 34-59 ปี เป็นเวลา 14 ปี และผู้ชาย 42,148 คน อายุระหว่าง 40-57 ปี เป็นเวลา 8 ปี พบว่า ผู้ที่รับประทานผักและผลไม้ 1 เสิร์ฟ/วัน อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลง 4 % โดยเฉพาะการรับประทานผักใบเขียวและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม […]


โภชนาการพิเศษ

5 อาหารสร้างภูมิคุ้มกัน มีอะไรบ้าง

อาหารสร้างภูมิคุ้มกัน มักอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ สังกะสี โปรตีน โพรไบโอติกส์ (Probiotics) พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยอาหารสร้างภูมิคุ้มกันอาจมีส่วนช่วยในการส่งเสริมความแข็งแรงและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่งเสริมสุขภาพและปกป้องร่างกายจากเชื้อก่อโรคต่าง ๆ ดังนั้น การรับประทานอาหารที่หลากหลายเป็นประจำทุกวันจึงอาจช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี [embed-health-tool-bmr] ภูมิคุ้มกัน คืออะไร ภูมิคุ้มกัน คือ กลไกความสามารถของร่างกายในการป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์สัมผัสอยู่เป็นประจำ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี (Antibody) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นในการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน เพื่อต่อต้านเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ และทำหน้าที่ปกป้องร่างกายไม่ให้กลับมาติดเชื้อเดิมซ้ำอีก หากร่างกายมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ติดเชื้อบ่อยครั้ง และอาจมีอาการติดเชื้อที่รุนแรงได้ นอกจากนี้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง การติดเชื้อที่ผิวหนัง โรคปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปัญหาทางเดินอาหาร การเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้า 5 อาหารสร้างภูมิคุ้มกัน สารอาหารที่อาจช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย อาจมีดังนี้ วิตามินซี วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการทำงานของเม็ดเลือดขาว มีส่วนช่วยในการปกป้องภูมิคุ้มกันโดยสนับสนุนการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ของระบบภูมิคุ้มกัน อีกทั้งยังสนับสนุนการทำงานของเยื่อบุผิวที่ต่อต้านเชื้อโรคและลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ก่อให้เกิดการอักเสบเนื่องจากการทำลายของอนุมูลอิสระจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด ฝุ่น […]


โภชนาการพิเศษ

ข้อเข่าเสื่อม ควรรับประทานอาหารเสริมอะไร เพื่อส่งเสริมสุขภาพกระดูก

ผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อม ควรรับประทานอาหารเสริมหรือแหล่งอาหารจากธรรมชาติที่อุดมไปด้วยวิตามินเค วิตามินซี วิตามินดี เบต้าแคโรทีน แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ไขมันดี กรดไขมันโอเมก้า 3 และไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงรักษามวลกระดูก เสริมความแข็งแรงและป้องกันการอักเสบ ทั้งยังอาจช่วยลดความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อม และอาจช่วยป้องกันการเกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้ด้วย ข้อเข่าเสื่อม คืออะไร ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis หรือ OA) คือ โรคที่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อขนาดใหญ่ เช่น หัวเข่า สะโพก ข้อมือ ข้อต่อหัวแม่มือ กระดูกสันหลัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสลายตัวและการอักเสบของกระดูกอ่อนข้อต่อ ส่งผลทำให้มีอาการเจ็บปวด ไม่สบายตัว และอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วย ข้อเข่าเสื่อม ควรรับประทานอาหารเสริมอะไร ข้อเข่าเสื่อมควรรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูก รักษาความแข็งแรงและป้องกันการอักเสบของกระดูกข้อต่อ ซึ่งอาจมีดังนี้ วิตามินเค วิตามินเคอาจช่วยป้องกันการเกิดหินปูนและการอักเสบของกระดูกอ่อนข้อต่อ จึงอาจช่วยป้องกันข้อเข่าเสื่อมได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 ศึกษาเกี่ยวกับวิตามินเคกับโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่า วิตามินเคเป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยกระตุ้นการปล่อยโปรตีนที่ช่วยควบคุมการเกิดหินปูนในข้อต่อกระดูกอ่อน นอกจากนี้ ยังช่วยยับยั้งการอักเสบของเซลล์เม็ดเลือดขาว จึงอาจช่วยป้องกันการอักเสบและอาจป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ โดยปริมาณวิตามินเคที่ควรได้รับในแต่ละวัน คือ 120 มิลลิกรัม/วัน โดยแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเค ได้แก่ ไข่แดง […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารบำรุงตับ และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารบำรุงตับ เป็นอาหารที่อาจช่วยปรับสมดุลและเสริมสร้างการทำงานของตับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่ดีต่อตับ อาจช่วยปกป้องตับจากสารพิษ ไขมัน แป้ง ซึ่งส่งผลทำให้ตับทำงานหนักและอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคตับและมะเร็งตับได้ [embed-health-tool-”bmi”] อาหารบำรุงตับ ที่ควรรับประทาน กาแฟ มีงานวิจัยหนึ่งระบุว่า กาแฟ อาจช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ตับ ในการกำจัดสารก่อมะเร็งในร่างกาย นอกจากนี้การดื่มกาแฟทุกวันอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคตับเรื้อรัง ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งตับ และปัญหาตับอื่น ๆ เช่น โรคไขมันพอกตับ (Non-alcoholic fatty liver disease :NAFLD) ชาเขียว งานวิจัยหนึ่งระบุว่า ชาเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า คาเทชิน (Catechins) ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งตับ และมะเร็งบางชนิด ทั้งนี้การดื่มชาเขียวแท้จากธรรมชาติ อาจส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่าสารสกัดจากชาเขียว หรือชาเขียวแปรรูป เพราะการสกัดหรือการแปรรูปอาจทำลายคุณประโยชน์ในชาเขียวได้ ถั่ว ถั่ว อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ สารเหล่านี้อาจช่วยบำรุงตับให้แข็งแรง และมีงานวิจัยระบุว่า อาจช่วยป้องกันโรคไขมันพอกตับได้ และลดการอักเสบได้อีกด้วย ข้าวโอ๊ต งานวิจัยหนึ่งระบุว่า ข้าวโอ๊ต มีเบต้ากลูแคน (Beta-glucans) สูง และมีเส้นใยอาหารที่ช่วยในการย่อย ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินและไขมันหน้าท้อง ซึ่งอาจทำให้ตับทำงานได้ดีขึ้นและช่วยป้องกันโรคตับได้ นอกจากนี้เบต้ากลูแคนยังมีฤทธิ์ช่วยปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการอักเสบ และช่วยป้องกันโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้อีกด้วย ควรรับประทานข้าวโอ๊ตเต็มเมล็ดที่ไม่ผ่านการแปรรูป เพราะข้าวโอ๊ตแปรรูปอาจเติมแป้ง หรือน้ำตาลที่ส่งผลเสียต่อตับได้ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ […]


โภชนาการพิเศษ

ความแตกต่างระหว่าง อาหารคลีน กับอาหารเพื่อสุขภาพ ที่อยากให้คุณรู้

เมื่อพูดถึง อาหารคลีนกับอาหารเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่า มันต้องเป็นอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วดีต่อสุขภาพร่างกายของเราอย่างแน่นอน แล้วคงมีหลาย ๆ คนที่เข้าใจว่าอาหารคลีนกับอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอาหารชนิดเดียวกัน แต่ความจริงแล้ว อาหารคลีน กับอาหารเพื่อสุขภาพ นั้นมีความแตกต่างกัน แต่จะแตกต่างอย่างไรนั้น ทาง Hello คุณหมอได้นำข้อมูลเรื่องนี้มาฝากกัน [embed-health-tool-”bmr”] ความแตกต่างระหว่าง อาหารคลีน กับอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารคลีนกับอาหารเพื่อสุขภาพ ล้วนเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพร่างกายของคุณทั้งนั้น ถึงอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายเมื่อปรับประทานเข้าไป แต่ความจริงแล้ว อาหารทั้ง 2 ชนิดมีความแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างระหว่าง อาหารคลีนและอาหารเพื่อสุขภาพ มีดังนี้ อาหารคลีน คืออะไร อาหารคลีน (Clean Food) คือ อาหารที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งที่น้อยที่สุด โดยอาจจะลดเครื่องปรุง หรือไม่มีการปรุงแต่งใด ๆ เลยก็ได้ รสชาติของอาหารจะจืดชืด จึงอาจไม่ค่อยถูกปากคนไทยสักเท่าไหร่ อาหารคลีนจะมีแบบแผนที่ชัดเจนว่า ในอาหารควรมีโปรตีนจากเนื้อสัตว์เท่าไหร่ มีคาร์โบไฮเดรตเท่าไหร่ ควรใส่เครื่องปรุงเท่าไหร่ การรับประทานอาหารคลีนจะทำให้คุณได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ โดยปราศจากสารปนเปื้อน อาหารเพื่อสุขภาพ คืออะไร อาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Food) เป็นรูปแบบของการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพของร่างกาย จิตใจ รวมไปถึงอารมณ์ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน