backup og meta

สาเหตุของโรคอ้วน รู้ไว้ ห่างไกลโรคอ้วน

สาเหตุของโรคอ้วน รู้ไว้ ห่างไกลโรคอ้วน

โรคอ้วน เป็นโรคใกล้ตัวอีกประเภทที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยคุณสามารถรู้ได้ว่าตัวเองเป็นโรคอ้วนหรือไม่ จากการคำนวณค่าดัชนีมวลกายว่าอยู่ระดับสูงว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงขึ้น คุณควรรู้ถึง สาเหตุของโรคอ้วน เอาไว้ด้วยว่า สาเหตุของ โรคอ้วน นั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง ต้องมาติดตามกันใน Hello คุณหมอ

สาเหตุของโรคอ้วน มีอะไรบ้าง

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิด โรคอ้วน คือ พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน การเลือกรับประทานอาหารแบบไม่เลือกจะทำให้ร่างกายของคุณได้รับปริมาณแคลอรี่ที่มากจนเกินไป ทำให้เกิดการสะสมแคลอรี่ส่วนเกิน นอกจากนั้น ถ้าคุณรับประทานอาหารแล้วไม่มีการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย ก็จะทำให้ร่ายกายไม่เผาผลาญแคลอรี่ที่รับประทานเข้าไป จึงทำให้เกิด โรคอ้วน นั่นเอง  แต่นอกจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้คุณเสี่ยงที่จะเผชิญกับ โรคอ้วน ได้อีกด้วย ซึ่งสาเหตุอื่น ๆ มีดังนี้

  • พันธุกรรมที่สืบทอดกันมาภายในครอบครัว โดยเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบเผาผลาญ
  • การเสื่อมสภาพการทำงานอวัยวะภายในจากอายุที่มากขึ้น เพราะจะทำให้มวลกล้ามเนื้อ และการเผาผลาญได้ช้าลง
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง
  • ระดับคอร์ติซอลสูงขึ้น โดยเกิดจากความเครียด
  • ภาวะต่อมไทรอยด์
  • สภาพแวดล้อมในชุมชนที่มีตัวเลือกในการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพน้อย

จากสาเหตุข้างต้นที่กล่าวมานั้น อาจเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล หนทางที่ดีที่สุดเมื่อคุณรู้สึกกังวลใจเกี่ยว โรคอ้วน คุณสามารถเข้าขอรับการตรวจสุขภาพ พร้อมขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อความสบายใจ

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาก โรคอ้วน

ผู้ป่วยที่กำลังเผชิญกับ โรคอ้วน หากไม่มีการดูแลตนเองด้วยวิธีที่ถูกต้องตามคำแนะนำแพทย์ หรือเพิกเฉยต่อการตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ ก็อาจส่งผลให้คุณเสี่ยงกับโรคเรื้อรังรุนแรงอื่น ๆ ร่วมด้วยได้เช่นกัน ดังนี้

วิธีการป้องกันก่อนโรคอ้วนถามหา

หากคุณสังเกตเห็นว่า ตนเองเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่ดีในทันทีถือว่าเป็นเรื่องที่ควรทำ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เผชิญกับโรคอ้วนเสียก่อนแล้วค่อยทำ ซึ่งพฤติกรรมที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ดังนี้

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 150-300 นาที ต่อสัปดาห์ โดยอาจเริ่มจากการเดินเร็ว
  • จัดแผนการรับประทานอาหารให้เหมาะสม ควรเน้นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ เช่น ผลไม้ ผัก ธัญพืช พร้อมจำกัดปริมาณการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และควรลดขนมที่มีไขมันสูง
  • พยายามชั่งน้ำหนักเป็นประจำ เพื่อดูพัฒนาการน้ำหนักตัวของตนเองว่าลดลงมากน้อยแค่ไหนต่อสัปดาห์ นอกจากนั้น ควรจดบันทึกน้ำหนักที่ชั่งเอาไว้แต่ละครั้งเอาไว้ด้วย

หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการควบคุมอาหาร หรือการลดน้ำหนัก เพื่อป้องกัน โรคอ้วน ให้ถูกวิธี คุณสามารถเข้าขอรับเทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมแก่ภาวะสุขภาพคุณจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักโภชนาการเพิ่มเติมได้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is obesity and what causes it? https://www.medicalnewstoday.com/articles/323551 . Accessed April 09, 2021

Adult Obesity Causes & Consequences https://www.cdc.gov/obesity/adult/causes.html . Accessed April 09, 2021

About adult BMI. (2020). cdc.gov/healthyweight/assessing/bmi/adult_bmi/index.html . Accessed April 09, 2021

About child and teen BMI. (2020). cdc.gov/healthyweight/assessing/bmi/childrens_bmi/about_childrens_bmi.html . Accessed April 09, 2021

Adult obesity facts. (2020). cdc.gov/obesity/data/adult.html . Accessed April 09, 2021

Aminian A, et al. (2018). ASMBS updated position statement on bariatric surgery in class I obesity (BMI 30–35 kg/m2). asmbs.org/app/uploads/2018/08/PIIS1550728918302934-Low-BMI.pdf . Accessed April 09, 2021

Body mass index: Considerations for practitioners. (n.d.). cdc.gov/obesity/downloads/bmiforpactitioners.pdf . Accessed April 09, 2021

Bush T, et al. (2016). The effect of tobacco cessation on weight gain, obesity and diabetes risk. DOI: 10.1002/2Foby.21582 . Accessed April 09, 2021

Childhood obesity facts. (2019). cdc.gov/obesity/data/childhood.html . Accessed April 09, 2021

Cooksey-Stowers K, et al. (2017). Food swamps predict obesity rates better than food deserts in the United States. mdpi.com/1660-4601/14/11/1366/htm . Accessed April 09, 2021

Defining adult overweight and obesity. (2020). cdc.gov/obesity/adult/defining.html . Accessed April 09, 2021

Facts and statistics: Physical activity. (2017). hhs.gov/fitness/resource-center/facts-and-statistics/index.html . Accessed April 09, 2021

FDA requests the withdrawal of the weight-loss drug Belviq, Belviq XR (lorcaserin) from the market. (2020). fda.gov/drugs/drug-safety-and-availability/fda-requests-withdrawal-weight-loss-drug-belviq-belviq-xr-lorcaserin-market . Accessed April 09, 2021

Kowaleski-Jones L, et al. (2017). Walkable neighborhoods and obesity: Evaluating effects with a propensity score approach. DOI: 10.1016/2Fj.ssmph.2017.11.005 . Accessed April 09, 2021

Mayo Clinic Staff. (2020). Obesity. mayoclinic.org/diseases-conditions/obesity/symptoms-causes/syc-20375742 . Accessed April 09, 2021

Obesity. (2020). hormone.org/diseases-and-conditions/obesity . Accessed April 09, 2021

Prescription medications to treat overweight and obesity. (2016). niddk.nih.gov/health-information/weight-management/prescription-medications-treat-overweight-obesity . Accessed April 09, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/06/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nopnan Ariyawongmanee


บทความที่เกี่ยวข้อง

หน้าอ้วน เกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร

ให้นมลูก อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนในเด็กได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 16/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา