โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง  [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกกนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน ((Zingerone) ในขิงเป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก สรรพคุณ เม็ดแมงลักเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

อาหารคีโต เป็นอย่างไร และเหมาะกับใครบ้าง

อาหารคีโต เป็นการควบคุมสัดส่วนการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตโดยเฉพาะแป้ง น้ำตาล และเพิ่มการรับประทานไขมันกับโปรตีนให้มากขึ้น ซึ่งอาจมีประโยชน์กับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก หรือผู้ที่มีภาวะสุขภาพบางประการ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคลมบ้าหมู โรคอัลไซเมอร์ อย่างไรก็ตาม อาหารคีโตอาจไม่เหมาะกับบางคนจึงควรศึกษาข้อควรระวังก่อนเริ่มรับประทาน [embed-health-tool-bmr] อาหารคีโต คืออะไร อาหารคีโต คือ การรับประทานอาหารที่ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตอย่างแป้งและน้ำตาลลง และเพิ่มการรับประทานโปรตีนกับไขมันมากขึ้น จนทำให้เกิดภาวะคีโตซิส (Ketosis) ที่ร่างกายจะรู้สึกถึงการอดอาหารและเริ่มกระบวนการเผาผลาญโปรตีนและไขมันที่สะสมในร่างกายเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน การวางแผนรับประทานอาหารคีโตจึงอาจสามารถแบ่งสัดส่วนได้เป็น อาหารที่มีไขมันประมาณ 60% โปรตีนประมาณ 30% และคาร์โบไฮเดรตประมาณ 10% โดยอาจเลือกอาหารคีโตได้ ดังนี้ โปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อแดง เนื้อหมู ไก่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ไข่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม เนย ชีส โยเกิร์ต ผักและพืชต่าง ๆ ที่มีแป้งน้อย เช่น พืชตระกูลถั่ว อัลมอนด์ วอลนัท เมล็ดฟักทอง เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย ผักใบเขียว […]


ข้อมูลโภชนาการ

6 เมนูคีโต ประโยชน์ และข้อควรระวังในการรับประทาน

เมนูคีโต หรือการรับประทานอาหารแบบคีโตเจนิค (Ketogenic diet) คือ เมนูที่เน้นการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น น้ำมันมะกอก เนื้อสัตว์ เนย อะโวคาโด และลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรต ไม่ให้เกิน 50 กรัม/วัน โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เช่น น้ำตาล ขนมปังขาว ข้าวขาว เส้นพาสต้า น้ำอัดลม ซึ่งอาจช่วยลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักได้ แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นกันหากรับประทานอย่างไม่เหมาะสม ดังนั้น จึงควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อรับแผนการรับประทานอาหารในรูปแบบคีโตอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์ของเมนูคีโต การรับประทานเมนูคีโตอาจช่วยควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนักได้ เนื่องจากเป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และลดการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย หากรับประทานเมนูคีโตอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตน้อยลง ทำให้ระดับอินซูลินลดลง และก่อให้เกิดภาวะคีโตซิส (Ketosis) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ร่างกายดึงไขมันที่สะสมอยู่มาใช้เป็นพลังงานแทนน้ำตาลในเลือด จึงอาจช่วยลดไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ทำให้น้ำหนักลดลง และอาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Experimental & Clinical Cardiology เมื่อปี พ.ศ.2547 ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวของของการรับประทานอาหารคีโตเจนิคต่อผู้ป่วยโรคอ้วน โดยทดสอบในผู้ป่วยโรคอ้วน 83 คน (ผู้ชาย 39 คนและผู้หญิง 44 […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ที่หาซื้อได้ทั่วไป มีอะไรบ้าง

อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน หมายถึง อาหารที่เมื่อรับประทานแล้วอาจมีส่วนช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้และกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายแล้วอาจทำให้เจ็บป่วยได้ ทั้งนี้ ภูมิคุ้มกันมักอ่อนแอลงเมื่ออายุมากขึ้น สูบบุหรี่  หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ดังนั้น เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องดูแลร่างกายด้วยการรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7-9 ชั่วโมง [embed-health-tool-bmi] ภูมิคุ้มกัน คืออะไร ภูมิคุ้มกัน หมายถึง ระบบของร่างกายในการป้องกันจุลชีพหรือเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย แล้วทำให้เกิดการติดเชื้อหรือเจ็บป่วยได้ ทั้งนี้ ภูมิคุ้มกันมักอ่อนแอลงหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จากสาเหตุต่อไปนี้ อายุมากขึ้น สูบบุหรี่ หรือได้รับมลพิษทางอากาศ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากและต่อเนื่องเป็นเวลานาน น้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วน ขาดสารอาหารที่ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง มีภาวะเครียดอย่างต่อเนื่อง นอนหลับหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน มีอะไรบ้าง การรับประทานอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การจัดการความเครียด การพักผ่อนให้เพียงพอหรือนอนหลับวันละ 7-9 ชั่วโมง และการเลิกสูบบุหรี่ ทั้งนี้ อาหารเสริมภูมิคุ้มกันที่สามารถหารับประทานได้ง่าย ๆ มีดังนี้ ส้ม วิตามินซีในส้มและผลไม้หลาย ๆ ชนิด มีประโยชน์ต่อการบำรุงและพัฒนาการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบภูมิคุ้มกัน งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของวิตามินซีต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซท์ (Lymphocyte) เผยแพร่ทางวารสาร Antioxidants ปี […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ มีอะไรบ้าง บริโภคอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ หมายถึง อาหารกลุ่มโปรตีนที่เป็นแหล่งของกรดอะมิโนต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่อการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ ช่วยให้มวลกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ นม ชีส โยเกิร์ต ถั่ว เต้าหู้ นอกจากนั้น ควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพื่อให้การเพิ่มกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ มีอะไรบ้าง อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ คืออาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารกลุ่มโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโนต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ และป้องกันร่างกายย่อยสลายกล้ามเนื้อเป็นพลังงานจนส่งผลให้กล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลง งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของโปรตีนและการออกกำลังกายแบบแรงต้านต่อการเพิ่มกล้ามเนื้อ เผยแพร่ในวารสาร Nutrients ปี พ.ศ. 2561 ระบุว่าการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของกรดอะมิโนจากแหล่งต่าง ๆ ที่ร่างกายได้รับ ทั้งนี้ กรดอะมิโนที่มีส่งเสริมกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนกล้ามเนื้อมากที่สุดคือ ลิวซีน (Leucine) นอกจากนี้ ยังควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยเพื่อให้การสังเคราะห์โปรตีนมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อ ควรเลือกบริโภคอาหารต่าง ๆ ที่อุดมไปด้วยโปรตีน ดังต่อไปนี้ เนื้อสัตว์และเนื้อปลา เช่น เนื้อวัว สันคอหมู อกไก่ ปลาแซลมอน ปลานิล ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ไข่ โยเกิร์ต ชีส นมไขมันต่ำ ถั่วและเมล็ดพืช เช่น […]


โภชนาการพิเศษ

โพแทสเซียมสูง ห้ามกิน อะไรบ้าง และควรกินอาหารอะไร

โดยปกติแล้ว ร่างกายจะขับโพแทสเซียมออกทางปัสสาวะ แต่หากมีภาวะสุขภาพบางประการ เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน อาจทำให้ไตไม่สามารถขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกทางปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ อาจมีคำถามว่า โพแทสเซียมสูง ห้ามกิน อะไร และควรกินอาหารอะไร เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้ถูกต้อง ซึ่งอาจช่วยให้สามารถรักษาสมดุลของระดับโพแทสเซียมในร่างกายให้เหมาะสม และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการมีระดับโพแทสเซียมสูงเกินไปได้ [embed-health-tool-bmi] โพแทสเซียมสูง เกิดจากอะไร ภาวะโพแทสเซียมสูง (Hyperkalemia) เป็นภาวะที่ไตไม่สามารถกรองโพแทสเซียมจากอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคเข้าไปและกำจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไตจะดูดโพแทสเซียมกลับเข้าไปสะสมในเลือด จนทำให้มีโพแทสเซียมสูงเกินไป ผู้ที่มีภาวะโพแทสเซียมสูงเป็นเวลานานอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอาจทำให้มีน้ำคั่งในร่างกาย ส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ ทำให้หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดภาวะหัวใจวายได้ ระดับโพแทสเซียมในเลือดปกติจะอยู่ที่ 3.5-5.0 มิลลิโมล/ลิตร หากเกิน 5.0 มิลลิโมล/ลิตร ถือว่าโพแทสเซียมสูง และหากเกิน 5.5 มิลลิโมล/ลิตร ถือว่ามีระดับโพแทสเซียมสูงมาก ปัจจัยต่อไปนี้ อาจมีส่วนทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมสูงได้ การได้รับโพแทสเซียมจากอาหารมากเกินไป ซึ่งอาจมาจากการกินอาหารเสริมโพแทสเซียมและสารทดแทนเกลือ (Salt Substitute) การกินยารักษาโรคที่มีส่วนผสมของโพแทสเซียม เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบางชนิด ภาวะโพแทสเซียมสูงสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย แต่หากมีภาวะสุขภาพดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะโพแทสเซียมสูงได้ โรคแอดดิสัน (Addison's Disease) โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคเบาหวานเรื้อรัง […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารบํารุงมดลูก ก่อนตั้งครรภ์ และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

พฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เลือกรับประทาน อาหารบํารุงมดลูก ก่อนตั้งครรภ์ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผักและผลไม้ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว อาหารที่มีธาตุเหล็ก และโฟเลต อาหารเสริมกรดโฟลิก ร่วมกับการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียด หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ [embed-health-tool-due-date] อาหารบํารุงมดลูก ก่อนตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีโภชนาการที่หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม อาจช่วยบำรุงร่างกายและช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ อาหารที่อาจช่วยเสริมสร้างสุขภาพของผู้หญิงที่ต้องการตั้งครรภ์ มีดังนี้ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ เป็นอาหารที่มีใยอาหารสูง ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย ทั้งยังอุดมด้วยสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก ซีลีเนียม สังกะสี แมกนีเซียม วิตามินบีต่าง ๆ ผักและผลไม้ อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรเลือกรับประทานผักและผลไม้หลากหลายชนิดเป็นประจำ เช่น ผักใบเขียวเข้ม เช่น บรอกโคลี กะหล่ำปลี ปวยเล้ง ผักโขม ผักกาดเขีย ผักบุ้ง […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารบํารุงครรภ์ มีอะไรบ้าง และคนท้องไม่ควรกินอะไร

อาหารบํารุงครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีสารอาหารที่ครบถ้วนและหลากหลายเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลือกอาหารที่มีไฟเบอร์ เกลือแร่ และวิตามิน เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าว ขนมปัง อาหารที่มีโปรตีน เช่น ปลา เต้าหู้ นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว พืชตระกูลถั่ว โดยควรกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ หรือล้างทำความสะอาดอย่างดีแล้ว นอกจากนี้ ควรจำกัดการกินไขมันและของหวานแต่พอดี หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ งดอาหารหมักดองที่อาจมีสารพิษปนเปื้อน อาหารรสจัดที่อาจทำให้เกิดกรดไหลย้อน และอาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบที่อาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรค [embed-health-tool-due-date] อาหารบํารุงครรภ์ มีอะไรบ้าง อาหารที่มีประโยชน์จะช่วยส่งเสริมความแข็งแรงให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้สารอาหารที่เพียงพอแก่ทารกในครรภ์ ทำให้ทารกเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ โดยทั่วไป คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลือกกินอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วน อุดมไปด้วยสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และปรุงสุกใหม่เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอาการอาหารเป็นพิษ ตัวอย่างอาหารที่ช่วยบำรุงครรภ์ อาจมีดังนี้ อาหารที่มีโฟเลต (Folate) และกรดโฟลิก ขณะตั้งครรภ์ควรกินอาหารที่มีโฟเลต เช่น ผักใบเขียวเข้มอย่างผักกาดเขียว บรอกโคลี ปวยเล้ง ผักเคล กะหล่ำปลี พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วลันเตา ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเลนทิล ผลไม้ตระกูลซิตรัส เช่น ส้ม ส้มโอ […]


ข้อมูลโภชนาการ

น้ำวิตามินซี มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

น้ำวิตามินซี เป็นเครื่องดื่มผสมวิตามินซีซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน รักษาบาดแผล ช่วยสร้างคอลลาเจนในกระดูกและผิวหนัง แต่น้ำวิตามินซีบางชนิดอาจไม่มีส่วนผสมของวิตามินซีหรืออาจมีปริมาณไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในฉลากข้างบรรจุภัณฑ์ ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ ยังอาจมีการเติมน้ำตาล สีและกลิ่น หากดื่มมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนหรือโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmr] วิตามินซี สำคัญต่อร่างกายอย่างไร วิตามินซี เป็นสารอาหารรองที่มีความสำคัญต่อกระบวนการทำงานของร่างกาย มีส่วนช่วยในการสร้างหลอดเลือด กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ คอลลาเจนในกระดูกและผิวหนัง รวมถึงยังอาจช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์จากการทำร้ายของสารอนุมูลอิสระ เช่น แสงแดด มลภาวะ ควัน ฝุ่น เชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคหวัด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคผิวหนัง แม้วิตามินซีจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การได้รับวิตามินซีในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ ดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ท้องเสีย เสียดท้อง แน่นท้อง อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรืออาจรบกวนการนอนหลับ ผิวแดง ดังนั้น จึงควรรับประทานวิตามินซีไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น น้ำวิตามินซี ดีต่อร่างกายหรือไม่ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายรูปแบบออกมาวางขาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ซึ่ง น้ำวิตามินซี ก็เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีจำหน่ายอย่างแพร่หลายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป แต่เมื่อวันที่ […]


ข้อมูลโภชนาการ

อาหารคลีน เป็นอย่างไร ข้อดีและข้อเสียที่ควรรู้

อาหารคลีน เป็นอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ไม่ผ่านการแปรรูป หรือปรุงแต่งน้อยที่สุด เพื่อคงความเป็นธรรมชาติและคุณค่าทางสารอาหารไว้อย่างครบถ้วน จึงส่งผลดีต่อผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพและผู้ที่ต้องการควบคุมหรือลดน้ำหนัก [embed-health-tool-bmi] อาหารคลีน เป็นอย่างไร อาหารคลีน คือ อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป ไม่ผ่านการปรุงแต่งหรือปรุงแต่งน้อยที่สุด เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มาจากธรรมชาติอย่างเต็มที่ และลดการรับสารปรุงแต่ง สารเคมีหรือสารกันบูดต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย โดยวิธีการเลือกและรับประทานอาหารคลีนให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาจทำได้ดังนี้ เลือกอาหารที่มาจากธรรมชาติมากที่สุด เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ธัญพืชไม่ขัดสี ผักและผลไม้สด หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปหรืออาหารบรรจุหีบห่อ เช่น มันฝรั่งทอด คุกกี้ อาหารแช่แข็งพร้อมทาน ไส้กรอก เบคอน เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจเต็มไปด้วยเครื่องปรุง เกลือ น้ำตาล สารกันบูด และไขมันอิ่มตัว เลือกธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ เนื่องจากธัญพืชไม่ขัดสีจะอุดมไปด้วยใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่ครบถ้วน ซึ่งต่างจากข้าวขาว ขนมปังขาว หรือเส้นพาสต้า ที่ผ่านการแปรรูปจนอาจสูญเสียคุณค่าทางอาหารไปมาก เลือกผักและผลไม้สด หรือผักและผลไม้แช่แข็งที่ไม่ผ่านการแปรรูป เพราะเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ น้ำตาลจากธรรมชาติและแคลอรี่ต่ำ ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เลือกเนื้อสัตว์ออร์แกนิก (Organic) ที่มาจากร้านค้าหรือฟาร์มที่ไว้ใจได้ […]


โรคอ้วน

โรคอ้วนคืออะไร อาการ ภาวะแทรกซ้อนและวิธีป้องกัน

โรคอ้วนคือ โรคที่มีการสะสมของไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากเกินไป ทำให้มีขนาดตัวใหญ่และมีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ดี ขาดการออกกำลังกายและใช้ยารักษาโรคบางชนิด ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคข้อเข่าเสื่อม ดังนั้น จึงควรเข้ารับการรักษาหรือลดน้ำหนักตามแผนการดูแลตัวเองที่คุณหมอแนะนำ [embed-health-tool-bmi] โรคอ้วนคืออะไร โรคอ้วนคือ โรคที่มีการสะสมของไขมันในร่างกายสูง โดยใช้เกณฑ์ในการวัดจากค่าดัชนีมวลกายและรอบเอว ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้มีไขมันสะสมในร่างกายจนนำไปสู่โรคอ้วนอาจมีดังต่อไปนี้ ครอบครัว หากคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วน คนอื่น ๆ ในครอบครัวก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนด้วยเช่นกัน ผู้สูงอายุ เนื่องจากอาจไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องตัวทำให้ขาดการออกกำลังกาย อีกทั้งผู้สูงอายุยังอาจมีประสิทธิภาพการเผาผลาญไขมันในร่างกายลดลง ส่งผลให้ไขมันสะสมมากขึ้นและเสี่ยงเป็นโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม โรคอ้วนอาจสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยเช่นเดียวกัน อาหาร การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่และไขมันสูง เช่น อาหารขยะ ของทอด น้ำอัดลม เบียร์ ไวน์ ขนมหวาน อาจส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันและคอเลสเตอรอลมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย อาจทำให้ร่างกายไม่ได้เผาผลาญไขมันส่วนเกิน ทำให้ไขมันสะสมในร่างกายมากขึ้น จนนำไปสู่การเกิดโรคอ้วน แบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล หากเกิดความไม่สมดุลของแบคทีเรียไมโครไบโอม (Microbiome) ในลำไส้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยย่อยอาหาร อาจส่งผลกระทบต่อการย่อยอาหาร ทำให้เพิ่มหรือลดน้ำหนักได้ยาก และอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน การนอนหลับไม่เพียงพอ อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติและกระตุ้นความอยากอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน