โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง  [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกกนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน ((Zingerone) ในขิงเป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก สรรพคุณ เม็ดแมงลักเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลโภชนาการ

เห็ดเข็มทอง ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

เห็ดเข็มทอง มีสีขาวนวล รูปร่างเป็นหมวกทรงกลม ก้านเรียวยาว เกิดรวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นเห็ดที่นิยมนำไปประกอบอาหารหลายชนิด เช่น สุกี้ เห็ดทอด เห็ดพันเบคอน ยำวุ้นเส้น เห็ดเข็มทองอุดมไปด้วยใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบ ต้านเนื้องอก ต้านมะเร็ง ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ปรับปรุงการทำงานของสมองและช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดเข็มทอง เห็ดเข็มทอง ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 36 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต 8 กรัม ไฟเบอร์ 2.7 กรัม โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม น้ำตาล 0.2 กรัม นอกจากนี้ เห็ดเข็มทองยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินดี วิตามินบี 6 ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม สังกะสี ไทอะมิน (Thiamine) ไรโบฟลาวิน […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ถั่งเช่า คุณค่าทางโภชนาการและข้อควรระวังในการบริโภค

ถั่งเช่า หรือหญ้าหนอน เป็นเห็ดราชนิดหนึ่ง ในศาสตร์แพทย์แผนจีน ถั่งเช่าจัดเป็นสมุนไพรที่มีราคาแพงมากในท้องตลาด เพราะหาได้ยากในธรรมชาติ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาในปัจจุบัน พบว่า ถั่งเช่าอาจมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ต่อต้านเนื้อร้าย และลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากในสารสกัดถั่งเช่ามีแร่ธาตุต่าง ๆ และสารต้านอนุมูลอิสระรวมทั้งสารประกอบอื่น ๆ เช่น โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) สารคอร์ไดเซปีน (Cordycepin) ที่อาจมีประโยชน์ในการบำรุงสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของถั่งเช่า ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture) ระบุว่า ถั่งเช่า 100 กรัม ให้พลังงาน 500 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 100 กรัม โปรตีน 50 กรัม ใยอาหาร 50 กรัม ไขมันอิ่มตัว 10 กรัม แคลเซียม 260 มิลลิกรัม เหล็ก 14.4 มิลลิกรัม นอกจากนี้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ใบมะกรูด ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ใบมะกรูด เป็นสมุนไพรที่มักนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารไทยหลายชนิด เช่น ต้มยำ ปีกไก่ทอดใบมะกรูด แกงเผ็ด แกงคั่ว โดยใบมะกรูดจะให้กลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจมีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ใบมะกรูด ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 171 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต 29 กรัม ไฟเบอร์ 8.2 กรัม โปรตีน 6.8 กรัม แคลเซียม 1,672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ใบมะกรูดยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุเหล็ก ประโยชน์ของใบมะกรูดที่มีต่อสุขภาพ ใบมะกรูดมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของใบมะกรูดในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและอาจช่วยต้านการอักเสบ ใบมะกรูดอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจใช้รักษาอาการอักเสบต่าง ๆ ได้ เช่น […]


โภชนาการพิเศษ

5 อาหารสร้างภูมิคุ้มกัน มีอะไรบ้าง

อาหารสร้างภูมิคุ้มกัน มักอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ สังกะสี โปรตีน โพรไบโอติกส์ (Probiotics) พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยอาหารสร้างภูมิคุ้มกันอาจมีส่วนช่วยในการส่งเสริมความแข็งแรงและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่งเสริมสุขภาพและปกป้องร่างกายจากเชื้อก่อโรคต่าง ๆ ดังนั้น การรับประทานอาหารที่หลากหลายเป็นประจำทุกวันจึงอาจช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี [embed-health-tool-bmr] ภูมิคุ้มกัน คืออะไร ภูมิคุ้มกัน คือ กลไกความสามารถของร่างกายในการป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์สัมผัสอยู่เป็นประจำ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี (Antibody) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นในการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน เพื่อต่อต้านเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ และทำหน้าที่ปกป้องร่างกายไม่ให้กลับมาติดเชื้อเดิมซ้ำอีก หากร่างกายมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ติดเชื้อบ่อยครั้ง และอาจมีอาการติดเชื้อที่รุนแรงได้ นอกจากนี้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง การติดเชื้อที่ผิวหนัง โรคปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปัญหาทางเดินอาหาร การเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้า 5 อาหารสร้างภูมิคุ้มกัน สารอาหารที่อาจช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย อาจมีดังนี้ วิตามินซี วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการทำงานของเม็ดเลือดขาว มีส่วนช่วยในการปกป้องภูมิคุ้มกันโดยสนับสนุนการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ของระบบภูมิคุ้มกัน อีกทั้งยังสนับสนุนการทำงานของเยื่อบุผิวที่ต่อต้านเชื้อโรคและลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ก่อให้เกิดการอักเสบเนื่องจากการทำลายของอนุมูลอิสระจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด ฝุ่น […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะกอก ประโยชน์ต่อสุขภาพและข้อควรระวังในการบริโภค

มะกอก เป็นผลไม้ที่ใช้รับประทานและนิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์หลากหลายด้าน เช่น ประกอบอาหาร บำรุงผิว มะกอกอุดมไปด้วยสารอาหารและสารประกอบหลายชนิดที่ดีต่อสุขภาพ เช่น กรดโอเลอิก (Oleic acid) สารประกอบโพลีฟีนอล (Polyphenols) ที่มีคุณสมบัติในการต้านอาการอักเสบ ลดระดับไขมันในเลือด และอาจช่วยต้านมะเร็งได้ คุณค่าทางโภชนาการของมะกอก มะกอก ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 141 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น โปรตีน 1.15 กรัม ไขมัน 12.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.32 กรัม ไฟเบอร์ 4 กรัม นอกจากนี้ มะกอกยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม สังกะสี ประโยชน์ต่อสุขภาพของมะกอก มะกอกอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการรักษาและและการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยต้านการอักเสบ มะกอกมีคุณสมบัติช่วยลดอาการอักเสบ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็งได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Research Reviews เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 […]


ข้อมูลโภชนาการ

วิตามิน บี 2 ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

วิตามิน บี 2 พบได้ในอาหารประเภทพืชและสัตว์ เช่น นม เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว ผักใบเขียว หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ วิตามิน บี 2 ประโยชน์ รวมถึงข้อควรระวังในการบริโภคให้เข้าใจ เพื่อจะได้บริโภควิตามินบี 2 ได้อย่างเหมาะสม และส่งผลดีต่อสุขภาพมากที่สุด วิตามิน บี 2 คืออะไร วิตามิน บี 2 หรือ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ช่วยในการเผาผลาญอาหารประเภทไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตไปเป็นพลังงานเพื่อขับเคลื่อนการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ บำรุงผิวหนัง เล็บ และเส้นผม และมีส่วนช่วยในการทำงานของสมองและระบบประสาท วิตามิน บี 2 พบได้ในอาหารหลากหลายชนิด ทั้งนม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต และอาจพบได้ในไข่แดง เนื้อแดง ปลา […]


ข้อมูลโภชนาการ

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีสีม่วงเข้ม กลิ่นหอม และมีรสหวาน ทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารและใยอาหารสูงที่ดีต่อสุขภาพลำไส้และระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและอาจช่วยป้องกันมะเร็งได้ [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ กี่แคล สำหรับข้าวไรซ์เบอร์รี่ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 390 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต 80 กรัม ไฟเบอร์ 4 กรัม โปรตีน 8 กรัม วิตามินอี 0.68 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ ธาตุเหล็ก สังกะสี โซเดียม โอเมก้า 3 โฟเลต (Folate) เบต้าแคโรทีน โพลีฟีนอล (Polyphenol) แทนนิน (Tannin) ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีประโยชน์อย่างไร ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของข้าวไรซ์เบอร์รี่ในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยป้องกันโรคเมตาบอลิซึม โรคเมตาบอลิซึม (Metabolic Syndrome) คือ ภาวะผิดปกติของระบบเผาผลาญในร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน […]


ข้อมูลโภชนาการ

ชา 5 ชนิด ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ และข้อควรระวังในการดื่ม

ชา ทำมาจากพืชตากแห้งชนิดต่าง ๆ มีกลิ่นหอม นิยมนำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนเพื่อดื่มดับกระหาย เพิ่มความสดชื่น ทั้งยังอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง เนื่องจาก ชาอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย อาจช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ช่วยปรับปรุงการทำงานของสมองและอาจช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของผิวหนังได้ นอกจากนี้ ชายังอาจช่วยเพิ่มการเผาผลาญในร่างกาย ซึ่งดีต่อการควบคุมน้ำหนัก สุขภาพลำไส้และการขับถ่ายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรดื่มชาในปริมาณที่เหมาะสมเพราะหากดื่มมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmr] ชา 5 ชนิด ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ชาเป็นเครื่องดื่มที่ให้ประโยชน์กับสุขภาพ แต่ชาทุกชนิดมีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมในปริมาณที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของชา อุณหภูมิน้ำและระยะเวลาการต้ม ซึ่งร่างกายควรได้รับคาเฟอีนในปริมาณปานกลางไม่เกิน 400 มิลลิกรัม/วัน หรือประมาณ 3-4 ถ้วย/วัน เพื่อป้องกันผลข้างเคียงของคาเฟอีน เช่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล ใจสั่น โดยชาที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพอาจมีดังนี้ ชาดำ ชาดำทำมาจากพืชตระกูลคาเมเลีย ไซเนนซิส (Camellia Sinensis) ซึ่งเป็นต้นชาชนิดเดียวกับที่ใช้ทำชาเขียว ชาขาว และชาอู่หลง โดยผ่านกระบวนการตากแห้งเป็นเวลานานก่อนนำไปผ่านความร้อน ทำให้ชามีสีดำ มีรสชาติเข้มและมีคาเฟอีนสูงกว่าชาชนิดอื่น นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) โพลีฟีนอล (Polyphenols) คาเทชิน (Catechins) […]


ข้อมูลโภชนาการ

กะเพรา สรรพคุณ และคุณค่าทางโภชนาการ

กะเพรา เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่นิยมใช้นำมาเป็นเครื่องปรุงและส่วนประกอบของอาหารในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มาตั้งแต่โบราณ และยังเป็นแหล่งแร่ธาตุหลายชนิด ทั้งแคลเซียม วิตามิน เหล็ก แมกนีเซียม โดยมีงานวิจัยหลายชิ้นรองรับว่า กะเพราอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น บรรเทาอาการวิตกกังวล ลดระดับน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง คุณค่าทางโภชนาการของ กะเพรา ใบกะเพราประมาณ ¼ ถ้วย ให้พลังงานประมาณ 1.38 กิโลแคลอรี่ และมีสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ โปรตีน 0.189 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0.159 กรัม ใยอาหาร 0.096 กรัม ไขมัน 0.038 กรัม น้ำตาล 0.018 กรัม นอกจากนี้ กะเพรายังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินเค แมงกานีส แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม ประโยชน์ของกะเพราต่อสุขภาพ กะเพรา อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของกะเพรา ดังนี้ อาจช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและความเครียด กะเพราอาจช่วยบรรเทาอาการของโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) โดยมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่ากะเพราอาจมีฤทธิ์ในการคลายกังวลเทียบเท่ากับยานอนหลับและยาต้านเศร้า งานวิจัยหนึ่งที่เผยแพร่ในวารสาร […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของปลา และข้อควรระวังในการบริโภค

ปลาเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มีโปรตีนและไขมันดีสูง โดยเฉพาะไขมันไม่อิ่มตัวอย่างกรดโอเมก้า 3 ประโยชน์ของปลา ต่อสุขภาพของผู้บริโภคมีหลายประการ เช่น อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคหอบหืด ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานในเด็ก ทั้งนี้ ควรศึกษาข้อควรระวังของการบริโภคปลา เพื่อหลีกเลี่ยงอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อรับประทานปลาไม่ถูกวิธี คุณค่าทางโภชนาการของปลา ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ ที่ช่วยในการทำงานของร่างกาย เช่น วิตามินบี 3 (ไนอาซิน) วิตามินดี เหล็ก ฟอสฟอรัส ปลามีส่วนช่วยในการบำรุงกล้ามเนื้อ อวัยวะ และหลอดเลือด ทั้งยังช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้ โปรตีนในปลายังมีส่วนช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์ และการเจริญเติบโตของเส้นผม อีกทั้งปลายังอุดมไปด้วยไอโอดีน ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้เอง การบริโภคปลาจึงช่วยเพิ่มปริมาณไอโอดีนที่ส่งผลดีต่อการทำงานของระบบต่อมไทรอยด์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ความอยากอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน ให้เป็นปกติ ปลาที่นิยมบริโภคมีด้วยกันหลายชนิด ทั้งปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม ปลาน้ำจืดที่คนนิยมบริโภค เช่น ปลาดุก ปลาสวาย ปลานิล ปลาทับทิม ส่วนปลาน้ำเค็มที่คนนิยมบริโภค เช่น ปลาแซลมอน ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาสำลี ทั้งนี้ คุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ของปลาแต่ละตัวอาจแตกต่างกันไป […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน