พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กทารก

ตัดเล็บลูกน้อย เคล็ดลับสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

ตัดเล็บลูกน้อย คือการตัดเล็บมือและเล็บเท้าของลูกน้อยที่ยาวให้สั้นลง เพราะหากปล่อยจนยาวเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อผิวและดวงตาของลูกน้อยเอง โดยปกติการตัดเล็บให้เด็ก ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าใดนัก เนื่องจากเด็ก ๆ จะไม่อยู่เฉยให้ตัดเล็บ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องหาวิธีหรือเคล็ดลับเพื่อที่จะได้ตัดเล็บลูกน้อยได้อย่างปลอดภัยและง่ายดายขึ้น พ่อแม่จะมีวิธี ตัดเล็บลูกน้อย อย่างไร การตัดเล็บให้เด็ก ๆ นั้นค่อนข้างยากกว่าการตัดเล็บให้ผู้ใหญ่ แต่คุณพ่อคุณแม่อาจปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อให้สามารถตัดเล็บใหลูกน้อยได้ง่ายขึ้น ตัดเล็บในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพราะอันตรายเกิดได้ทุกเมื่อ คุณพ่อคุณแม่อาจเผลอตัดเข้าเนื้อของลูกได้ ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท จึงควรตัดเล็บในสถานที่ที่มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ ใช้ที่ตัดเล็บสำหรับเด็ก การใช้กรรไกรตัดเล็บสำหรับเด็กจะเพิ่มความปลอดภัยมากกว่าการใช้กรรไกรตัดเล็บแบบทั่วไปที่ผู้ใหญ่ใช้ เนื่องจากกรรไกรตัดเล็บแบบที่ผู้ใหญ่ใช้นั้นมีความคมมากกว่ากรรไกรตัดเล็บสำหรับเด็ก และขนาดอาจใหญ่เกินไปสำหรับนิ้วมือและนิ้วเท้าเด็กด้วย ตัดเล็บขณะที่ลูกหลับ ลูกน้อยมักไม่ยอมให้คุณพ่อคุณแม่ตัดเล็บของตัวเองได้ง่าย ๆ ทั้งดิ้น และร้องไห้ ดังนั้นเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการตัดเล็บ ก็คือ เวลาที่ลูกน้อยกำลังนอนหลับอยู่นั่นเอง เพราะพวกเขาจะอยู่นิ่ง ๆ ทำให้การตัดเล็บง่ายขึ้นมาก อย่าลืมทำความสะอาดอุปกรณ์ตัดเล็บ เพื่อความสะอาดและความปลอดภัยต่อผิวหนังของลูกนอย  ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ตัดเล็บทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการใช้งาน เคล็ดลับเพื่อตัดเล็บลูกน้อย นอกเหนือจากคำแนะนำและขั้นตอนในการตัดเล็บให้ลูกน้อยแล้วนั้น ยังมีเคล็ดลับที่คุณพ่อคุณแม่อาจลองนำไปใช้ได้ ดังนี้ ช่วงเวลาที่เหมาะสมใน การตัดเล็บลูก เรื่องนี้เป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญมาก หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการตัดเล็บให้กับลูกน้อย ควรใช้ช่วงระยะเวลาที่ลูกน้อยหลับ หรืออาจจะเป็นช่วงหลังอาบน้ำ เบี่ยงเบนความสนใจ ในการตัดเล็บให้ลูกน้อย อาจจะต้องมีวิธีการหลอกล่อให้ลูกน้อยหันไปสนใจสิ่งอื่น แล้วค่อยตัดเล็บ แต่อาจต้องระวังตัดเล็บเข้าเนื้อเพราะลูกน้อยอาจอยู่ไม่นิ่งนัก แบ่งเล็บ ถ้าหากคุณพ่อแม่ยังไม่มีความสามารถที่จะตัดเล็บให้กับลูกน้อยได้พร้อมกันในครั้งเดียว ขอให้เริ่มทยอยตัดไปวันละเล็บสองเล็บทีละวัน สองวัน ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะตัดเล็บได้หมด หาคนช่วย บางครั้งการตัดเล็บให้ลูกน้อยด้วยตัวคนเดียวอาจจะยาก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถขอความช่วยเหลือจากคุณตาหรือคุณยายให้ช่วยจับลูก […]


สุขภาพเด็ก

แผลเป็น เด็ก จะรักษาได้อย่างไร

แผลเป็น เด็ก หมายถึงผิวหนังที่นูนขึ้นมาหรือบวมขึ้นมา หลังจากที่แผลหายแล้ว โดยไม่ส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่อาจส่งผลกระทบต่อลักษณะภายนอก รวมถึงสภาพจิตใจของเด็กได้ หากรอยแผลเป็นมีขนาดใหญ่ หรือเกิดขึ้นในบริเวณที่เห็นได้ชัด เช่น ใบหน้า มือ แขน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีการรักษารอยแผลเป็นของเด็กอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดรอยแผลเป็นที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีดูแล แผลเป็น เด็ก เป็นเรื่องปกติธรรมดาของเด็ก ๆ ที่จะเล่นสนุก และซุกซนกันตามประสา จนบางครั้งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้กลายเป็นแผลเป็นได้ หากไม่มีการรักษาหรือดูแลที่ถูกต้อง เมื่อลูกเป็นแผล ให้ล้างแผลเบา ๆ ด้วยสบู่และน้ำเป็นเวลา5นาที เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อและป้องกันรอยจุดด่างดำที่เกิดจากสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ในผิวหนัง หลังทำความสะอาดแผล ทาครีมต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อรักษาแผลให้ชุ่มชื้นและปิดด้วยผ้าก็อซหรือผ้าพันแผล หรืออาจพาลูกไปพบกับคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างละเอียดและเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นได้ รอยแผลเป็นของเด็กเกิดขึ้นได้อย่างไร แผลเป็น คือ กระบวนการที่ผิวหนังสร้างขึ้นเพื่อรักษาแผลตามธรรมชาติ โดยปกติผิวจะมีคอลลาเจน เป็นเส้นใยโปรตีนทำหน้าที่เหมือนสะพานที่เชื่อมต่อผิวหนังที่เสียหาย ในขณะที่ร่างกายกำลังทำการรักษาแผลตัวเอง ผิวหนังบริเวณที่เป็นแผลก็จะเริ่มแห้ง เรียกว่าการตกสะเก็ด โดยการตกสะเก็ดคือกระบวนการปกป้องแผลในขณะที่ผิวหนังได้รับความเสียหาย และเมื่อสะเก็ดหมดไปผิวหนังที่ได้รับการซ่อมแซมนั้นก็มักจะเป็นแผลเป็น แผลเป็น เด็ก ส่งผลอย่างไร ในบางครั้งแผลเป็นอาจทำให้เด็ก ๆ หลายคนสูญเสียความมั่นใจ เด็กบางคนอาจจะชอบใส่กางเกงขาสั้นไปโรงเรียน หรือทำกิจกรรม แต่บางครั้งถ้าผิวบริเวณนั้นมีแผลเป็น เพื่ออาจจะล้อ ทำให้ลูกหมดความมั่นใจในการสวมกางเกงตัวเก่ง  หรือโดยเฉพาะกับแผลเป็นที่ส่วนใหญ่มักจะพบบริเวณใบหน้านั้นมีส่วนที่จะทำให้เด็กๆ หมดความมั่นใจในตนเองได้สูงมาก เด็ก ๆ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 46 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 46 ลูกน้อยจะเริ่มมีความสุขในการดูหนังสือและการพลิกหน้าหนังสือไปเรื่อย ๆ และเริ่มสนใจรูปภาพสวย ๆ รวมทั้งการใช้นิ้วเล็ก ๆ หยิบจับสิ่งต่าง ๆ เริ่มหย่านม เริ่มมีฟันขึ้น ในเด็กบางรายอาจเริ่มฝึกขับถ่ายด้วยตนเอง คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยให้เติบโตสมวัยและเฝ้าสังเกตดูพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 46 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยอาจมีความสุขในการดูหนังสือและการพลิกหน้าหนังสือไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้พลิกไปทีละหน้าก็ตาม เขาอาจจะเพลิดเพลินไปกับหนังสือที่มีรูปภาพสวย ๆ หรือติดหนึบอยู่กับหนังสือที่ทำจากกระดาษหนา ๆ ที่ใช้นิ้วเล็ก ๆ เปิดได้ง่าย คุณพ่อ คุณแม่อาจลองพาเข้าเข้าห้องสมุด พาไปที่แผนกหนังสือเด็กในร้านหนังสือ หรือลองแลกเปลี่ยนหนังสือกับเพื่อน ๆ ดูก็ได้ จะได้ช่วยให้ลูกได้อ่านหนังสือที่หลากหลาย และจะได้รู้ด้วยว่าเขาชอบอ่านหนังสือประเภทไหน พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยในสัปดาห์ที่ 46 ตบมือหรือโบกมือบ๊ายบายได้ เดินโดยเกาะเฟอร์นิเจอร์ไปเรื่อย ๆ ชี้นิ้วหรือทำท่าทางเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ชอบดูหนังสือและพลิกหน้าหนังสือ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยอาจแสดงอาการขัดขืนอย่างหนักเมื่อต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากลูกจะรักและติดผู้ดูแลค่อนข้างมาก หากต้องการทำให้เขาห่างจากคุณพ่อคุณแม่ได้บ้าง และได้ง่ายขึ้นนั้น ก็ควรแยกจากกันเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเขาไปฝากตามสถานรับเลี้ยงเด็ก ให้คนในครอบครัวมาช่วยดูแล หรือจ้างคนมาดูแลเด็กก็ตาม และไม่ควรร่ำลาลูกน้อยด้วยน้ำตานานเกินไป เพราะอีกเดี๋ยวเขาก็จะกลับมามีความสุขได้อีกครั้ง คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกน้อยพึ่งพาตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปช่วยทำอะไรให้เขาอยู่ตลอดเวลา […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45 โดยทั่วไป ลูกจะสามารถพูดเป็นคำ ๆ ได้แล้ว และมักจะเลียนเสียงพูดของผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่จึงควรออกเสียงคำพูดแต่ละคำให้ชัดเจน เพื่อให้เด็กสามารถพูดตามได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45  ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยสามารถพูดออกมาได้เป็นคำๆ และรู้จักความหมายของคำที่พูดออกมาแล้ว สมองจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับความสามารถในการใช้เหตุผลและการพูด พัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกน้อยสัปดาห์ที่ 45 ลุกขึ้นนั่งจากท่าคลานได้ หยิบสิ่งของชิ้นเล็กๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วมืออื่นๆ ดังนั้นควรเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่ก็ไม่ได้เชื่อฟังเสมอไป ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยในช่วงวัยนี้จะเลียนเสียงคำต่างๆ และการทำเสียงสูงเสียงต่ำ เขาอาจทำตามคำสั่งง่ายๆ อย่างเช่น “หยิบลูกบอลให้แม่หน่อย” หรือ”หยิบช้อนขึ้นมาลูก” พ่อแม่สามารถช่วยให้เขาเรียนรู้ได้ดีขึ้น ด้วยการแยกคำสั่งที่ซับซ้อนให้เหลือเพียงคำสั่งง่ายๆ แค่ขั้นตอนเดียว พร้อมกับใช้ท่าทางประกอบคำสั่งนั้นด้วย สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร แพทย์ส่วนใหญ่มักไม่ได้นัดหมายการตรวจสุขภาพของลูกน้อยเดือนนี้ เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ไม่ชอบให้อุ้ม ในระหว่างที่ไปพบคุณหมอ เด็กบางคนที่มีอาการกลัวคนแปลกหน้า อาจไม่อยากพบหมอ ไม่ว่าคุณหมอจะใจดีหรือเป็นมิตรเพียงใดก็ตาม จึงควรใช้วิธีโทรปรึกษาคุณหมอ ถ้าคุณมีความกังวลใดๆ ที่รอให้ถึงวันนัดครั้งต่อไปไม่ได้ สิ่งที่ควรรู้ ลูกสามารถเดินได้แล้ว คุณอาจจะสังเกตว่าขาของเขาไม่ตรง หัวเข่าอาจดูเหมือนบิดเข้าหากัน ซึ่งอาการแบบนี้เรียกว่า ‘ขาโก่ง’ คุณไม่ควรต้องเป็นกังวลมากเกินไป ลูกของคุณจะเริ่มไม่อยู่นิ่ง และเคยชินกับการเดินและวิ่ง ซึ่งจะทำให้ขาแข็งแรงขึ้น และนี่คือข้อมูลที่อาจจะช่วยคุณได้ ขาโก่ง ใครๆ ก็อาจจะเคยมีอาการ ขาโก่ง มาก่อน แม้แต่นางแบบบนแคทวอล์คก็อาจเคยมีอาการขาโก่งเช่นกัน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27 หรือประมาณ 6 เดือน เป็นช่วงที่ทารกเริ่มที่จะสามารถยืนขึ้นได้ด้วยตัวเอง โดยการยึดเกาะสิ่งรอบตัว และการมีพัฒนาการด้านการพูดเล็กน้อย เริ่มเปร่งเสียงอ้อแอ้ได้เป็นคำ ๆ ที่ไม่มีความหมาย ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพฟันของลูก โดยการแปรงฟันและทำความสะอาดคราบเศษอาหารที่ติดอยู่ในช่องปากให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันปัญหาช่องปากและฟันในทารก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27  ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 27 ยืนได้ด้วยการจับยึดกับคนหรือของอื่นๆ แสดงอาการขัดขืนเมื่อพยายามจะแย่งของเล่นของเขา พยายามหยิบจับของเล่นที่เอื้อมไม่ถึง ส่งของจากมือหนึ่งข้างหนึ่งไปยังมืออีกข้างหนึ่ง ควานหาของที่ทำตก ใช้นิ้วมือหยิบของเล็กๆ ขึ้นมาได้ และกำไว้ในมือ ดังนั้นพ่อแม่ควรเก็บของที่เป็นอันตรายให้พ้นมือลูก พูดอ้อแอ้ด้วยการผสมสระกับวรรณยุกต์เข้าด้วยกัน อยากจะกินอาหารแบบที่ใช้มือหยิบกินได้ กินแครกเกอร์หรืออาหารอื่น ๆ ที่ใช้มือถือไว้ได้ด้วยตัวเอง ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยอาจบอกว่าเขาพร้อมจะลองใช้มือหยิบอาหารขึ้นมากิน ด้วยการแย่งช้อนหรือคว้าอาหารในจาน อาจจะลองแบ่งอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ 4-5 ชิ้น วางในถาดอาหารสำหรับเด็กหรือในจานที่ตกไม่แตก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสำลักอาหาร ทางที่ดีควรป้อนอาหารในขณะที่เขานั่งตัวตรงบนเก้าอี้หรือที่นั่งสำหรับเด็ก ลูกน้อยอาจเจริญอาหารมากแต่ยังไม่มีฟันเคี้ยว ฉะนั้นจึงควรเริ่มจากอาหารที่ใช้เหงือกเคี้ยวได้ หรือละลายได้ง่ายในปาก พอลูกน้อยโตขึ้นก็ค่อยเปลี่ยนมาเป็นอาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ควรหาหนังสือให้ลูกน้อยอ่าน เพื่อฝึกทักษะทางด้านภาษาของเด็ก และช่วยให้เขารักการอ่านมากขึ้น ลูกอาจไม่มีความอดทนพอจะนั่งฟังอ่านหนังสือให้เขาฟัง แต่อย่าเพิ่งเลิกทำง่ายๆ ไม่ว่าลูกจะอายุเท่าไร การอ่านจะช่วยให้เขาได้มีทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษที่ดี สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร แพทย์จะทำการตรวจสอบทางร่างกายโดยรวม โดยใช้เทคนิคการวินิจฉัยและขั้นตอนที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพของลูกน้อย แพทย์หรือพยาบาลจะตรวจสอบตามรายการต่อไปนี้ทั้งหมดหรือบางรายการ ฉีดวัคซีนให้เป็นครั้งที่สาม […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26 หรือประมาณ 6 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจสามารถนั่งได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีคนช่วย สามารถมองหันไปตามทิศทางของเสียงได้ และอาจเริ่มเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มให้ลูกกินอาหารอย่างอื่นนอกจากนม โดยควรเป็นอาหารที่สุก นิ่ม และมีขนาดเล็ก เช่น ข้าวบด กล้วยบด ไข่แดงบด ให้เสริมกับการกินนม เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารอื่นเพิ่มมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26  ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด้กสัปดาห์ที่ 26 ใช้สองขารับน้ำหนักตัวได้มากขึ้นเวลาที่ถูกจับให้ยืนตรง นั่งได้โดยไม่ต้องให้ใครช่วย หันไปตามทิศทางของเสียงที่ได้ยิน ทำอะไรตลก ๆ ด้วยการพ่นน้ำลาย ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกอาจจะชอบใช้มือข้างหนึ่งไปซักพัก แล้วเปลี่ยนไปใช้มืออีกข้างหนึ่ง แต่อาจจะยังบอกไม่ได้ว่าลูกน้อยถนัดมือข้างไหน จนกว่าลูกจะอายุได้ 2-3 ขวบ พ่อ คุณแม่ไม่ควรบังคับเรื่องการใช้มือข้างขวาหรือซ้ายกับลูก เพราะมือข้างที่ถนัดนั้นถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์แล้ว ถ้าบังคับให้ลูกใช้มือข้างที่ไม่ถนัด จะทำให้เกิดความสับสนและนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ในภายหลัง เช่น ตาและมือทำงานไม่ประสานกัน เกิดปัญหาเรื่องความคล่องแคล่ว และมีผลกระทบต่อความสามารถในการเขียนหนังสือในภายหลัง ถ้าต้องการสอนภาษามือให้ลูกน้อย ตอนนี้ก็ถือเป็นโอกาสอันดี การช่วยให้ลูกน้อยมีเครื่องมือในการแสดงออก จะทำให้ลูกคลายความอึดอัดลงได้ เริ่มต้นด้วยการใช้มือส่งสัญญาณคำง่าย ๆ เช่น “หนังสือ” คุณแม่อาจทำท่าหงายฝ่ามือสองข้างแล้วเกาะเกี่ยวไว้ด้วยกัน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 43 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 43 ช่วงนี้ลูกน้อยอาจสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น เช่น การยืน การเดิน การแต่งตัว โดยมีผู้ปกครองคอยช่วยเหลืออยู่ข้าง ๆ อีกทั้งอาจมีความซุกซน ชอบกัดชอบจับสิ่งของต่าง ๆ ตามประสาเด็ก ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด และคอยสังเกตอาการผิดปกติ เนื่องจากเด็กอาจเจ็บป่วยจากเชื้อโรคต่าง ๆ รอบตัวได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 43 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยอาจเริ่มมีการพัฒนาในเรื่องของการช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น แต่ยังคงต้องการให้คุณพ่อคุณแม่คอยช่วยเขาอยู่ข้าง  ๆ เช่น การเดินในขณะที่จูงมือเขาไปด้วย หรือมีการยื่นแขน และขาเพื่อช่วยให้แต่งตัวให้เขาได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกัน หากลูกรักมีการเติบโตอย่างรวดเร็วก็อาจทำให้พวกเขานั้นเริ่มหยิบจับแก้วน้ำ ช้อน ตักอาหารด้วยตัวเองได้ แต่ก็คงยังมีการเคลื่อนไหวไม่แข็งมากซึ่งอาจใช้เวลาสักระยะพร้อมกับการฝึกฝนจึงจะสามารถทำให้พวกเขานั้นทานอาหารเองได้อย่างคล่องขึ้น โดยส่วนมากพวกเขามักจะเผยพฤติกรรมต่อไปนี้ ที่อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ถึงกับตื้นตันใจ ร่วมด้วย ยืนด้วยตัวเองได้ชั่วขณะ พูดคำว่า  “มาม๊า” อย่างรู้ความหมาย ชี้ไปที่บางสิ่งเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ทารกจะตั้งใจ ทิ้งสิ่งของเพื่อให้ใครบางคน ซึ่งก็อาจจะเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่ เก็บมันขึ้นมา หากรู้สึกเหนื่อย กับเกมส์ทิ้งสิ่งของ ก็อาจจำเป็นต้องนำสิ่งของออกไปห่าง  ๆ ซัก 2-3 นาที แล้วหาอะไรมาเบี่ยงเบนความสนใจจากลูกน้อยแทน อย่างการเล่นกับลูกรักโดยไม่ใช้อุปกรณ์ เช่น การเล่นจ๊ะเอ๋ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 หรือประมาณ 10 เดือน ในช่วงนี้ลูกน้อยอาจสามารถนั่งได้เองแล้ว และสามารถเดินได้เล็กน้อยโดยพยายามเกาะสิ่งของรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้เล่นอย่างเต็มที่ แต่ควรระมัดระวังสิ่งของเล็ก ๆ ที่เด็กอาจนำเข้าปากและไปติดคอได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 42 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยในช่วงวัยนี้สามารถนั่งได้อย่างมั่นใจ และสามารถเดินได้โดยการเกาะฟอร์นิเจอร์ และอาจจะยืนแบบปล่อยมือได้บ้าง ในระยะสั้น ๆ และยืนได้ นอกจากนี้ยังอาจพยายามหอบของเล่นในระหว่างที่ยืนขึ้นด้วย หากลูกยังไม่เดินในช่วงนี้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เด็กส่วนใหญ่จะเดินก้าวแรกประมาณอายุ 12 เดือน ในขณะที่เด็กบางคนอาจจะต้องรอถึง 18 เดือน พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 42 นั่งได้เองโดยการใช้หน้าท้อง ตบมือ หรือโบกมือ หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้ง ดังนั้นพ่อแม่ควรเก็บของอันตรายไว้ให้ห่างจากมือเด็ก เดินโดยเกาะกับฟอร์นิเจอร์ เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่ไม่เชื่อฟังเสมอไป ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร หลีกเลี่ยงการป้อนอาหารที่อาจจะทำให้เกิดการสำลัก เช่น แครอทดิบ องุ่นทั้งลูก ควรทำผักให้สุกก่อนแล้วหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนยแข็งหรือผลไม้แห้ง ก็ควรต้องปลอกเปลือกและหั่นเป็นสี่เหลี่ยมชิ้นเล็ก ๆ ด้วย สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพสำหรับเด็กในวัยนี้ จึงควรโทรปรึกษาแพทย์ ถ้ามีข้อกังวลใด ๆ ที่ไม่สามารถรอให้ถึงวันนัดครั้งต่อไปได้ สิ่งที่ควรรู้ แมลงกัดต่อย ควรสังเกตอาการแมลงกัดต่อยกับเด็กในช่วงวัยนี้ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กในวัยนี้ได้ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41 หรือประมาณ 10 เดือน เป็นช่วงวัยที่คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกโดยใช้ประโยคแบบเดียวกับที่พูดคุยกับผู้ใหญ่ และเน้นพูดเป็นประโยค แทนการออกเสียงเป็นคำ ๆ เพื่อฝึกให้ลูกสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังควรคอยสังเกตลักษณะการนอนหลับของลูก เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 41 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยกำลังเริ่มเข้าใจคำศัพท์ง่าย ๆ หรือประโยคสั้น ๆ แล้ว จึงควรจะพูดคุยกับลูกอยู่เรื่อย ๆ เริ่มสอนรูปแบบการพูดที่ดีให้ โดยพูดคำที่พูดให้เป็นภาษาของผู้ใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพูดขึ้นมาว่า “นา-นา” ก็แก้การออกเสียงของให้ถูกต้องโดยพูดว่า “หนูต้องการขวดนมใช่มั้ยลูก?” ในช่วงวัยนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดแบบเด็ก ๆ ถึงแม้จะเป็นเรื่องสนุก แต่การได้ยินเสียงที่ถูกต้องนั้น จะดีต่อพัฒนาการของลูกน้อยมากกว่า ถึงแม้ว่าจะฟังดูเป็นภาษาของเด็กไปหน่อย แต่การสนทนากับลูกน้อยนั้น จะช่วยส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาให้ได้ เมื่อพูดอะไรขึ้นมาลอยๆ ก็ควรโต้ตอบกลับไปว่า “อ๋อ จริงเหรอ?” “น่าสนใจจริง ๆ” แล้วอาจจะยิ้มและพูดเจื้อยแจ้วต่อไป พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 41 ยืนโดยการเกาะแขนขาคนอื่น หรือเกาะกับสิ่งของต่าง ๆ ยืนขึ้นด้วยการดึงตัวเองขึ้นจากท่านั่ง ทักท้วงถ้าหยิบของเล่นของออกไป พูดคำว่า […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 หรือประมาณ 7 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจโตพอที่จะเริ่มต่อต้านเวลาที่พ่อแม่แสดงความรัก กอด อุ้ม หรือเวลาที่ถูกแย่งเอาของเล่นไป อีกทั้งยังอาจสามารถใช้นิ้วหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ได้คล่องขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังไม่ให้ลูกเอานิ้วมือไปแหย่จุดที่อันตราย เช่น ปลั๊กไฟ พัดลม [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงนี้แม่สามารถบอกลูกให้เข้าใจได้แล้วว่าโทรศัพท์ไม่ใช่ของเล่น เครื่องดนตรีไม่ได้มีเอาไว้ขว้างปา หรือห้ามดึงผมคนอื่น เด็กในวัยนี้จะเริ่มขัดขืนคำสั่งแม่แล้ว เช่น การไม่ยอมทำตามที่แม่บอก ซึ่งไม่ได้เกิดจากการไม่เชื่อฟังแม่ แต่เป็นเพราะความอยากรู้อยากเห็นของเด็กวัยนี้นั่นเอง พัฒนาการด้านต่าง  ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 30 นั่งเองได้โดยไม่ได้ต้องมีคนช่วย พยายามรั้งตัวเองไว้ตอนแม่อุ้ม เริ่มต่อต้านถ้าแม่เอาของเล่นของลูกไป หาทางออกจากของเล่นได้ หาของที่ตกได้เอง เอานิ้วแหย่ของหรือถือของไว้ในมือตัวเองได้แล้ว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย แม่ควรนำสิ่งของที่มีอันตรายให้อยู่ห่างจากเด็ก ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร แม่ต้องจำไว้ว่าลูกยังไม่สามารถจดจำสิ่งที่เราพูดได้ ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การใช้คำพูดง่าย  ๆ ว่า  “ไม่”  ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจว่าลูกจะไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้ เด็กส่วนใหญ่จะชอบเล่นจ๊ะเอ๋มาก และการเล่นแบบนี้จะช่วยส่งเสริมให้ลูกรับรู้ได้ว่า มีผู้คนรอบ  ๆ ตัวลูกอยู่ตั้งมากมาย สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร หมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ ถ้าคิดในแง่ที่ดีคือเด็กยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ในทางกลับกัน อาจจะไม่ทราบว่าลูกมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว แม่ควรจดบันทึกข้อสงสัยปรึกษากับหมอในครั้งถัดไป และหากเกิดปัญหาหรือถ้ามีข้อกังวลใด  ๆ เป็นพิเศษ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน