โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล มีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน (Zingerone) ในขิง เป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ดังนั้นจึงมีความสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมได้ อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

โรคอ้วน

7 ท่า ออกกําลังกายลดพุง ควบคุมน้ำหนักและป้องกันโรคอ้วนลงพุง

ออกกําลังกายลดพุง อาจช่วยให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมบริเวณหน้าท้องและรอบเอวมาเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน ที่ส่งผลให้พุงยุบ รอบเอวลดลง อย่างไรก็ตาม นอกจากการออกกำลังกายแล้ว ยังควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เพื่อลดการสะสมของไขมัน เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน จนนำไปสู่โรคอ้วนลงพุงและโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ [embed-health-tool-bmi] ทำไมถึงควรออกกําลังกายลดพุง ออกกําลังกายลดพุง อาจช่วยเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะหน้าท้องและเอวเพื่อนำมาเป็นพลังงาน ซึ่งอาจช่วยในการลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนัก รวมถึงอาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งมดลูก โรคหัวใจและหลอดเลือดและอาการรุนแรงของโควิด-19 7 ท่า ออกกําลังกายลดพุง 7 ท่า ออกกำลังกายลดพุง มีดังนี้ 1.ท่าปั่นจักรยานกลางอากาศ (Bicycle crunches) เป็นท่าออกกำลังกายที่ช่วยบริหารกล้ามเนื้อภายใน กระชับต้นขา และลดพุง โดยสามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้ นอนหงายราบกับเสื่อออกกำลังกายแล้วยกขาทั้ง 2 ข้างตั้งฉาก โดยหน้าเท้าต้องแนบกับพื้น นำมือทั้ง 2 ข้างประมาณแตะใบหูไว้ พร้อมกับยกตัวขึ้นเล็กน้อย ยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือเสื่อและงอขาด้านใดด้านหนึ่งเข้าหาตัวและยืดขาอีกข้างหนึ่งในลักษณะตรงเหยียดออกไป จากนั้นทำสลับกันไปมาคล้ายกับการปั่นจักรยานบนอากาศ ในขณะที่ยกขาข้างหนึ่งขึ้นให้บิดด้วยไปด้านนั้นร่วมด้วย ควรทำสลับกันไปมาซ้าย-ขวา ประมาณ […]


ข้อมูลโภชนาการ

แครนเบอร์รี่ ผลไม้สีแดง เปี่ยมประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

แครนเบอร์รี่ (Cranberry) เป็นผลไม้ลูกเล็ก สีแดง มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน แหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ทางตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา นิยมบริโภคทั้งแบบสดและแบบตากแห้ง แครนเบอร์รี่ ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งใน “ซูเปอร์ฟูด (Superfood)” เนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ เช่น วิตามินซี วิตามินเอ โพแทสเซียม และโพลีฟีนอล (Polyphenols) หลายชนิด โดยเฉพาะสารโปรแอนโทไซยานิดินหรือสารแพค (Proanthocyanidin หรือ PAC) ที่อาจมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงโรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น จึงควรบริโภคแครนเบอร์รี่ หรืออาหารเสริมแครนเบอร์รี่ เป็นประจำในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] แครนเบอร์รี่ ดีอย่างไร การรับประทานแครนเบอร์รี่สด 100 กรัม จะให้น้ำ 87.3 กรัม ให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี ให้คาร์โบไฮเดรตประมาณ 12 กรัม โดย 3.6 กรัมเป็นคาร์โบไฮเดรตจำพวกไฟเบอร์ (Fiber) หรือใยอาหาร และไม่มีไขมัน ทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารพฤกษเคมีที่สำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกาย […]


ข้อมูลโภชนาการ

อาหารคาร์โบไฮเดรต ประโยชน์ และข้อควรระวังในการรับประทาน

อาหารคาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่อยู่ในโภชนาการอาหาร 5 หมู่ และเป็นอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยให้ร่างกายไม่เหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียง่ายระหว่างที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมากเกินไปและขาดการออกกำลังกายอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพหรือก่อให้เกิดโรคเรื้อรังได้ [embed-health-tool-bmi] อาหารคาร์โบไฮเดรต คืออะไร อาหารคาร์โบไฮเดรต คือ สารอาหารชนิดหนึ่งที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวัน นอกจากนี้ คาร์โบไฮเดรตยังรวมถึงไฟเบอร์ที่อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก ป้องกันโรคอ้วน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ โดยร่างกายควรได้รับอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตประมาณ 45-65% ของแคลอรี่ที่ได้รับจากอาหารในแต่ละวัน ยกตัวอย่าง หากร่างกายได้รับ 2,000 กิโลแคลอรี่/วัน ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตประมาณ 900-1,300 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ที่ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดียว (ฟรุกโตส กาแลคโตส และกลูโคส) และน้ำตาลโมเลกุลคู่ (แลคโตส มอลโตส และซูโครส) โดยร่างกายสามารถย่อยน้ำตาลเหล่านี้และดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งน้ำตาลที่ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าว จะถูกเรียกว่า ซูโครส สำหรับน้ำตาลที่พบได้ในผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมจะเรียกว่าแลคโตส แต่หากพบในผักและผลไม้จะเรียกว่า ฟรุกโตส ตัวอย่างอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น โยเกิร์ต […]


โรคอ้วน

Obesity คือ อะไร ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

Obesity คือ โรคอ้วน หรือโรคที่ผู้ป่วยมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าคนปกติ อย่างไรก็ตาม Obesity อาจป้องกันได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหาร โดยเน้นอาหารจำพวกผัก ผลไม้ หรือถั่ว และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาลหรือไขมัน [embed-health-tool-bmi] Obesity คือ อะไร Obesity หรือ โรคอ้วน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง เมื่อเป็นแล้วส่งผลให้มีรูปร่างอ้วน ลงพุง และมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 ผู้ป่วยโรคอ้วนจะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนมากกว่าผู้คนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็งบางชนิด หรือโรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อม ในวันอ้วนโลก (World Obesity Day) ปี พ.ศ. 2565 องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ผู้ป่วยโรคอ้วนทั่วโลกมีจำนวนมากกว่า 1 พันล้านคน โดยคิดเป็นผู้ใหญ่ประมาณ 650 ล้านคน วัยรุ่นประมาณ 340 ล้านคน และเด็กอีกประมาณ 39 ล้านคน ในประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2564 ปัญหาน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนในผู้ใหญ่อยู่ที่ 47.2 เปอร์เซ็นต์ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ส้มมีประโยชน์อย่างไร และข้อควรระวังในการรับประทาน

ส้ม เป็นผลไม้ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ มีรสชาติเปรี้ยวหวาน และอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ เช่น วิตามินซี โพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส โฟเลต อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานส้มในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงควรศึกษาก่อนรับประทานว่า ส้มมีประโยชน์อย่างไร มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ท้องอืด คลื่นไส้ จุดเสียดท้อง ปวดท้อง และอาการแพ้รุนแรง [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของส้ม ส้มขนาดกลาง 1 ผล (140 กรัม) ให้พลังงานประมาณ 66 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรต 14.8 กรัม ที่ประกอบด้วยไฟเบอร์ 2.8 กรัม น้ำตาล 12 กรัม โพแทสเซียม 232 มิลลิกรัม วิตามินซี 82.7 มิลลิกรัม แคลเซียม 60.2 มิลลิกรัม โฟเลต 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 32.2 […]


ข้อมูลโภชนาการ

พริกไทยดํา สรรพคุณ และข้อควรระวังในการรับประทาน

พริกไทยดํา คือ เครื่องเทศชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ขนาดเล็ก มีรสชาติเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงอาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโจ๊ก ข้าวต้ม สเต็ก และอาหารประเภทผัด เป็นต้น พริกไทยดำอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส และมี สรรพคุณ มากมาย ที่อาจช่วยต้านอนุมูลอิสระลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าโภชนาการพริกไทยดำ พริกไทยดำ 1 ช้อนโต๊ะ (6.9 กรัม) ให้พลังงานประมาณ 17.3 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โพแทสเซียม 91.8 มิลลิกรัม แคลเซียม 30.6 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 11.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 10.9 มิลลิกรัม นอกจากนี้พริกไทยดำยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี แมงกานีส ที่อาจมีสรรพคุณในการช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ส่งผลให้เซลล์เสื่อมสภาพจนนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง พริกไทยดำ มี สรรพคุณ อะไรบ้าง พริกไทยดำมีสรรพคุณมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบย่อยอาหาร การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน […]


ข้อมูลโภชนาการ

กินคอลลาเจน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง

คอลลาเจนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบมากที่สุดในร่างกาย ซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตและซ่อมแซมผิวหนังและกระดูก ทั้งนี้ เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิตคอลลาเจนน้อยลง จึงอาจต้องได้รับคอลลาเจนทดแทนเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การ กินคอลลาเจน ผลข้างเคียง อาจเกิดขึ้นได้แต่ไม่รุนแรงนัก เช่น ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย ผื่นขึ้น ปวดหัว วิงเวียน [embed-health-tool-heart-rate] คอลลาเจน คืออะไร คอลลาเจน คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้มากที่สุดในร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง กระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็น ผม และเล็บ โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ ซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่สึกหรอ ส่งเสริมความแข็งแรงของกระดูก เล็บ กล้ามเนื้อ ข้อต่อ รักษาความยืดหยุ่น เต่งตึง เรียบเนียนให้ผิวหนัง เพิ่มการยึดเกาะระหว่างเส้นผมและหนังศีรษะ เสริมสร้างความยืดหยุ่นให้หลอดเลือด ทำไมต้อง กินคอลลาเจน เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของมนุษย์จะผลิตคอลลาเจนน้อยลง ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา และการกินคอลลาเจนในรูปแบบอาหารเสริม อาจมีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้ ชะลอการเหี่ยวย่นของผิวหนัง คอลลาเจนเป็นส่วนประกอบหลักของผิวหนัง หรือคิดเป็น 3 ใน 4 ของส่วนประกอบทั้งหมด เมื่อคอลลาเจนลดลงจึงส่งผลให้ใบหน้าเกิดริ้วรอย ผิวหนังเหี่ยวย่น ทั้งนี้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของพริก ชนิดต่าง ๆ มีอะไรบ้าง

พริกเป็นพืชชนิดหนึ่ง มีรสเผ็ดร้อนเป็นเอกลักษณ์ ในประเทศไทยมีหลายสายพันธุ์ เช่น พริกขี้หนู พริกจินดา พริกกะเหรี่ยง พริกชี้ฟ้า นิยมนำไปประกอบอาหารเมนูต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ ทั้งนี้ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่า ประโยชน์ของพริก มีหลายประการ เช่น อาจช่วยป้องกันโรคมะเร็ง บรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร ลดน้ำหนัก [embed-health-tool-bmr] พริก ที่หาซื้อได้ตามท้องตลาด คนไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารรสจัด มีการปลูกพริกอย่างแพร่หลาย โดยในประเทศไทยมี พริก หลายสายพันธุ์ที่พบได้ง่ายและหาซื้อได้ทั่วไป ดังนี้ พริกไทย ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีเขียว ในหนึ่งฝักมีพริกเม็ดเล็ก ๆ อยู่เป็นพวง และเมื่อแห้งแล้วจะกลายเป็นสีดำ ทั้งนี้ ต้นกำเนิดของพริกไทยมาจากอินเดีย นิยมรับประทานแบบป่นแห้งโดยใช้โรยหรือเหยาะลงบนอาหาร พริกขี้หนู เป็นพริกที่มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ ผลมีขนาดเล็ก รูปทรงยาวเรียว ผลดิบเป็นสีเขียวเมื่อสุกเป็นสีแดง พริกขี้หนูมีชื่อท้องถิ่นหลายชื่อ เช่น พริกแด้ พริกนก พริกแจว มะระตี้ พริกหวาน มีขนาดเท่า ๆ กำปั้น รูปทรงคล้ายระฆัง โดยพริกหวานที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 3 สี คือแดง เหลือง […]


โภชนาการพิเศษ

โรคไตห้ามกินอะไรบ้าง เพราะเหตุผลอะไร

โรคไต หมายถึง โรคที่ไตทำหน้าที่กรองของเสียหรือสารอาหารจากเลือดได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายมีสารอาหารสะสมอยู่มากเกินไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากถามว่า โรคไตห้ามกินอะไร คำตอบคือ โดยปกติ คุณหมอจะไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับรับประทานอาหารชนิดใดเป็นพิเศษ แต่มักแนะนำให้จำกัดการบริโภคสารอาหารบางอย่าง เช่น โซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับสารอาหารดังกล่าวออกจากร่างกายได้ตามปกติ [embed-health-tool-bmi] โรคไต คืออะไร โรคไตหรือบางครั้งเรียกว่าโรคไตเรื้อรัง เป็นโรคเกี่ยวกับไตแบบหนึ่ง ซึ่งไตจะไม่สามารถกรองของเสียจากเลือดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายสะสมของเหลวหรือสารอาหารไว้มากเกินไป จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงให้เสียชีวิตได้ โดยทั่วไป โรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงมักเป็นสาเหตุของโรคไต นอกจากนี้ โรคไตยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ การเป็นโรคบางโรคที่เกี่ยวกับไต เช่น โรคหลอดเลือดแดงที่ไตตีบตัน โรคไตอักเสบลูปัส โรคไตอักเสบ การติดเชื้อ การบริโภคยาบางชนิดที่ส่งผลต่อสุขภาพไต การได้รับพิษจากโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว โรคไตห้ามกินอะไรบ้าง เมื่อเป็นโรคไต คุณหมอหรือนักโภชนาการมักไม่มีข้อห้ามในการรับประทานอาหาร แต่มักแนะนำให้บริโภคสารอาหารบางอย่างในปริมาณน้อย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากการที่ไตไม่สามารถขับสารอาหารเหล่านั้นออกจากร่างกายได้ในปริมาณที่เหมาะสม ได้แก่ โซเดียม โซเดียม เป็นธาตุอาหารที่ช่วยควบคุมระดับของเหลวในร่างกาย โดยทั่วไป ผู้ที่มีสุขภาพดีควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม/วัน แต่เมื่อเป็นโรคไต คุณหมอจะแนะนำให้บริโภคโซเดียมในปริมาณที่ต่ำกว่า โดยขึ้นอยู่กับสุขภาพของไตหรือระยะของโรคไต ทั้งนี้ หากบริโภคโซเดียมมากเกินไป จะทำให้ระดับของเหลวในร่างกายมีปริมาณสูงขึ้น และอาจนำไปสู่อาการผิดปกติต่าง ๆ อย่างแข้งบวม ความดันโลหิตสูง […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ออกกําลังกายลดน้ําหนัก ที่บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

ออกกําลังกายลดน้ําหนัก ที่บ้าน อาจสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การออกกำลงกายแบบคาร์ดิโอ การออกกำลังแบบ HIIT การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง โดยควรเลือกอย่างเหมาะสมตามภาวะสุขภาพหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอ เพื่อช่วยให้การลดน้ำหนักมีผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย [embed-health-tool-bmi] ออกกําลังกายลดน้ําหนัก ที่บ้าน ดีต่อสุขภาพอย่างไร การออกกำลังกายลดน้ำหนักที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ อาจช่วยเผาผลาญไขมันและน้ำตาลในเลือดและเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน จึงอาจสามารถช่วยลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ อีกทั้งยังอาจช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูก ลดความเครียด ช่วยให้นอนหลับง่าย อารมณ์ดี เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่าง ๆ ดังนี้ โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อต่ออักเสบ โรคทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล อาการโควิด-19 ในระดับรุนแรงเมื่อเกิดการติดเชื้อ โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ นอกจากนี้ การออกกกำลังกายลดน้ำหนักที่บ้านเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีซึ่งไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางหรือเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งยังสามารถทำได้ทุกเวลาตามที่ตนเองสะดวก ออกกําลังกายลดน้ําหนัก ที่บ้าน ทำได้อย่างไร การออกกำลังกายลดน้ำหนักที่บ้าน อาจทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 1. การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เป็นการออกกำลังกายลดน้ำหนักที่บ้าน ที่ช่วยเผาผลาญไขมันและน้ำตาลในเลือด ช่วยลดการสะสมของไขมัน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและปอด ซึ่งอาจช่วยให้เลือดไหลเวียนและนำส่งออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน