โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง  [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกกนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน ((Zingerone) ในขิงเป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก สรรพคุณ เม็ดแมงลักเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

โภชนาการพิเศษ

อาหารคนท้องอ่อนห้ามกิน และอาหารบำรุงคนท้องอ่อน ๆ

คุณแม่อาจสงสัยว่า อาหารคนท้องอ่อนห้ามกิน มีอะไรบ้าง โดยอาหารที่ควรงดจนกว่าจะพ้นช่วงให้นมบุตร คือ เนื้อสัตว์ดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ปลาดิบ หมึกช็อต ก้อยเนื้อ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเหล้า เบียร์ ไวน์ อาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารเผ็ดจัด ปลาที่มีสารปรอทอย่างปลาอินทรี ปลากระโทงดาบ นอกจากนี้ คนท้องอ่อน ๆ ยังควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ให้สารอาหารครบถ้วน เพื่อบำรุงสุขภาพของคุณแม่และส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] อาหารคนท้องอ่อนห้ามกิน อาหารที่คนท้องอ่อนควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์ อาจมีดังนี้ อาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ การกินอาหารที่ไม่ปรุงสุก เช่น ปลาแซลมอนดิบ กุ้งเต้น หมึกช็อต ก้อยเนื้อ อาจเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิตบางชนิด เช่น โนโรไวรัส (Norovirus) เชื้อวิบริโอ (Vibrio) เชื้อซาลโมเนลล่า (Salmonella) เชื้อลิสทีเรีย (Listeria) พยาธิตัวตืด พยาธิตัวจี๊ด เมื่อเชื้อเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายอาจทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ท้องเสียอย่างรุนแรง และอาจกระทบต่อสุขภาพของเด็กในครรภ์ได้ อาหารแปรรูป อาหารแปรรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คุกกี้ มันฝรั่งทอด ไส้กรอก […]


ข้อมูลโภชนาการ

อาหารที่มีธาตุเหล็ก มีอะไรบ้าง และประโยชน์ของธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็ก (Iron) เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยสร้างฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ธาตุเหล็กขึ้นมาได้เอง จึงต้องรับประทาน อาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อแดง สัตว์ปีก ปลา พืชตระกูลถั่ว ไข่ ธัญพืช เป็นประจำเพื่อให้ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอต่อความต้องการของรางกาย นอกจากนี้ ควรรับประทานอาหารที่หลากหลายเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน เพราะอาจช่วยให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้ตามปกติและอาจป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้ [embed-health-tool-bmi] ธาตุเหล็กช่วยอะไร เหล็กเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อระบบเลือด และเป็นส่วนประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดง ร่างกายจะใช้ธาตุเหล็กเพื่อสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และใช้ในการสร้างไมโอโกลบิน (Myoglobin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ให้ออกซิเจนแก่กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ธาตุเหล็กในอาหารแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เหล็กฮีม (Heme iron) ซึ่งเป็นธาตุเหล็กที่เป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินพบได้ในอาหารจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อแดง ปลา หอย เนื้อสัตว์ปีก และเหล็กที่ไม่ใช่ฮีม (Non–heme) ซึ่งพบได้ในผัก ผลไม้ และไข่ และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยกว่าชนิดแรก การได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอจะช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency anemia) ซึ่งเป็นโรคโลหิตจางชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากร่างกายมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอต่อการผลิตเซลล์เม็ดแดง จึงส่งผลกระทบต่อการลำเลียงออกซิเจนและทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง […]


ข้อมูลโภชนาการ

ชะเอมเทศ ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ชะเอม เทศ เป็นสมุนไพรที่ให้รสหวานและมีกลิ่นหอม นิยมนำส่วนเหง้า เปลือกราก เนื้อในราก และดอกมาใช้เป็นส่วนประกอบในขนม อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ยาสมุนไพร เป็นต้น โดยเฉพาะส่วนของรากที่มักนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาขับเสมหะ น้ำยาบ้วนปาก ยาขับลม ผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกายและให้ความสดชื่น ทั้งนี้ ควรปริโภคชะเอมเทศในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากอาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะโพแทสเซียมต่ำ (Hypokalemia) [embed-health-tool-bmi] ชะเอม เทศ คืออะไร ชะเอมเทศ (Liquorice หรือ Licorice) เป็นไม้ดอกที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตก แอฟริกาเหนือ และยุโรปใต้ นิยมนำส่วนรากมาสกัดเป็นสารให้ความหวานและให้กลิ่นหอม เนื่องจากมีสารให้ความหวานที่ชื่อว่า กลีไซริซิน (Glycyrrhizin) และ 24-ไฮดรอกซีกลีไซริซิน (24-hydroxyglyrrhizin) ที่หวานเข้มข้นกว่าน้ำตาลทราย มักใช้เป็นส่วนผสมในขนมและลูกอมเพื่อแต่งรส และใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับภาวะสุขภาพต่าง ๆ เช่น ปัญหาทางเดินอาหาร อาการวัยหมดประจำเดือน อาการไอ การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ประโยชน์ต่อสุขภาพของ ชะเอม เทศ ชะเอมเทศอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของชะเอมเทศ ดังนี้ อาจช่วยรักษาโรคในช่องปาก ชะเอมเทศมีสารในกลุ่มโพลีฟีนอล (Polyphenols) หลายชนิด จึงอาจมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ […]


โภชนาการพิเศษ

อาหาร แม่ หลัง คลอด ห้าม กิน มีอะไรบ้าง

คุณแม่หลายคนที่เพิ่งคลอดและอยู่ในช่วงให้นมบุตร อาจสงสัยว่า มี อาหาร แม่ หลัง คลอด ห้ามกิน หรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่หลังคลอดไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารชนิดใดเป็นพิเศษ และควรกินอาหารที่หลากหลายและมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เพื่อให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรงและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย อย่างไรก็ตาม อาจมีอาหารบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณในการบริโภค เช่น อาหารที่มีคาเฟอีน ปลาบางชนิดที่มีสารปรอทสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ แม่หลังคลอดยังควรงดสูบบุหรี่ ยาสูบ และกัญชา เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารก [embed-health-tool-bmi] อาหาร แม่ หลัง คลอด ห้าม กิน มีอะไรบ้าง อาหารที่แม่หลังคลอดควรงดบริโภค หรือบริโภคให้น้อยที่สุด อาจมีดังนี้ อาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน คาเฟอีนในอาหารและเครื่องดื่มอย่างชา กาแฟ ชาเขียว น้ำอัดลม ดาร์กช็อกโกแลต อาจทำให้ร่างกายแม่หลังคลอดผลิตน้ำนมได้น้อยลง และคาเฟอีนอาจถูกส่งต่อไปยังทารกผ่านน้ำนมแม่ และส่งผลให้ทารกนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ตื่นตัวจนกินนมได้น้อยลง ท้องผูก มีแก๊สในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะในทารกคลอดก่อนกำหนดที่สลายคาเฟอีนได้ช้ากว่าทารกทั่วไปและทารกที่เซนซิทีฟต่อคาเฟอีนมากกว่าปกติ แม่หลังคลอดอาจเปลี่ยนไปดื่มกาแฟไม่มีคาเฟอีน หรือดื่มเครื่องดื่มชนิดอื่น เช่น น้ำผลไม้น้ำตาลน้อย หรือหากยังต้องการบริโภคเครื่องดื่มคาเฟอีน ก็ควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/วัน โดยปริมาณคาเฟอีนในน้ำนมแม่จะมีความเข้มข้นสูงสุดในช่วง 1 ชั่วโมงหลังบริโภคเข้าไป จึงควรรออย่างน้อย […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

อาหาร low carb คืออะไร และช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร

อาหาร low carb คือ อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ แต่ยังคงให้ประโยชน์และพลังงานกับร่างกาย เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ ผัก ถั่ว เมล็ดพืช ซึ่งการกินอาหาร low carb อาจช่วยในการลดน้ำหนักและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงอาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจได้ [embed-health-tool-bmi] อาหาร low carb คืออะไร อาหาร low carb คือ อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ โดยสามารถเลือกกินอาหาร low carb เพื่อลดปริมาณการกินคาร์โบไฮเดรตให้น้อยกว่า 130 กรัม/วัน แต่ยังคงเป็นอาหารที่มีประโยชน์และให้พลังงานต่อร่างกาย เช่น การกินขนมปังขาว 100 กรัม มีคาร์โบไฮเดรต 44.8 กรัม เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนมากินแอปเปิ้ล 100 กรัม มีคาร์โบไฮเดรต 15.4 กรัม จะเห็นได้ว่า การเลือกกินอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้ในปริมาณที่เท่ากันแต่ให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ต่างกัน ซึ่งยังคงให้ประโยชน์และให้ความรู้สึกอิ่มท้องที่เหมือนกันด้วย นอกจากนี้ ยังควรเสริมอาหารประเภทโปรตีนสูงเพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและให้พลังงานกับร่างกายด้วย ชนิดของอาหาร low carb […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

6 วิธีควบคุมอาหาร เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

วิธีควบคุมอาหาร เป็นวิธีพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทำได้เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความอ้วน พร้อมกับช่วยส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรงมากขึ้น แต่วิธีการควบคุมอาหารและการดูแลตัวเองเพื่อควบคุมหรือลดน้ำหนักที่ดีและยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องนำไปปรับใช้เพื่อให้ตรงกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนด้วย [embed-health-tool-bmi] 6 วิธีควบคุมอาหาร ทำอย่างไรได้บ้าง วิธีควบคุมอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือต้องการควบคุมน้ำหนักให้คงที่เพื่อสุขภาพที่ดีอาจทำได้ ดังนี้ กินอาหารเช้าทุกวัน อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญต่อร่างกายอย่างมาก ทุกคนจึงควรกินอาหารเช้าทุกวัน เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งการกินอาหารเช้านอกจากจะให้พลังงานแล้ว ยังช่วยลดการกินของจุบจิบและช่วยควบคุมความหิวระหว่างวันได้ ซึ่งถือเป็นวิธีควบคุมอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เลือกกินอาหารที่มีใยอาหารสูง อาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพราะนอกจากจะมีเส้นใยสูงแล้ว ยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะใยอาหารที่ร่างกายควรได้รับ ซึ่งผู้หญิงควรได้รับใยอาหารอย่างน้อย 21-25 กรัม/วัน และผู้ชายควรได้รับใยอาหาร 30-38 กรัม/วัน เพื่อช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร สุขภาพลำไส้และระบบขับถ่าย นอกจากนี้ ใยอาหารยังช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็ว อิ่มนาน และช่วยควบคุมความหิวระหว่างวันได้ เลือกกินอาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อปลา พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช เมล็ดพืช อุดมไปด้วยโปรตีนที่ให้พลังงานและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ซึ่งการกินอาหารที่มีโปรตีนสูงร่วมกับการออกกำลังกายประเภทแรงต้าน เช่น แพลงก์ (Plank) สควอช (Squat) […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารแคลอรี่ต่ำ มีอะไรบ้าง ดีต่อสุขภาพอย่างไร

อาหารแคลอรี่ต่ำ คืออาหารจำพวกผักและผลไม้ เช่น แอปเปิล มะละกอ หน่อไม้ฝรั่ง แครอท แตงกวา หัวหอม นิยมบริโภคในผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก เป็นโรคบางชนิดที่ต้องจำกัดพลังงานที่ร่างกายได้รับในแต่ละวัน เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] แคลอรี่คืออะไร แคลอรี่ (Calorie) หรือกิโลแคลอรี่ (Kilocalorie) เป็นหน่วยวัดของจำนวนพลังงานที่ร่างกายจะได้รับเมื่อบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มแต่ละชนิด โดยทั่วไป จำนวนพลังงานที่จะได้จากอาหารหรือเครื่องดื่มมักระบุบนบรรจุภัณฑ์ในหน่วยแคลอรี่หรือกิโลแคลอรี่ อย่างไรก็ตาม บางผลิตภัณฑ์อาจระบุระดับพลังงานในหน่วยกิโลจูล (Kilojoule หรือ KJ) ซึ่ง 4.184 กิโลจูลเท่ากับ 1 กิโลแคลอรี่ ทั้งนี้ ผู้ชายควรได้รับพลังงานจากอาหารและเครื่องดื่มประมาณ 2,500 แคลอรี่/วัน ส่วนผู้หญิงควรได้รับประมาณ 2,000 แคลอรี่/วัน อาหารแคลอรี่ต่ำ มีอะไรบ้าง ตัวอย่าง อาหารแคลอรี่ต่ำ อาจมีดังนี้ ฝักชีฝรั่ง 100 กรัม ให้พลังงาน 14 แคลอรี่ แตงกวา 100 กรัม ให้พลังงาน 15 แคลอรี่ มะเขือเทศ 100 กรัม ให้พลังงาน […]


โภชนาการพิเศษ

เป็น โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไร และควรกินอะไร

โรคเก๊าท์ เป็นภาวะข้ออักเสบรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากมีกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ โดยทั่วไป โรคเก๊าท์รักษาได้ด้วยการรับประทานยาตามคุณหมอสั่ง ร่วมกับการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสม ถ้าเป็น โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไร คำตอบคือ ควรงดอาหารทะเล เนื้อแดง สัตว์ปีก และเครื่องในสัตว์ เพราะอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยสารพิวรีน (Purine) ซึ่งเมื่อบริโภคแล้วมักทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นจนเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์ หรือทำให้โรคเก๊าท์กำเริบได้ [embed-health-tool-bmr] โรคเก๊าท์ คืออะไร โรคเก๊าท์ หรือโรคเกาต์ เป็นภาวะข้ออักเสบที่มักพบในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน มีสาเหตุมาจากระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ โดยร่างกายจะได้รับกรดยูริกจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิวรีนเป็นส่วนประกอบ เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ จะมีอาการปวดตามข้อต่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อนิ้วเท้า ข้อเท้า ข้อศอก หรือหัวเข่า ซึ่งมักส่งผลให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ อาจบรรเทาอาการของโรคเก๊าท์ให้ดีขึ้นได้ด้วยการรับประทานยา ร่วมกับการเลือกรับประทานอาหารและเครื่องดื่มให้เหมาะสม เป็น โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไร เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ได้แก่ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยและปลาน้ำลึกอย่างแซลมอน ทูน่า ปลากะพง เนื้อแดง สัตว์ปีก และเครื่องในสัตว์ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเบียร์ เหล้า ไวน์ เพราะเมื่อร่างกายได้รับสารพิวรีนในปริมาณมากจะทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้อาการของโรคเก๊าท์กำเริบได้ งานวิจัยหนึ่ง เรื่องการบริโภคอาหารที่มีสารพิวรีนสูงต่ออาการเก๊าท์กำเริบ เผยแพร่ในวารสาร Annals of the Rheumatic Diseases […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารขยะ มีอะไรบ้าง ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

อาหารขยะ หรือ จังก์ฟู้ด (Junk food) หมายถึง อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย ให้พลังงานสูง อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน น้ำตาล เกลือ อย่างมันฝรั่งทอดกรอบ เค้ก ขนมหวาน หรือเครื่องดื่มเติมน้ำตาล มักส่งผลเสียต่อสุขภาพและก่อให้เกิดโรคได้หากบริโภคในปริมาณมาก เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า [embed-health-tool-bmi] อาหารขยะ คืออะไร อาหารขยะ หมายถึง อาหารที่ให้คุณค่าสารอาหารน้อยแต่ให้แคลอรี่สูง โดยมีส่วนประกอบอย่างเกลือ น้ำตาล หรือไขมันชนิดไม่ดี หากบริโภคเป็นประจำอาจทำให้สุขภาพแย่ลงและเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมาได้ อาหารที่จัดว่าเป็นอาหารขยะ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ เฟรนช์ฟราย เค้ก คุกกี้ บิสกิต ช็อกโกแลต ขนมหวาน ลูกอม น้ำอัดลม ป๊อปคอร์น และเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่ผสมน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง ทำไมคนส่วนมากจึงชอบบริโภคอาหารขยะ อาหารขยะมักมีรสชาติอร่อยเนื่องจากประกอบไปด้วยส่วนผสมหรือเครื่องปรุงรสหลากชนิดที่ให้รสชาติทั้งเค็ม หวาน มัน และการบริโภคของอร่อยอย่างอาหารขยะยังทำให้สมองหลั่งสารโดพามีน (Dopamine) หรือสารแห่งความสุขออกมา สร้างความพึงพอใจระหว่างที่บริโภคในแต่ละครั้ง ทำให้เกิดความต้องการบริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ […]


ข้อมูลโภชนาการ

5 เมนูอาหารคลีน ที่ดีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

เมนูอาหารคลีน ส่วนใหญ่มักประกอบด้วยผัก ผลไม้ และธัญพืช มีโปรตีนสูงและไขมันต่ำ และลดการใช้เครื่องปรุง เช่น น้ำตาล เกลือ หรืออาจไม่มีการปรุงแต่งรสชาติใด ๆ อีกทั้งยังมีแคลอรี่ต่ำ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก รวมถึงผู้ที่กำลังรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ที่จำเป็นต้องควบคุมอาหาร ลดการสะสมน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด เพื่อป้องกันอาการของโรคที่เป็นอยู่แย่ลง [embed-health-tool-bmi] เมนูอาหารคลีน ดีต่อสุขภาพอย่างไร เมนูอาหารคลีน มักให้ประโยชน์กับสุขภาพ ดังนี้ ช่วยลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความดันโลหิตและควบคุมระดับความดันโลหิต ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน กล้ามเนื้อ และระบบย่อยอาหาร เสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ จากการศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients ปี พ.ศ. 2563 ที่ศึกษาเกี่ยวกับ บทบาทของรูปแบบการรับประทานอาหารที่มีต่อสุขภาพและโรค พบว่า การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยเน้นการรับประทานผัก ผลไม้สด เนื้อสัตว์ และธัญพืช อย่างเมนูอาหารคลีน อาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น โพลีฟีนอล […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน