banner

เช็กความเสี่ยงสุขภาพ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งมะเร็งลำไส้ใหญ่ ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งปอด ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งรังไข่ ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งตับ ออนไลน์

วันมะเร็งโลก

โรคมะเร็ง

มะเร็ง อาการ สาเหตุ และการรักษา

มะเร็ง หมายถึงกลุ่มโรคที่เซลล์ในร่างกายมีการพัฒนาอย่างผิดปกติจนอาจไม่สามารถควบคุมได้อีกทั้งยังสามารถลุกลามและเข้าทำลายเนื้อเยื่อปกติในอวัยวะส่วนอื่น ๆได้อย่างรวดเร็ว หากไม่ทำการตรวจและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกายและอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต การตรวจคัดกรอง การรักษา และการป้องกันมะเร็งจึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตจากมะเร็งได้ คำจำกัดความมะเร็ง คืออะไร มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ภายในร่างกาย ซึ่งเซลล์มะเร็งอาจเจริญเติบโตมากขึ้น จนเกิดเป็นเนื้อร้าย เนื้องอก ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉพาะจุด หรือในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงหรือกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ผ่านทางหลอดเลือดหรือทางเดินน้ำเหลือง โรคมะเร็งยังแบ่งออกเป็นหลายชนิดขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นจุดกำเนิดของโรค และอาจเห็นเป็นเนื้อร้ายชัดเจน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม ในขณะที่มะเร็งบางชนิดอาจไม่เห็นเป็นเนื้อร้าย เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการอาการของมะเร็ง อาการเฉพาะของมะเร็งแต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งและอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ แต่อาการทั่วไปที่พบบ่อย มีดังนี้ มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เช่น ผิวเหลือง ผิวคล้ำ ผิวแดง แผลที่รักษาไม่หาย หรือไฝบนผิวหนังอาจเปลี่ยนไป อาการหายใจลำบาก กลืนลำบาก หรือไอเรื้อรัง ร่างกายอ่อนเพลีย การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก อาจลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ การเปลี่ยนแปลงของลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้อาหารไม่ย่อยหรือรู้สึกไม่สบายตัวหลังรับประทานอาหาร เสียงแหบ ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่ออย่างเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ มีไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจมีเหงื่อออกตอนกลางคืน มีเลือดออก เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด เลือดออกจากช่องคลอดกะปริบกะปรอย หรือมีรอยช้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรเข้าพบคุณหมอหากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น หรือสงสัยว่าอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเพื่อตรวจคัดกรองและเริ่มกระบวนการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ สาเหตุสาเหตุของการเกิดมะเร็ง มะเร็ง อาจมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอภายในเซลล์ โดยยีนจะมีชุดคำสั่งเพื่อบอกให้เซลล์ทำหน้าที่ต่าง ๆ […]

มะเร็งในเด็ก

สุขภาพเด็ก

มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีดูแล

มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก (Childhood Leukemia) คือ ภาวะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติถูกสร้างขึ้นแต่ไม่สามารถทำหน้าที่ในการปกป้องร่างกายได้ เนื่องจากมีข้อบกพร่อง คำจำกัดความมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก (Childhood Leukemia) คืออะไร คำว่า ลูคีเมีย (leukemia) หมายถึง มะเร็งในเซลล์เม็ดเลือดขาว (หรือเรียกอีกอย่างว่าลูโคไซต์ (leukocytes) หรือ white blood cells: WBCs) เมื่อเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติจำนวนมากจะถูกสร้างขึ้นมาจากไขกระดูก (bone marrow) เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติเหล่านี้ จะรวมตัวกันที่ไขกระดูก และกระจายตัวไปในกระแสเลือด แต่ไม่สามารถทำหน้าที่ที่เหมาะสม ในการปกป้องร่างกายจากโรค เนื่องจากมีข้อบกพร่อง เมื่อมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีอาการเพิ่มมากขึ้น มะเร็งจะเข้าแทรกแซงการสร้างเม็ดเลือดประเภทอื่นๆ ของร่างกาย ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดจาง (จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ) และภาวะเลือดออก นอกเหนือจากความเสี่ยงที่มากขึ้นในการติดเชื้อ ที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาว (white cell abnormalities) โดยทั่วไปแล้ว โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจำแนกได้เป็นชนิดฉับพลัน (เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว) และชนิดเรื้อรัง (เกิดขึ้นอย่างช้าๆ) โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก มักเป็นชนิดฉับพลัน โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กชนิดฉับพลัน ยังแบ่งออกเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ (acute lymphoblastic leukemia: ALL) และมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (acute […]

ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณกำลัง มีเนื้องอกในสมอง

เนื้องอกในสมองเป็นฝันร้ายของหลายๆคน เพราะเนื้องอกนั้นอาจจะกลายเป็นมะเร็ง และแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ได้ แต่เราสามารถลดโอกาสการลุกลามของเนื้องอกได้ หากเราสังเกตเห็นสัญญาณและอาการของเนื้องอกในสมอง และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที วันนี้ Hello คุณหมอจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ สัญญาณเนื้องอกในสมอง สัญญาณเนื้องอกในสมอง ที่ควรสังเกต สัญญาณและอาการของเนื้องอกในสมองนั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละคน โดยขึ้นอยู่กับประเภท ขนาด และจุดที่มีเนื้องอกในสมอง สัญญาณและอาการที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้ อาการชา หากคุณมีเนื้องอกในสมองที่ในบริเวณก้านสมอง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสมองและกระดูกสันหลัง เนื้องอกนี้จะทำให้คุณสูญเสียความรู้สึกในบางส่วนของร่างกาย ทำให้เกิดอาการชาที่แขนและขา อาการอาจจะเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายของคุณกำลังพยายามต่อสู้กับเนื้องอก ปวดหัว อาการปวดหัวอย่างรุนแรงนั้นเป็นอาการของเนื้องอกที่พบได้มาก เกิดขึ้นกับผู้ที่มีเนื้องอกในสมองมากกว่า 50% เนื้องอกในสมองนั้นจะเพิ่มความดันในเส้นประสาทและหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว หรือทำให้อาการปวดหัวที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น หรือเปลี่ยนรูปแบบไป เช่น คุณอาจจะมีอาการปวดหัวเรื้อรัง แต่ไม่เหมือนกับอาการปวดหัวไมเกรน ปวดหัวอย่างหนักในตอนตื่นนอน อาจตามด้วยอาการอาเจียน อาการปวดหัวจะรุนแรงขึ้นหากคุณออกกำลังกาย ไอ หรือเปลี่ยนท่าทางการนั่งหรือนอน ยาแก้ปวดตามร้านขายยาไม่สามารถรักษาอาการปวดหัวนี้ได้ แม้ว่าอาการปวดหัวที่เปลี่ยนไป อาจจะเป็นสัญญาณของเนื้องอกในสมองได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาการปวดหัวทุกชนิดจะต้องหมายความว่าคุณเป็นเนื้องอกในสมองเท่านั้น หากคุณสังเกตเห็นอาการปวดหัวที่ผิดปกติไป ควรรีบติดต่อแพทย์เพื่อทำการตรวจในทันที อาการชัก เนื้องอกนั้นจะดันและไปกดเส้นประสาทภายในสมอง ทำให้ส่งผลกระทบต่อกระแสไฟฟ้าในสมอง แล้วทำให้เกิดอาการชักได้ อาการชักนั้นอาจเป็นสัญญาณของโรคเนื้องอกในสมอง ผู้ที่มีเนื้องอกในสมองกว่า 50% อาจจะเคยมีอาการชัก อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง การเคลื่อนไหวผิดปกติ คุณอาจจะมีอาการซุ่มซ่ามมากขึ้น เดี๋ยวก็หกล้ม เดี๋ยวก็ทำของหล่น เดี๋ยวก็ไขกุญแจห้องไม่ได้สักที อาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการที่แขน ขา หรือมือทำงานผิดปกติ เนื่องจากการส่งสัญญาณในสมอง นอกจากนี้คุณยังอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการพูด การกลืน หรือการควบคุมการแสดงอารมณ์บนใบหน้า อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติในสมองและควรรับการตรวจโดยเร็วที่สุด คลื่นไส้และอาเจียน ในช่วงระยะแรกของการมีเนื้องอกในสมอง คุณอาจจะรู้สึกว่ามีอาการคลื่นไส้และอาเจียน เนื่องจากฮอร์โมนภายในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง และทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล อารมณ์แปรปรวน เนื้องอกในสมองการส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง […]

มะเร็งกระดูก

Bone Metastasis มะเร็งลามมากระดูก สาเหตุ อาการ และการรักษา

มะเร็งหนึ่งในโรคร้ายที่คร่าชีวิตใคร ๆ หลายคน ซึ่งมะเร็งเกือบทุกชนิดสามารถแพร่กระจายไปยังกระดูก โดยหาก Bone Metastasis (มะเร็งลามมากระดูก) อาจทำให้เกิดอาการปวดและกระดูกหัก รวมไปถึงอาการต่าง ๆ ที่แสดงออกมา หรือไม่แสดงก็ตาม ดังนั้นเราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูกกันเลย [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ Bone Metastasis คืออะไร Bone Metastasis คือ มะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูก หรือภาวะมะเร็งเข้ากระดูก มักเกิดขึ้นเมื่อเซลล์มะเร็งแพร่กระจายจากจุดต้นกำเนิดที่อวัยวะอื่นเข้าไปยังกระดูก ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากกระดูกเอง หลายคนอาจสับสนระหว่างภาวะมะเร็งเข้ากระดูกกับมะเร็งกระดูก ความแตกต่างก็คือ ภาวะมะเร็งเข้ากระดูก (Bone Metastasis) คือ เซลล์มะเร็งลุกลามจากที่อื่นมาที่กระดูก ส่วนมะเร็งกระดูก (Bone Cancer) คือ เซลล์มะเร็งมีต้นกำเนิดที่กระดูก ซึ่งถือเป็นโรคมะเร็งที่พบได้ยาก มะเร็งแทบทุกประเภทสามารถลุกลาม หรือแพร่กระจาย (metastasize) ไปยังกระดูกได้ แต่ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งไต มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร ภาวะมะเร็งเข้ากระดูกสามารถเกิดขึ้นได้กับกระดูกทุกชิ้นในร่างกาย แต่ที่พบบ่อยได้แก่ กระดูกสันหลัง รองลงมาคือ กระดูกต้นขา กระดูกต้นแขน กระดูกสะโพก กระดูกกะโหลกศีรษะ และกระดูกซี่โครง ภาวะมะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูก อาจเป็นสัญญาณแรกที่บอกว่าคุณเป็นมะเร็ง หรืออาจเกิดขึ้นในหลายปีหลังจากเข้ารับการรักษามะเร็งก็เป็นได้ Bone […]

มะเร็งศีรษะและคอ

มะเร็งจอประสาทตาในเด็ก (Retinoblastoma)

มะเร็งจอประสาทตาในเด็ก (Retinoblastoma) เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับจอประสาทตาเรตินา (Retina) ซึ่งเป็นเยื่อบุบาง ๆ ที่อยู่ด้านในดวงตา มีลักษณะเป็นจุดสีขาว ๆ ที่กลางตาดำ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการตาแดง ตาบวม ปวดตา บางรายอาจมีอาการร้ายแรงถึงขั้นลุกลามออกมานอกลูกตา หรือสูญเสียการมองเห็น คำจำกัดความมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก (Retinoblastoma) คืออะไร มะเร็งจอประสาทตาในเด็ก (Retinoblastoma) เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับจอประสาทตาเรตินา (Retina)  ซึ่งเป็นเยื่อบุบาง ๆ ที่อยู่ด้านในดวงตา มีลักษณะเป็นจุดสีขาว ๆ ที่กลางตาดำ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการตาแดง ตาบวม ปวดตา บางรายอาจมีอาการร้ายแรงถึงขั้นลุกลามออกมานอกลูกตา หรือสูญเสียการมองเห็น พบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งจอประสาทตาในเด็กพบได้บ่อยในวัยเด็ก อาจเกิดขึ้นในตาข้างเดียวหรือตาทั้งสองข้าง อาการอาการของมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก เนื่องจากโรคมะเร็งจอประสาทตาในเด็กส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อทารกและเด็กเล็ก จึงพบผู้ที่เป็นโรคมะเร็งจอประสาทตาในเด็กได้น้อย โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการ ดังต่อไปนี้ มีลักษณะจุดสีขาวกลางดวงตาดำ (รูม่านตา) ตาแดง ตาบวม ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการกลายพันธุ์ที่นำไปสู่มะเร็งจอประสาทตา แต่มีข้อสันนิษฐาน ว่าสาเหตุของมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก เกิดจากความผิดปกติทางจอประสาทตา เนื่องจากจอประสาทตาเกิดการกลายพันธ์ุและเพิ่มจำนวนเซลล์ที่สะสมอยู่ในตาก่อตัวเป็นเนื้องอก มะเร็งจอประสาทตาในเด็กยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายรวมถึงสมองและกระดูกสันหลัง  นอกจากนี้สาเหตุของโรคมะเร็งจอประสาทตาอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก ถ่ายทอดทางพันธุกรรม  จากพ่อแม่ที่มียีนของโรคมะเร็งจอประสาทตา การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและดูอาการของผู้ป่วย หากพบเนื้องอกในตา แพทย์จะตรวจจอประสาทด้วยเครื่องส่องดูตา […]

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin's Lymphoma)

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s Lymphoma) จัดเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เกิดจากเซลล์ในระบบน้ำเหลืองเติบโตผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการบวมอย่างเจ็บปวดบริเวณที่มีต่อมน้ำเหลือง เช่น รักแร้ ขาหนีบ รวมถึงอาการคันอย่างรุนแรง คำจำกัดความมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน คืออะไร  มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s Lymphoma) จัดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เกิดจากเซลล์ในระบบน้ำเหลืองเติบโตผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการบวมอย่างเจ็บปวดบริเวณที่มีต่อมน้ำเหลือง เช่น รักแร้ ขาหนีบ รวมถึงอาการคันอย่างรุนแรง พบได้บ่อยแค่ไหน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี และในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี อาการอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินส่วนใหญ่มักมีอาการบวมบริเวณต่อมน้ำเหลือง ซึ่งทำให้เกิดก้อนเนื้อใต้ผิวหนัง โดยก้อนเนื้อนี้มักไม่มีอาการเจ็บปวด จะขึ้นบริเวณรอบ ๆ บริเวณในร่างกายที่มีต่อมน้ำเหลือง เช่น ขาหนีบ ใต้รักแร้ บริเวณคอ รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่แสดงออกดังต่อไปนี้ เหงื่อออกตอนกลางคืน ผิวหนังคัน ไข้ ความเหนื่อยล้า น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ ไอต่อเนื่อง หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ปวดบริเวณต่อมน้ำเหลืองหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ ม้ามโต ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีอาการใด ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีอาการผิดปกติที่บริเวณหน้าท้องส่วนล่าง ปวดท้องอย่างรุนแรง และปัสสาวะเป็นเลือด หรือแสบร้อนขณะปัสสาวะ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรปรึกษากับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน ในปัจจุบันยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดของสาเหตุมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B Lymphocytes) ที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติจำนวนมากสะสมในระบบน้ำเหลือง เช่นเดียวกับการติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ […]

อัปเดตเคล็ดลับเลี้ยงลูก เดือนกุมภา

วัยรุ่น

สิ่งที่ พ่อ แม่ไม่ควร ทํา กับลูกวัยรุ่น มีอะไรบ้าง

วัยรุ่น เป็นวัยที่ร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนและหงุดหงิดง่าย นอกจากนั้น ยังอาจเริ่มมีสังคมใหม่ เพื่อนใหม่ รวมทั้งกิจกรรมใหม่ ๆ ที่พ่อแม่อาจไม่คุ้นเคยและเริ่มตั้งคำถามหรือต้องการที่จะควบคุมพฤติกรรมของลูก จนอาจทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย ทั้งนี้ พ่อแม่ควรทำความเข้าใจว่า สิ่งที่ พ่อ แม่ไม่ควร ทำกับ ลูกวัยรุ่น มีอะไรบ้าง [embed-health-tool-ovulation] พฤติกรรมของวัยรุ่น วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ต้องการความเข้าใจและความรักเช่นเดียวกับวัยอื่น ๆ เพียงแต่พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ระดับฮอร์โมน อารมณ์ต่าง ๆ จนเกิดเป็นความหงุดหงิด ไม่สบายตัว นอกจากนี้ ความต้องการในชีวิตเองก็เริ่มเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ต้องการอยู่กับเพื่อน มีความเป็นส่วนตัว ไม่ต้องการการควบคุม อยากรู้อยากเห็น เริ่มทดลองสิ่งต่าง ๆ และอาจเริ่มทำตัวท้าทายพ่อแม่ เริ่มมีความลับ อย่างไรก็ตาม แม้ลูกวัยรุ่นจะแสดงออกว่าพวกเขาไม่ต้องการพ่อแม่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขายังต้องการกำลังใจ ความรัก ความเอาใจใส่ และความเข้าใจจากพ่อแม่ ดังนั้น พ่อแม่ อาจจะต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน และแสดงออกอย่างพอดีให้ลูกวัยรุ่นทราบว่า รักและเป็นห่วง แต่ให้อิสระในการตัดสินใจ หากลูกมีปัญหาก็พร้อมจะอยู่เคียงข้าง นอกจากนั้น พ่อแม่ควรทราบว่า สิ่งที่ พ่อ แม่ไม่ควร ทํา กับลูกวัยรุ่น […]

วัยรุ่น

วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก

ประจำเดือน คือเลือดที่ไหลออกมาทางช่องคลอดในทุก ๆ เดือน เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ โดยส่วนใหญ่มักมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปี การเป็นประจำเดือนถือเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งในการเจริญเติบโตของลูก ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรสอนให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือนครั้งแรกและวิธีการใช้ผ้าอนามัยอย่างถูกต้อง เพื่อให้ลูกสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมเมื่อเป็นประจำเดือน [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือน คืออะไร ประจำเดือน คือ เลือดและเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาเนื่องจากจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) โดยปกติในแต่ละเดือน ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนออกมาเพื่อกระตุ้นให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมา และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับตั้งครรภ์ แต่หากไม่มีอสุจิมาผสมกับไข่ ระดับฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้จะลดลง และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกและไหลออกมาเป็นประจำเดือน โดยประจำเดือนมักจะมาทุก ๆ 21-45 วัน และอาจเป็นประจำเดือนนานประมาณ 3-8 วัน ทั้งนี้ รอบเดือนของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป สัญญาณเตือนเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก โดยปกติลูกมักจะเป็นประจำเดือนครั้งแรกเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์หรือวัยแรกรุ่น ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงอายุ 12 ปี แต่บางคนอาจมาช้าหรือเร็วกว่านั้นตามภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล โดยสัญญาณเตือนการเป็นประจำเดือนครั้งแรกของลูก มีดังนี้ ท้องเสีย ท้องอืด และอาจปวดท้องเกร็งช่วงท้องด้านล่าง อารมณ์แปรปรวน ปวดเมื่อยตามร่างกาย เหนื่อยล้า เจ็บหน้าอกและเต้านมเมื่อสัมผัส รู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้น หิวบ่อยขึ้น วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก อาจทำได้ดังนี้ พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือน หากเป็นไปได้ควรพูดก่อนที่ประจำเดือนจะมา เพื่อให้ลูกทำความเข้าใจและรับมือได้ด้วยตัวเอง ช่วยลดอาการตื่นตกใจเมื่อประจำเดือนมา สอนลูกเกี่ยวกับวิธีการเลือกผ้าอนามัย วิธีการใช้ผ้าอนามัย […]

การเติบโตและพัฒนาการ

ลูกโดนเพื่อนนินทา คุณพ่อคุณแม่จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร

ลูกโดนเพื่อนนินทา เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลยหรือมองข้ามเด็ดขาด เพราะแม้ว่าลูกน้อยอาจจะหลีกเลี่ยงการจับกลุ่ม หรือเป็นเด็กดี ตั้งใจเรียน มากแค่ไหน แต่ก็ไม่อาจพ้นจากการถูกนินทาได้ ดังนั้น เมื่อลูกน้อยเข้ามาปรึกษาว่าโดนเพื่อนนินทา คุณพ่อคุณแม่ควรรับฟังอย่างตั้งใจและพยายามทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่ควรตำหนิหรือซ้ำเติมเพราะอาจยิ่งทำให้ลูกรู้สึกเจ็บปวดและควรทางออกร่วมกันกับลูก อย่าปล่อยให้ลูกรู้สึกโดดเดี่ยว นอกจากนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหาวิธีช่วยเหลืออย่างถูกต้องและเหมาะสมในการรับมือเมื่อลูกโดนเพื่อนนินทา วิธีรับมือ เมื่อ ลูกโดนเพื่อนนินทา การนินทานั้นมักจะเกิดขึ้นเมื่อเด็ก ๆ เริ่มโตขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ไม่ว่าจะตั้งใจเรียน เป็นเด็กดี หรือมีนิสัยอย่างไรก็ตาม ยากที่จะหลีกเลี่ยงการโดนนินทา  เมื่อ ลูกโดนเพื่อนนินทา คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องทำให้ลูกรู้สึกว่ามีคนคอยช่วยเหลือและอยู่ข้าง ๆ เสมอ รวมทั้งควรอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงความจริงข้อที่ว่า ไม่มีใครสามารถหลีกพ้นการโดนนินทาไปได้ ทั้งนี้ วิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกน้อยรับมือเมื่อโดนเพื่อนนินทานั้น อาจปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ หลีกเลี่ยงการอยู่กับกลุ่มเพื่อนที่ชอบนินทา เมื่อโดนเพื่อนนินทา เด็ก ๆ ย่อมรู้สึกเจ็บปวดและเสียใจ คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามช่วยให้ลูกน้อยหันไปสนใจเรื่องอื่นแทน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมภายนอกหรือวางแผนการเดินทางของครอบครัว เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับเรื่องการถูกนินทา นอกจากนี้ วิธีการที่ดีคือ ให้ลูกน้อยหลีกเลี่ยงจากการใช้โซเชียลมีเดียสักระยะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากโซเชียลมีเดียนั้นเป็นแหล่งกระจายข่าวลือของเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน แม้จะเป็นเรื่องยากเพราะเด็ก ๆ มักต้องการรู้ว่าคนอื่นกำลังพูดอะไรเกี่ยวกับตนเองบ้าง แต่ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า บางครั้งอาจจะเป็นการดีกว่าที่จะไม่สนใจคำนินทาและควรใช้เวลาอยู่กับกิจกรรมที่ทำให้มีความสุขมากกว่า สังเกตพฤติกรรมลูกอย่างใกล้ชิด เด็กส่วนใหญ่ไม่สามารถรอให้การนินทาเงียบสงบไปเองได้ แม้แต่ข่าวลือเล็ก ๆ น้อย ๆ […]

ช่วงวัยเรียน

เคล็ดลับ ดูแล เด็กวัยเรียน ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์

การ ดูแลเด็กวัยเรียน ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ สามารถทำได้อย่างไร เรื่องนี้อาจเป็นปัญหาของผู้ปกครองหลายคน เพราะเด็กแต่ละช่วงวัยต่างต้องการดูแลเอาใจใส่ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะ เด็กวัยเรียนซึ่งเป็นช่วงวัยแห่งการเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างเป็นระบบ ทั้งการเข้าสู่สังคมโรงเรียน การสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมจึงต้องดูแล เด็กวัยเรียน   เด็กวัยเรียน เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงและต้องปรับตัวค่อนข้างสูง ทั้งทางกายและทางสติปัญญา เด็กสามารถเริ่มทำทุกอย่างได้ด้วยตนเอง ทั้งผูกเชือกรองเท้า แต่งตัว หยิบจับสิ่งของ วิ่งเล่น และมีอิสระจากครอบครัวมากขึ้น การดูแลเด็กวัยเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก การเสริมสร้างความรู้ การฝึกฝนทักษะ การให้รางวัลและบทลงโทษก็เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเด็กวัยเรียน ให้เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่สังคมในอนาคต เคล็ดลับการดูแลเด็ก วัยเรียน การดูแลเด็กวัยเรียน อาจดูเหมือนเป็นเรื่องยาก แต่หากมองในแง่ดี คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองก็ได้ฝึกเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กับลูกรัก โดยอาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำ ต่อไปนี้ ควรแสดงออกถึงความรักอยู่เสมอ ชื่นชมและยินดีต่อความสำเร็จ สร้างความรับผิดชอบให้กับเด็ก เช่น ขอให้เด็กช่วยรับผิดชอบงานบ้านบางอย่าง พูดคุยเกี่ยวกับเพื่อน โรงเรียน และสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สอนให้เด็กรู้จักการเคารพผู้อื่น และรู้จักช่วยเหลือคนอื่น สอนให้เด็กรู้จักการตั้งเป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จ เพื่อให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง สอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะอดทน ยอมให้คนอื่นก่อน หรือยอมทำงานให้เสร็จก่อนออกไปเล่น เพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้ถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อทำสิ่งตามเป้าหมายเสร็จแล้ว […]

ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

3 การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย อารมณ์ และสังคม เด็กเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 13-18 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจและให้ความสำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เช่น สูงขึ้นหลายเซนติเมตรในเวลาไม่กี่เดือน เริ่มมีความสนใจเรื่องเพศมากขึ้น อาจทำให้วัยรุ่นไม่แน่ใจว่าจะต้องรับมืออย่างไรและอาจต้องขอคำปรึกษาจากคุณพ่อคุณแม่ [embed-health-tool-bmr] การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น  ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และสังคม และการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นมักเกิดขึ้นแบบก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางร่างกาย เช่น ความสูงที่อาจเพิ่มขึ้นได้หลายเซนติเมตรในเวลาไม่กี่เดือน หรืออาจเริ่มมีความสนใจเรื่องเพศมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ในแต่ละด้าน มีดังนี้ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ผู้หญิงมักมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนผู้ชาย บางคนอาจเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายตั้งแต่อายุ 8 ขวบ โดยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นหญิงที่พบได้ เช่น เต้านมเริ่มขยาย รูปร่างและส่วนสูงเปลี่ยนแปลง อวัยวะเพศเปลี่ยนแปลงหรือเจริญเติบโตขึ้น เริ่มมีขนรักแร้และขนตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น อวัยวะเพศ ส่วนใหญ่จะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 10-16 ปี ผู้ชายมักเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตั้งแต่อายุ 11-12 ปี หรือบางคนอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็นได้ในช่วงอายุ 9-14 ปี โดยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นชายที่พบได้ เช่น องคชาตและอัณฑะเจริญเติบโตขึ้น รูปร่างและส่วนสูงเปลี่ยนแปลง เริ่มมีความรู้สึกทางเพศมากขึ้น อวัยวะเพศแข็งตัวบ่อยและอาจมีฝันเปียก มีมวลกล้ามเนื้อมากขึ้น และใบหน้าเริ่มเปลี่ยนแปลง บางคนเริ่มมีเสียงแตกหนุ่ม เริ่มมีขนรักแร้และขนตามอวัยวะต่าง […]

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ
ดูทั้งหมด

โรคเรื้อรังน่ารู้

สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน