โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ส้มป่อย สมุนไพรไทยมากประโยชน์ มีสรรพคุณอย่างไรบ้าง

ส้มป่อย หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์  Acacia Concinna (Wild.) D.C. เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ได้หลายส่วน มีลักษณะเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนามตามลำต้น กิ่ง ก้านและใบ พืชชนิดนี้พบมากตามเขตร้อนในเอเชีย ทุกภาคของประเทศไทย เช่น ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าผสม และป่าดิบแล้งโปร่ง ส้มป่อย มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจและอาจใช้รักษาอาการได้หลายประเภท ทั้งสรรพคุณจาก ฝักส้มป่อย และ ใบส้มป่อย ซึ่งนำมาต้มเป็นน้ำดื่มหรืออาจใช้ทำลูกประคบได้ [embed-health-tool-bmi] ลักษณะของฝักส้มป่อยและองค์ประกอบทางเคมี ฝักส้มป่อยจะแห้งแบน มีสีน้ำตาลแดงหรืออาจมีสีดำ ผิวย่นเป็นลอน เมล็ดภายในสีน้ำตาลดำ รสเปรี้ยว สำหรับฝักส้มป่อยมีสารเคมีหลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่  สารกลุ่มแซโพนิน (Saponins) เช่น อะเคซินินซี (Acacinin C) อะเคซินินดี (Acacinin D) อะเคซินินอี (Acacinin E)  แซโพนินไกลโคไซด์ (Saponin Glycosides) เช่น คินมูนโนไซด์เอ (Kinmoonoside A) คินมูนโนไซด์บี (Kinmoonoside B) คินมูนโนไซด์ซี […]

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

กินทุเรียนกับเบียร์ เป็นอันตรายต่อสุขภาพจริงหรือไม่

หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า ไม่ควร กินทุเรียนกับเบียร์ เพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น เนื่องจากทั้งทุเรียนและเบียร์ต่างก็เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงได้ อีกทั้งทุเรียนยังอาจไปยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สลายแอลกอฮอล์ ส่งผลให้มีแอลกอฮอล์สะสมในระดับที่ร่างกายรับไม่ไหว ยิ่งกินทุเรียนกับเบียร์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น ๆ ในปริมาณมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้อาการไม่พึงประสงค์รุนแรงขึ้นเท่านั้น จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] กินทุเรียนกับเบียร์ อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ การ กินทุเรียนกับเบียร์ ไม่ว่าจะกินพร้อมกันหรือกินในเวลาใกล้เคียงกัน เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทุเรียนมีสารประกอบซัลเฟอร์ (Sulfur) หรือกำมะถัน ในปริมาณมาก และกำมะถันจะไปขัดขวางกระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถทำลายแอลกอฮอล์ได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้มีสารอะเซตาดีไฮด์ (Acetaldehyde) ตกค้างอยู่ในร่างกาย ตามปกติแล้วสารอะเซตาดีไฮด์เป็นสารตัวกลางที่ถูกเปลี่ยนมาจากแอลกอฮอล์ และจะเปลี่ยนไปเป็นน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อขับออกจากร่างกาย แต่เมื่อกระบวนการทำลายแอลกอฮอล์หยุดชะงักจะส่งผลให้มีสารอะเซตาดีไฮด์ตกค้างอยู่ สารนี้มีพิษและจะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หน้าแดง หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว สำหรับผู้ที่มีอาการข้างเคียงรุนแรงจากการ กินทุเรียนกับเบียร์ อาจทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ ทุเรียนกับเบียร์ ยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงทั้งคู่ ทุเรียนเป็นผลไม้ธาตุร้อนที่มีแก๊ส ไขมันและน้ำตาลเยอะ ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานอย่างรวดเร็วและทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น เมื่อมีน้ำตาลในเลือดเยอะ ร่างกายจะดึงน้ำจากเซลล์เพื่อมาลดระดับน้ำตาล ทำให้สูญเสียน้ำในร่างกายมากขึ้น เมื่อรวมกับแอลกอฮอล์ที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ อาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ หากรับน้ำมาทดแทนไม่ทัน […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

อาหารตามวัย เลือกรับประทานอย่างไรให้เหมาะกับอายุ

ความต้องการทางโภชนาการของคนเราจะเปลี่ยนไปตามอายุที่มากขึ้น การเลือกรับประทาน อาหารตามวัย อาจช่วยให้คนในแต่ละวัยได้รับสารอาหารที่จำเป็นตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ โดยทั่วไป การรับประทานอาหารให้หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การดูแลสุขภาพจิตให้ดี จะช่วยให้ร่างกายของคนเรามีแข็งแรง ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม [embed-health-tool-bmi] อาหารตามวัย : ทารกแรกเกิด - 6 เดือน นมแม่เป็นสารอาหารเดียวที่ทารกแรกเกิดถึง 6 เดือนแรกควรได้รับ เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงาน มีคุณค่าทางโภชนาการและภูมิคุ้มกันที่จำเป็นเพียงพอสำหรับทารก และหากเป็นไปได้ควรให้ทารกได้รับน้ำนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากไม่สะดวกให้นมด้วยตัวเองตลอดเวลา คุณแม่อาจปั๊มนมเก็บไว้และใส่ขวดนมให้ทารกดูดในภายหลัง ทั้งนี้ ควรให้ทารกวัยนี้รับประทานเพียงนมแม่หรือนมผงสำหรับทารกเท่านั้น ไม่ควรให้รับประทานอาหารอื่น รวมไปถึงเครื่องดื่ม เช่น น้ำส้ม และไม่จำเป็นต้องให้ทารกดื่มน้ำเปล่าหลังดูดนม เพราะอาจทำให้ทารกดูดนมน้อยลงและขาดสารอาหารได้ อาหารตามวัย : ทารก 6 เดือน - 12 เดือน ทารกวัย 6 เดือนขึ้นไปสามารถรับประทานอาหารแข็ง (Solid food) เพื่อเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ควบคู่ไปกับการให้นมแม่อย่างต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 12 เดือนขึ้นไป หรือนานเท่าที่คุณแม่และทารกต้องการ ในช่วงแรกอาจเริ่มจากการให้ทารกรับประทานอาหารแข็งประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ/วัน และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารเมื่อทารกโตขึ้น โดยวิธีเลือกอาหารแข็งที่เหมาะสำหรับทารกในวัยนี้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

โภชนาการ คืออะไร อาหารที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ มีอะไรบ้าง

โภชนาการ (Nutrition) คือ กระบวนการดูแลสุขภาพด้วยการคัดเลือกประเภทและปริมาณอาหารให้สอดคล้องกับความต้องการของร่างกายเพื่อรักษาสุขภาพที่ดี สารอาหารตามหลักโภชนาการแบ่งได้ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการอาจช่วยให้สามารถเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น [embed-health-tool-bmi] โภชนาการ คืออะไร องค์การอนามัยโลก (WHO) นิยามว่า “โภชนาการ เป็นส่วนสำคัญของการมีสุขภาพและพัฒนาการที่ดี การมีโภชนาการที่ดีจะช่วยส่งเสริมสุขภาพและระบบภูมิคุ้มกันของทารก เด็ก และมารดา ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งยังช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาว” นอกจากนี้สำหรับผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสามารถช่วยจัดการกับภาวะสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ การเลือกอาหารตามหลัก โภชนาการ การปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทานในแต่ละวันให้เป็นไปตามหลัก โภชนาการ ที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น อาจทำได้ดังนี้ ธัญพืช (Grains) ธัญพืชเต็มเมล็ดเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและใยอาหารสูง ทั้งยังมีไขมันต่ำ ช่วยให้อิ่มได้นานและทำให้ไม่รับประทานมากเกินความจำเป็น การเลือกซื้อธัญพืชควรดูจากฉลากผลิตภัณฑ์ว่ามีส่วนผสมของธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole) หรือไม่ และควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีใยอาหารอย่างน้อย 3 กรัม/ 1 หน่วยบริโภค ตัวอย่างอาหารประเภทธัญพืช พาสต้าโฮลวีต ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวบาร์เลย์ ควินัว […]


ข้อมูลโภชนาการ

สารอาหาร5หมู่ มีอะไรบ้าง รับประทานยังไงให้ดีต่อสุขภาพ

สารอาหารตามหลักโภชนาการ ที่จำเป็นต่อการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ แบ่งออกเป็น 5 หมู่หลัก ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และไขมัน การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ สารอาหาร5หมู่ จะช่วยให้สามารถวางแผนการรับประทานอาหารเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย [embed-health-tool-bmi] สารอาหาร5หมู่ มีอะไรบ้าง สารอาหาร5หมู่ ซึ่งเป็นสารอาหารหลักที่คนเราควรรับประทานทุกวัน อาจมีดังนี้ 1. โปรตีน โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกาย มีกรดอะมิโนที่ช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ และสร้างแอนติบอดีเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคและการเจ็บป่วย อีกทั้งยังให้พลังงานแก่ร่างกายด้วย โปรตีนพบได้ในเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อปลา ไข่ไก่ ไข่เป็ด ในพืช เช่น ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโพด ผักโขม ต้นอ่อนทานตะวัน ลูกบัว เมล็ดฟักทอง ในพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วพู รวมถึงในนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น นม เนย ชีส โยเกิร์ตไขมันต่ำ การรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากแหล่งที่สะอาดและได้มาตรฐาน ตรวจสอบว่าสีและเนื้อสัมผัสของเนื้อสัตว์ผิดปกติ หรือมีกลิ่นเหม็นหรือไม่ ควรรับประทานเนื้อสัตว์ติดมันและติดหนังแต่น้อย และหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารคนเป็นโรคไต และวิธีดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเมื่อเป็นโรคไต

โรคไต คือ ภาวะที่ไตทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อาหารคนเป็นโรคไต ควรเป็นอาหารที่มีโซเดียมต่ำ และมีโปรตีนน้อย นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตยังควรจำกัดการบริโภคของเหลว โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เพื่อไม่ให้มีสารอาหารส่วนเกินสะสมอยู่ในร่างกายและทำให้ไตทำงานหนักเกินไปจนเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับระยะของโรคไตที่เป็นอยู่ เพื่อช่วยชะลอการเสื่อมของไตและควบคุมไม่ให้อาการแย่ลง [embed-health-tool-bmi] โรคไตเกิดจากอะไร โรคไต (Kidney disease) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อไตเสียหายและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สาเหตุของโรคไตที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ พฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยเฉพาะอาหารรสเค็มจัด ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต โดยทั่วไป หน้าที่หลักของไต คือ การกรองเลือดและการกำจัดของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ เมื่อเป็นโรคไตนานหลายปีจนพัฒนาเป็นโรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) อาจทำให้มีของเหลว อิเล็กโทรไลต์ และของเสียสะสมในร่างกายในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ คนที่มีสุขภาพดีควรเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงให้หลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมไปถึงโรคไตได้ อาหารคนเป็นโรคไต ผู้ป่วยโรคไตจำเป็นต้องจำกัดการบริโภคอาหารบางประเภทเพื่อไม่ให้ไตทำงานหนักเกินไป และโรคไตมักจะเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังหลายอย่างจึงควรรับประทานอาหารที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต รวมถึงช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย เพราะอาจช่วยยืดอายุการทำงานของไตได้นานขึ้น การวางแผนรับประทานอาหารตั้งแต่เป็นโรคไตในระยะแรก ๆ จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้ โดยอาหารของคนเป็นโรคไตในแต่ะละระยะจะแตกต่างกัน จึงควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

น้ำมันปลา ไม่ควรกินคู่กับ อะไร และข้อควรระวังในการบริโภคน้ำมันปลา

การบริโภคน้ำมันปลาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ผู้บริโภคควรทราบว่า น้ำมันปลา ไม่ควรกินคู่กับ อะไร เพราะอาหาร อาหารเสริม หรือยาบางชนิดอาจส่งผลให้ร่างกายดูดซึมน้ำมันปลาไปใช้ประโยชน์ได้น้อยลง และทำให้เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพ ทั้งนี้ ผู้ที่แพ้อาหารทะเลหรือปลาไม่ควรกินน้ำมันปลาโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้ [embed-health-tool-bmi] น้ำมันปลา คืออะไร น้ำมันปลา (Fish Oil) คือ น้ำมันที่สกัดมาจากเนื้อเยื่อ หนัง หัว หางของปลาที่มีน้ำมัน (Oliy fish) เช่น ปลาเทราต์ ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาแฮร์ริ่ง ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ซึ่งเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3  ได้แก่ กรดโดโคซะเฮกซะอีโนอิก (Docosahexaenoic acid) หรือที่มักเรียกว่า ดีเอชเอ (DHA) และกรดอิโคซะเพนตะอีโนอิก (Eicosapentaenoic acid) หรืออีพีเอ (EPA) ที่ช่วยในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น โดยกรดไขมันเหล่านี้เป็นสารอาหารที่ยังพบได้ในอาหารตามธรรมชาติอื่น ๆ เช่น หอยแมลงภู่ หอยนางรม […]


โภชนาการพิเศษ

อาหาร คน เป็น โรค หัวใจ ควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยง

การทราบข้อมูลเกี่ยวกับ อาหาร คน เป็น โรค หัวใจ ที่ควรรับประทานและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาจช่วยให้คนในครอบครัวและผู้ป่วยวางแผนการดูแลสุขภาพของคนเป็นโรคหัวใจได้อย่างเหมาะสม โดยทั่วไป คนเป็นโรคหัวใจสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเน้นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และควรหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทที่ส่งผลเลียต่อสุขภาพ เช่น อาหารน้ำตาลสูง อาหารไขมันอิ่มตัวสูง อาหารโซเดียมสูง [embed-health-tool-bmi] อาหาร คน เป็น โรค หัวใจ มีอะไรบ้าง ตัวอย่าง อาหาร คน เป็น โรค หัวใจ อาจมีดังนี้ โปรตีน โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ และอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ทั้งยังช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน คนเป็นโรคหัวใจควรเลือกรับประทานโปรตีนจากแหล่งที่หลากหลาย และควรเลือกโปรตีนที่ไม่มีไขมันหรือไม่ติดหนัง เพื่อหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวที่อาจไปสะสมในร่างกาย ตัวอย่างอาหารจำพวกโปรตีนสำหรับคนเป็นโรคหัวใจ อาหารทะเล เช่น ปลา หอย กุ้ง เนื้อสัตว์ปีกไม่ติดมันและหนัง เช่น เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อแดงไม่ติดมัน เช่น สันคอหมู เนื้อสันนอก พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลันเตา ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ไข่ไก่ ไข่เป็ด เต้าหู้ ธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole […]


ข้อมูลโภชนาการ

ขาดวิตามินบี เกิดจากสาเหตุใด และอาการเป็นอย่างไร

วิตามินบี เป็นวิตามินที่ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ และมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ เช่น สลายคาร์โบไฮเดรตและลำเลียงสารอาหารไปทั่วร่างกาย การ ขาดวิตามินบี (Vitamin B Deficiencies) จึงอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ โดยทั่วไปสามารถพบวิตามินบีได้ในอาหารที่หลากหลาย จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อให้ได้รับวิตามินบีเพียงพอ ทั้งนี้ ปริมาณวิตามินบีแต่ละชนิดที่ร่างกายควรได้รับจะมากหรือน้อยแตกต่างไปตามอายุ ภาวะสุขภาพ เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] ขาดวิตามินบี สาเหตุ เกิดจากอะไร การขาดวิตามินบี เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับวิตามินบีไม่เพียงพอต่อการใช้ในการทำงานของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย ภาวะนี้อาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีวิตามินบีน้อยกว่าที่ควร หรือเกิดจากภาวะสุขภาพบางประการ เช่น การดูดซึมอาหารของลำไส้ผิดปกติ วิตามินบีเป็นวิตามินชนิดละลายในน้ำ มีด้วยกัน 8 ชนิด ได้แก่ วิตามินบี 1, 2, 3, 5, 6, 7, 9 และ 12 เมื่อร่างกายนำไปใช้งานแล้ว ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ร่างกายไม่สามารถสะสมไว้ใช้ในภายหลังได้ จึงจำเป็นต้องรับวิตามินบีเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะขาดวิตามินบี ปริมาณวิตามินบีที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน โดยทั่วไป อาจมีดังนี้ ควรได้รับวิตามินบี 1 หรือไทอามีน (Thiamine) […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

3 เมนู ก๋วยเตี๋ยว เพื่อสุขภาพ และเคล็ดลับเพื่อสุขภาพ

ก๋วยเตี๋ยว เป็นหนึ่งในเมนูอาหารยอดนิยมที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน โดยเฉพาะสำหรับคนรัก “เส้น” เนื่องจากเป็นเมนูที่ทำง่าย รสชาติอร่อย อีกทั้งยังมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกสรรตามความชอบ ทั้งก๋วยเตี๋ยวน้ำใส ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ อย่างไรก็ตาม ควรเลือกรับประทานก๋วยเตี๋ยวที่ดีสุขภาพ ไม่ปรุงรสจัดจนเกินไป สะอาด และปราศจากเชื้อโรค เพื่อสุขภาพที่ดีห่างไกลโรค [embed-health-tool-bmi] เมนู ก๋วยเตี๋ยว ที่ดีต่อสุขภาพ 1.     เส้นหมี่น้ำใส เส้นหมี่น้ำใสเป็นหนึ่งในเมนูก๋วยเตี๋ยวที่คนรักสุขภาพหลายคนนิยม เส้นหมี่ 100 กรัม จะให้พลังงาน 108 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 1.8 กรัม และมีส่วนประกอบของแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น แมกนีเซียม ทองแดง ซีลีเนียม สำหรับน้ำซุปใสนิยมเป็นน้ำซุปไก่หรือกระดูกหมู หรือหากต้องการให้เป็นมังสวิรัติอาจเลือกใช้เป็นน้ำซุปผักแทน นอกจากเส้นและน้ำซุป จากนั้นจึงควรเติมผักและเนื้อสัตว์เพื่อเพิ่มสารอาหาร แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปจำพวกลูกชิ้น โดยอาจเปลี่ยนไปใช้เป็นเนื้อไก่ฉีก ไข่ต้ม เต้าหู้ หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ ตามชอบแทน 2.     วุ้นเส้นต้มยำ วุ้นเส้นเป็นอาหารที่มีแคลอรี่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเส้นก๋วยเตี๋ยวชนิดอื่น วุ้นเส้นแช่น้ำ 100 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 80 กิโลแคลอรี่ อีกทั้งยังไม่มีกลูเตน ผู้ที่มีภาวะแพ้กลูเตนหรือแพ้ข้าวสาลีจึงสามารถรับประทานวุ้นเส้นได้ นอกจากนี้ […]

โฆษณา
โฆษณา
โฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม