ทุกคนล้วนมีความวิตกกังวลเป็นครั้งคราว แต่บางครั้ง อาการทางกายภาพที่เกิดจากความวิตกกังวล ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการวิตกกังวลแบบเรื้อรังนั้นสามารถที่จะรบกวนคุณภาพชีวิตของคุณได้ นอกจากนั้นอาการทางกายภาพดังกล่าว อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายของคุณได้ ดั้งนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้หยิบยกเรื่องนี้มาฝากกัน
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเกิดความวิตกกังวลมากเกินไป
ความรู้สึกกังวล ไม่สบายใจ หรือกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ มันสามารถส่งผลไปยังจิตใจและร่างกายของคุณ ท่ามกลางความกังวลที่มากเกินไปคุณอาจจะประสบกับความวิตกกังวลที่สูงขึ้น ส่งผลทำให้เกิดความตื่นตระหนกได้
สำหรับผู้ที่มีความวิตกกังวลแบบเรื้อรังหลายคนบอกว่า การลงโทษ ความกลัวที่ไม่สมจริง และคำวิจารณ์ของผู้อื่น สามารถเพิ่มความกังวลได้เป็นอย่างมาก ทั้งยังส่งผลให้มีความไวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวของพวกเขาเป็นพิเศษ
ความวิตกกังวลเรื้อรังอาจส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณมาก จนอาจส่งผลต่อความอยากอาหาร นิสัยการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์ การนอน และการทำงาน ผู้คนจำนวนมากที่กังวลมากเกินไปหรือมีความวิตกกังวลอย่างมาก พวกเขาต้อวการความช่วยเหลือจากนิสัยการใช้ชีวิตที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การกินมากเกินไป การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ยาเสพติด
ความผิดปกติจากความวิตกกังวลมักเกิดขึ้นกับใคร
ความวิตกกังวลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะรู้สึกวิตกกังวลก่อนการพูดคุยในการสัมภาษณ์งาน ความวิตกกังวลในระยะสั้นจะเพิ่มอัตราการหายใจ และการเต้นของหัวใจ นอกจากนั้นมันยังส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองของคุณอีกด้วย
ความผิดปกติของความวิตกกังวลสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่มันมักจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วัยกลางคน โดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีโรควิตกกังวลมากกว่าผู้ชาย
นอกจากนั้น ประสบการณ์ชีวิตที่เครียดอาจเพิ่มความเสี่ยงของคุณในการเป็นโรควิตกกังวลได้ เช่น อาการอาจเริ่มขึ้นทันทีหรืออาจจะเกิดขึ้นเมื่อผ่านไปหลายปี ความวิตกกังวลที่รุนแรงทางการแพทย์ระบุเอาไว้ว่า มันอาจมีความผิดปกติในการใช้สารเคมีซึ่งอาจทำให้เกิดความวิตกกังวลได้ ซึ่งความวิตกกังวลมีหลายประเภท
อาการทางกายภาพที่เกิดจากความวิตกกังวล
การตอบสนองทางกายภาพนี้คือสิ่งที่กำลังเตือนคุณว่าควรคุณควรเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่รุนแรง แต่ถ้ามันรุนแรงเกินไป คุณอาจจะเริ่มรู้สึกมึนงงและคลื่นไส้ ภาวะวิตกกังวลที่มากเกินไปหรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณ
อาการมึนศีรษะ วิงเวียน คือปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาของความวิตกกังวลในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลเรื้อรังสามารถนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของคุณ อาการทางกายภาพที่เกิดจากความวิตกกังวล มีดังนี้
ปัญหาระบบทางเดินหายใจ
เมื่อบุคคลมีความกังวล การหายใจจะสั้น ตื้น และรวดเร็ว สิ่งนี้นำไปสู่รูปแบบการหายใจที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะเมื่อปริมาณออกซิเจนที่สุดเข้าไปมีปริมาณมากกว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่หายใจออกโดยบุคคล ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ส่วนเกินสามารถจำกัดปริมาณเลือดที่จะไปเลี้ยงสมอง ทำให้วิงเวียน รู้สึกเสียวซ่านที่มือหรือเท้า มึนงง หรือสูญเสียสติ
ความวิตกกังวลยังสามารถทำให้อาการของโรคหอบหืดแย่ลง ผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคทางเดินหายใจอักเสบ หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) อาจต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ เนื่องจากความเครียด
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่อง สามารถนำไปสู่ปัญหาการย่อยอาหารและการขับถ่ายเรื้อรัง เช่น ปวดท้อง ท้องอืดมากเกินไป ตะคริวที่ท้อง ท้องร่วง ลำไส้แปรปรวน อาเจียน และอื่นๆ
ระบบภูมิคุ้มกัน
ฮอร์โมนความเครียดที่เกิดขึ้น และการรับมือกับสถานการณ์ที่ต้องมีการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (Fight or flight response) เมื่อตกอยู่ในอันตราย โดนโจมตี หรือมีภัยคุกคามเพื่อที่จะอยู่รอด อาจทำให้ร่างกายของคุณตกอยู่ในสภาวะไม่ปกติ หรือสภาวะพัก (Rested State) ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอต่อการเจ็บป่วยและการติดเชื้อไวรัส ซึ่งในช่วงเวลานี้การฉีดวัคซีนปกติอาจไม่เหมาะสมและใช้ไม่ได้ผล
โรคหัวใจ
ใจสั่นและการหายใจถี่ มักจะพบบ่อยในระหว่างที่เกิดภาวะวิตกกังวล ทำให้ฮอร์โมนความเครียดตอบสนองต่อความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องในระดับสูง จนอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และปัญหาหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ หรือหัวใจวายได้
ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและอาการปวดเรื้อรัง
สัญญาณความทุกข์ที่พบบ่อยจากอะมิกดะลา (Amygdala) ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ทำหน้าที่ในการรับรู้ความทรงจำทางด้านอารมณ์ จะส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตอบสนองต่อความเครียด ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือทำให้ตึงบ่อยๆ
ความเครียดของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง สามารถนำไปสู่กล้ามเนื้อเกร็ง แข็ง เจ็บ และปวดเมื่อย ซึ่งความปวดเมื่อนี้สามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย อาจส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง เช่น ปวดข้อ โรคไขข้อ โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) และอื่นๆ
สูญเสียความจำ
หากคุณเป็นกังวลอย่างต่อเนื่อง หรือทุกข์ทรมานจากโรควิตกกังวลทั่วไป นั่นก็อาจส่งผลกระทบต่อหน่วยความจำระยะสั้นหรือการทำงานของคุณได้ ดังนั้น คุณอาจจะพบว่าตัวเองทำผิดพลาดบ่อยๆ ลืมนัดหมายสำคัญ และไม่สามารถรับมือกับตารางงานที่วุ่นวาย
เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ มันจะเป็นการยากที่จะตัดสินใจสิ่งสำคัญในที่ทำงานหรือที่บ้าน ประสิทธิภาพในการทำงานที่โรงเรียน หรือสภาพแวดล้อมที่ทำงาน อาจถูกทำลายอย่างรุนแรง ซึ่งนั่นจะทำให้คุณเกิดความวิตกกังวลมากขึ้น จนเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าได้
น้ำหนักขึ้น
เมื่อคุณกังวลซ้ำๆ สมองของคุณจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) และ คอร์ติซอล (Cortisol) ในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการกินอาหารที่แสนอร่อย เช่น ช็อกโกแลต ขนมอบ ครีม หรือเค้ก รวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก
อย่างไรก็ตามการเพิ่มและลดของระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ สามารถนำไปสู่ความอยากกินทั้งอาหารเค็มและอาหารหวานที่ไม่หยุดหย่อน ระดับของความวิตกกังวลที่ไม่หยุดยั้ง สามารถนำไปสู่การเพิ่มของน้ำหนักตัวและความอ้วนได้เช่นกัน
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบคุณหมอ
แม้คุณจะต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตหรืออาการทางกายภาพที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ควรละเลยผลกระทบระยะยาวของความวิตกกังวลต่อร่างกาย ดังนั้น การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้านสุขภาพจิต จึงถือเป็นตัวช่วยเหลือที่ดีที่สุด ถ้าความวิตกกังวลของคุณเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย ก็ควรจะไปพบคุณหมอในทันที