สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

อาการเตือนโรคหัวใจ แบบไหนควรไปพบคุณหมอ

โรคหัวใจแบ่งได้เป็นหลายประเภทตามสาเหตุและตำแหน่งที่เกิด ซึ่งโรคหัวใจแต่ละประเภทมักจะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน โดยลักษณะ อาการเตือนโรคหัวใจ ที่พบบ่อยได้แก่ อาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่เต็มอิ่ม วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออกเยอะ เหนื่อยง่าย หากสังเกตอาการเตือนโรคหัวใจได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และไปพบคุณหมอโดยเร็วจะช่วยให้รักษาและหาวิธีดูแลตนเองได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmi] อาการเตือนโรคหัวใจ เป็นแบบไหน อาการเตือนโรคหัวใจ แบ่งออกตามประเภทของโรคได้ ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เกิดจากเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน ซึ่งอาจเกิดจากไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจมากเกินไปจนทำให้เลือดที่มีสารอาหารและออกซิเจนไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงยังหัวใจได้ตามปกติ อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดหัวใจคืออาการแน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกซึ่งอาจสับสนกับอาการอาหารไม่ย่อยหรือกรดไหลย้อนได้ นอกจากนี้ อาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บบริเวณไหล่ แขน คอ ลำคอ กราม หรือหลัง และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจถี่รัว หัวใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ วิงเวียนศีรษะหรืออ่อนแรง คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก โรคหัวใจวาย (Heart Attack) โรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดขึ้นเมื่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง มักเกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ เข้าไปสะสมจนเกิดการอุดตันบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ อาการที่พบบ่อย คือ แน่นหน้าอกเป็นเวลานานประมาณ 30 นาที จากนั้นค่อย ๆ หายไปแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก ซึ่งเป็นอาการหลักที่มักพบในผู้ชาย […]

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

โรคหัวใจ

อาการโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง

อาการโรคหัวใจ ส่วนใหญ่แล้วมักมีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก แขนขาชา โดยอาจมีสาเหตุแตกต่างกันตามประเภทของโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการโรคหัวใจ ควรศึกษาวิธีการดูแลสุขภาพหัวใจ คอยสังเกตอาการผิดปกติ หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอ และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี [embed-health-tool-heart-rate] อาการโรคหัวใจ อาการโรคหัวใจ อาจแตกต่างกันออกไปตามประเภทของโรคหัวใจที่เป็น ดังต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคหัวใจประเภทหนึ่งที่พบได้บ่อย อาจมีสาเหตุมาจากไขมันสะสมในหลอดเลือด และอาจพัฒนาทำให้เกิดคราบจุลินทรีย์หรือคราบพลัค (Plaque) ที่ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว ขวางทางเดินของเลือดและส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจอุดตัน ที่และอาจก่อให้เกิดอาการโรคหัวใจ ดังนี้ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หายใจถี่ ปวดเมื่อยบริเวณคอ ท้องส่วนบน และหลัง รู้สึกปวดและชาบริเวณแขนและขา โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น หัวใจติดเชื้อ เยื่อบุหัวใจอักเสบ ความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ การฉายรังสี และเคมีบำบัดรักษามะเร็ง ที่ส่งผลกระทบการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจในการสูบฉีดเลือด ซึ่งอาจมีอาการโรคหัวใจดังต่อไปนี้ หัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น หายใจไม่อิ่มในขณะที่ทำกิจกรรมหรือนอนพักผ่อน ขาและข้อเท้าบวม รู้สึกเหนื่อยล้า วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด และเป็นลม โรคลิ้นหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โดยส่วนมากเกิดจากความเสื่อมของลิ้นหัวใจในผู้สูงอายุเช่นลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ หรือลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว ในผู้ป่วยบางรายอาจมีความเชื่อมโยงกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจมีความหย่อนผิดปกติ (Barlow’s disease) […]


สุขภาพหัวใจ

การเต้นของหัวใจ และ ความเข้มข้นของการออกกำลังกาย เกี่ยวข้องกันอย่างไร

การออกกำลังกายที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพหัวใจและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไป คนนิยมติดตามอัตรา การเต้นของหัวใจ ขณะออกกำลังกาย เพื่อให้ทราบระดับความเข้มข้นของการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ออกกำลังกายสามารถวางแผนการทำกิจกรรมได้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ ทั้งนี้ ควรออกกำลังกายอย่างระมัดระวังและไม่หักโหมเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ หากมีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนออกกำลังกาย ความเข้มข้นของการออกกำลังกาย คืออะไร ความเข้มข้นของการออกกำลังกาย หรือความหนักของการออกกำลังกาย (Exercise Intensity) คือ การวัดปริมาณการใช้พลังงานของร่างกายในระหว่างออกกำลังกาย โดยการวัดระดับความเข้มข้นของการออกกำลังกาย อาจแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ Absolute Intensity คือการวัดความเข้มข้นของการออกกำลังกายโดยดูอัตราการใช้พลังงานในการออกกำลังกาย เช่น กิโลแคลอรี่ต่อช่วงเวลา (Kcal\time) หรือ การดู Metabolic Equivalent (METs) โดยเป็นการเทียบจำนวนเท่าของระดับพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกายเทียบกับการนั่งอยู่เฉย ๆ เช่น การวิ่งที่ 6 METs หมายถึงการเป็นการวิ่งออกกำลังกายที่ใช้พลังงานเป็น 6 เท่าของการนั่งอยู่เฉย ๆ เป็นต้น Relative Intensity คือการวัดความเข้มข้นของการออกกำลังกายเป็นสัดส่วนต่อการออกกำลังหรือการใช้แรงได้สูงสุดที่บุคคลนั้นทำได้ เช่น การวัดเปอร์เซ็นต์อัตราการเต้นหัวใจขณะออกกำลังกายเทียบกับอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดตามช่วงอายุ (%HRmax) […]


สุขภาพหัวใจ

การทำงานของหัวใจ และเรื่องที่คนมักเข้าใจผิด

โรคหัวใจเป็นโรคที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ความผิดปกติบางประการตั้งแต่กำเนิด หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง การสูบบุหรี่จัด อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ การทำงานของหัวใจ เมื่อเป็นโรคหัวใจ เช่น คนอายุน้อยไม่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคหัวใจไม่สามารถป้องกันได้ ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจใหม่เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนการรักษาและควบคุมโรคได้ดีขึ้น ส่วนผู้ที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคหัวใจก็สามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธีเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ การทำงานของหัวใจ เป็นอย่างไร หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่มีขนาดเท่ากับกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ เซลล์ และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง ได้แก่ หัวใจห้องบนขวา (Right atrium) หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle) หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium) และหัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle) โดยหัวใจห้องซ้ายและห้องขวาจะมีผนังหัวใจกั้น ส่วนหัวใจห้องบนและห้องล่างจะมีลิ้นหัวใจกั้น ลิ้นหัวใจมีหน้าที่กั้นให้เลือดไหลไปทางทิศทางเดียวกัน และป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับไปทางเดิม การทำงานของหัวใจจะเริ่มจากหลอดเลือดดำลำเลียงเลือดดำที่มีออกซิเจนต่ำกลับมาที่หัวใจห้องบนขวา เลือดดำจะไหลจากหัวใจห้องบนขวาลงไปที่หัวใจห้องล่างขวาซึ่งจะสูบฉีดเลือดดำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงไปฟอกที่ปอดผ่านการหายใจจนเลือดดำกลายเป็นเลือดแดงที่ได้รับออกซิเจนแล้ว จากนั้นเลือดแดงจะไหลขึ้นไปที่หัวใจห้องบนซ้าย แล้วไหลลงไปที่หัวใจห้องล่างซ้าย จากนั้นหัวใจห้องล่างซ้ายจะสูบฉีดเลือดแดงที่มีออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะของร่างกายผ่านหลอดเลือดแดง แล้วเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะกลายเป็นเลือดดำไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา หมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การทำงานของหัวใจ เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การทำงานของหัวใจ […]


สุขภาพหัวใจ

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย (Target Heart Rate)

อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย (Target Heart Rate) คือ อัตราการเต้นของหัวใจ ที่เหมาะสมในช่วงออกกำลังกาย เป็นตัวช่วยวัดว่าหัวใจควรเต้นเร็วในระดับเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมในขณะออกกำลังกาย ซึ่งอาจช่วยในการสังเกตความผิดปกติของร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย โดยอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมายจะแตกต่างกันออกไปตามช่วงอายุ ดังนั้น หากอยากทราบว่าตนเองควรมีอัตราการเต้นของหัวใจในระดับใด ควรหาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอโดยตรง อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย คืออะไร อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย คือ อัตราการเต้นของหัวใจในขณะออกกำลังกายที่เหมาะสม ซึ่งจะแตกต่างจากอัตราการเต้นของหัวใจปกติที่อยู่ในช่วง 60-100 ครั้ง/นาที เนื่องจากการออกกำลังกายส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น การคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย อาจช่วยประเมินได้ว่า อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อให้การออกกำลังกายอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม  ป้องกันภาวะหัวใจเต้นเร็วเกินเกณฑ์ ที่อาจเสี่ยงทำให้มีอาการเหนื่อยหอบรุนแรง หน้ามืด เป็นลมหมดสติ หัวใจวาย และเสียชีวิตกะทันหันได้ วิธีการคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย การคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย คือการวัดชีพจรขณะหยุดพักจากการออกกำลังกายในระยะเวลาสั้น ๆ ด้วยการใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางกดลงบนชีพจรเบา ๆ จับเวลา 60 วินาที หรือจับเวลา 30 วินาทีแล้วนำมา x2 แล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย หรือสามารถใช้เครื่องมือในการคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมายของ Hello คุณหมอนี้ [embed-health-tool-heart-rate] ระดับอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมายและการออกกำลังกายที่เหมาะสม อ้างอิงตามแนวทางการออกกำลังกายจาก สมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป (European Society of Cardiology) เมื่อปี พ.ศ. 2563 […]


โรคหัวใจ

โรคหัวใจอาการ และนิยามของโรคหัวใจ

โรคหัวใจ คือ ปัญหาสุขภาพหรือความผิดปกติต่าง ๆ เกี่ยวกับหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจ หรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยทั่วไป เมื่อเป็น โรคหัวใจอาการ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หน้ามืด และหมดสติ ทั้งนี้ โรคหัวใจอาจป้องกันได้ เช่น งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ [embed-health-tool-bmi] นิยามของ โรคหัวใจ โรคหัวใจ หมายถึง ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย โรคหัวใจพบบ่อยในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ซึ่งเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2563 ระบุว่า การเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 11.53 ของอัตราการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศไทย โรคหัวใจอาการ ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกิดจากสะสมหรืออุดตันของคอเลสเตอรอลหรือไขมันในหลอดเลือดหัวใจ จนเป็นเหตุให้ออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไม่สามารถลำเลียงผ่านหลอดเลือดเพื่อไปเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการแน่นหน้าอก เหนื่อง่าย […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

หลอดเลือดหัวใจ กับปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

หลอดเลือดหัวใจ และปัญหาที่เกี่ยวกับหัวใจในผู้สูงอายุ อาจพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และภาวะหัวใจล้มเหลวได้มากขึ้น รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจอื่น ๆ เนื่องจากสุขภาพร่างกายโดยรวมและประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ หลอดเลือดหัวใจและอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายอ่อนแอลงตามอายุ ปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและหัวใจในผู้สูงอายุ ปัญหาเกี่ยวกับ หลอดเลือดหัวใจ และหัวใจที่อาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบตัน ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่อาจทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจวาย สาเหตุหลักมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน ซึ่งเป็นภาวะที่หลอดเลือดหลักที่มีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน เนื่องจากคอเลสเตอรอลที่สะสมมากในหลอดเลือดทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ โรคหลอดเลือดสมอง อาจมีสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ ลิ่มเลือดอุดตัน หลอดเลือดหรือเส้นเลือดแตก หรือเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดลิ่มเลือดจากหัวใจหลุดไปอุดตันเส้นเลือดสมอง ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังสมองไม่เพียงพอ และส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อสมองจนทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ โรคภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) เกิดจากความดันโลหิตที่สูงขึ้น อายุที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น คอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ที่อาจทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดเป็นเวลานาน ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและแคบลง ซึ่งจะขัดขวางการไหลเวียนของเลือดทำให้เลือดไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจลดลง เมื่อเวลาผ่านไปกล้ามเนื้อหัวใจจะอ่อนแรงลงจนส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจที่เกิดขึ้นตามอายุ […]


โรคหัวใจ

พฤติกรรม เสี่ยง โรคหัวใจ มีอะไรบ้าง และมีผลอย่างไร

โรคหัวใจ คือ ความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ มักเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบหรืออุดตัน กระทั่งออกซิเจนและสารอาหารในเลือดไม่สามารถถูกส่งไปเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพและการทำงานของหัวใจ ทั้งนี้ พฤติกรรม เสี่ยง ที่มักเป็นสาเหตุของโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว การไม่ออกกำลังกาย [embed-health-tool-bmi] โรคหัวใจ คืออะไร โรคหัวใจ คือ ความผิดปกติของหัวใจรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจรั่ว ภาวะหัวใจล้มเหลว โดยทั่วไป โรคหัวใจมักเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบลงหรืออุดตัน จนออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ในเลือดไม่สามารถลำเลียงไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติ ทำให้หัวใจอ่อนแอหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ อาจไม่สามารถควบคุมได้ อย่างพันธุกรรมหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น ทั้งนี้ พฤติกรรม เสี่ยงที่อาจควบคุมได้ อาจมีดังนี้ การสูบบุหรี่ การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยคอเลสเตอรอลหรือไขมันเลว (LDL) การดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการออกกำลังกาย ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง พฤติกรรม เสี่ยง โรคหัวใจ มีอะไรบ้าง พฤติกรรมเสี่ยงต่อไปนี้ […]


โรคหัวใจ

เรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับ หัวใจ มีอะไรบ้าง

หัวใจ เป็นอวัยวะหลักที่มีหน้าที่สูบฉีดเลือดและส่งธาตุอาหารกับออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตลอดเวลา แม้ว่าหัวใจจะเป็นอวัยวะที่ทุกคนรู้จักกันดี  แต่มีข้อเท็จจริงหลายประการเกี่ยวกับหัวใจที่อาจไม่ทราบกัน เช่น หัวใจของผู้ชายมีขนาดใหญ่กว่าของผู้หญิง หัวใจสามารถเต้นได้แม้ถูกนำออกมาจากร่างกาย การมีความเครียดอย่างรุนแรงจนเกิดใจสลายอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ หัวใจเต้นได้ด้วยกระแสไฟฟ้าในตัวเอง [embed-health-tool-bmi] เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ หัวใจ หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือด เพื่อขนส่งออกซิเจนและธาตุอาหารไปหล่อเลี้ยงอวัยวะและช่วยให้การทำงานของระบบภายในร่างกายเป็นปกติ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหัวใจมีดังนี้ หัวใจทำงานตลอดเวลา ใน 1 วัน หัวใจสูบฉีดเลือดประมาณ 7,570 ลิตร และเต้นประมาณ 115,000 ครั้ง หัวใจของเพศหญิงเต้นเร็วกว่าหัวใจของเพศชายประมาณ 8 ครั้ง/นาที หัวใจเต้นด้วยกระแสไฟฟ้าในตัวเอง โดยไม่ต้องได้รับการสั่งการจากสมอง หากสมองตายหรือนำหัวใจออกจากร่างกาย หัวใจจึงยังเต้นต่อได้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ หัวใจของผู้ชายและผู้หญิงมีขนาดไม่เท่ากัน โดยปกติแล้ว หัวใจจะมีขนาดเท่า ๆ กับกำปั้นของมนุษย์ โดยหัวใจของผู้ชายจะมีขนาดใหญ่กว่าหัวใจของผู้หญิงเล็กน้อย หรือประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ และน้ำหนักของหัวใจผู้หญิงและผู้ชายจะอยู่ราว ๆ 230-280 กรัม และ 280-340 กรัม ตามลำดับ โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกเสียชีวิต องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรค หัวใจ และ หลอดเลือด กับภาวะหัวใจล้มเหลว

โรค หัวใจ และ หลอดเลือด เป็นชื่อเรียกของโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบและอุดตันซึ่งส่งผลให้เลือดถูกส่งไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เพียงพอ หัวใจจึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ สัญญาณเตือนของภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก และหัวใจเต้นเร็ว หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmi] โรค หัวใจ และ หลอดเลือด เกี่ยวกับหัวใจล้มเหลวอย่างไร โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดในร่างกายโดยมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดซึ่งทำให้หลอดเลือดแคบลงหรืออุดตัน เมื่อหลอดเลือดมีไขมันสะสมจนเกิดการตีบตันหรืออุดตัน ทำให้ออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไม่สามารถส่งไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ ส่งผลให้หัวใจอ่อนแอและทำหน้าที่สูบฉีดเลือดได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดเป็นอาการที่เรียกว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) โดยปกติ หัวใจล้มเหลวพบได้ในคนทุกวัย แต่พบมากในผู้สูงอายุ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ.2561 ภาวะหัวใจล้มเหลวเกี่ยวข้องกับสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในประเทศประมาณ 379,800 ราย หรือคิดเป็น 13.4 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวนอกจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีก ได้แก่ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหรือลิ้นหัวใจ […]


สุขภาพหัวใจ

การดูแลสุขภาพหัวใจและ หลอดเลือด สำหรับผู้สูงอายุ

โรคเกี่ยวกับหัวใจและ หลอดเลือด อย่างโรคหลอดเลือดแดงแข็ง มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความเสื่อมโทรมของร่างกาย  เมื่ออายุมากขึ้น ทำให้หลอดเลือดแดงอาจเกิดการแข็งตัวหรืออุดตันได้ง่าย รวมถึงอาจเกิดภาวะสุขภาพต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย อย่างภาวะความดันโลหิตสูงหรือภาวะไขมันในเลือดสูง จนนำไปสู่โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุ มีหลายวิธี ทั้งการออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย [embed-health-tool-bmi] ผู้สูงอายุกับปัญหาหัวใจและ หลอดเลือด ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดแดงแข็งตัวหรืออุดตัน ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ เมื่อเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง การไหลเวียนของเลือดไม่ดีพอมักทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนและสารอาหารในเลือดมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ส่งผลให้หัวใจอ่อนแอหรือเสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดโป่งพอง หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ เพศชายสูงอายุมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายมากกว่าเพศหญิงสูงอายุ เพศชาย มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ในช่วงอายุ 60 ปี และเพิ่มขึ้นเป็น 32 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 80 ปี ขณะเดียวกัน เพศหญิงในช่วงอายุ 60 ปี มักมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มเป็น 19 เปอร์เซ็นต์เมื่ออายุ 80 ปีขึ้นไป การดูแลสุขภาพหัวใจและ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม