โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง  [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกกนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน ((Zingerone) ในขิงเป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก สรรพคุณ เม็ดแมงลักเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลโภชนาการ

ถั่วดำ ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ถั่วดำ เป็นพืชตระกูลถั่วเช่นเดียวกับถั่วเขียว ถั่วขาว ถั่วแขก ถั่วลันเตา ถั่วแดง และถั่วอื่น ๆ อีกหลายชนิด คนไทยนิยมนำถั่วดำมาปรุงเป็นของหวาน อย่างข้าวเหนียวถั่วดำ หรือใส่ในขนมหวาน เช่น ข้าวต้มมัด หรือใช้เป็นไส้ขนมหรืออาหาร เช่น ซาลาเปาไส้ถั่วดำ ขนมเปี๊ยะไส้ถั่วดำ ถั่วดำมีสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ โดยจากหลักฐานในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า การบริโภคถั่วดำอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ และต้านมะเร็งได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ถั่วดำ ถั่วดำเมล็ดแห้ง 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 339 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 63.2 กรัม โปรตีน 21.2 กรัม ไขมัน 0.9 กรัม โพแทสเซียม 1,500 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 440 มิลลิกรัม แคลเซียม 160 มิลลิกรัม แมกนีเซียม […]


ข้อมูลโภชนาการ

แรดิช ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

แรดิช (Radish) หรือหัวไชเท้าฝรั่ง หรือหัวผักกาดฝรั่ง เป็นพืชในตระกูลกะหล่ำ เช่นเดียวกับกะหล่ำดอก กะหล่ำปลี คะน้า และบร็อกโคลี แรดิชมีสีแดง มีกลิ่นฉุนเป็นเอกลักษณ์ และมีรสเผ็ดร้อน ทั้งยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ แร่ธาตุ และวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ เช่น มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานแรดิชในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของ แรดิช ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า แรดิช 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 16 กิโลแคลอรี่ มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 95.3 กรัม และอุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต 3.4 กรัม (แบ่งเป็นไฟเบอร์หรือใยอาหาร 1.6 กรัม และคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่น เช่น น้ำตาล แป้ง อีก 1.86 กรัม) โปรตีน […]


ข้อมูลโภชนาการ

ผลไม้ลดความอ้วน มีอะไรบ้าง มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

ผลไม้ลดความอ้วน มักเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยใยอาหารซึ่งย่อยได้ช้า ทำให้อิ่มท้องได้นานหลังบริโภค และช่วยให้ความอยากอาหารน้อยลง ลดโอกาสในการบริโภคอาหารที่มากเกินไปหรือการได้รับพลังงานเกินความจำเป็นของร่างกาย จนนำไปสู่การเป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ [embed-health-tool-bmi] ผลไม้ลดความอ้วน มีอะไรบ้าง ผลไม้ลดความอ้วนที่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าอาจมีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนักได้ มีดังต่อไปนี้ แอปเปิ้ล แอปเปิ้ลจัดเป็นหนึ่งในผลไม้ลดความอ้วนเพราะอุดมไปด้วยสารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะใยอาหารชนิดละลายน้ำ (Soluble Fiber) ที่เรียกว่าเพคติน (Pectin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้อิ่มท้องนานขึ้น ลดความอยากอาหาร และมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกหลายประการ เช่น อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้ ลดไขมันชนิดไม่ดีอย่างคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ในร่างกาย การบริโภคแอปเปิ้ลจึงอาจช่วยป้องกันการบริโภคอาหารเกินจำเป็น ทำให้สามารถควบคุมน้ำหนักได้ดีขึ้นและส่งเสริมสุขภาพในผู้ที่มีปัญหาเรื่องไขมันได้อีกด้วย ผลวิจัยชิ้นหนึ่ง ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มผลไม้ในมื้ออาหาร และการลดน้ำหนักในเพศหญิง ตีพิมพ์ในวารสาร Appetite ปี พ.ศ. 2551 นักวิจัยแบ่งอาสาสมัครเพศหญิงซึ่งเข้าร่วมการทดลองจำนวน 49 ราย ออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้เพิ่มการรับประทานแอปเปิ้ล 3 ผล เข้าไปในแต่ละวัน ส่วนอีก 2 กลุ่มเพิ่มการรับประทานลูกแพร์ 3 ผล และคุกกี้ข้าวโอ๊ต 3 ชิ้น ในแต่ละวันตามลำดับเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะเดื่อฝรั่ง คุณค่าทางโภชนาการ และข้อควรระวังในการบริโภค

มะเดื่อฝรั่ง หรือลูกฟิก (Fig) เป็นผลไม้ยืนต้นที่มีผลเป็นทรงกลมหรือทรงคล้ายระฆังคว่ำ ผลอ่อนเปลือกสีเขียวแต่เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม เนื้อสีแดงเข้มมีเมล็ดเล็ก ๆ สีขาวปนอยู่กับเนื้อ ให้รสหวานอมเปรี้ยว มะเดื่อฝรั่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่ภูมิภาคเอเชียตะวันตก หรือจากตุรกีไปจนถึงตอนเหนือของประเทศอินเดีย มะเดื่อฝรั่งอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น คาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม แคลเซียม เบตา-แคโรทีน (β-Carotene) [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ มะเดื่อฝรั่ง มะเดื่อฝรั่งสด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 74 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 19.2 กรัม โปรตีน 0.75 กรัม โพแทสเซียม 166 มิลลิกรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม วิตามินซี 26.7 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม โคลีน (Choline) 4.7 มิลลิกรัม […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือ

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่ การดื่มกาแฟอาจช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักได้ เนื่องจากกาแฟมีแคลอรี่ต่ำ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยคาเฟอีนและสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ที่อาจช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบการเผาผลาญรวมถึงระบบเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน อย่างไรก็ตาม ควรเลือกดื่มกาแฟดำที่ไม่ใส่น้ำตาลและครีมเทียม อีกทั้งยังควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยให้สามารถลดน้ำหนักได้อย่างยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของกาแฟ กาแฟแบบชง 1 แก้ว หรือ 240 มิลลิลิตร ไม่ใส่ครีมและน้ำตาล ให้พลังงานน้อยมาก และมีสารอาหารอื่น ๆ ดังนี้ โปรตีน 0.3 กรัม โพแทสเซียม 118 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 7.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7.1 มิลลิกรัม โคลีน (Choline)2 มิลลิกรัม โซเดียม 4.8 มิลลิกรัม โฟเลต 4.7 มิลลิกรัม กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือ การดื่มกาแฟอาจช่วยลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักได้ เนื่องจากกาแฟมีสารอาหารมากมาย รวมถึงสารประกอบฟีนอล (Phenol) ที่พบได้ในพืชสามารถกระตุ้นการทำงานของระบบการเผาผลาญ รวมถึงระบบเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมันได้ อย่างไรก็ตาม ควรเลือกดื่มเป็นกาแฟดำที่ไม่ใส่ครีมเทียมหรือน้ำตาลเพิ่มเติม เพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป ทำให้สารอาหารเหล่านั้นถูกนำไปสะสมเป็นไขมันที่อาจเสี่ยงทำให้เป็นโรคอ้วนได้ นอกจากนี้ กาแฟยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างกรดคลอโรจีนิก ที่อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่าง […]


ข้อมูลโภชนาการ

น้ำมันกัญชา สรรพคุณ และข้อควรระวังการใช้

น้ำมันกัญชา คือ สารสกัดเข้มข้นจากต้นกัญชาที่มีความเข้มข้นของสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol หรือ THC) ในระดับสูง ซึ่งถูกจัดเป็นสารเสพติด และยังมีสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol;CBD) ที่อาจช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ป้องกันสิว และลดความเครียดได้ น้ำมันกัญชาจึงมีสรรพคุณมากมาย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้อนุญาตให้นำน้ำมันกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ โดยอาจนำมาเป็นส่วนประกอบของยา รวมถึงอาหาร สมุนไพร และเครื่องสำอาง ที่จำเป็นต้องผ่านการเจือจางความเข้มข้นของสาร THC ให้เหลือเพียง 0.2% และควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอก่อนใช้เพื่อความปลอดภัย [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมันกัญชา น้ำมันกัญชา 1 ช้อนโต๊ะ อาจให้พลังงาน 125 แคลอรี่ และกรดไขมัน 14 กรัม ที่ประกอบด้วย กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 11 กรัม ได้แก่ กรดอัลฟาไลโนเลนิก (Alpha-Linolenic Acid) กรดไขมันกรดแกมมาไลโนเลนิก (Gamma-Linolenic Acid หรือ GLA) และกรดลิโนเลอิก (Linoleic Acid) กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 2 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 1 กรัม นอกจากนี้ น้ำมันกัญชายังมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล สารแคนนาบิไดออล รวมถึงวิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินบี อาจีนีน (Arginine) […]


ข้อมูลโภชนาการ

ต้นหอม โภชนาการ และข้อควรระวังในการบริโภค

ต้นหอม เป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศตระกูลเดียวกับกระเทียม หัวสีขาว ลำต้นซึ่งเป็นกาบใบสีเขียวยาวประมาณ 12 นิ้ว ให้กลิ่นเฉพาะตัว รับประทานได้ทุกส่วนทั้งแบบดิบและสุก นิยมนำไปใช้โรยหน้าเพื่อเสริมกลิ่นให้เมนูอาหาต่าง ๆ รวมถึงใช้เป็นเครื่องเคียงหรือแนมกับเมนูอาหารบางชนิด อย่างข้าวผัดหรือปอเปี๊ยะ เพื่อเสริมสมดุลรสชาติในปาก ต้นหอมประกอบไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินหลายชนิด เช่น ไฟเบอร์ วิตามินเอ วิตามินซี มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น อาจช่วยต้านมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกระดูก [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ ต้นหอม ต้นหอม 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 32 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 7.34 กรัม โปรตีน 1.83 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โพแทสเซียม 276 มิลลิกรัม แคลเซียม 72 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 20 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

น้ำมันคาโนล่า ประโยชน์ และข้อควระวังในการบริโภค

น้ำมันคาโนล่า คือ น้ำมันที่ผ่านกระบวนการสกัดและบดจากเมล็ดคาโนล่าหรือดอกผัดกาดก้านขาว ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารประเภททอด ผัด ย่าง และอบ หรือนำมารับประทานคู่กับสลัด น้ำมันคาโนล่าอุดมไปด้วยกรดไขมันดี โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ที่อาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคอ้วนได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมันคาโนล่า น้ำมันคาโนล่า 1 ช้อนโต๊ะ (14 กรัม) อาจให้พลังงาน 124 กิโลแคลอรี่ และสารอาหารอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ไขมัน 14 กรัม แบ่งออกเป็น กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 8.86 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 3.94 กรัม และกรดไขมันอิ่มตัว 1.03 กรัม วิตามินอี 2.45 มิลลิกรัม วิตามินเค 9.98 ไมโครกรัม นอกจากนี้ น้ำมันคาโนล่ายังมีโอเมก้า 3 ที่อาจช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ ประโยชน์ของน้ำมันคาโนล่า น้ำมันคาโนล่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของน้ำมันคาโนล่าในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยลดไขมันในเลือด น้ำมันคาโนล่ามีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง ซึ่งเป็นกรดไขมันที่พบได้ในพืช มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือด จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ จากการศึกษาในวารสาร Medical […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

Hypokalemia อาการ สาเหตุ และการป้องกัน

Hypokalemia คือ อาการโพแทสเซียมในเลือดต่ำ อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การใช้ยาขับปัสสาวะ ท้องร่วง อาเจียน โรคไตเรื้อรัง หรืออาจเกิดจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยปกติแล้วโพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาทและเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย หากร่างกายมีระดับโพแทสเซียมต่ำเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ที่สังเกตได้จาก อาการเหนื่อยล้าง่าย หัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน รวมถึงเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา [embed-health-tool-bmr] Hypokalemia คืออาการอะไร Hypokalemia คือ อาการโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ที่เกิดขึ้นเมื่อระดับโพแทสเซียมในเลือดน้อยกว่า 2.5 มิลลิโมล/ลิตร จากระดับปกติที่ควรอยู่ที่ประมาณ 3.6-5.2 มิลลิโมล/ลิตร ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ท้องเสีย หายใจลำบาก ค่าความเป็นกรด-ด่างในเลือดไม่สมดุล หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอัมพาตชั่วคราว ไตวาย และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เนื่องจากโพแทสเซียมมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายเพื่อช่วยควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ อัตราการการเต้นของหัวใจ ระบบประสาท ความดันโลหิต และความสมดุลของความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย สาเหตุของ Hypokalemia ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ โรคไตเรื้อรัง การทำงานของต่อมหมวกไตบกพร่อง มีอาการอาเจียนและท้องร่วงผิดปกติ เหงื่อออกมากเกินไป ภาวะเลือดเป็นกรด […]


ข้อมูลโภชนาการ

น้ำมันมะกอก ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันธรรมชาติที่สกัดมาจากผลของต้นมะกอก นิยมใช้ประกอบอาหารและบำรุงผิว น้ำมันมะกอกเป็นแหล่งไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น อาจช่วยลดระดับความดันโลหิต อาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้ ควรบริโภคน้ำมันมะกอกในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของ น้ำมันมะกอก ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า น้ำมักมะกอก 100 กรัม อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น ไขมันทั้งหมด 92.9 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 66.6 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 10.4 กรัม วิตามินอี 20.9 มิลลิกรัม วิตามินเค 26 ไมโครกรัม น้ำมันมะกอกมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวซึ่งเป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในปริมาณมาก จึงอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีได้ นอกจากนี้ น้ำมันมะกอกยังยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารโพลีฟีนอล (Polyphenols) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี เสริมสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือด ควบคุมการแข็งตัวของเลือด และลดความดันโลหิต การบริโภคน้ำมันมะกอกในปริมาณที่เหมาะสมจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาทางสุขภาพ เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน