โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง  [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกกนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน ((Zingerone) ในขิงเป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก สรรพคุณ เม็ดแมงลักเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลโภชนาการ

ขัณฑสกร ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ขัณฑสกร (Saccharin) เป็นสารให้ความหวานชนิดหนึ่งที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 300-700 เท่า มักถูกนำมาใช้ในการปรุงแต่งรสชาติอาหารหลายชนิด เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ลูกอม แยม เยลลี่ คุกกี้ โดยผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคอ้วน รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถบริโภคน้ำตาลได้ มักใช้ขัณฑสกรเพื่อทดแทนความหวานจากน้ำตาล เพราะมีรสชาติหวานติดลิ้น อย่างไรก็ตาม การรับประทานขันฑสกรมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้ [embed-health-tool-bmi] ขัณฑสกร คืออะไร ขัณฑสกร คือ สารให้ความหวานสังเคราะห์ที่มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ดี ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 300-700 เท่า มักถูกนำมาใช้ในการปรุงแต่งรสชาติและใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารหลายชนิด เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ลูกอม แยม เยลลี่ คุกกี้ โดยปริมาณที่แนะนำในการรับประทานขันฑสกร คือ ประมาณ 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือไม่ควรเกิน 80-100 มิลลิกรัม/ลิตร/วัน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ ประโยชน์ของขัณฑสกร ขัณฑสกรเป็นสารให้ความหวานที่อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุน ดังนี้ อาจช่วยลดน้ำหนัก ขัณฑสกรเป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการและแคลอรี่ต่ำ จึงอาจใช้ทดแทนความหวานของน้ำตาลได้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

อัญชัน คุณค่าทางโภชนาการและข้อควรระวังต่อสุขภาพ

อัญชัน เป็นพืชพื้นเมืองตระกูลถั่วของทวีปเอเชีย มีดอกสีน้ำเงิน นิยมนำดอกมาใช้เป็นส่วนผสมของน้ำสมุนไพรและชาเนื่องจากอัญชันให้สีน้ำเงินที่สดใสแก่เครื่องดื่ม รวมทั้งรับประทานสดเป็นเครื่องเคียงในสำรับกับข้าว หรือตกแต่งจานและเมนูอาหารให้สวยงามแปลกตา อัญชันมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อุดมไปด้วยสารแอนโทไซยยานิน (Anthocyanin) บำรุงสุขภาพผิวและผม ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย  โดยมีผลการศึกษาที่สนับสนุนว่าการบริโภคอัญชันอาจช่วยบำรุงผิวและเส้นผม ต้านมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคอ้วน รวมถึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ในกรณีของผู้ป่วยโรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของอัญชัน อัญชันแห้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 0 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารและแร่ธาตุต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 50 กรัม ไฟเบอร์ 50 กรัม โพสแทสเซียม 2,500 มิลลิกรัม เหล็ก 10 มิลลิกรัม โปรตีน 0 กรัม ไขมัน 0 กรัม นอกจากนั้น อัญชัน ยังมีแร่ธาตุต่าง ๆ  ได้แก่ เหล็ก โพแทสเซียม รวมทั้งสารพฤกษเคมี ที่อาจมีประโยชน์เมื่อบริโภคเข้าสู่ร่างกาย เช่น แคมพ์เฟอรอล (Kaempferol) เทอร์นาทิน (Ternatin) ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบของเซลล์ ประโยชน์ของอัญชันต่อสุขภาพ อัญชัน ประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะลิ คุณประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวังในการใช้

มะลิ เป็นพืชเขตร้อน พบได้มากในจีน ญี่ปุ่น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย ลักษณะของลำต้นเป็นไม้พุ่มออกดอกสีขาวมีกลิ่นหอม นิยมนำดอกมะลิมาสกัดใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพ แก้ปวดท้อง น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิช่วยให้ผ่อนคลาย ส่วนมะลิบางสายพันธุ์สามารถนำดอกมาทำเป็นชามะลิ  มะลิอาจช่วยแก้ปัญหาน้ำนมล้นเต้ามากเกินไป  ในกรณีของผู้หญิงให้นมบุตรหรือผู้ที่ต้องการหยุดน้ำนมหลังคลอด อีกทั้งยังมีสารแอโฟรดิซซิแอค (Aphrodisiac) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศตามธรรมชาติ นอกจากนั้น กลิ่นของมะลิอาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน และช่วยทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลายจากความเครียด [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของมะลิ ดอกมะลิแห้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 0 กิโลแคลอรี่ โดยมีโซเดียมประมาณ 20 มิลลิกรัม นอกจากนั้น ยังนิยมนำดอกมะลิไปต้มร่วมกับใบชาได้เป็นชามะลิ โดยชามะลิ 1 ถ้วย ให้พลังงาน 0 กิโลแคลอรี่ และมีแร่ธาตุต่าง ๆ จากใบชา อาทิ เหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม ทองแดง และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดระดับคอเลสเตอรอล บำรุงสุขภาพ ประโยชน์ของมะลิต่อสุขภาพ มะลิ เป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน โดยมีผลการศึกษาสนับสนุน ดังต่อไปนี้ 1.อาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน กลิ่นหอมของดอกมะลิ อาจมีสรรพคุณช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนได้ อ้างอิงจากการศึกษาชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับผลของการของสูดน้ำมันหอมระเหยจากมะลิ ต่ออาการปวดประจำเดือนในสตรีวัยรุ่น เผยแพร่ในวารสาร International […]


ข้อมูลโภชนาการ

กระเจี๊ยบเขียว สารอาหาร และข้อควรระวังในการบริโภค

กระเจี๊ยบเขียว เป็นผักที่มีมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเอธิโอเปีย คนไทยนิยมบริโภคกระเจี๊ยบเขียวแบบดิบ หรือปรุงสุกด้วยการต้ม โดยมักรับประทานเป็นเครื่องเคียงในมื้ออาหารคู่กับน้ำพริก กระเจี๊ยบเขียวอุดมไปด้วยคุณค่าจากสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินต่าง ๆ เช่น ไฟเบอร์ วิตามินซี วิตามินเค 1 โปรตีน มีผลการศึกษาหลายชิ้นระบุว่า การบริโภคกระเจี๊ยบ อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และอาจช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวสด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 33 กิโลแคลอรี่ และมีสารอาหารรวมถึงแร่ธาตุต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 7.45 กรัม โปรตีน 1.93 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม แคลเซียม 82 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 61 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 57 มิลลิกรัม โคลีน (Choline) 12.3 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

หัวหอม ประโยชน์ต่อสุชภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

หัวหอม เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระเทียม หอมแดง ได้รับความนิยมและปลูกกันทั่วโลกเพราะสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายทั้งต้ม ผัด ทอด หรือบริโภคสดในเมนูสลัดผัก หัวหอมอุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น คาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี วิตามินบี และอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งและโรคหัวใจและอาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ หัวหอม หัวหอมสด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 38 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 8.61 กรัม โปรตีน 0.83 กรัม ไขมัน 0.05 กรัม โพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 34 มิลลิกรัม แคลเซียม 15 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 9 มิลลิกรัม วิตามินซี 8.2 มิลลิกรัม โซเดียม […]


ข้อมูลโภชนาการ

ว่านหางจระเข้ สรรพคุณ และข้อควรระวังในการบริโภค

ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นปล้อง ใบมีสีเขียวอุ้มน้ำได้ดี ปลายใบแหลม ขอบใบมีหนาม และมีวุ้นเมือกใสอยู่ภายในใบ ว่านหางจระเข้ สรรพคุณ ทางสุขภาพมีมากมาย เช่น นำวุ้นจากใบมาบรรเทาอาการจากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ผิวไหม้แดด ช่วยสมานแผล และห้ามเลือด หรืออาจนำไปคั้นดื่ม หรือแปรรูปเป็นผง เพื่อช่วยรักษาสุขภาพช่องปาก ลดระดับความดันโลหิต บรรเทาอาการกรดไหลย้อน  ทั้งนี้ ควรศึกษาเกี่ยวกับข้อควรระวังก่อนนำมาบริโภค เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ คุณค่าโภชนาการของว่านหางจระเข้ ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ที่เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2563 ระบุว่า น้ำว่านหางจระเข้ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 15 กิโลแคลอรี่  และอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น น้ำ 96.2 กรัม แคลเซียม 8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.75 กรัม […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

โรคขาดสารอาหาร สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคขาดสารอาหาร เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารอาหารต่าง ๆ รวมไปถึงวิตามินและแร่ธาตุ ไม่เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ จนอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อาจส่งผลให้น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและมวลกระดูก ขาดพลังงานในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรคขาดสารอาหาร คืออะไร โรคขาดสารอาหาร คือ โรคที่เกิดจากการที่ร่างกายขาดวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน หรือเกิดจากความบกพร่องในระบบย่อยอาหาร ที่ไม่สามารถเผาผลาญอาหารและเปลี่ยนเป็นพลังงานให้แก่ร่างกายได้ จึงส่งผลให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายผิดปกติ อาการ อาการของโรคขาดสารอาหาร อาการของโรคขาดสารอาหาร มีดังนี้ น้ำหนักลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ เหนื่อยล้าง่าย และอาจรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ วิงเวียนศีรษะ ผิวแห้ง ผมร่วง เจ็บป่วยบ่อย และใช้ระยะเวลานานในการฟื้นตัว การทำงานของสมองบกพร่อง ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า แผลหายช้า สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและกระดูก ปวดข้อต่อ เลือดออกตามไรฟัน ตาแห้ง ตาพร่ามัว โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน รู้สึกเบื่ออาหาร ท้องร่วง ควรเข้าพบคุณหมอทันทีที่สังเกตว่าน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ สาเหตุ สาเหตุของโรคขาดสารอาหาร สาเหตุของโรคขาดสารอาหาร มีดังนี้ ภาวะทางสุขภาพ ลำไส้ใหญ่บวมหรือเป็นแผล ที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในระบบย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหาร […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารที่ย่อยง่าย มีอะไรบ้าง ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

อาหารที่ย่อยง่าย เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการปรับปรุงสุขภาพทางเดินอาหาร โดยเฉพาะผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคลำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอาหาร ท้องผูก ท้องเสีย โดยอาหารที่ย่อยง่ายอาจมีลักษณะอ่อนนุ่ม ไขมันต่ำ เส้นใยต่ำ ความเป็นกรดต่ำ เคี้ยวง่ายและกลืนง่าย ซึ่งอาจช่วยให้ลำไส้และระบบทางเดินอาหารทำงานน้อยลง ทั้งยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารเพื่อใช้เป็นพลังงานได้เร็วและดียิ่งขึ้น อาหารที่ย่อยง่าย คืออะไร อาหารย่อยง่าย คือ อาหารที่มีใยอาหารต่ำ ความเป็นกรดต่ำ อ่อนนุ่ม ผ่านการปรุงสุก บด หั่นหรือปั่น จนรับประทานได้ง่ายและอ่อนโยนต่อทางเดินอาหาร เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกายอาจช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานน้อยลงและช่วยลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง ร่างกายอาจดูดซึมสารอาหารได้ง่ายและเร็วขึ้น ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนและนำไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที อาหารที่ย่อยง่าย เหมาะกับใคร อาหารที่ย่อยง่ายเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการปรับปรุงการทำงานของระบบย่อยอาหาร ส่งเสริมสุขภาพลำไส้หรือต้องการรับพลังงานและสารอาหารโดยด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยพักฟื้น ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ปัญหาลำไส้และระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพบางประการอาจจำเป็นต้องเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายเพื่อสุขภาพที่ดี โดยปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อาจมีดังนี้ โรคที่เกี่ยวกับการอักเสบของลำไส้และกระเพาะอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร กระเพาะเป็นแผล โรคลำไส้อักเสบ โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ อาการลำไส้แปรปรวน โรคเหล่านี้อาจทำให้ลำไส้และกระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผล ซึ่งอาจส่งผลให้การดูดซึมสารอาหารไม่ดีเท่าที่ควร การรับประทานอาหารย่อยง่ายจึงช่วยส่งเสริมการทำงานของลำไส้และกระเพาะอาหารให้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยให้ดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราที่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะยม ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

มะยม เป็นผลไม้รสเปรี้ยว ฉ่ำน้ำ ผลอ่อนมีสีเขียว นิยมรับประทานเป็นของกินเล่น จิ้มหรือคลุกกับเครื่องปรุงต่าง ๆ และอาจใช้เป็นพืชสมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าอักเสบ โรคทางเดินหายใจ การติดเชื้อ ปกป้องตับ รวมถึงยังมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ นอกจากนี้ มะยมยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบ ต้านแบคทีเรีย ปกป้องตับและลดระดับน้ำตาลในเลือด [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของมะยม มะยม ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 16 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น น้ำ 91.9 กรัม ใยอาหาร 0.8 กรัม โปรตีน 0.155 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม นอกจากนี้ มะยมยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แคโรทีน (Carotene) วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ขนมไม่อ้วน ควรเลือกอย่างไร เพื่อให้ดีต่อสุขภาพ

ขนมไม่อ้วน เป็นขนมที่แคลอรี่ต่ำ อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่ให้พลังงานและดีต่อสุขภาพ สามารถกินในยามว่างเพื่อลดความหิวและช่วยควบคุมน้ำหนักได้ อย่างไรก็ตาม หากกินในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้อ้วนได้เช่นกัน ดังนั้น ควรอ่านฉลากที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ กินในปริมาณที่เหมาะสม และควรหลีกเลี่ยงขนมที่มีไขมันทรานส์ น้ำตาลและโซเดียมสูง รวมถึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันความอ้วน [embed-health-tool-bmr] กินขนมไม่อ้วน ดีอย่างไร ขนมขบเคี้ยวถือเป็นอาหารว่างที่อาจช่วยควบคุมความหิวในระหว่างรอรับกินอาหารในมื้อต่อไป เพราะหากปล่อยให้ร่างกายรู้สึกหิวเป็นเวลานาน อาจทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้นและอาจส่งผลให้อยากกินอาหารมากขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกกินขนมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เนื่องจากขนมบางชนิดมีไขมัน น้ำตาลและโซเดียมสูงที่อาจทำให้อ้วนได้ จึงต้องเลือกกินขนมไม่อ้วนที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุและไขมันต่ำ ซึ่งอาจช่วยควบคุมความหิวได้นานขึ้นและอาจไม่อ้วนอีกด้วย วิธีเลือก ขนมไม่อ้วน วิธีเลือกขนมไม่อ้วนที่ช่วยควบคุมความหิว มีสารอาหารครบถ้วน และดีต่อสุขภาพ อาจมีดังนี้ เลือกขนมที่อุดมไปด้วยธัญพืช เช่น ซีเรียล มัฟฟินธัญพืช คุกกี้ธัญพืช แครกเกอร์ไขมันต่ำ โฮลเกรน ข้าวโพดคั่วไม่ใส่เนย กาโนล่า ธัญพืชอบกรอบ ธัญพืชอัดแท่ง อัลมอนด์ ถั่วลิสง ถั่วเหลืองอบแห้งและถั่วอื่น ๆ ขนมเหล่านี้เป็นขนมไม่อ้วนที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ใยอาหารและโปรตีนที่ให้พลังงาน ช่วยควบคุมความหิวและลดความอยากอาหาร ทั้งยังมีไขมันต่ำ จึงอาจเหมาะสำหรับเป็นอาหารว่างเพื่อสุขภาพ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน