backup og meta

ซิงค์อะซิเตท (Zinc Acetate)

ซิงค์อะซิเตท (Zinc Acetate)

ข้อบ่งใช้

ซิงค์อะซิเตท ใช้สำหรับ

ซิงค์หรือสังกะสี (Zinc) เป็นแร่ธาตุที่เกิดขึ้นทางธรรมชาติ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของอวัยวะส่วนต่างๆในร่างกาย ยา ซิงค์อะซิเตท (Zinc Acetate) มักถูกใช้ในการรักษาและป้องกันโรคที่เกิดจากการขาดแร่ธาตุสังกะสี และอาจถูกใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในคำแนะนำทางการแพทย์

การใช้ยาซิงค์อะซิเตท

ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยรับประทานพร้อมน้ำ 1 แก้ว ไม่ควรใช้ยาเกินขนาดหรือน้อยกว่าที่กำหนด หรือใช้ยาเป็นเวลานานกว่าที่แพทย์แนะนำ

รับประทานยาซิงค์อะซิเตทพร้อมอาหาร หากเกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร

การเก็บรักษายาซิงค์อะซิเตท 

ยาซิงค์อะซิเตทควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ซิงค์อะซิเตทบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งซิงค์อะซิเตทลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนการใช้ซิงค์อะซิเตท

ก่อนการใช้ยา ควรแจ้งแพทย์หากมีกรณีดังต่อไปนี้

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากขณะที่คุณตั้งครรภ์หรือให้นม คุณควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมถึงยาที่คุณซื้อโดยไม่มีใบสั่งยา เช่น สมุนไพร และการรักษาโดยแพทย์ทางเลือก
  • มีอาการแพ้ต่อส่วนประกอบของยาซิงค์ อะซีเตทและยาชนิดอื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • มีอาการป่วย ผิดปกติ หรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ

ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาซิงค์อะซิเตทร่วมกับอาหารที่มีแคลเซียมหรือฟอสฟอรัสสูง เพราะจะทำให้ร่างกายดูดซึมซิงค์อะซิเตทได้ยากขึ้น อาหารที่มีแคลเซียมหรือฟอสฟอรัสสูง เช่น นม ชีส โยเกิร์ต ไอศกรีม ถั่วอบแห้ง ถั่วเลนทิล เนยถั่ว เบียร์ โค้ก และโกโก้ร้อน

ซิงค์อะซิเตทอาจผลต่อประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบเกี่ยวกับยาอื่นๆ ที่คุณใช้อยู่ก่อนการใช้ซิงค์อะซิเตท

ยังไม่มีผลรายงานว่าซิงค์อะซิเตทเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม หากคุณตั้งครรภ์หรือมีแนวโน้มตั้งครรภ์ระหว่างการรักษา ไม่ควรใช้ยานี้โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

ยังไม่มีรายงานว่าซิงค์อะซิเตทผ่านเข้าสู่น้ำนม หรือเป็นอันตรายต่อทารก ไม่ควรใช้ยานี้หากอยู่ในระหว่างการให้นม หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาคาร์ทีโอลอลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท A โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาซิงค์อะซิเตท

เข้ารับการรักษาฉุกเฉินทันที หากเกิดอาการที่แสดงถึงการแพ้ เช่น ผื่นขึ้น หายใจไม่สะดวก ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอบวม

อาการข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่า ได้แก่ เวียนศีรษะ ปวดท้อง

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาชนิดอื่น

ยาซิงค์อะซิเตทอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจทำปฏิกิริยากับยาซิงค์อะซิเตท มีดังนี้

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาร์ฟาริน (warfarin) อย่างคูมาดิน (Coumadin)
  • ยาเมธิลเทสโทสเตอโรน (Methyltestosterone) อย่างแอนดรอยด์ (Android) เมธิเทสต์ (Methitest) โอเรตอน (Oreton)
  • ยาเพนนิซิลลามีน (Penicillamine) อย่างคูพริมีน (Cuprimine) ดีเพน Depen)
  • ยาเรซิโดรเนท (Risedronate) อย่างแอคโตเนล (Actonel)
  • ยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตระไซคลิน เช่น ดีเมโคลไซคลิน (Demeclocycline) อย่างดีโคลไมซิน (Declomycin) ยาดอกซีไซคลิน อย่างอะโดซ่า (Adoxa) โดริกซ์ (Doryx) โอราเซีย (Oracea) ไวบรามัยซิน (Vibramycin) ยามิโนไซคลิน อย่างไดนาซิน (Dynacin) มิโนซิน (Minocin) โซโลดิน (Solodyn) เวคทริน (Vectrin) หรือยาเตตระไซคลิน อย่างบรอดสเปค (Brodspec) แพนมัยซิน (Panmycin) ซูมัยซิน (Sumycin) เตตระแคป (Tetracap)
  • ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาซิโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) อย่างซิโปร (Cipro) ยาโอฟลอกซาซิน (ofloxacin) อย่างฟล็อกซิน (Floxin) ยานอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin) อย่างนอร็อกซิน (Noroxin) ยาเลโวฟลอกซาซิน (levofloxacin) อย่างเลวาควิน (Levaquin)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาซิงค์ อะซีเตทอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยาต่ออาการโรคอื่น

ยาซิงค์ อะซีเตทอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งสภาวะโรคของคุณให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาซิงค์อะซิเตทสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่ที่ป่วยโรควิลสัน (Wilson’s Disease)

หลังการล้างพิษหลอดเลือดในช่วงแรก :

รับประทาน 50 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งตอนท้องว่าง ควรทานยาก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่น้ำเปล่าอย่างน้อยน้อย 2-3 ชั่วโมง

ขนาดยาซิงค์อะซิเตทสำหรับเด็ก

ขนาดที่ใช้สำหรับเด็กที่ขาดธาตุสังกะสี

การตอบสนองอาจเกิดขึ้นหลัง 6-8 สัปดาห์

ปริมาณในการรับประทานที่แนะนำ มีดังนี้

  • ทารกแรกเกิดและอายุต่ำกว่า 12 เดือน : รับประทานสังกะสีอิสระ (elemental zinc) 5 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 1 ถึง 10 ขวบ : 10 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็กอายุตั้งแต่ 11 ปีและผู้ใหญ่ : เพศชายรับประทาน 15 มิลลิกรัมต่อวัน เพศหญิงรับประทาน 12 มิลลิกรัมต่อวัน

สำหรับรับประทานเพื่อทดแทนการขาดธาตุสังกะสี

  • ทารกและเด็ก ควรรับธาตุสังกะสีขนาด 0.5 ถึง 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็น 1 ถึง 3 ครั้งต่อวัน อาจเพิ่มปริมาณหากมีปัญหาด้านการดูดซึมของลำไส้หรือภาวะขาดสังกะสีรุนแรง เช่น อาการท้องร่วงอย่างรุนแรงเป็นระยะเวลานาน

ใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับให้ทางเส้นเลือด (ใช้เวลา 6-8 สัปดาห์ในการเห็นผล) : IV (ขนาดของสังกะสีอิสระ)

  • 400 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน สำหรับทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด 400 ไมโครกรัม/กิโลกรัม/วัน
  • 300 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน สำหรับทารกแรกเกิดที่คลอดตามกำหนด
  • 100 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน สำหรับทารกอายุ 3 เดือนขึ้นไปและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี (สูงสุด 5 มิลลิกรัมต่อวัน)
  • 2.5 ถึง 5 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับเด็กอายุมากกว่า 5 ปี

ขนาดที่ใช้สำหรับเด็กที่ป่วยโรควิลสัน

ซิงค์อะซิเตทไม่ได้ใช้สำหรับรักษาอาการโรควิลสัน แต่เพื่อพยุงอาการหลังรับการรักษาโดยการล้างพิษหลอดเลือดประมาณ 4-6 เดือน

การใช้ซิงค์อะซิเตทในการรักษาเพื่อไม่ให้โรคเกิดซ้ำ ขนาดที่ใช้เป็นหน่วยมิลลิกรัม ระบุเพื่อรักษาอาการเริ่มต้นในผู้ป่วยโรควิลสันที่ไม่แสดงอาการ หรือระยะก่อนแสดงอาการ หรือใช้เพื่อคงอาการ หลังรับการล้างพิษหลอดเลือด ประมาณ 1 ถึง 5 ปี

สำหรับเด็กอายุระหว่าง 5 ถึง 18 ปี

  • หากน้ำหนักน้อยกว่า 50 กิโลกรัม : 25 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง
  • หากน้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัม : 50 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง

รูปแบบของยาซิงค์อะซิเตท

ยาซิงค์อะซิเตทอยู่ในรูปแบบดังต่อไปนี้

  • แบบแคปซูล

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Zinc acetate. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-75874/zinc-acetate-oral/details. Accessed November 20, 2017

Zinc acetate. https://www.drugs.com/mtm/zinc-acetate.html. Accessed November 20, 2017

Zinc acetate. https://www.drugbank.ca/drugs/DB14487. Accessed November 20, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

ฟลูออไรด์ คืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพฟัน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา