ไนอะซิน (Niacin) หรือวิตามินบี 3 (Vitamin B3)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ไนอะซิน (Niacin) หรือวิตามินบี 3 (Vitamin B3)

ไนอะซิน (Niacin) หรือวิตามินบี 3 (Vitamin B3) เป็นยาที่มักใช้เพื่อรักษาและป้องกันอาการขาดสารอาหารวิตามินบี3 ในร่างกาย และช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล หรือไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

ข้อบ่งใช้

ไนอะซิน/วิตามินบี 3 ใช้สำหรับ

ยาไนอะซิน/วิตามินบี 3 (Niacin/Vitamin B3) นั้นมักใช้เพื่อรักษาและป้องกันอาการขาดสารอาหารวิตามินบี3 ในร่างกาย และเพื่อลดระดับของคอเลสเตอรอล หรือไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

ยานี้ยังใช้เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวฉับพลัน สำหรับผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง ที่เคยมีอาการหัวใจล้มเหลวฉับพลันมาแล้ว บางครั้งก็ใช้เพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

อาจมีการสั่งยาไนอะซิน/วิตามินบี 3เพื่อให้ในกรณีอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์หรือเภสัชกร

วิธีการใช้ ไนอะซิน/วิตามินบี 3

รับประทานพร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหาก ห้ามบด หัก หรือเคี้ยวยา กลืนยาไปพร้อมกับน้ำหนึ่งแก้ว

สำหรับการใช้ยาน้ำ

วัดปริมาณของยาน้ำแบบรับประทาน ด้วยช้อนตวงที่มีระดับบอกไว้ หรือถ้วยตวงยา สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับยา

การเก็บรักษา ไนอะซิน/วิตามินบี 3

ไนอะซิน/วิตามินบี 3 ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ไนอะซิน/วิตามินบี 3บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งไนอะซิน/วิตามินบี 3ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ไนอะซิน/วิตามินบี 3

ปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรในกรณีดังต่อไปนี้

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ นี่รวมไปถึงยาที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เช่น สมุนไพร และแพทย์ทางเลือก
  • หากคุณมีอาการแพ้สารสำคัญและไม่สำคัญในยาไนอะซิน/วิตามินบี 3 และยาอื่นๆ
  • หากคุณมีโรคอื่นๆ มีความผิดปกติ หรือมีอาการใดๆ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้

ไนอะซิน/วิตามินบี3จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ยาต้องห้าม
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ควรจะปรึกษากับผู้ดูแลสุขภาพเสมอ ก่อนการใช้ไนอะซิน/วิตามินบี 3หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ ไนอะซิน/วิตามินบี 3

ผลข้างเคียงการใช้ไนอะซิน/วิตามินบี 3 อาจมีดังนี้

หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ให้แจ้งแพทย์หรือรับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในทันที

  • วิงเวียน หมดสติ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดที่ท้องด้านขวาส่วนบน
  • เหนื่อยล้ามาก ไม่มีแรง
  • ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีอ่อน
  • มีเลือดออก หรือรอยช้ำที่ผิดปกติ
  • เบื่ออาหาร
  • ผิวและดวงตาเป็นสีเหลือง
  • มีอาการเหมือนเป็นไข้
  • ลมพิษ ผดผื่น คัน
  • หายใจติดขัดหรือหายใจตื้น
  • บวมที่ใบหน้า ลำคอ ลิ้น ริมฝีปาก ดวงตา มือ ขา ข้อเท้า หรือขาส่วนล่าง
  • เสียงแหบ
  • มีอาการปวดกล้ามเนื้อ อาการกดเจ็บ หรืออ่อนแรงที่หาสาเหตุไม่ได้

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ไนอะซิน/วิตามินบี 3อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตราไซคลีน (tetracycline)

  • ส่งผลกระทบต่อการดูดซึมและประสิทธิภาพของวิตามินบี3
  • อาหารเสริมวิตามินบีรวมทั้งหมดก็มีปฏิกิริยาแบบนี้ และควรใช้คนละเวลากับเตตราไซคลีน

ปฏิกิริยากับยาแอสไพริน

การรับประทานแอสไพรินก่อนไนอะซิน อาจลดอาการหน้าแดงจากวิตามินบี3

ปฏิกิริยากับยาเฟนิโทอิน (phenytoin) อย่างไดแลนติน (Dilantin) และยาวาลโปรอิกแอซิด (valproic acid) อย่างเดปาโคด (Depakote)

อาจเกิดภาวะขาดวิตามินบี3กับบางคน

ปฏิกิริยากับยาคาร์บามาเซพีน (carbamazepine) อย่างเตกรีทอล (Tegretol) หรือยามัยโซลีน (Mysoline) อย่างไพรมิโดน(Primidone)

เพิ่มระดับของยาคาร์บามาเซพีน (เตกรีทอล) หรือยามัยโซลีน (ไพรมิโดน) ในร่างกาย

ปฏิกิริยากับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) หรือยาเจือจางเลือด

เพิ่มความเสี่ยงในการมีเลือดออก

ปฏิกิริยากับยาความดันโลหิตวิตามินบี3 (blood pressure Vitamin B3s) แอลฟา-บล็อกเกอร์ (alpha-blockers)

วิตามินบี 3 สามารถทำให้ผลของยาวิตามินบี 3 ที่ใช้เพื่อลดความดันโลหิตแรงขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ

ปฏิกิริยากับยาวิตามินบี3 ลดคอเลสเตอรอล (cholesterol-lowering Vitamin B3s)

  • วิตามินบี3 จะเกาะตัวกับยาวิตามินบี3 ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลซึ่งรู้จักกันในชื่อยาไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ (Bile acid sequestrants) แล้วทำให้ยานั้นมีประสิทธิภาพลดลง
  • ด้วยเหตุผลนี้ ยาไนอะซินและยาวิตาวินบี3 เหล่านี้ จึงควรรับประทานในเวลาที่แตกต่างกัน ยาไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์นั้น ได้แก่ ยาคอเลสทิพอล (colestipol) อย่างเช่นคอเลสติด (Colestid) ยาโคลเซเวแลม (colesevelam) อย่างเช่นเวลโคล (Welchol) และยาคอเลสไทรามีน (cholestyramine) อย่างเช่นเควสแตน (Questran)

ปฏิกิริยากับยาสแตติน (Statin)

มีหลักฐานทางวิทธยาศาสตร์บางชิ้นแนะนำว่า การรับประทานยาไนอะซินร่วมกับยาซิมวาสแตติน (simvastatin) อย่างเช่นโซคอร์ (Zocor) อาจจะชะลอการลุกลามของโรคหัวใจได้ อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้ร่วมกันก็อาจจะเพิ่มโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ หรือตับเสียหาย

ปฏิกิริยากับยาวิตามินบี3 สำหรับโรคเบาหวาน (diabetes Vitamin B3s):

  • วิตามินบี3 (ไนอะซิน) อาจจะเพิ่มระดับของน้ำตาลในเลือดได้
  • ผู้ที่รับประทานอินซูลิน ยาเมทฟอร์มิน (metformin) อย่างกลูโคเฟจ (Glucophage) ยาไกลบิวไรด์ (glyburide) อย่างดิเบตา (Dibeta) หรือไมโครเนส (Micronase) ยาไกลพิไซด์ (glipizide) อย่างกลูโคโทรล (Glucotrol) หรือยาวิตามินบี3อื่นๆ เพื่อรักษาอาการระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควรจะเฝ้าสังเกตระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิดหากรับประทานอาหารเสริมไนอะซิน

ปฏิกิริยากับไอโซไนอาซิด (isoniazid) อย่างไอเอชเอ็น (INH)

ไอเอชเอ็นซึ่งเป็นวิตามินบี3 ที่ใช้เพื่อรักษาวัณโรค อาจทำให้เกิดภาวะขาดไนอะซิน

ปฏิกิริยากับแผ่นนิโคติน (Nicotine patches)

การใช้แผ่นนิโคตินร่วมกับวิตามินบี3 อาจทำให้อาการหน้าแดงที่เกี่ยวข้องกับไนอะซินเพิ่มขึ้นหรือแย่ลง

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ไนอะซิน/วิตามินบี 3อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ไนอะซิน/วิตามินบี 3อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะโรคและอาการเหล่านี้

  • โรคตับหรือโรคไต
  • โรคหัวใจหรืออาการปวดเค้นหน้าอก
  • มีแผลในกระเพาะอาหาร
  • โรคเบาหวาน
  • โรคเกาต์
  • มีความผิดปกติที่กล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี (myasthenia gravis)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนการใช้ยานี้

ขนาดยาของไนอะซิน/วิตามินบี 3สำหรับผู้ใหญ่

สารอาหารที่ใช้เติมลงในอาหาร (Nutritional supplementation)

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน

  • ชาย อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 19 ปี: 16 มก./วัน
  • หญิง อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 19 ปี: 14 มก./วัน
  • ผู้ตั้งครรภ์: 18 มก./วัน
  • ผู้นมบุตร: 17 มก./วัน

อาหารเสริม (Dietary supplement)

50 มก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง หรือ 100 มก. รับประทานทุกวัน

ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)

  • ยาออกฤทธิ์ทันที
    • 250 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ปรับขนาดยาหรือความถี่ในการใช้ยา ทุกๆ 4-7 วัน ขึ้นอยู่กับผลของยา และการทนต่อยา เมื่อรักษาในระดับแรกที่ขนาดยา 1.5-2 กรัม รับประทานทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
    • หลังจากนั้นปรับขนาดยาทุกๆ 2-4 สัปดาห์
    • ขนาดยาสูงสุด: 6 กรัม/วัน
  • ยาแบบออกฤทธิ์นาน
    • 500 มก./วัน รับประทานก่อนนอน ในตอนแรก
    • ปรับขนาดยาทุกๆ 4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับผลของยาและการทนต่อยาเมื่อรักษาที่ขนาดยา 1-2 กรัม ต่อวัน
    • ขนาดยาสูงสุด: 1-2 กรัม/วัน

โรคหนังกระ (Pellagra) (การใช้นอกฉลาก)

50-100 มก. รับประทานทุก 6-8 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุด: 500 มก./วัน

ขนาดยาของไนอะซิน/วิตามินบี 3สำหรับเด็ก

สารอาหารที่ใช้เติมลงในอาหาร

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน

  • 0-6 เดือน: 2 มก./วัน
  • 6-12 เดือน: 3 มก./วัน
  • 1-4 ปี: 6 มก./วัน
  • 4-9 ปี: 8 มก./วัน
  • 9-14 ปี: 12 มก./วัน
  • 14-18 ปี: 16 มก./วัน (ชาย) 14 มก./วัน (หญิง)

โรคหนังกระ (การใช้นอกฉลาก)

50-100 มก. รับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาแคปซูลสำหรับรับประทานวิตามินบี3 500 มก.
  • ยาเม็ดสำหรับรับประทานวิตามินบี3 500มก. (แบบออกฤทธิ์ทันที)
  • ยาแคปเลตสำหรับรับประทานแบบออกฤทธิ์นาน วิตามินบี3 500 750 และ1000 มก.
  • ยาน้ำสำหรับรับประทาน 100 มล.
  • ครีม โลชั่น แป้ง และสเปรย์วิตามินบี3 0.01% สำหรับทาตัวและทามือ
  • วิตามินบี3 0.1% ในรูป paste mask

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

ควรจะพกรายชื่อยาทั้งหมด ทั้งยาตามใบสั่งและยาที่หาซื้อได้เองที่คุณกำลังใช้อยู่ไว้ เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยา ควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

โฆษณา
โฆษณา
โฆษณา
โฆษณา